Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รูปแบบการจัดสัมมนาแบบ Symposium - Coggle Diagram
รูปแบบการจัดสัมมนาแบบ Symposium
ข้อดี
ผู้บรรยายหรือวิทยากรมีโอกาสได้เสนอเอกสารและข้อเท็จจริงใหม่ๆ และสามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลในแง่มุมต่างๆ
ผู้ฟังมีโอกาสได้ฟังข้อคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้บรรยายหลายๆ ท่าน ทำให้ได้รับความรู้กว้างขวางขึ้น
ลักษณะของการบรรยายแต่ละตอนจะสั้นและกระชับ ซึ่งทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย ไม่ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย
สามารถลดความขัดแย้งระหว่างผู้บรรยาย หรือวิทยากรด้วยกันเองได้อย่างมาก
ข้อจำกัด
ผู้เชี่ยวชาญหรือวิทยากรแต่ละคน อาจบรรยายคนละทรรศนะ ซึ่งทำให้ผลของการสัมมนาไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เลขานุการหรือผู้เชิญวิทยากรควรชี้แจง เพื่อทำความเข้าใจกับวิทยากรให้เข้าใจชัดแจ้ง
ผู้ฟังอาจเกิดความเบื่อหน่ายในการฟังคำอภิปรายได้ เพราะมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นน้อย
ความหมาย
การอภิปรายทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ โดยผู้อภิปรายแต่ละคนจะเตรียมค้นหาความรู้ โดยผู้อภิปรายแต่ละคนจะเตรียมค้นหาความรู้ข้อเท็จจริงเฉพาะตอนหนึ่งตอนใดของเรื่องมาอภิปรายตามที่ได้ตกลงกันไว้ผู้อภิปรายแบบนี้จะเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผุ้ชํานาญการในด้านใดด้านหนึ่ง ส่วนผู้ดําเนินการอภิปรายจะมีหน้าที่เชื่อมโยงเรื่องต่างๆ ให้ต่อเนื่องประสานกันให้เป็นไปด้วยดีในระยะเวลาของการอภิปราย
หน่วยงานที่ใช้การอภิปรายแบบนี้กันมาก ได้แก่ หน่วยงานทางการศึกษา แพทย์ ทหาร และธุรกิจ ตัวอย่าง
ผู้อภิปราย1—พูดเรื่อง—การสอนภาษาในระดับประถม
ผู้อภิปราย2—พูดเรื่อง—การสอนภาษาในระดับมัธยม
ผู้อภิปราย3—พูดเรื่อง—การสอนภาษาในระดับอุดมศึกษา
ผู้อภิปราย4—พูดเรื่อง—การสอนภาษาเพื่องานวิจัย
ผู้อภิปราย5—พูดเรื่อง—การสอนภาษาเพื่อการเขียนตํารา
วิธีการดำเนินการ
พิธีกรเชิญประธานเปิดการอภิปราย และพิธีกรแนะนำหัวเรื่องที่จะบรรยายแนะนำวิทยากรแต่ละคน เพื่อให้ผู้ฟังทราบพื้นฐานและภูมิหลังของผู้บรรยาย
เริ่มการบรรยายโดยพิธีกรหรือประธาน เป็นผู้ประสานเชื่อมโยงการบรรยายของวิทยากรแต่ละคนอาจสรุปในบางตอนที่มีเนื้อหาสาระประทับใจเป็นพิเศษและคอยประสานงานให้การบรรยายดำเนินไปตามหัวข้อเรื่อง และวัตถุประสงค์ที่วางไว้
การจัดที่นั่งสำหรับผู้บรรยาย ควรจัดให้สูงกว่าผู้ฟัง เพื่อผู้ฟังจะได้มองเห็นผู้บรรยายได้อย่างชัดเจนและควรจัดเตรียมสื่อการบรรยายชนิดต่างๆ เมื่อผู้เชี่ยวชาญหรือวิทยากรแต่ละคนบรรยายจบ ควรเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้มีโอกาสซักถาม แสดงข้อคิดเห็นต่างๆ โดยพิธีกรหรือประธานเป็นผู้ดำเนินการประสานงาน
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำรายงาน
ได้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการจัดสัมมนาแบบ Symposium
ทำให้มีแนวทางให้การศึกษาเรื่องการจัดการสัมมนาในครั้งต่อไป
ทำให้เกิดกระบวนการคิดอย่างเป็นรูปแบบ มีการสรุปเนื้อหาออกมา ทำให้ง่ายต่อการอ่าน
สามารถนำความรู้ที่ได้ นำไปใช้ในวิชาเรียน และในชีวิตจริง
อ้างอิง
ผล ยาวิชัย. (2553). สัมมนา. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสัมมนา. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา
สมิตร สัชฌุกร. (2552). การประชุมทเี่กิดประสิทธิผล.กรุงเทพมหานคร.สายธาร