Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 8 สถิติพรรณนาเพื่อการวิจัยทางส่งเสริม และพัฒนาการเกษตร - Coggle…
หน่วยที่ 8
สถิติพรรณนาเพื่อการวิจัยทางส่งเสริม
และพัฒนาการเกษตร
การใช้สถิติพรรณนาเพื่อการวิจัยทางส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
สถิติเชิงพรรณนา
(descriptive statistics) หมายถึง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลที่ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมมา โดยนำมาบรรยายถึงลักษณะของข้อมูลที่เก็บมาได้ ผู้วิจัยสามารถแสดงลักษณะดังกล่าวได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตาราง ข้อความ แผนภูมิหรือกราฟต่าง ๆ
การใช้สถิติพรรณนาในการวิจัยเชิงสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) หมายถึง การวิจัยที่เน้นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงจากผู้ให้ข้อมูลโดยตรง
จุดมุ่งหมายหลัก 3 ประการ
เพื่อค้นคว้าสำรวจ
เพื่อพรรณนาหรือบรรยาย
เพื่อค้นหาสาเหตุหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ประเภทของการวิจัยเชิงสำรวจ
จำแนกตามวัตถุประสงค์การสำรวจ
การสำรวจเชิงพรรณนา
การสำรวจเชิงอธิบาย
จำแนกตามระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
การวิจัยแบบตัดขวาง
การวิจัยแบบระยะยาว
จำแนกตามกลุ่มที่ทำการวัดในการวิจัย
การวิจัยเชิงสำรวจจากประชากร
การวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง
จำแนกตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม
การสำรวจโดยการสัมภาษณ์
การใช้สถิติพรรณนาในการวิจัยเชิงความสัมพันธ์
ประเภท
การศึกษารายกรณี
เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาปัญหากรณีเฉพาะเรื่อง เพื่อที่จะให้ได้ความรู้ที่ลึกซึ้งเฉพาะอย่าง โดยตัวอย่างที่ศึกษานั้นเป็นเพียงหน่วยเดียวของประชากร
การวิจัยเปรียบเทียบผลเพื่อศึกษาเหตุ
เป็นการศึกษาที่มุ่งจะทราบว่า
เพราะเหตุใด เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์นั้นจึงเกิดขึ้น มีสิ่งใดที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์นั้น ๆ
การศึกษาเชิงสหสัมพันธ์
เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน เพราะในปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ อาจมีเหตุการณ์มากกว่า 1 เหตุการณ์เกิดขึ้นและมีความสัมพันธ์กัน
การใช้สถิติพรรณนาในการวิจัยเชิงพัฒนา
รูปแบบของการวิจัย
งานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
งานวิจัยเพื่อเตรียมรองรับปัญหาในระยะปานกลางถึงระยะยาว
งานวิจัยและพัฒนาซึ่งนำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม
งานวิจัยเพื่อขยายผลการวิจัย
ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา
ขั้นตอนการวิจัย
เป็นการวิจัยเพื่อวิเคราะห์ความต้องการ เพื่อค้นหาปัจจัยต่าง ๆ ที่จำเป็นหรือความต้องการพัฒนาหรือสร้างนวัตกรรมทางการเกษตร
การกำหนดวัตถุประสงค
การวางแผนหรือออกแบบ
การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนการพัฒนา
ขั้นตอนการผลิตในขั้นตอนนี้เป็นการนำผลจากการวิจัยที่ได้ในขั้นตอนที่ 1 มาดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์
การพัฒนาต้นแบบ
ทดลองหรือทดสอบผลิตภัณฑ์
ขั้นตอนการเผยแพร่และส่งเสริม
เป็นการเสนอรายงานเกี่ยวกับผลการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในที่
ประชุมสัมมนาทางวิชาการหรือวิชาชีพ ส่งในวารสารทางวิชาการ เพื่อเผยแพร่ไปยังสถานที่ต่าง ๆ
ประเภทของสถิติพรรณนาเพื่อการวิจัยทางส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
การแจกแจงความถี่
เป็นการจำแนกข้อมูลตามลักษณะที่สนใจศึกษา โดยนับจำนวนครั้งที่ข้อมูลจะตกอยู่ในกลุ่มลักษณะที่จำแนก
การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
เป็นการหาค่ากลางของข้อมูลเพื่อใช้เป็นตัวแทนของข้อมูลทั้งหมด เพื่อใช้ใน
text
การเปรียบเทียบข้อมูลในแต่ละชุด โดยที่ไม่จำเป็นต้องพิจารณาจากข้อมูลทั้งหมด โดยที่ค่ากลางจะเป็นค่าที่เป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด
1. ค่าเฉลี่ย
(mean) หรือค่าเฉลี่ยเลขคณิต คือค่ากลางที่หาจากผลรวมของขอ้มูลทุกค่าแลว้หารด้วยจำนวน
ข้อมูลท้้งหมด
2. มัธยฐาน
(median) หมายถึง ค่าที่อยู่ตรงกลางของข้อมูลเมื่อจัดเรียงข้อมูลจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
3. ฐานนิยม
(mode) คือค่าของข้อมูลที่มีความถี่ซ้ำกันมากที่สุดหรือความถี่สูงสุด ข้อมูลบางชุดอาจไม่มีฐานนิยม หรือมีมากกว่า 1 ค่า ฐานนิยมจึงเหมาะใช้กับข้อมูลที่มีความถี่ซ้ ากันมากที่สุด และเป็นตัวแทนของข้อมูลเชิงคุณภาพ
การวัดการกระจายของข้อมูล
1. พิสัย
(range) คือความแตกต่างของข้อมูลที่มีค่าสูงสุดกับข้อมูลที่มีค่าต่ำสุด โดยพิสัยเป็นข้อมูลที่แสดงการกระจายคร่าว ๆ บอกให้ทราบว่าในข้อมูลชุดหนึ่งมีการกระจายของคะแนนจากคะแนนสูงสุดอยู่ห่างจากคะแนนต่ำสุดเท่าไร
2. ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์
(quartile deviation) คือ ครึ่งหนึ่งของความแตกต่างระหว่างควอไทล์ที่ 3 และค่าควอไทล์ที่ 1 ของข้อมูลทั้งชุด
3. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(standard deviation)คือค่าที่ใช้วัดความแตกต่างโดยเฉลี่ยระหว่างค่าแต่ละค่า
กับค่าเฉลี่ยของข้อมูลชุดนั้น
สถิตินอนพาราเมตริกเพื่อการวิจัยทางส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
ลักษณะข้อมูลที่ใช้คำนวณ โดยเฉพาะตัวแปรตามจะเป็นข้อมูลที่เป็นเชิงปริมาณ แต่ในทางปฏิบัติโดยทั่วไป จะพบข้อมูลที่เป็นเชิงคุณภาพ
การวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวด้วยสถิตินอนพาราเมตริก
การทดสอบทวินาม
การทดสอบไคสแควร
การทดสอบ Kolmogorov-Smirnov
สถิตินอนพาราเมตริกสำหรับวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม
1) กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่มีความสัมพันธ์กัน
ข้อมูลแบบนามมาตร
ข้อมูลแบบอันดับมาตร
2) กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน
Mann-Whitney U Test
Kolmokorov-Smirnov Test
Wald-Wolfowitz Test
Moses Extreme Reactions Test
สถิตินอนพาราเมตริกสำหรับวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่าง
มากกว่าสองกลุ่ม
1) กลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มที่มีความสัมพันธ์กัน เป็นการทดสอบความแตกต่างของการแจกแจงของตัวแปรตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไปโดยที่ตัวแปรทุกกลุ่มต้องมีความสัมพันธ์กัน
2) กลุ่มตัวอย่างมากว่า 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน เป็นการทดสอบความแตกต่างของลักษณะของข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไปโดยที่ข้อมูลแต่ละชุดต้องสุ่มอย่างเป็นอิสระต่อกัน