Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรค เอส.แอล.อี (Systemic Lupus Erythematosus : SLE), นางสาวสุวรรณนา …
โรค เอส.แอล.อี (Systemic Lupus Erythematosus : SLE)
สาเหตุ
-ฮอร์โมนเพศ (Sex hormone) พบว่าโรคจะกำเริบรุนแรงมากขึ้น เมื่อผู้ป่วยรับประทานยาคุมกำเนิด ตั้งครรภ์ ระยะหลังคลอด และในช่วงมีประจำเดือน
-สิ่งแวดล้อม พบว่ากระตุ้นทำให้เกิดโรค SLE หรือทำให้โรคที่เป็นอยู่กำเริบได้แก่ แสงแดด UItraviolet สารเคมีบางชนิด เช่น น้ำยาย้อมผม Hydrazines
-ไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเป็นกรรมพันธุ์ ไวรัส เชื่อว่าไวรัส C-type RNA เป็น
แอนติเจนที่ทำให้มีปฏิกิริยาภูมิต้านทานตนเอง
พยาธิสภาพ
ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้มีการสร้างแอนติบอดีต่อเซลล์ใน ร่างกายของผู้ป่วยเอง (Autoantibodies) เกิดกระบวนการอักเสบของ อวัยวะที่ได้รับผลกระทบ ทำให้เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน Autoantibodies บางส่วนจะถูกรวมตัวก่อให้เกิด Abnormal immunecomplexes สะสมตามอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดการอักเสบและ ทำลายเนื้อเยื่อ มีพยาธิสภาพในระบบต่างๆ เช่น ไต ข้อและ กระดูก ผิวหนัง ระบบประสาท ปอด หัวใจและหลอดเลือด ระบบไหลเวียน ทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงที่หลากหลาย
การวินิจฉัย
•สมาคมรูมาติซั่มของอเมริกาถ้ามีหรือเคยมีอาการและตรวจพบตั้งแต่ 4 อย่างขึ้นไปให้วินิจฉัยว่าเป็นเอส.แอล.อี
มีผื่นแดงบริเวณใบหน้า (Malar rash)
เป็น discoid-lupus
ไวต่อแสง (Photosensitivity)
มีแผลในปาก (Oral ulcer)
ข้ออักเสบ (Arthritis)
มีโปรตีนในปัสสาวะ (Proteinuria) มากกว่า 0.5 g/day
มีอาการชักหรืออาการทางประสาท (Seizure หรือ Psychosis)
เยื่อหุ้มปอดอักเสบหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
โลหิตจางชนิดฮีโมลัยติดหรือหรือมีเม็ดเลือดขาวต่ำกว่าปกติ หรือเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ
การทดสอบ LE หรือ antibody ต่อ DNA ให้ผลบวกหรือการทดสอบ VDRLให้ผลบวก โดยไม่ได้เป็นซิฟิลิส
ผลทดสอบ FANA ได้ผลบวก
การรักษา
•ยากลุ่ม NSAID ช่วยควบคุมอาการอักเสบ และรักษาอาการของผู้ป่วยเท่านั้น จะไม่เปลี่ยนแปลงการดำเนินของโรค
•ยากลุ่ม Corticosteroid ใช่บ่อย โดยเฉพาะเมื่อเกิดไตอักเสบ ในรายที่พบว่าอัลบูมินต่ำ บวม และความดันโลหิตสูง
•Plaguenil (Hydroxychloroquine ) เป็นยาฆ่าเชื้อมาเลเรีย มักใช้รักษาเอส.แอล.อี่ ที่มีอาการทางผิวหนัง
•ยากดการสร้างแอนติบอดี้ ใช้ร่วมกับส
เดียรอยด์ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการทางไตร่วมด้วย
อาการ และอาการแสดง
อาการทางผิวหนัง
•Butterfly rash : ผื่นแดงแผ่จากสันจมูกไปที่โหนกแก้มเป็นรูปผีเสื้อ ผื่นจะชัดเจน
•Raynaund's phenomenon : ปลายนิ้วมือนิ้วเท้าเขียวหรือซีดเกิดขึ้นเป็นระยะๆ
•เส้นผมอาจหยาบแห้ง ไม่มีเงา สีจางลง หรือร่วง
•อาการไวต่อแสง
อาการทางข้อ และกล้ามเนื้อ
•ข้ออักเสบ ข้อที่พบบ่อยคือ ข้อเล็กๆของมือ ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อเข่า หรือข้อเท้า
•กล้ามเนื้ออักเสบ หากเป็นมาก และเวลานาน อาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบเล็กได้
อาการทางไต
•พบได้บ่อย มี บวม ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะน้อยลง และอาการที่เกิดจากภาวะไตวาย ซึ่งในบางกรณีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเป็นสาเหตุตายได้
อาการทางปอดและเยื่อหุ้มปอด
•พบเยื่อหุ้มปอดอักเสบได้บ่อยที่สุด ร่วมกับมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด •เนื้อปอดอาจมีการอักเสบคล้าย Atypical pneumonia
•X-ray จะเห็นหย่อมที่ปอดแฟบเป็นหย่อมเล็ก ๆ หลายหย่อมที่ บริเวณฐานของปอด และมีการติดเชื้อร่วมด้วย
อาการทางหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด
•อาการที่พบมีหอบเหนื่อยนอนราบไม่ได้จากภาวะหัวใจล้มเหลว ชีพจรเต้นผิดจังหวะจากกล้ามเนื้อหัวใจอักสบ และอาจมีอาการเจ็บตื้อที่หน้าอกต้านซ้ายจากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งเกิดจากมีพยาธิสภาพที่หลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจ นอกจากนั้นอาจพบว่ามีความดันโลหิตสูง
อาการทางระบบประสาท
•ปวดศีรษะ ชัก ซึมจนถึงหมดสติได้ นอกจากนั้นก็อาจมีเลือดออกในสมอง อัมพฤกษ์ และอัมพาตส่วนทางต้านจิตใจก็มีการเปลี่ยนแปลงด้วย อาจมีอาการซึมเศร้า สับสนจนพูดไม่รู้เรื่อง
อาการทางระบบทางเดินอาหาร
•เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย กลืนลำบาก
•แผลในเยื่อบุช่องปาก
•ภาวะ ascites
•ภาวะที่สำคัญที่ทำให้ถึงแก่ชีวิต ได้แก่ ภาวะหลอดเลือดอักเสบ
อาการทางตับ
•มักพบตับโต •อาจเกิดภาวะ pancreatitis
อาการทางม้าม และต่อมน้ำเหลือง
•คลำพบม้าม และต่อมน้ำเหลืองโต แต่โตไม่มาก
•ต่อมน้ำเหลืองโตทั่ว ๆ ไป ทำให้คิดว่าเป็นโรคของต่อมน้ำเหลือง
อาการทางระบบโลหิต
•ชนิดเม็ดเลือดแดงมีขนาดปกติ
•โลหิตเป็นพิษเนื่องจากปัสสาวะไม่ออก
•Hemolytic anemia เนื่องจากร่างกายสร้าง antibody ต่อ RBC ของตนเอง ทำให้ RBCถูกทำลายเพิ่มมากขึ้น
การพยาบาล
1.ดูแลให้ผู้ป่วย อาการปวดข้อและกล้ามเนื้อโดยจัดให้นอนพักบนเตียง
2.ในหน้าที่สุขสบายให้ยาลดอาการปวดและให้ยาสเตียรอยด์ตามแผนการรักษา
3.สังเกตผลข้างเคียงของยา
4.พักการใช้ข้อ จัดให้อยู่ในข้ออยู่ในท่าที่ถูกต้องไม่บิดงอบริหารข้อ
5.ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวลป้องกันการติดเชื้อ
6.บันทึกสัญญาณชีพ
7.ดูแลความสะอาดบริเวณผื่นแดงทำความสะอาดในช่องปากบนปากด้วยน้ำเกลือบ่อยๆ
8.ลดความวิตกกังวล
10.ดูแลให้ได้รับสารอาหารเพียงพอโดยรับประทานอาหารที่ละน้อยแต่บ่อยครั้ง
นางสาวสุวรรณนา มากลาง 62110230