Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคข้อรูมาตอยด์(Rheumatoid arthritis), นายอิสระพงษ์ สวัสดี 62110291 -…
โรคข้อรูมาตอยด์(Rheumatoid arthritis)
พยาธิสภาพ
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการอักเสบเเละการทำลายข้อโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ซึ่งส่งผลให้ไซโตไคน์บุกรุกไปยัง ข้อต่อและทำให้เกิดความเสียหายต่อกระดูก กระดูกอ่อน เส้นเอ็นและเอ็น ทำให้เยื่อข้อมีการหนา และเเทรกทำลายกระดูกอ่อนของข้อ เกิดปวด บวม แดง และร้อนที่ข้อมีการสะสมของเม็ดเลือดขาวในข้อ เช่น CD4+ T cells, macrophages และ B cells และการสะสม ของ fibrin เมื่อโรคเป็นมากขึ้นจะมีการหนาตัวของเยื่อหุ้มข้อมีการทำลายกระดูกอ่อนที่หุ้มปลายข้อ กล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อจะอ่อนแรงทำให้ปวดข้อมากขึ้น
อาการเเละอาการเเสดง
อาการนำของโรค
อ่อนเพลีย ตึงและปวดข้อ
ปวด บวม แดง ร้อน และกดเจ็บบริเวณข้อ
ตุ่มก้อนรูมาตอยด์ขึ้นตามข้อศอกหรือข้อมือ
ข้ออักเสบมากกว่า 3 ตำแหน่ง
มีอาการปวดอย่างช้าๆ ค่อยๆปวด
มักเริ่มปวดที่ข้อนิ้วทือ ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อนิ้วเท้า
ตอนเช้าตื่นนอนจะรู้สึกปวดร่างกาย
อาการอื่นๆ
หลอดเลือดอักเสบ
ตาขาวอักเสบ
ม้ามโต พบบางราย
อาการทางปอด
สาเหตุ
ร้อยละ70 เกิดจากระบบอิมมูน
การสร้างแอนติบอดี้ต่อต้าน Ig G ไม่ได้ และอาจเกิดการติดเชื้อจากไวรัสและแบคทีเรีย
สัมพันธ์กับการถ่ายถอดทางพันธุกรรมร่วมกับการกระตุ้นจากการติดเชื้อประเภทต่างๆ เชื้อไวรัส เเละเเบคทีเรีย
ความเครียด
ระบบภูมิคุ้มกันทำลายเยื่อหุ้มข้อ (Synovium) เป็นผลทำให้เกิดการอักเสบเเละบวม
การวินิจฉัยโรค
การตรวจร่างกาย: เพื่อตรวจสอบอาการบวมและความร้อนในข้อต่อ
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและอื่น ๆ
ข้อตึงตอนเช้า
ข้อบวมอย่างน้อย 1 ข้อ
ปวดข้อเวลาเคลื่อนไหว
เอกซเรย์: เพื่อยืนยันความเสียหายของข้อต่อและติดตามการพัฒนาของโรค
The American Rhenmatism Association ปี 1998
ผู้ป่วยจะต้องมีอาการตามเกณฑ์การวินิจฉัย 4 ข้อจากทั้งหมด 7 ข้อ โดยข้อที่ 1- 4 ต้องเป็นมานานอย่างน้อย 6 สัปดาห์
1.ข้อฝืดตึงตอนเช้า นานกว่า 1 ชั่วโมง
2.มีอาการข้ออักเสบจากการตรวจตรวจร่างกาย ตั้งเเต่ 3 ข้อขึ้นไป คือ MCP เเละ MTP ข้อกลางของนิ้วมือเเละเท้า
3.มีอาการข้อนิ้วมือ หรือข้อมืออักเสบอย่างน้อย 1ข้อ
4.มีอาการข้ออักเสบเเบบสมมาตร (symmetrical arthitis) คือ มีอาการข้ออักเสบของทั้งสองด้านของร่างกาย
5.ตรวจพบปุ่มรูมาตอยด์บริเวณใกบ้ข้อ bony prominence หรือ extensor surface ที่เเขนเเละขา
ุ6. ตรวจพบสารรูมาตอยด์ (rheumatoid factor) ในเลือด
7.การเปลี่ยนเเปลงของกระดูกในบริเวณข้อมือ จากภาพรังสีการตรวจหาการสึกกร่อนของกระดูกที่อยู่ในข้อ (marginal bone erosion) สามารถพบได้ร้อยละ 15 - 30 ในระยะ 1 ปีเเรกของโรค ในระยะเเรกมักมีอาการของข้อนิ้วเท้าเเละข้อเท้าด้วยควรส่งตรวจทั้งข้อมือเเละเท้าในผู้ป่วยระยะเเรก
การรักษา
การรักษาด้วยยาต้านการอักเสบ เช่น Aspirin ยาต่อต้านการอักเสบไม่ใช่สเตียรอยด์ (์NSAID) Ibuprofen, Naproxen, Indomethacin และ Diclofenac กลูโคติคอยชนิดรับประทานเเละฉีด
การรักษาให้โรคสงบด้วย Gold salts, D-Penicillamine โดยเฉพาะในรายที่โรครุนเเรงบ่อยๆ โดยหวังควบคุมให้โรคสงบลง
ยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive drugs) ใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่โรครุนเเรงเเละก้าวหน้าไม่ตอบสนองต่อยาต่อต้านการอักเสบ เช่น cyclo-phosphamide , azathioprine
การทำ plasmapheresis การฟอกพลาสมา เพื่อนำพลาสมาที่ไม่ดี หรือเป็นพิษออกจากร่างกาย
การภาพบำบัด ลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ เเละการตึงตัวของข้อโดยการใช้ความร้อน
การผ่าต่อเเก้ไขความพิการของข้อ ในรายที่เป็นมาก มีการกดประสาททำให้เจ็บปวดรุนเเรง เพื่อลดอาการปวดเเละป้องกันไม่ให้ลุกลาม
การผ่าตัด
การพยาบาล
รับรู้เกี่ยวกับโรคและคอยป้องกันอันตราย
หาวิธีลดความเครียด
หากิจกรรมที่เหมาะสมกับโรค และการพักผ่อนที่เพียงพอ
ปรับกิจวัตรประจำวันให้เหมาะสม
ออกกำลังกาย
จัดท่านอน หลีกเลี่ยงการหนุนหมอนและการใช้หมอนรองใต้เข่า
นายอิสระพงษ์ สวัสดี 62110291