Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปการเรียนรู้เรื่อง Chronic kidney disease - Coggle Diagram
สรุปการเรียนรู้เรื่อง Chronic kidney disease
ระยะของโรค
ระยะที่ 3 มีการลดลงของอัตราการกรองของไตปานกลาง EGFR 30-59
ระยะที่ 4 มีการลดลงของอัตราการกรองของไตรุนแรง EGFR 15-29
ระยะที่ 2 มีการว่าลายไตร่วมกับอัตราการกรองลดลงเล็กน้อย EGFR 60-89
ระยะที่ 5 มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End Stage Renal Disease: ESRD) EGFR <1
ระยะที่ 1 มีการทำลายไตเกิดขึ้น แต่อัตราการกรองยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ EGFR> 90
คำนิยาม/ คำจำกัดความ
ไตที่มีความเสียหายนาน มากกว่า 3 เดือน ทำให้เกิดความผิดปกติของโครงสร้างหรือการทำงานของไต โดยทราบจากผลการตรวจปัสสาวะ เลือด เอกซเรย์ไตผิดปกติ GFR อาจลดลงหรือไม่ก็ได้
อัตราการกรองของไตลดลงน้อยกว่า 60 ซีซี/นาที/1.73 เมตร2 นานมากกว่า 3 เดือน อาจมีความผิดปกติทางพยาธิสภาพหรือไม่ก็ได้
สาเหตุ
สาเหตุที่ไต (Intra - renal causes)เกิดเนื่องจากมีพยาธิสภาพที่เนื้อไต อาจเป็นหลอดเลือด Glomerulus หรือหลอดเลือดฝอยที่ไต การได้รับสารที่ทำลายไตImmune process, Autoimmune, Hypersensitivity
สาเหตุนอกไต (Post – renal causes)เกิดเนื่องจากการอุดตันของทางเดินปัสสาวะตั้งแต่กรวยไตถึงท่อปัสสาวะ มักมีสาเหตุมาจากนิ่ว เนื้องอก ลิ่มเลือด
สาเหตุก่อนไต (Pre – renal causes)เกิดเนื่องจากการลดจำนวนเลือดไปเลี้ยงที่ไตหรือ มีพยาธิสภาพที่อยู่ก่อนถึงเนื้อไต ได้แก่ ภาวะที่ร่างกายมีปริมาณน้ำหรือเลือดลดลงทำให้เลือดไปเลี้ยงที่ไตน้อยลง
พยาธิสรีรวิทยา
เกิดจากการเสื่อมของไตและการถูกทำลายของหน่วยไตมีผลท่าให้การกรองทั้งหมดลดลงและการขับถ่ายของเสียลดลงปริมาณ Creatinine และ BUN ในเลือดสูงขึ้นหน่วยไตที่เหลืออยู่จะเจริญมากผิดปกติเพื่อกรองของเสียที่มีมากขึ้นผลที่เกิดขึ้นคือท่าให้ไตเสียความสามารถในการปรับความเข้มข้นของปัสสาวะปัสสาวะถูกขับออกไปต่อเนื่องหน่วยไตไม่สามารถดูดกลับเกลือแร่ต่างๆท่าให้สูญเสียเกลือแร่ออกจากร่างกายเมื่ออัตราการกรองของไตน้อยกว่า 10-20 มล. / นาทีส่งผลให้เกิดการคั่งของยูเรียในร่างกายเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุดดังนั้นเมื่อเข้าสู่ระยะดังกล่าวผู้ป่วยจึงควรได้รับการรักษาด้วยการบ่าตทดแทนได้
หน้าที่ของไต
ควบคุมภาวะความเป็นกรด-ด่างของร่างกาย
กรอง ขับของเสียออกจากร่างกายในรูปของปัสสาวะ
รักษาสมดุลของน้ำ อิเล็กโทรไลต์
สังเคราะห์สาร Renin
ควบคุมความดันโลหิต
สังเคราะห์ฮอร์โมน Erythropoietin : กระตุ้นไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง
การจัดการภาวะสมดุล
โภชนบําบัดสําหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรได้รับพลังงานที่เพียงพอจากอาหาร
2.1 ถ้าอายุ< 60 ปี ควรได้พลังงาน 35 Kcal/kg /วัน)
2.2 ถ้าอายุ ≥60ปี ควรได้รับพลังงาน 30-35 Kcal/kg ของน้ำหนักตัวที่ควรเป็น (kg)/วัน
ดูแลรักษาให้มีระดับ potassium ในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ : ในกรณีที่มีระดับ potassium ในเลือดสูง ควรหาสาเหตุ เช่น จากการใช้ยากลุ่ม ACEIs หรือยาขับปัสสาวะที่ลดการขับสาร potassium และควรรับประทานอาหารที่มี potassium ต่ำ
อาหารที่มีโปรตีนต่ำเพื่อชะลอการเสื่อมของไต โดยกําหนดระดับอาหารโปรตีนที่ควรได้รับต่อวัน
1.1 ผู้ป่วยที่ eGFR < 30 ml/min/1.73m2 (ระยะที่ 4-5) ควรได้รับโปรตีน 0.8 กรัม/กิโลกรัม
1.2 ควรได้รับโปรตีนที่มีคุณภาพสูง (high biological value protein) หรือโปรตีนที่มี กรดอะมิโนจําเป็น ได้แก่ โปรตีนจากเนื้อสัตว์หรือไข่ขาว อย่างน้อยร้อยละ 60
รายที่มีความดันโลหิตสูงหรือมีอาการบวม ควรรับประทานอาหารที่มีองค์ประกอบ ของ sodium < 90 mmol/day (2,000 mg ของโซเดียม)
ควรชั่งน้ำหนัก คํานวณ BMI วัด BP และตรวจอาการบวมทุกครั้ง ที่มาพบแพทย์
การตรวจระดับ albumin ในเลือดทุก 3-6 เดือน โดย albumin ควร > 3.5 g/dL
การประเมินปริมาณโปรตีนที่ผู้ป่วยรับประทาน (dietary protein intake) ทุก 3-6 เดือน โดยวิธีเก็บ ปัสสาวะ คํานวณหาค่า normalized protein equivalent of nitrogen appearance (nPNA)
ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่ม NSAID ,COX 2 inhibitors
ใช้ยากลุ่ม Amino glycosides, radio
การรักษา
การรักษาโดยการบำบัดทดแทนไต (Renal replacement therapy) : Continuous ambulatory peritoneal dialysis : CAPD , Hemodialysis : HD , Kidney transplantation : KT
การรักษาแบบประคับประคอง (Conservative Treatment): การรักษาด้วยยา , การจัดการกับอาหาร , น้ำ การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่จะทำให้การเสื่อมของไตมากขึ้น เพื่อชะลอการเสื่อมของไต และคงไว้ซึ่งการทำหน้าที่ของไตที่เหลืออยู่ในนานที่สุด