Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษา ผู้ป่วยชาย อายุ 25ปี - Coggle Diagram
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยชาย อายุ 25ปี
ข้อมูลของผู้ป่วย
ผู้ป่วยมีอาการกระสับกระส่าย บ่นแน่นหน้าอก หายใจเหนื่อย
ปฎิเสธการมีโรคปรจำตัว
อาการสำคัญ : ขี่จักยานต์ยนชนราวสะพาน หน้าอกกระแทกแฮนด์ 30 นาที ก่อนมาโรงพยาบาล
สัญญาณชีพแรกรับ
Temperature 37.1 องศาเซลเซียส
Pulse rate 96ครั้ง/นาที
Blood pressure 100/68 mmHg
02 Saturation = 92%
Respiratory rate 26 ครั้ง / นาที
ผู้ป่วยรายนี้มีภาวะกระดูกซี่โครงขวาหักหัก 3ซี่ ซี่ที่ 4 หัก 1 ตำแหน่ง ซี่ที่ 5 หัก 2 ตำแหน่ง และซี่ที่6 หัก 2 ตำแหน่ง
พยาธิสภาพ
เมื่อมีรูทะลุเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอดเกิดการฉีกขาดของเลือดบริเวณทรวงอกทำให้มีทั้งลมและเลือดออกมาในช่องเยื่อหุ้มปอดทำให้เกิดความดันบวกในช่องเยื่อหุ้มปอดหากมีเลือดออกในเยื่อหุ้มปอดมากทำให้การขยายตัวของปอดไม่ดีทำให้ช็อกจากการเสียเลือดหมดสติ อาจจะเกิดได้จากอวัยวะภายในทรวงอกได้รับบาดเจ็บ อาจมีการหักของกระดูกซี่โครงทิ่มเข้าไปในเนื้อปอด จนทำให้มี การฉีกขาดของเส้นเลือดหรือเนื้อปอดมีเลือดออกมาอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด ซึ่งผู้ป่วยรายนี้มีภาวะกระดูกซี่โครงขวาหักหัก 3ซี่ ซี่ที่ 4 หัก 1 ตำแหน่ง ซี่ที่ 5 หัก 2 ตำแหน่ง และซี่ที่6 หัก 2 ตำแหน่ง
การวินิจฉัยโรค
ภาวะเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอด
haemothorax
วิธีการวินิจฉัยโรค
ก
ารสอบถามประวัติทางการแพทย์และการตรวจร่างกาย
ผู้ที่เคยมีภาวะหัวใจล้มเหลว หรือเคยเป็นโรคตับแข็ง ร่วมกับมีอาการบ่งชี้ เช่น เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ไอแห้ง หรือตรวจร่างกายแล้วพบความผิดปกติที่ระบบหายใจ อาจคาดการณ์ได้ว่ามีภาวะ Pleural Effusion
การเอกซเรย์
เป็นวิธีวินิจฉัยที่ให้ผลการตรวจชัดเจน เนื่องจากจะช่วยให้เห็นลักษณะปอด รวมถึงของเหลวภายในช่องเยื่อหุ้มปอดได้
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์
(Computerized Tomography: CT Scan) อาจนำมาใช้ตรวจเพื่อหาสาเหตุของภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เป็นไปได้เพิ่มเติม
อัลตราซาวด์
(Ultrasound) เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงแสดงภาพอวัยวะภายในร่างกาย ซึ่งจะแสดงภาพส่วนของเนื้อเยื่ออ่อน (Soft Tissue) ทารกที่อยู่ในครรภ์ ภาวะเส้นเลือดอุดตัน การอัลตราซาวด์อกจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีวินิจฉัยภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด
การวิเคราะห์ของเหลวภายในช่องเยื่อหุ้มปอด
(Pleural Fluid Analysis) สามารถทำได้หลายวิธี แต่ส่วนใหญ่แพทย์มักใช้การเจาะโพรงเยื่อหุ้มปอดหรือสอดท่อขนาดเล็กเข้าไปในปอดเพื่อระบายของเหลวออกมา แล้วนำของเหลวดังกล่าวไปตรวจสอบ
วิธีการรักษา
การผ่าตัด วิธีนี้มักใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยแพทย์จะสอดท่อเข้าไปในช่องอกเพื่อบังคับทิศทางให้ของเหลวไหลจากบริเวณปอดออกสู่ช่องท้อง ซึ่งเป็นจุดที่ร่างกายระบายของเหลวได้ง่ายกว่า หรือในกรณีที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจตัดเยื่อหุ้มปอดบางส่วนทิ้ง วิธีนี้เรียกว่า Pleurectomy
Pleurodesis คือวิธีการรักษาโดยใช้สารบางชนิดเชื่อมเยื่อหุ้มปอดและเยื่อหุ้มช่องอกให้ติดกัน ซึ่งจะทำหลังจากระบายของเหลวออกนอกร่างกายเรียบร้อยแล้ว เพื่อลดช่องว่างและป้องกันการสะสมของของเหลวภายในปอด ส่วนใหญ่วิธีนี้มักนำมาใช้กับผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะ Pleural Effusion ร่วมด้วย
การระบายของเหลวออกจากช่องเยื่อหุ้มปอด แพทย์จะเปิดรอยแผลขนาดเล็กและสอดท่อเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอด เพื่อระบายของเหลวออกภายนอกร่างกาย ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจต้องรับการรักษาซ้ำ หากพบว่ามีปริมาณของเหลวเพิ่มขึ้นอีก
อาการและอาการแสดง
กระสับกระส่าย เหงื่อออก
ซีด ตัวเย็น
ความดันโลหิตต่ำ แน่นหน้าอก
หายใจลำบาก
ระดับความรุนแรงแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
ระดับปานกลาง Moderate Hemothoraxอาการแน่นหายใจลำบาก กระหายน้ำชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ
ระดับมาก Massive Hemothoraxเลือดออกมากกว่า 1500 มล.
ระดับน้อย Minimal Hemothorax เลือดออก 200-350 มล. อาจไม่มีอาการ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อภาวะช็อกเนื่องจากเสียเลือดมาก
เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจาก ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดลดลง
เสี่ยงต่อการติดเชื้อบริเวณแผล ICD เนื่องจากใส่ICDที่ทรวงอกข้างขวา
เสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดเนื่องจากมีการแตกหักของกระดูกซี่โครงภายใน
เสี่ยงต่อภาวะระดับความรู้สึกตัวลดลงเนื่องจากซีดและซึมลงจากภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ
เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจจากการใส่ท่อช่วยหาย
พร่องกิจวัตรประจำวันเนื่องจากความสามารถในการช่วยเหลือตนเองลดลง