Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย อายุ45 ปี, อ้างอิง - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย อายุ45 ปี
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน: 30 นาที ก่อนมาโรงพยาบาล
ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก ร้าวไปแขนซ้าย ขณะวิ่งออกกำลังกาย นั่งพักแล้วอาการไม่ดีขึ้น แน่นหน้าอกคล้ายมีอะไรมาทับ เหงื่อแตก ใจสั่น หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม
อาการสำคัญ
เจ็บหน้าอก ร้าวไปแขนซ้าย 30นาที ก่อนมาโรงพยาบาล
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
( Acute myocardial infarction)
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายอันเนื่องมาจากการขาดเลือดไปเลี้ยง จากการตีบตันหรืออุดตันของหลอดเลือดแดง โคโรน่รีซึ่งเป็นอาการเจ็บหน้าอกที่มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดจากความต้องการออกซิเจนของ กล้ามเนื้อหัวใจและปริมาณออกซิเจนที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่สมดุลกัน อาการเจ็บหน้าอกรุนแรง มากและนานเกินกว่า30 นาที อาจอยู่นานต่อไปเป็น 1-2 ชั่วโมง หรือ 1-2 วัน
พยาธิสภาพของโรค
เลือดหัวใจตีบหลอดเกิดจากการหนาตัวและแข็งตัวของผนังหลอดเลือด ท าให้การ น าเลือดของหลอดเลือดโคโรนารีลดลง สืบเนื่องมาจากการมีไขมันเกาะที่ผนังหลอดเลือด หรือหลอด เลือดโคโรนารีหดเกร็งหรือมีลิ่ม หรือการรวมตัวของไขมันไปอุดตัน แต่ที่พบมากที่สุด คือ ไขมัน เกาะที่ผนังหลอดเลือด ท าให้หลอดเลือดแข็ง และช่องภายในหลดเลือดจะตีบแคบลง ซึ่งเป็นสาเหตุ ให้ปริมาณเลือดไหลผ่านน้อยลง เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลงและขาดออกซิเจน การท าหน้าที่ ของกล้ามเนื้อหัวใจถูกขัดขวางจากการขาดเลือดและท าให้เกิดการบาดเจ็บ และเซลล์ตาย กล้ามเนื้อ หัวใจตายได้เมื่อขาดเลือดไปเลี้ยงประมาณ 3 ชั่วโมง และเนื้อเยื่อที่ตายจะไม่สามารถกลังคืนสภาพ เดิมได้อีก
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
เพศ: เพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง
อายุ : เพศชายอายุเกิน 40 ปีขึ้นไปมีโอกาสพบหลอดเลือดแข็งตัวได้มาก เพศหญิงที่มีประจําเดือนแล้วพบได้บ่อยใกล้เคียงกับเพศชาย
ประวัติครอบครัว :ครอบครัวที่มีคนเป็นโรคหัวใจเกี่ยวกับหลอดเลือดโคโรนารีจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมากกว่าครอบครัวที่ไม่มีโรคนี้
ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ภาวะไขมันในเลือดสูง ( hyperlipidemia )
ความดันโลหิตสูง (hypertension)
โรคเบาหวาน (diabetes mellitus)
การสูบบุหรี่ (smoking)
โรคอ้วน (obesity)
ความเครียด (stress)และการละเลยการออกกําลัง (lack of proper exercise)
อาการและอาการแสดงทางคลินิก
อาการเจ็บ หน้าอก
เจ็บ หน้าอกรุนแรงขึ้นชัดเจน เจ็บถี่มากขึ้น โดยมีอาการเจ็บ ปวด จุกแน่นที่กลางหน้าอก ร้าวไปคอ กรามหรือแขน
เจ็บหน้าอกติดต่อกันมากกว่า 30 นาที อมยาใต้ลิ้นไป 3 เม็ด ในเวลา 10 นาทียังไม่ทุเลา
เจ็บหน้าอกมาก่อนขณะออกกำลังกายเป็นการบาดเจ็บครั้งแรกขณะพัก
อาการไม่จำเพาะ คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ หายใจไม่ค่อยสะดวกกระสับกระส่าย เป็นต้น
อาการแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่นหัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจล้มเหลว ช็อกจากหัวใจ ก้อนลิ่มเลือดอุดตัน
การประเมินสภาพผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย
1.การซักประวัติและการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
อาการเจ็บหน้าอก (Chest pain) เจ็บแน่นอึดอัด เหมือนมีอะไรมาทับหรือมาบีบหัวใจ ตำแหน่งที่ เจ็บอาจเป็นบริเวณกลางทรวงอก ลิ้นปี่ หน้าอกข้างซ้าย อาจมีอาการเจ็บหน้าอกร้าวไปที่หัวไหล่ซ้ายขวา ข้อศอก แขนซ้ายถึงนิ้วก้อย หรือร้าวไปที่คอ คาง ขากรรไกรล่าง เจ็บครั้งหนึ่งไม่เกิน 15 นาที เรียกว่า angina pectoris ในระยะ coronary insufficiency เจ็บไม่เกิน 30 นาที แต่เป็น acute myocardial infarction จะเจ็บนานกว่า 30 นาที ปัจจัยชักนำที่ททำให้เจ็บหน้าอก ได้แก่ออกกำลังกายรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ หรืออิ่มเกินไป ความเย็น เช่น อากาศเย็น สูบบุหรี่ อารมณ์ โกรธ หงุดหงิดวิตกกังวล
2.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Troponin T 2 ng/L
CPK-MB133 u/ml
creatinine kinase (CK) หรือcreatinine phosphokinase(CPK),lactate dehydrogenase (LDH) และ aspatatetransaminase (AST)
การตรวจภาพรังสีหัวใจ (chest X-rays,CXR)
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบธรรมดา (12 lead EKG)
5.การตรวจเอ็มอาร์ไอ (MRI หรือ magnetic resonance imaging)
การรักษา
1.การรักษาระยะก่อนมาถึงโรงพยาบาล
โดยให้ยาอมไนโทรกลีเซอรีน ใต้ลิ้น0.002 มิลลิกรัม ทุก 5 นาที หรืออมยาไอ ซอริ์ล 5 มิลลิกรัม ทุก 5 นาที จนหายเจ็บหน้าอก เคี้ยวและกลืนยาแอสไพรินขนาด 160-325 มิลลิกรัมทันที เปิดเส้นเลือดดำคาสายน้ำเกลือไว้ เพื่อเตรียมพร้อมในภาวะฉุกเฉิน ให้ออกซิเจน 2-4 ลิตร / นาที ให้ยาบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก มอร์ฟีน 2.5 มิลลิกรัม เข้าเส้นเลือดดำ แล้วรีบนำส่ง โรงพยาบาล
การรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายที่ห้องฉุกเฉิน
การรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายในโรงพยาบาล 24 ชั่วโมงแรก
ได้รับยาแอสไพริน ออกซิเจน น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ และมอนิเตอร์คลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอดเวลา ดูแลให้ผู้ป่วยได้พักและได้ยาแก้ปวด เช่น มอร์ฟีนจนอาการเจ็บหายไป มีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจซ้ำและตรวจเลือดเพื่อหา ฮีมาโทคริต ไขมัน เบาหวาน การทำงานของไต เกลือแร่
การรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในโรงพยาบาลหลัง 24 ชั่วโมง
จะค่อย ๆ เพิ่มการเคลื่อนไหวขึ้น และย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤตได้ใน 2-3 วัน และกลับบ้านได้ใน 4-7 วันยังต้องให้ยาแอสไพรินขนาด 160 – 325 มิลลิกรัมต่อวันตลอดไป ส่วน beta – blocker ก็ให้ตลอดไป และควรให้ ACE –inhibitors อย่างน้อย 6 สัปดาห์ ตลอดจนเตรียมผู้ป่วยกลับบ้านหลังจากทดสอบด้วยการออกกกำลังกายด้วย
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เจ็บแน่นหน้าอกเนื่องจากปริมาณเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
O: Pain score8 มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ร้าวไปแขนซ้าย ขณะวิ่งออกกำลังกายนั่งพักแล้วอาการไม่ดีขึ้น แน่นหน้าอกคล้ายมีอะไรมาทับ เหงื่อแตก ใจสั่น หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม
ผลการตรวจ EKG : ST-elevate
วัตถุประสงค์ของการพยาบาล
เพื่อให้อาการเจ็บ หน้าอกของผู้ป่วยทุเลาลง
กิจกรรมการพยาบาล
1.ดูแลให้ออกซิเจน mask c bag 10 lit/นาที และติดตามระดับความอิ่มตัวของออกซิเจน keep มากกว่าร้อยละ 90
2.ตรวจวัดสัญญาณชีพทุก 15 นาที เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงอาการ อาการแสดงภาวะ Cardia c shock เช่น หน้าซีด เหงื่อออก ตัวเย็น กระสับกระส่าย สับสน ความรู้สึกตัวลดลง ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ
3.ดูแลให้ยา Isodil 5 mg โดยให้อมใต้ลิ้น และยาต้านเกร็ดเลือด (Aspirin,Clopidogrel) ตามแผนการรักษาประเมิน และบันทึกการตอบสนองของยา และเฝ้าระวังผลข้างเคียง ที่อาจจะเกิดขึ้น ให้สารน้ำทางหลอดเลือด 0.9%NaCl 1,000 ml v drip 60 ml/hr
4.ให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างเต็มที่ (absolute bed rest) โดยให้นอนศีรษะสูง 30-60 องศา สังเกตอาการเจ็บหน้าอกของผู้ป่วย รวมทั้งคำพูดต่าง ๆ ที่บ่งบอก ถึงการเจ็บหน้าอก การประเมินผล:สัญญาณชีพ อุณหภูมิร่างกาย 36.7 องศาเซลเซียส ชีพจร 110 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 30 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 140/80 มิลลิเมตรปรอท และ O2 saturation 98% อาการเจ็บหน้าอกลดลง pain score 5 ผู้ป่วยไม่มีอาการกระสับกระส่ายภายหลังอาการเจ็บหน้าอก
2 เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากการแลกเปลี่ยนก๊าชใน ปอดไม่มีประสิทธิภาพ
ข้อมูลสนับสนุน
S : “เจ็บหน้าอกร้าวไปแขนซ้าย กรามซ้าย"
O :-จากการสังเกต ผู้ป่วยแน่นหน้าอกคล้ายมีอะไรมาทับ
เหงื่อแตก หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม
-จากการตรวจร่างกาย temperature 36.8 องซาเซลเซียส Pulse 102 ครั้ง/นาที Respiratory 24 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต 96/62 mmHg. SaO2 94% room air
-จากผลตรวจ EKG: ST. depress
วัตถุประสงค์ของการพยาบาล
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการแลกเปลี่ยนก๊าช
และร่างกายได้รับออกซิเจนเพียงพอ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสภาพทั่วไป สัญญาณชีพ ( อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ และ ความดันโลหิต) ทุก 5 นาที 2 ครั้ง ทุก 15 นาท 2 ครั้ง ทุก 30 นาที 2 ครั้ง และทุก 1 ชั่วโมง ตามลำดับจนกว่าสัญญาณชีพจะอยู่ในระดับปกติ และ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อเฝ้าระวังการ เปลี่ยนแปลงอาการอาการแสดงภาวะCardiac shock เช่น หน้าซีด เหงื่อออก ตัวเย็น กระสับกระส่าย สับสน ความรู้สึกตัวลดลง ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ
ดูแลให้ยา Isodil 10 mg โดยให้อมใต้ลิ้นตามแผนการรักษา เพื่อขยายหลอด เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ าทางหลอดเลือดด า (5% D/N/2 1000 ml v drip 60ml/hr) ตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อทดแทนปริมาณเลือดและสารน้ าที่สูญเสียไป
ตรวจแรงดันก๊าชในเลือดแดง ตามแผนการรักษา 4.1 O2 saturation จากเครื่อง pulse oxymeter ไม่น้อยกว่า 90 % ประเมินอาการกระสันกระส่าย สับสน หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็วขึ้น เนื่องจากการมีภาวะออกซิเจนต่ำในเลือดสังเกตลักษณะผิวหนัง เพื่อดูภาวะ Cyanosis หรือไม่
ดูแลให้ออกซิเจน Cannula 5 ลิตร / นาที ตามแผนการรักษา
อยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วย พูดปลอบโยนให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยสงบลง การประเมินผล ผู้ป่วยรู้สึกตัว อาการเจ็บหน้าอกลดลง วัดค่าความอิ่มตัวออกซิเจนทางผิวหนัง90 – 95 % อุณหภูมิ 36.7 องศาเซลเซียส ชีพจร 110 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 30 ครั้ง/นาทีความดัน โลหิต 90/60 mmHg ไม่มีอาการกระสับกระส่าย พักผ่อนได้
มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากได้รับยาละลายลิ่มเลือด
วิตกกังวลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของตนเอง
ประวัติเจ็บป่วยในอดีต : โรคไขมันในเลือดสูง เป็นมา 2 ปี รับยาโรงพยาบาลนครพิงค์เป็นประจำ ปฏิเสธแพ้ยา อาหาร และสารเคมีใดๆ สูบบุหรี่ก้นกรอง วันละ 2-3 มวน ดื่มสุรา นานๆครั้ง เวลามีเทศกาล
ยาที่ผู้ป่วยได้รับ
-Isodrill 5 mg. Sub lingual stat
ชื่อยาทั่วไป ยาIsosorbide dinitrate
กลุ่มยา กลุ่ม Nitrates
ข้อบ่งใช้ Isosorbide dinitrate และIsosorbide 5-mononitrate ใช้ในการรักษา Angina pectoris และ Myocardial infarctiong
กลไกการออกฤทธิ์ มีผลทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว โดยกลไกที่เกี่ยวพันกับการปลดปล่อย nitric oxide (NO) พบว่า NO หรือ ที่เปลี่ยนแปลงไป เป็น nitrosothiols มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของ guanylyl cyclase ที่อยู่ใน cytoplasm ส่ง ผลให้มีการเพิ่มปริมาณของ intracellularcGMP โดย cGMP มีบทบาทสำคัญที่ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว
ข้อห้ามใช้ -การใช้ยาติดต่อกันจะทำให้เกิดภาวะดื้อยา (nitrate tolerance)ได้ดังนั้นจึงควร กำหนดความถี่ในการให้ยา ให้เหมาะสมให้มีช่วงที่ปลอดยาอย่างน้อย 12ชม.ต่อวัน โดยเฉพาะถ้าเป็นแบบปิดหน้าอกควรเอาแผ่น ออกตอนกลางคืน การหยดุยากระทันหันในรายที่ให้ยาขนาดสูงๆเป็นระยะเวลานาน อาจเกิดอาการ ถอนยาได้คือมีฤทธิ์ตรงข้ามกับการออกฤทธิ์ของยา เช่น ทำให้เกิด อาการเจ็บ หน้าอกได้
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มึนงง ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็ว
MO 10 mg. IV stat
ชื่อยา Morphine sulfate injection 10mg/ml. (1 ml)
ออกฤทธิ์โดยจับกับ mu (µ) receptors เป็นหลัก ที่บริเวณสมองและไขสันหลัง มีผล บรรเทาอาการปวด และ ทำให้เกิดอารมณ์เคลิ้มสุขได้
ข้อบ่งใช้
บรรเทาอาการปวดแบบเฉียบพลันและเรื้อรังระดับปานกลางและรุนแรง เช่น หลังผ่าตัดหรือจาก โรคมะเร็ง และ myocardial infarction
รักษาภาวะ Acute pulmonary edema ที่สัมพันธ์กับ left ventricular failure
ใช้ก่อนผ่าตัดเพื่อทำให้สงบลดกังวล
ใช้เป็นfacilitate induction of anesthesia
ใช้ใน neonatal opiate withdrawal
ข้อห้ามในการใช้
ผู้ป่วยที่แพ้ยา Morphine sulfate หรือ แพ้ส่วนประกอบในสูตรตำรับ
ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะและ/หรือในช่องไขสันหลังสูง (Increased intracranial pressure)
Severe respiratory depression ที่ไม่มีเครื่องช่วยหายใจหรือเครื่องช่วยชีวิต
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดเฉียบพลัน หรือรุนแรง
ผู้ป่วยที่ทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้น
Paralytic ileus หรือ gastrointestinal obstruction
อาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญ
ท้องผูก, มึนงง, ระงับประสาท, คลื่นไส้/อาเจียน, ซึม และเคลิ้มฝัน ถ้า overdose ผู้ป่วยจะมีอาการง่วงซึมปลุกไม่ตื่น, หายใจช้า, Shock, หัวใจหยุดเต้น
ถ้าจะให้ยา Morphine กินเป็นระยะเวลานาน ควรให้ยาระบาย
-ASA 300 mg. เคี้ยว
ชื่อยา Aspirin 300 mg tablet
กลุ่ม กลุ่มซาลิไซเลต (salicylate)
ข้อบ่งใช้
บรรเทาอาการเจ็บปวด บวมจากภาวะอักเสบของข้อ เช่น ไขข้อกระดูก อักเสบ (Osteoarthritis) ไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) และ ไขข้อ กระดูกสันหลังอักเสบ (ankylosing spondylitis) หรือใช้เพื่อบรรเทาอาการปวด จากสาเหตุอื่น ได้แก่ ปวดประจำเดือน ปวดฟัน ปวดกล้ามเนื้อ ใช้ลดไข้ตัวร้อนที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากไข้เลือดออก อีสุกอีใส หรือไข้หวัดใหญ่ โดยขนาดใช้ยาในผู้ใหญ่เมื่อมีอาการดังกล่าวคือรับประทานครั้งละ 325 – 650 มิลลิกรัม ทุก 4 – 6 ชั่วโมง นอกจากนั้นในโรคหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลัน สามารถใช้aspirin ในขนาดยาที่สูงได้เช่นกันคือขนาดยา 150-325 มิลลิกรัม วิธีใช้ยา • ยานี้ใช้สำหรับรับประทาน โดยทั่วไปรับประทานวันละ1-4 คร้ังขึ้นกับ โรคหรืออาการที่เป็นอยู่ • ห้ามรับประทานยานี้พร้อมยาลดกรด หากจะรับประทานต้องห่างกันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง • หากมีไข้นานเกิน 3 วัน หรืออาการปวดยังไม่ทุเลาเกิน 10 วัน ควรปรึกษา แพทย์ • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลในระหว่างรับประทานยานี้• ไม่ควรใช้ยานี้ในเด็กอายตุต่ำกว่า12 ปีโดยไม่ได้อยู่ในความดูแลของ แพทย์หรือเภสัชกร • ไม่ควรบดหรือเคี้ยวเม็ดยา
กลไกการออกฤทธิ์ของยาแอสไพริน
การยับยั้งเอนไซม์ในร่างกายที่ทำให้เกิดสารอักเสบ ซึ่งมีชื่อว่า ไซโคลออกซิจีเนส หรือเรียกชื่อเอนไซม์นี้อย่างย่อๆ ว่า ค็อกซ์ (cyclooxygenase: COX) นอกจากนี้ เอนไซม์ค็อกซ์ (COX enzyme) ยังกระตุ้นการสร้างสารที่ทำให้เกิดการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ที่มีชื่อว่า ทร็อมบ็อกเซนเอทู thromboxane-A2 ดังนั้น ผลที่ได้จากการใช้ยาแอสไพริน นอกจากจะบรรเทาอาการอักเสบแล้ว ยังทำให้เกล็ดเลือดเกาะกลุ่มกันได้ยากมากขึ้น ซึ่งขนาดยาที่สูงของแอสไพริน (325-650 มิลลิกรัม ต่อครั้ง) จะได้ผลดีในการบรรเทาอาการปวดและอักเสบ2-3 ส่วนขนาดยาที่ต่ำของแอสไพริน (75-150 มิลลิกรัมต่อวัน) มีผลการรักษาที่ดีในแง่ฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือด
ผลข้างเคียงยา
-ผื่นคัน ลมพิษ บวมที่ตา ใบหน้า ริมฝีปากลิ้น หรือช่องคอ หายใจลำ บากหรือ หายใจมีเสียงหวีด เสียงแหบ ตัวเย็น มีเสียงในหูหรือไม่ได้ยินเสียง อาเจียนเป็น เลือด อุจจาระเป็นสีแดงสด หรือสีดำคล้ำ
-Clopidogrel 75 mg. 4 tabs. Oral stat
-On O2 cannula 3 lit/min keep SaO2 >95%
-On 0.9% NSS 1000 cc. rate 100 cc./hr.
-EKG.Monitor
-EKG 12 Leads,Trop-T ทุก 6 ชั่วโมง
CXR
ผลตรวจ EKG 12 Lead
อ้างอิง
1.ชัชชญา สุวรรณชาตรี. (2553). การพยาบาลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2564,จาก
http://www.msdbangkok.go.th/
2.ปารียา เกกินะ. (2561). การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายที่มีภาวะคุกคามต่อชีวิต :กรณีศึกษา โรงพยาบาลเหนือคลอง(วิทยานิพนธ์พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ). กระบี่ โรงพยาบาลเหนือคลอง. สืบค้นจาก
https://thaidj.org/index.php/KMJ/article/view/6537
3.ปราณี ทู้ไพเราะ.(2556). คู่มือยา.กรุงเทพฯ:N P Press Limited Partnership.
4.พัฒนาพร สุปินะ. (2558). คู่มือการพยาบาล ผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนผานทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ. สืบค้น 6 เมษายน 2564,จาก
https://www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing/sins/attachments/article/217
5.วิภารักษ์ บุญมาก. (2558). บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน แอสไพริน. สืบค้น5 เมษายน 2564, จาก
https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/
6.สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี2557 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ: ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด. สืบค้นจาก
http://www.thaiheart.org/