Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของมารดาทารกในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด …
ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของมารดาทารกในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด
และระยะหลังคลอดปกติ
ปัจจัยส่วนบุคคลของมารดา
อายุ
อายุที่มากในขณะตั้งครรภ์ (มากกว่า 35 ปี) ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่ออันตรายหรือความผิดปกติได้มากกว่า
สตรีตั้งครรภ์ที่ยังไม่บรรลุวุฒิภาวะ หรือมีอายุน้อย (น้อยกว่า 16 ปี) เกิดปัญหาได้มากมาย ทั้งด้านการเจริญเติบโตของร่างกายยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ อาจทำให้การคลอดเป็นไปอย่างลำบาก
น้ำหนักตัว และส่วนสูง
สตรีตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวน้อย รรภ์มีน้ำหนักน้อย เจริญเติบโตช้าในครรภ์
น้ำหนักมากเกินไป (มากกว่า 80 กิโลกรัม) มีโอกาสเสี่ยงต่อการคลอดยาก หรือการคลอดติดขัด
ส่วนสูงต่ำกว่า 145 เซนติเมตร มีโอกาสเสี่ยงต่อการคลอดติดขัด เนื่องจากขนาดของทารกไม่สัมพันธ์กับเชิงกรานมารดา
ระดับการศึกษา
มีการศึกษาสูงจะตระหนักถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหา มีความเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ดี รู้จักใช้ความรู้และทักษะในการแก้ไขปัญหา
มีการศึกษาต่ำ อาจจะไม่มีความรู้ในการดูแลตนเองต่างๆ
รายได้ หรือฐานะทางเศรษฐกิจ
รายได้สูงจะเอื้ออำนวยให้มีพฤติกรรมการปฏิบัติตน รักษาสุขภาพ ดูแลตยเอง สามารถหาสิ่งต่างๆมาดูแลตัวเองได้ดีกว่าผู้ที่มีรายได้น้อย
สถานภาพสมรส
ผู้ที่มีสถานภาพสมรส ก็จะส่งผลต่อทางด้านจิตใจและการดูแลตนเอง เพราะมีคนคอยช่วยเหลือ ดูแลในด้านต่างๆ
อาชีพ
การทำงานที่เสี่ยงและหนักหรือทำต่อเนื่องเป็นเวลาอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อมารดาและบุตรได้
ลำดับที่ของการตั้งครรภ์
สตรีที่เคยผ่านการตั้งครรภ์จะสามารถดูแลตัวเองได้ดีกว่าครรภ์แรก เพราะรู้วิธีการต่างๆ
จำนวนครั้งของการคลอด
การคลอดครรภ์แรกจะเสี่ยงอันตราย และถ้าคลอดครรภ์ที่มากว่า4ครั้ง ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้
ระยะห่างของการตั้งครรภ์
น้อยกว่า 2 ปี จะมีอัตราเสี่ยงสูงเป็น 3 เท่า ของการตั้งครรภ์ห่างกัน 3 ปี
ภาวะสุขภาพสตรีตั้งครรภ์
มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคทางพันธุกรรม ทำให้ทารกแรกเกิดมีความพิการแต่กำเนิด
ความเชื่อ ค่านิยม และพฤติกรรมของมารดา
ปัจจัยด้านความเชื่อ ค่านิยม
ความเชื่อในระยะตั้งครรภ์
เช่น การดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน จะทำให้ทารกมีผิวพรรณดี ไม่มีไขมันติดตามลำตัวออกมาเวลาคลอดยังไม่มีผลงานวิจัยยืนยันในเรื่องนี้ แต่ในทางการแพทย์นั้นอธิบายว่าการมีไขมันติดตามลำตัวจะช่วยควบคุมอุณหภูมิกายทารกไม่ให้ต่ำจนเกินไป
ความเชื่อในระยะคลอด
การตัดสายสะดือ คนโบราณใช้ผิวไม้รวก (ไม้ไผ่) ตัดสายสะดือ โดยวางสายสะดือบนไพล ก้อนถ่าน หรืออื่นๆ แล้วใช้ผิวไม้รวกตัด ซึ่งวิธีนี้นับเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในทารกแรกเกิดที่พบบ่อย คือ โรคบาดทะยัก
ความเชื่อในระยะหลังคลอด
การอยู่ไฟหลังคลอด จากความเชื่อว่าความร้อนจากการอยู่ไฟจะให้ความอบอุ่นทางด้านจิตใจตลอดจนบรรเทาความเจ็บปวดลงได้ ส่วนใหญ่จะอยู่ไฟนานประมาณ 1-6 สัปดาห์โบราณไม่ได้กำหนดเวลาแน่นอน การฟื้นฟูสภาพหลังคลอดของคนโบราณมีหลายวิธี เช่น นั่งถ่าน เข้ากระโจม นาบหม้อเกลื
ความเชื่อในการดูแลทารกแรกเกิด
ทากรกคลอดแล้วหมอตำแยจะจับทารกคว่ำหน้า ใช้มือควักมูกออกจากปาก เพื่อป้องกันทารกสำลักน้ำคร่ำ ถ้าทารกไม้ร้องจะตีก้นเป็นการกระตุ้น และอาบน้ำล้างคราบเลือดต่างๆ
พฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์
การดื่มสุรา สตรีตั้งครรภ์ที่ดื่มสุรา ส่งผลให้ทารกที่คลอดออกมามีโอกาสที่จะเกิดความผิดปกติบางอย่างหรือมีครบทุกอย่างดังนี้คือ
น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ ปากแหว่ง เพดานโหว่ ดวงตาและกรามมีขนาดเล็กกว่าปกติ สมองเล็กกว่าปกติ
การสูบบุหรี่ สตรีตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่ จะได้รับสารพิษที่มีในบุหรี่ ไม่ว่าจะเป็นทาร์ หรือน้ำมันดิน นิโคตินหรือคาร์บอนมอนนอกไซด์ก็ตาม จะมีผลทำให้เส้นเลือดมีการหดตัว ทำให้เลือดที่ผ่านรกไปยังทารกจะน้องลงกว่าปกติ สำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่จะมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ดังนี้
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ช้า อัตราการแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด และทารกตายระหว่างคลอดสูงขึ้ ทารกที่คลอดออกมามีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ
การใช้สารเสพติด การใช้สารเสพติดมากขึ้นในสตรีที่มีอายุน้อยมีปัญหาครอบครัว ยากจน และไม่มีความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง ทำให้มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้ในขณะที่ใช้สารเสพติด
การใช้ยา
ยางบางชนิดมีพิษหรือผลข้างเคียงต่อทารกในครรภ์ ซึ่งไม่ควรใช้กับสตรีตั้งครรภ์
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
มลพิษ
การระบาดของโรคโควิด-19
การดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ควรตรวจ CBC, arterial blood gas การทางานของตับ ไต และ cardiac enzymes
การรักษาประกอบด้วย การให้สารน้ำแก้ไขภาวะขาดสมดุลของเกลือแร่ ให้ออกซิเจน
การให้ยาต้านไวรัสใช้ในรายที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง ช่วงแรกที่มีรายงาน คือ Lopinavir/Ritonavir รับประทาน
คำแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยที่อาการน้อย
1.อยู่ในที่พักอาศัยอย่างน้อย 14 วัน
ไม่รับประทานอาหารและใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น
ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว หมอน ผ้าห่ม แก้วน้า
ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้าและสบู่ นาน 20 วินาที หรือแอลกอฮอล์ร้อยละ 70 ลูบจนมือแห้ง
เมื่อต้องอยู่กับผู้อื่นต้องสวมหน้ากากอนามัยและอยู่ห่างจากคนอื่น ประมาณ 1-2 เมตรหรือหนึ่งช่วงแขน
หลีกเลี่ยงการพูดคุย ใกล้ชิดกับคนอื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรัง
การทิ้งหน้ากากอนามัย ให้ทิ้งใส่ถุงพลาสติก ปิดถุงให้สนิท ก่อนทิ้งลงถังขยะที่ปิดมิดชิด จากนั้นทาความสะอาดมือด้วยน้าและสบู่ หรือแอลกอฮอล์ร้อยละ 70 ทันที
เมื่อไอ จามให้ใช้ทิชชูปิดปาก ปิดจมูกถึงคางทุกครั้ง ทิ้งทิชชูใส่ถุงพลาสติก ปิดถุงให้สนิทก่อนทิ้งลงถังขยะที่ปิดมิดชิด จากนั้นทาความสะอาดมือด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์ร้อยละ 70 ทันที หากไม่มีทิชชูใช้ต้นแขนด้านใน
ทำความสะอาดบริเวณที่พัก ด้วยน้ำยาฟอกขาวร้อยละ 5 (น้ายาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำสะอาด 99 ส่วน) หรือเช็ดพื้นผิวสัมผัสด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ 70
ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู หรืออื่น ๆ ด้วยผงซักฟอกและน้ำธรรมดา หรือซักผ้าด้วยน้ำร้อน อุณหภูมิ 70-90 องศาเซลเซียส
สภาพครอบครัว
สภาพครอบครัวที่แตกแยก หรือการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ จะส่งผลให้สตรีตั้งครรภ์เกิดความเครียด ทำให้ความสามารถในการดูแลตนเองลดลง และส่งผลต่อการพัฒนาด้านอารมณ์ของทารกในระยะยาว
ระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข
โอกาสของสตรีตั้งครรภ์ในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ และสถานบริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้เคียงมีเครื่องมือทันสมัย จะมีผลต่อการดูแลสุขภาพด้านอนามัยแม่และเด็ก
การเมืองการปกครอง
นโยบาย งบประมาร ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มีเป้าหมายการลดอัตราการตายของมารดา ทารก เป็นการส่งเสริมการดูแลมารตาและทารกให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์
รังสี
การได้รับรังสีอาจเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้เช่น ในรายที่ขณะตั้งครรภ์มีความจำเป็นต้องฉายรังสี X- ray ในการตรวจสภาพปอดหรือฉายรังสีX-ray ในการตรวจสภาพของเชิงกราน หรือการตรวจสอบด้วยรังสี โดยไม่ทราบว่าตั้งครรภ์ หรือระยะแรกของการตั้งครรภ์ จะมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ เช่น เกิดมะเร็งในเม็ดเลือดขาว
การใช้ยา
ยาที่หญิงตั้งครรภ์ได้รับจะมีผลต่อทารกในครรภ์จะมีผลต่อทารกทั้งสิ้น เพราะทารกมีความไวต่อการทำให้เกิดความพิการ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เนื่องจากมีการเริ่มสร้างอวัยวะต่าง ๆ ผลของยาที่มีผลต่อทารกในครรภ์คือ
1.ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการไหลเวียนของมารดา ซึงมีผลโดยตรงต่อเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูกและทารก
2.มีผลโดยตรงต่อกล้ามเนื้อมดลูกและการทำงานของมดลูก
3.มีผลต่อพัฒนาการของทารก จึงทำให้เกิดความพิการได้
สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
สิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดสารพิษ เช่น Sulferdioxide Carbonmonoxide พิษจากยากำจัดวัชพืช ศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง รวมทั้งสารเคมีต่าง ๆ ที่เหลือจากโรงงานอุตสาหกรรม สารปรอท สารเหล่านี้เมื่อผ่านเข้าไปในหญิงมีครรภ์จะผ่านไปยังรก
สภาพครอบครัว
การที่หญิงตั้งครรภ์ได้อยู่ในสภาพครอบครัวที่มีสัมพันธภาพอบอุ่นจะมีสุขภาพจิตที่แข็งแรงและสมบูรณ์ ก็จะส่งผลต่อมารดาและพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของทารกให้ดีขึ้นได้
สภาพสังคม
หญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในสภาพสังคมที่ดีและเด็กที่เจริญเติบโตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีก็จะส่งผลให้มารดาและทารกมีสุขภาพจิตที่ดียิ่งขึ้นแต่ในทางตรงกันข้ามเด็กที่เกิดมาจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีมักจะทำให้เด็กเหล่านี้อาจเป็นต้นเหตุของปัญหาสังคมสืบเนื่องสืบต่อกันไป