Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของมารดาทารกในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด…
เรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของมารดาทารกในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดปกต
ปัจจัยส่วนบุคคลของมารดา
อายุ อายุของสตรีตั้งครรภ์จะเป็นตัวกำหนดขอบเขตของพฤติกรรมการปฏิบัติตน การที่มีอายุที่มากในขณะตั้งครรภ์ (มากกว่า 35 ปี) ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่ออันตรายหรือความผิดปกติได้มากกว่า จึงทำให้มีการตื่นตัวสูง และมีแรงจูงในการปฏิบัติตนเพื่อคงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพที่ดี การตั้งครรภ์ที่เกิดกับสตรีตั้งครรภ์ที่ยังไม่บรรลุวุฒิภาวะ หรือมีอายุน้อย (น้อยกว่า 16 ปี) ย่อมเกิดปัญหาได้มากมาย ทั้งด้านการเจริญเติบโตของร่างกายยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ อาจทำให้การคลอดเป็นไปอย่างลำบาก
น้ำหนักตัวและส่วนสูง สตรีที่น้ำหนักตัวน้อยอาจทำให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักน้อย อาจเกิดภาวะการเจริญเติบโตช้า สตรีที่น้ำหนักมากเกินไป มีโอกาสเสี่ยงการคลอดยาก สตรีที่มีส่วนสูงต่ำกว่า 145 ซม.มีโอกาสเสี่ยงต่อการคลอดติดขัด
ระดับการศึกษา การศึกษาจะช่วยให้ทำให้บุคคลมีความเข้าใจในเรื่องสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น สามารถป้องกันไม่ให้ตนเองเจ็บป่วยได้ดีกว่าผู้ที่มีการศึกษาต่ำ
รายได้หรือฐานะทางเศรษฐกิจ
สถานภาพสมรสสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโสด หม้าย หย่า หรือแยกกันอยู่กับสามี มักขาดคนดูแลและให้กำลังใจ และสตรีตั้งครรภ์ที่มีสามีจะได้รับการช่วยเหลือจากสามี
อาชีพ การที่ต้องทำงานหนักจนเกิดความเหนื่อยล้ามากเกินไป มีความเสี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับทั้งตนเองและทารกในครรภ์เพิ่มขึ้น
ลำดับที่ของการตั้งครรภ์ ผู้ที่เคยตั้งครรภ์มาแล้ว จะมีการรับรู้ถึงผลของการเปลี่ยนแปลงในระยะการตั้งครรภ์และสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้ดีกว่าผู้ที่ยังไม่เคยผ่านการตั้งครรภ์มา
จำนวนครั้งการคลอด ระยะห่างของการตั้งครรภ์
ภาวะสุขภาพสตรีตั้งครรภ์ สตรีตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ทารกแรกเกิดมีความพิการแต่กำเนิด และการตาย พบว่ามีอุบัติการณ์เพิ่มสูงขึ้น
ความเชื่อ ค่านิยม และพฤติกรรมของมารดา
ปัจจัยด้านความเชื่อ ค่านิยม
ความเชื่อในระยะตั้งครรภ์ เช่น การดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน จะทำให้ทารกมีผิวพรรณดี ไม่มีไขมันติดตามลำตัวออกมาเวลาคลอด ห้ามนอนหงาย เพราะรกจะติดหลังทำให้คลอดไม่ได้ ห้ามรับประทานกล้วยน้ำว้า มีความเชื่อว่าจะทำให้คลอดยาก
ความเชื่อในระยะคลอด การตัดสายสะดือ คนโบราณใช้ผิวไม้รวก (ไม้ไผ่) ตัดสายสะดือ ซึ่งวิธีนี้นับเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในทารกแรกเกิดที่พบบ่อย คือ โรคบาดทะยัก
ความเชื่อในระยะหลังคลอด เช่น การอยู่ไฟหลังคลอด จากความเชื่อว่าความร้อนจากการอยู่ไฟจะให้ความอบอุ่นทางด้านจิตใจตลอดจนบรรเทาความเจ็บปวดลงได้
ความเชื่อในการดูแลทารกแรกเกิด เช่น เมื่อทากรกคลอดแล้วหมอตำแยจะจับทารกคว่ำหน้า ใช้มือควักมูกออกจากปาก เพื่อป้องกันทารกสำลักน้ำคร่ำ ถ้าทารกไม้ร้องจะตีก้นเป็นการกระตุ้น และอาบน้ำล้างคราบเลือดต่างๆ
พฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์
การสูบบุหรี่ สตรีตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่ จะได้รับสารพิษที่มีในบุหรี่ จะมีผลทำให้เส้นเลือดมีการหดตัว ทำให้เลือดที่ผ่านรกไปยังทารกจะน้องลงกว่าปกติ
การใช้สารเสพติด
การดื่มสุรา ส่งผลให้ทารกที่คลอดออกมามีโอกาสที่จะเกิดความ
ผิดปกติบางอย่าง เช่น -น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ
-ปากแหว่ง เพดานโหว่ ดวงตาและกรามมีขนาดเล็กกว่าปกติ
-สติปัญญาทารกต่ำกว่าปกติ
การใช้ยา ยาที่สตรีตั้งครรภ์ใช้ในระยะต่างๆของการตั้งครรภ์ จะส่งผลต่อทารกดังนี้
1.ระยะปฏิสนธิผลต่อทารกในครรภ์ที่พบบ่อย ได้แก่ แท้ง
2.ระยะฝังตัว (1-2 สัปดาห์แรก) ผลต่อทารกในครรภ์ที่พบบ่อย ได้แก่เซลล์ลดลงทำให้แท้ง
3.ระยะสร้างอวัยวะต่างๆ ผลต่อทารกในครรภ์ที่พบบ่อย ได้แก่พิการแต่กำเนิด พบโรคมะเร็งในภายหลังทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า
4.เดือนที่ 3 ถึงเดือนที่ 9 ผลต่อทารกในครรภ์ที่พบบ่อย ได้แก่ ทารกน้ำหนักตัวน้อย การเจริญของศีรษะผิดปกติระบบประสาทผิดปกติอวัยวะเพศภายนอกผิดปกติ
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
มลพิษสตรีตั้งครรภ์ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ เช่น Sulferdioxide Carbon monoxide ยาฆ่าแมลงสารเคมีที่เหลือจากโรงงานอุตสาหกรรม สารปรอท จะมีฤทธิ์ทำลายพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์โดยจะผ่านไปยังรก
สภาพครอบครัว สภาพครอบครัวที่แตกแยก หรือการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ จะส่งผลให้สตรีตั้งครรภ์เกิดความเครียดทำให้ความสามารถในการดูแลตนเองลดลงและส่งผลต่อการพัฒนาด้านอารมณ์ของทารกในระยะยาว
ระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข
การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์และสถานบริการสาธารณสุขที่อยู่
ใกล้เคียงมีเครื่องมือทันสมัย จะมีผลต่อการดูแลสุขภาพด้านอนามัยแม่และเด็ก
การเมืองการปกครอง นโยบาย งบประมาร ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มีเป้าหมายการลดอัตราการตายของมารดา ทารก เป็นการส่งเสริมการดูแลมารตาและทารกให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
โควิด 19 กับหญิงตั้งครรภ์
ระยะฝากครรภ์ การนัดหมายตรวจ ควรมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมโดยพิจารณาจากช่วงอายุครรภ์และภาวะความเสี่ยง เมื่อมีความจำเป็นต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ควรมีการนัดล่วงหน้าเพื่อลดระยะเวลาอยู่ในโรงพยาบาลให้สั้นที่สุด
การเฝ้าสังเกตอาการตัวเองของคุณแม่ตั้งครรภ์ขณะอยู่ที่บ้าน ควรเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและติดต่อประสานแพทย์หรือพยาบาลที่ฝากครรภ์เพื่อขอคำแนะนำ และหากมีอาการที่เข่าข่ายโรคโควิด19 ต้องรีบพบแพทย์
การดูแลสุขภาพจิตของคุณแม่ตั้งครรภ์ ควรติดตามข่าวสารอย่างพอเหมาะ ทำความเข้าใจและเรียนรู้วิธีป้องกันตัวเอง หากมีปัญหาไม่สามารถปรับสภาวะอารมณ์ให้เป็นปกติได้ ควรปรึกษาแพทย์
ระยะหลังคลอด หากคุณแม่ไม่มีความผิดปกติใดๆ มักจะนัดตรวจเมื่อ 6 สัปดาห์หลังคลอด หากมีอาการผิดปกติ ควรนัดหมายเพื่อมาตรวจที่โรงพยาบาล กรณีที่คุณแม่มีโรคแทรกซ้อน แพทย์จะพิจารณานัดตรวจตามความเหมาะสม
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
แม่ติดเชื้อ อาการไม่มาก สามารถให้ลูกกินนมจากเต้าได้ ยกเว้นช่วงที่มีไข้ ควรบีบน้ำนมทิ้ง
ควรละเว้นการหอมแก้ม การใช้มือสัมผัสใบหน้า จมูก และปากของลูก
แม่มีอาการรุนแรงแนะนำงดการให้นมบุตร ช่วงนี้อาจบีบน้ำนมทิ้งไปก่อน เพื่อให้แม่คงสภาพที่สามารถให้นมลูกได้ เมื่ออาการดีขึ้น