Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของมารดาทารกในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลัง…
ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของมารดาทารกในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอดปกติ
1.ปัจจัยส่วนบุคคล
อายุ
กลุ่มที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะเกิดปัญหาทางด้านการเจริญเติบโตของร่างกายยังไม่สมบูรณ์เต็มที่อาจทำให้การคลอดเป็นไปอย่างลำบาก ขาดความพร้อมในการเป็นมารดา
กลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่อายุมาก โอกาสที่จะให้กำเนิดบุตรที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมมากกว่าวัยอื่นๆ
น้ำหนักตัวและส่วนสูง
สตรีตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวน้อยอาจส่งผลให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักน้อย
สตรีที่มีน้ำหนักมากเกินไปอาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการคลอดยาก
ระดับการศึกษา
บุคคลที่มีการศึกษาสูงจะมีความเข้าใจในการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดได้ดีขึ้น
รายได้
สตรีที่มีรายได้สูงจะเอื้ออำนวยให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม สุขภาพที่ดี ได้รับอาหารที่เพียงพอ
สถานภาพสมรส
สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นแม่หม้ายมักขาดคนดูแลให้กำลังใจ
อาชีพ
ไม่มีข้อห้ามสำหรับสตรีตั้งครรภ์ในเรื่องการทำงานแต่ตั้งไม่เป็นงานที่ก่อให้เกิดความเหนื่อยล้าเกินไปและเป็นอันตราย
ลำดับที่ของการตั้งครรภ์
สตรีที่เคยผ่านการตั้งครรภ์มาแล้วจะควบคุมอารมณ์และสถานการณ์ได้ดี
สตรีตั้งครรภ์แรกอาจมีความสนใจค้นความหาความรู้ แต่บางรายอาจขาดความรู้ในการตั้งครรภ์
จำนวนครั้งของการคลอด
การคลอดครั้งแรกจะมีอัตราเสี่ยงอันตราย และถ้าคลิดมากกว่า4ครั้งจะทำให้อัตราเสี่ยงสูงขึ้นอาจเกิดภาวะเกร็ดเลือดต่ำ ตกเลือดหลังคลอด
ระยะห่างของการตั้งครรภ์
ระยะห่างของการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยที่สุกประมาณ2-4ปี
ภาวะสุขภาพสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังจะทำให้ทารถเกิดความพิการแต่กำเนิด
2.ค่านิยมความเชื่อและพฤติกรรมของมารดา
ปัจจัยด้านความเชื่อ ค่านิยม
1.ความเชื่อในระยะตั้งครรภ์
เช่นการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนจะทำให้ทากรมีผิวพรรณดี
2.ความเชื่อในระยะคลอด
การตัดสายสะดือ คนโบราณมักใช้ผิวไม้รวกตัดสายสะดือวิธีนี้ทำให้เกิดการ ติดเชื้อในทารกแรกเกิดที่พบบ่อย
3.ความเชื่อในระยะหลังคลอด
เช่นการอยู่ไฟหลังคลอดจะให้ความอบอุ่นทางด้านจิตใจและบรรเทาความเจ็บปวดได้
4.ความเชื่อในการดูแลทารถแรกเกิด เช่นใช้น้ำมันมะพร้าวเช็ดไขมันออก
พฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์
การดื่มสุรา
การสูบบุหรี่
การใช้สารเสพติด
การใช้ยา
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
1.มลพิษ มลพิษจะมีฤทธิ์ทำลายพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์โดยจะปผ่านไปทางรก
2.สภาพครอบครัว สภาพครอบครัวแตกแยกหรือการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์จะส่งผล ให้เกิดความเครียดการดูแลตนเองลดลง
3.ระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข สตรีตั้งครรภ์ได้รับสิทธิในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่อยู่ใกล้เครื่องมือที่ทันสมัย
4.การเมืองการปกครอง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีเป้าหมายลดอัตราการตายของมารดา ทารก เป็นการส่งเสริมการดูแลมารดาและทารกให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น