Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน - Coggle Diagram
ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน
สาเหตุ
สาเหตุของอาการปวดหลังในผู้ป่วยกระดูกสันหลังเคลื่อนมักเกิดจากความไม่มั่นคง (Instability) ของแนวกระดูกสันหลัง ซึ่งมักเริ่มจากหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ตามด้วยข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม และส่งผลให้กระดูกสันหลังเกิดการ“เลื่อน” ซึ่งเมื่อกระดูกสันหลังเกิดการเลื่อนตัวออกจากกันจะทำให้เกิดการตีบแคบของโพรงเส้นประสาท และเมื่อมีการตีบแคบลงจนกระทั่งเกิดการกดทับเส้นประสาทก็จะส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวลงขา ชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีปัญหาการควบคุมระบบขับถ่ายตามมาในที่สุด
อาการ
ผู้ป่วย ส่วนใหญ่ มาพบแพทย์ด้วย อาการ ปวดหลัง บริเวณเอว อาการปวดจะ เป็นมากขึ้นในขณะเปลี่ยนอิริยาบถ ชํน ลุกจากที่นอน ยืน หรือ เดิน การก้มเงยจะปวดมากขึ้น แต่ถ้านั่งพักอาการปวดจะลดลง และต่อมาจะมีอาการปวดร้าวตามแนวรากประสาท ร่วมกับปวดร้าวลงขา หรือมีอาการปวดบริเวณสะโพกร้าวลงไปน่อง และเท้าตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ มีอาการขาชาและอ่อนแรง มีการตึงตัวของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง และมีการกดเจ็บบริเวณด้านหลังที่กระดูกสันหลังเคลื่อน
การพยาบาล
การบริหารร่างกาย โดยการบริหารกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อหน้าท้อง ซึ่งจะช่วยลดการขยับของกระดูกสันหลังได้ดี ประกอบด้วยทํางอหลัง ท่าแอ่นหลังแต่ในท่าแอ่นหลังต้องพิจารณาเป็นรายๆไป เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจทำให้เกิดการเจ็บปวดมากขึ้น เพราะทําแอ่นหลัง จะเกิดแรงอัดต่อ pars interarticularis ได้การบริหารต้องทำทุกวันอยํางน้อยวันละ 15 - 20 นาที
การใส่เครื่องพยุงหลัง กรณีที่มีอาการปวดมาก อาจใช้เครื่องพยุงหลัง เช่น L-Ssupport หรือ corset วันละ 23 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน ร่วมกับ
การให้ยาแก้ปวด และการบริหารกล้ามเนื้อหลังเมื่ออาการปวดดีขึ้นแล้ว
การให้ยาในกลุ่มต่าง ๆ เพื่อลดความเจ็บปวด แต่ควรให้ด้วยความระมัดระวังและให้ในช่วงสั้นๆ ได๎แกํ ยาลดการอักเสบที่ไมํใชํสเตียรอยด์ ( NSAIDS: non steroidal antiinflammatory drugs) ยาคลายกล้ามเนื้อ ( muscle relaxant),ยาแก๎ปวด ( analgesic) เสริมใน1-2 สัปดาห์แรก
Epidural steroid injection การรักษาโดยการฉีดคอร์ติโคสเตรียรอยด์(coticosteroid) ที่ผสมกับยาชาเข้าไปในช่องไขสันหลัง ในรายที่มีการกดทับรากประสาท สามารถช่วยลดอาการปวดในระยะสั้นๆได้
ให้คำแนะนำในรายที่มีอาการทางด้านจิตใจและสังคม ในรายที่มีอาการปวดเรื้อรัง ยาต้านการซึมเศร้า (anti-depressants) จะช่วยให้ผู้ป่วยลดความวิตกกังวลลงได้
การรักษา
การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด
-
ใช้ยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs (Nonsteroidal Anti – Inflammatory Drugs) ได้แก่ ยา Paracetamol, Ibuprofen, Diclofenac, Arcoxia และ Celebrex
การทำกายภาพบำบัดเพื่อเน้นการเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง หน้าท้อง สะโพก และต้นขาด้านหลัง
-
-
การรักษาโดยการผ่าตัด
หากผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการรับประทานยาแก้ปวด การทำกายภาพบำบัด และการรักษาโดยวิธีอินเตอร์เวนชัน (Intervention) แล้วร่างกายยังไม่ตอบสนองต่อการรักษา แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัดให้กับผู้ป่วย โดยการรักษาโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนด้วยการผ่าตัด มีข้อบ่งชี้ดังนี้
- ผู้ป่วยมีกระดูกสันหลังเคลื่อนมากหรือมีแนวโน้มจะเคลื่อนมากขึ้นในอนาคต
- มีอาการปวดหลังมาก โดยไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยวิธีอื่น
- มีอาการเส้นประสาทโดนกดทับอย่างรุนแรง