Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
จริยธรรมและจรรยาบรรณ ของนักคอมพิวเตอร์ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 -…
จริยธรรมและจรรยาบรรณ ของนักคอมพิวเตอร์ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560
จริยธรรมคอมพิวเตอร์
“จริยธรรม” หรือ Ethics นั้นอาจเข้าใจกันในหลายความหมาย เช่น หมายถึง “หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติหรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ”
จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
ตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
1.ความเป็นส่วนตัว (Privacy)
2.ความถูกต้อง (Accuracy)
3.ความเป็นเจ้าของ (Property)
4.การเข้าถึงข้อมูล (Data accessibility)
จรรยาบรรณการใช้คอมพิวเตอร์
แนวทางระดับองค์กร มีสำคัญในการป้องกัน และ และ ควบคุมปัญหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการใช้คอมพิวเตอร์ ได้แก่จรรยาบรรณการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่ง เป็นการประมวลหลักจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ คอมพิวเตอร์เป็นลายลักษณ์อักษร
จรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์
จรรยาบรรณต่อตนเอง
๑ ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่และดำรงชีวิตเหมาะสมตามหลัก ธรรมาภิบาล
๑.๑ ประกอบวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความยุติธรรม ใฝ่หาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาตน และงานที่รับผิดชอบ
๑.๒ ผู้ประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะมีความวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุความสำเร็จของงานสูงสุด
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
๒ ตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้อง มีเหตุผล และรู้รักสามัคคี
๒.๑ ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก เจ้าของสิทธิเดิมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
๒.๒ ให้ความยกย่องและนับถือผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพทุกระดับที่มีความรู้ ความสามารถและความประพฤติดี
๒.๓ รักษาและแสวงหามิตรภาพระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
๓. ไม่ประพฤติหรือกระทาการใดๆอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในวิชาชีพแห่งตน
๓.๑ ใช้ความรู้ความสามารถในทางสร้างสรรค์ ไม่ใช้ในทางทาลายหรือกลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
๓.๒ ไม่แอบอ้าง อวดอ้าง ดูหมิ่นต่อบุคคลอื่นๆหรือกลุ่มวิชาชีพอื่น
๓.๓ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมเกียรติคุณของวิชาชีพ ผู้ร่วมอาชีพและเพื่อพัฒนาวิชาชีพ
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560
พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก สมาร์ทโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้