Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะช็อค กรณีศึกษาที่ 1 -Septic shock- - Coggle Diagram
ภาวะช็อค
กรณีศึกษาที่ 1
-Septic shock-
ข้อวินิจฉัยทางกการพยาบาล
เสี่ยงเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน เนื่องจากมีการ
เปลี่ยนแปลงของปริมาตรสารน้ำในร่างกาย
พร่องกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
เสี่ยงต่อภาวะไม่สมดุลของสารน้ำในร่างกาย เนื่อจากไตขาดเลือดไปเลี้ยง
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน เนื่องจากปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจในหนึ่งนาทีลดลงจากภาวะช็อค
ภาวะช็อค เนื่องจากติดเชื้อในกระแสเลือด
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Cardiac arrest ซ้ำ เนื่องจากหัวใจบีบตัวไม่มีประสิทธิภาพ
การรักษา
แบบใช้ยา
การให้ยาปฏิชีวนะ
ให้ยาปฏิชีวนะในรูปฉีดทางกระแสเลือด ควรให้ภายใน 1 ชม.ตั้งแต่วินิจฉัยภาวะ septic shock และควรเริ่มต้นด้วยการให้ในขนาดที่สูงสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อรุนแรงและค่อยปรับตามผลการติดเชื้อภายใน 48-72ชม
การให้ยากระตุ้นความดันโลหิต
norepinephrine
dobutamine
ยาสเตียรอยด์
แบบไม่ได้ใช้ยา
การรักษาแบบประคับประคอง
renal support
intensive insulin therapy
การใช้ low dose ของ corticosteroid
Pulmonary support
Nutrition support
การให้อาหารที่พอเหมาะมีความสำคัญทั้งใน
การให้สารน้ำ
เพื่อเพิ่มให้ปริมาตรหลอดเลือดกลับมาเร็วที่สุด
สารน้ำที่
ควรให้คือ isotonic crystalloid solution
การเฝ้าระวังทางความดันโลหิต
การให้ออกซิเจน
การรักษาที่ผู้ป่วยได้รับ
การรักษาแบบไม่ใช้ยา
on oxygen cannula 3 lits/min
on 0.9% NSS (1,000) IV rate 100 cc./hr.
การรักษาแบบใช้ยา
ceftriaxone
ผลข้างเคียง
มีอาการบวมแดง เจ็บปวดในบริเวณที่ถูกฉีดยา ท้องร่วง หรือคลื่นไส้อาเจียนเล็กน้อย
กลไกการออกฤทธิ์ ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วยการทำลายผนังเซลล์ทำให้แบคทีเรียตาย
กลุ่มยาปฏิชีวนะในกลุ่มยาเซฟาโลสปอริน (Cephalosporin)
เหตุผลที่ได้รับยา รักษาภาวะติดเชื้อ
เปรียบเทียบทฤษฎีกับผู้ป่วย
ผู้ป่วย
ฟังปอดมีเสียง crepitation
มีไข้ 38.8 องศาเซลเซียส P= 110 ครั้ง/นาที R=28 ครั้ง/นาที BP= 90/56 mmhg SaoO2= 90% room air
หายใจเหนื่อย ไอ มีเสมหะสีเหลือง ปัสสาวะออกน้อย
มีอาการอ่อนเพลีย ซึมหลับ มีสับสน
จาาการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Blood chemistry: BUN และ Cr สูง
Electrolyte : Na และ K ต่ำ
CBC: Hematocrit และ Pletelet ต่ำ WBC สูง
LFT : SGOT SGPT TB DB สูง
ทฤษฎี
พยาธิสรีรวิทยา
เกิดจากการทําหน้าที่ของหลอดเลือดผิดปกติ เริ่มมาจากแบคทีเรียปล่อย endotoxin เข้ากระแสเลือด ทำให้เกิดการอักเสบที่เกิดขึ้นเฉพาะจุด ส่งผลให้เกิด การขยายตัวของหลอดเลือดบริเวณนั้นมีการเคลื่อนที่ของWBC ต่างๆไปยังอวัยวะเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงของระบบ metabolism และ catabolism ของบางอวัยวะ และมีการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นในร่างกาย หลังจากนั้นร่างกายจะมีการหลั่งสาร proinflammatory cytokines จํานวนมากออกมา หลังจากนั้นร่างกายจะหลังสารฮีสตามีน และไคนิน มีผลทําให้ความตึงตัวของหลอดเลือดเพิ่มขึ้น มีการคั่งค้างของเลือดใน หลอดเลือดดํามากขึ้น ความดันโลหิตก็จะตํ่าลง นอกจากนี้ ร่างกายมีการกระตุ้นคอมพลีเมนต์ต่างๆ ทําให้เกิดลิ่มเลือดเล็กๆ ทําให้หลอดเลือดเล็กๆอุดตันเป็นผลทําให้ เนื้อเยื่อขาดเลือด สารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยง เนื่องจากเซลล์ได้ออกซิเจน น้อยลงทําให้เซลล์ต้องอาศัยกระบวนการสร้างพลังงานโดยไม่ใช้ออกซิเจน ทําให้เกิดการคังของกรดแลคติกตามมา เมื่อภาวะดังกล่าวนี้ไม่ได้รับการ แก้ไขอาการของโรคจะลุกลามทําให้เซลล์และอวัยวะสําคัญของร่างกายถูกทําลายและเสียชีวิตในที่สุด
อาการและอาการแสดง
อาการแสดงทั่วไปของการติดเชื้อ
มีไข้ หนาวสั่น ชีพจรเร็ว หายใจเร็ว การมีไข้ ซึ่งพบ
ในผู้ป่วยส่วนใหญ่
ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีไข้ก็ได้ถึงแม้จะมีการติดเชื้อรุนแรง
อาการเฉพาะที่หรือเฉพาะอวัยวะที่ช่วยให้ระบุตำแหน่งของการติดเชื้อ
เป็นลักษณะที่บ่งชี้ถึงการติดเชื้อ
Streptococcus pneumonia
ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาหายใจ ไข้สูงเฉียบพลัน อาจตรวจพบน้ าในช่องเยื่อหุ้มปอด (pleural effusion)
. อาการที่เกิดจากการกระจายของโรคมาที่ผิวหนังโดยตรง เช่น septic emboli จะพบเป็น
แผลหนอง ซึ่งเมื่อน าไปย้อมสีกรัมจะพบตัวเชื้อ
อาการที่เกิดจากความล้มเหลวของระบบอวัยวะต่างๆ เช่น ระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด
คือภาวะความดันโลหิตต่ำ อวัยวะต่างๆ ได้รับเลือดและออกซิเจนไม่พอเพียง
ผู้ป่วยอาจมี
อาการสับสน กระวนกระวาย ซึม หมดสติ มีปัสสาวะน้อยลงหรือไม่มีปัสสาวะเลย
สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
การติดเชื้อในกระแสเลือดขั้นรุนแรง ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อไวรัส
การติดเชื้อที่เกิดขึ้นกับระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย
ทางเดินหายใจ
ทางเดินอาหาร
ทางเดินปัสสาวะ
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ
การมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคของเม็ดเลือดขาวบางชนิด โรคตับแข็ง โรค
ภูมิคุ้มกันต้านทานของร่างกายบกพร่องชนิดต่าง ๆ
สาเหตุอื่นๆ เช่น ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ที่เกิดแผลเป็นบริเวณกว้าง เชื้อ โรคก็จะเข้าสู่
ร่างกายได้ง่าย และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในกลุ่มผู้ติดยาเสพติด
การทำหัตถการต่างๆ ที่ต้องใส่เครื่องมือเข้าไปในร่างกาย ซึ่งจะเป็นการนำเชื้อโรคให้เข้าสู่
ร่างกายได้ง่ายขึ้น
การตรวจร่างกาย เพื่อประเมินระยะของช็อค
ผิวหนังผู้ป่วยจะมีสีชมพูและอุ่นในระยะแรก แต่เมื่อภาวะช็อกดำเนินต่อไป จะมีการทำงานของระบบ Sympathetic มากขึ้น ผิวหนังก็จะมีลักษณะเย็นชื้นเช่นเดียวกับภาวะช็อกอื่น ๆ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ชีพจรเบาเร็ว จากการกระตุ้นของระบบประสาท Sympathetic
เพื่อรักษาระบบไหลเวียนเลือดให้เพียงพอ ความดันโลหิตลดต่ำลง และแคบ
ระบบประสาท ในระยะแรกที่มีการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท Sympathetic เพิ่มการหลั่งของ Epinephrine ร่วมกับการลดลงของความดันโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดลง ผู้ป่วยจะรู้สึก กระสับกระส่าย หงุดหงิด สับสน เมื่อภาวะช็อกก้าวหน้าจนเข้าสู่ระยะหลัง ผู้ป่วยจะซึมลงและไม่รู้สึกตัว
ระบบหายใจ ในภาวะช็อกเนื้อเยื่อของร่างกายจะมีเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ
และเนื้อเยื่อต่างๆ ขาดออกซิเจน
ระบบไต การไหลเวียนโลหิตลดลงในระยะหลัง ทำให้จำนวนปัสสาวะน้อยลง