Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของมารดาทารกในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด…
ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของมารดาทารกในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดปกติ
ปัจจัยส่วนบุคคลมารดา
สถานภาพสมรส
สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโสด หม้าย หย่า หรือแยกกันอยู่กับสามี มักขาดคนดูแลและให้กำลังใจ
สตรีตั้งครรภ์ที่มีสามี จะได้รับการช่วยเหลือจากสามี สามีจะเป็นผู้คอยให้กำลังใจ ให้ความช่วยเหลือในขณะตั้งครรภ์ ถึงระยะหลังคลอด
สตรีตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ต่างงาน มักจะไม่วางแผนการตั้งครรภ์ ไม่สนใจต่อการปฏิบัติตนภาวะสุขภาพ ทำให้มีภาวะแทรกซ้อนสูง
อาชีพ
การทำงาน ต้องไม่เป็นงานที่ไม่ก่อให้เกิดความเหนื่อยล้ามากเกินไป ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน สัมผัสกับสารเคมีหรือสารพิษ
การทำงานหนักจนกระทั่งคลอดมักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา หากส่งผลต่อทารกในครรภ์
รายได้ หรือฐานะทางเศรษฐกิจ
รายได้สูงจะเอื้ออำนวยให้มีพฤติกรรมการปฏิบัติตน ภาวะสุขภาพที่ดีได้ โดยได้รับอาหารที่เพียงพอ ตลอดจนเข้าถึงบริการได้อย่างเหมาะสม
รายได้ต่ำจะไม่ค่อยมีเวลาในการเอาใจใส่สุขภาพของตนเองมากนัก จะมุ่งความสนใจไปในการหาเลี้ยงชีพเพื่อความอยู่รอดของตนเองมากกว่า
ลำดับที่ของการตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์แรกยังไม่มีประสบการณ์การตั้งครรภ์ การคลอด มีความสนใจค้นคว้าหาความรู้เรื่องการปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์จากหนังสือ ผู้ที่มีประสบการณ์บางรายอาจขาดความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตนในขณะตั้งครรภ์เนื่องจากไม่มีประสบการณ์
สตรีตั้งครรภ์เคยผ่านประสบการณ์การตั้งครรภ์มาแล้ว จะสามารถควบคุมอารมณ์และสถานการณ์ได้ดี แต่ในบางรายอาจมีการปฏิบัติตนลดลง อาจละเลยต่อการป้องกันสุขภาพของตนเอง
ระดับการศึกษา
บุคคลที่มีการศึกษาสูงจะตระหนักถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ดี รู้จักใช้ความรู้และทักษะในการแก้ไขปัญหา สามารถป้องกันไม่ให้ตนเองเจ็บป่วยได้ดีกว่าผู้ที่มีการศึกษาต่ำ
จำนวนครั้งของการคลอด
คลอดครั้งแรกจะมีอัตราเสี่ยงอันตราย เกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่าการคลอดครั้งที่ 2-3 ถ้ามีการคลอดมากกว่า 4 ครั้ง ก็จะทำให้อัตราเสี่ยงสูงขึ้นอีก
น้ำหนักตัว และส่วนสูง
สตรีตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวน้อย อาจส่งผลให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักน้อย และเกิดภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ
สตรีตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักมากเกินไป (มากกว่า 80 กิโลกรัม) มีโอกาสเสี่ยงต่อการคลอดยาก หรือการคลอดติดขัด
ระยะห่างของการตั้งครรภ์
ระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์น้อยกว่า 2 ปี จะมีอัตราเสี่ยงสูงเป็น 3 เท่าของการตั้งครรภ์ห่างกัน 3 ปี
ระยะห่างของครรภ์ที่ปลอดภัยที่สุดประมาณ 2-4 ปี
อายุ
ผู้ใหญ่จะมีพฤติกรรมปกิบัติตนสุขภาพที่ดีกว่าวัยรุ่น เนื่องจากมีวุฒิภาวะมากกว่า
การที่ผู้ใหญ่ที่มีอายุมาก มีการตั้งครรภ์ จะเกิดโอกาสเสี่ยงมากกว่าวัยรุ่น เพราะ การมีบุตรจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และเกิดความเครียด ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะรบกวนถึงภาวะสุขภาพ เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
การตั้งครรภ์ในสตรีที่อายุน้อยกว่า 16 ปี ย่อมเกิดปัญหา ยังไม่บรรลุวุฒิภาวะ ทั้งด้านการเจริญเติบโตของร่างกายยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ขาดความพร้อมบทบาทในการเป็นมารดาจิตสังคมโอกาสที่จะให้ความสนใจต่อการปฏิบัติตนด้านสุขภาพก็มีน้อย
ภาวะสุขภาพสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ทารกแรกเกิดมีความพิการแต่กำเนิด และการตาย
ความเชื่อ ค่านิยม และพฤติกรรมมารดา
ปัจจัยด้านความเชื่อ ค่านิยม
การดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน จะทำให้ทารกมีผิวพรรณดี
การตัดสายสะดือ คนโบราณใช้ผิวไม้รวก (ไม้ไผ่) ตัดสายสะดือ โดยวางสายสะดือบนไพล ก้อนถ่าน หรืออื่นๆ แล้วใช้ผิวไม้รวกตัด
การอยู่ไฟหลังคลอด จากความเชื่อว่าความร้อนจากการอยู่ไฟจะให้ความอบอุ่นทางด้านจิตใจตลอดจนบรรเทาความเจ็บปวดลงได้
ใช้น้ำมันมะพร้าวอ่อนเช็ดไขมันออก เป็นการดูแลทารกที่ช่วยชีวิตทารกเมื่อแรกเกิดทันทีที่ใช้ ปัจจุบันจะใช้ลูกสูบยางแดงดูดมูกออกจากปากเพื่อป้องกันทารกสำลักน้ำคร่ำ
พฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่ดื่มสุรา ส่งผลให้ทารกที่คลอดออกมามีโอกาสที่จะเกิดความผิดปกติบางอย่างหรือมีครบทุกอย่าง
สตรีตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่ จะได้รับสารพิษที่มีในบุหรี่ มีผลทำให้เส้นเลือดมีการหดตัว ทำให้เลือดที่ผ่านรกไปยังทารกจะน้องลงกว่าปกติ
การตั้งครรภ์ในขณะที่ใช้สารเสพติด นำไปสู่การตรวจพบการใช้สารเสพติดสูงขึ้นในขณะตั้งครรภ์รวมถึงในช่วงที่คลอดบุตร
สตรีตั้งครรภ์ที่ใช้ยาในระยะต่างๆการตั้งครรภ์ จะส่งผลต่อทารก เช่น ระยะปฏิสนธิ ได้แก่ แท้ง , .ระยะสร้างอวัยวะต่างๆ ได้แก่ พิการแต่กำเนิด , .เดือนที่ 3 ถึงเดือนที่ 9 ได้แก่ ทารกน้ำหนักตัวน้อย เป็นต้น
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
สตรีตั้งครรภ์ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ เช่น สารเคมีที่เหลือจากโรงงานอุตสาหกรรม สารปรอท จะมีฤทธิ์ทำลายพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์โดยจะผ่านไปยังรก
ครอบครัวที่แตกแยก การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ส่งผลให้สตรีตั้งครรภ์เกิดความเครียด ความสามารถในการดูแลตนเองลดลง ส่งผลต่อการพัฒนาด้านอารมณ์ของทารกในระยะยาว
การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ และสถานบริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้เคียงมีเครื่องมือทันสมัย จะมีผลต่อการดูแลสุขภาพด้านอนามัยแม่และเด็ก
นโยบาย งบประมาร ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มีเป้าหมายการลดอัตราการตายของมารดา ทารก เป็นการส่งเสริมการดูแลมารดาและทารกให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์
สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
สภาพครอบครัว
การใช้ยา
สภาพสังคม
รังสี