Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อาชีวอนามัย - Coggle Diagram
อาชีวอนามัย
1. Health Assessment
การประเมินภาวะสุขภาพ
การส่งเสริม (Promotion)
งานที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและธำรงรักษาไว้ซึ่งสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงสมบูรณ์ของผู้ประกอบอาชีพ
มีความเป็นอยู่ที่ดีร่วมกันในสังคมของผู้แระกอบการอาชีพตามสถานะที่พึงมีพึงได้
การป้องกัน (Prevention)
การป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบอาชีพ หรือแรงงานมีสุขภาพอนามัยเสื่อมโทรมหรือผิดปกติ เนื่องจากสภาพงานที่ผิดปกติ
การปกป้องคุ้มครอง (Protection)
การดำเนินงานการปกปกคุ้มครองผู้ประกอบอาชีพหรือแรงงานในสถานประกอบการ ไม่ให้เกิดความเสี่ยงในการทำงาน
การจัดการทำงาน(Pacing)
การจัดการเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของการทำงานให้มีความสอดคล้องกับสภาพความต้องการของร่างกาย จิตใจของผู้ประกอบอาชีพหรือแรงงาน
การปรับงานและคนให้มีความเหมาะสม(Adaptation)
การปรับสภาพของงานและคนงานให้สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ
ต้องคำนึงถึงสภาพทางสรีรวิทยาและพื้นฐานความต่างทางด้านร่างกายและจิตใจ
ปัจจัยที่่ทำให้เกิดโรคหรือความเจ็บป่วยในการทำงาน
บุคคล
เพศ
ความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและเพศชาย
ลักษณะทางสรีระวิทยา พฤติกรรทสุขภาพ ลักษณะการทำงาน
อายุ
การทีมีอายุต่างกันทำให้มีโอกาสเกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคที่แตกต่างกัน
คนที่มีอายุการทำงานมากย่อมมีโอกาสเจ็บป่วยมากกว่าคนที่มีอายุงานน้อย
ความรู้และระดับการศึกษา ผู้ที่มีการศึกษาสูงมักจะมีทักษะในการแสวงหาความรู้ ซักถาม และสามารถใช้แหล่ง
ประโยชน์ได้ดีกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาที่ต่ำกว่า
พฤติกรรมสุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพคนทำงาน
ความไวต่อการเกิดโรค คนทำงานที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูงหากทำงานในสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีการแข่งขันสูงอาจก่อให้เกิดความเครียด ส่งผลให้อาการของโรครุนแรงขึ้นได้
สภาพการทำงาน
ลักษณะงานที่มีความซ้ำซาก เช่น งานทอผ้าด้วยมือ งานกวาดถนน พนักงานพิมพ์ดีด จะมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บสะสมของข้อมือหรือรวมไปถึงการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
ลักษณะงานที่ทำเป็นกะ เช่น ในอาชีพพยาบาล พนักงานรักษาความปลอดภัย หรือพนักงานร้านสะดวกซื้อ มีการศึกษาว่าการทำงานเป็นกะส่งผลให้แบบแผนการนอนหลับเปลี่ยนแปลง มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
สภาพแวดล้อมการทำงาน
ปัจจัยคุกคามด้านกายภาพ
ความร้อน (heat) การทำงานในบริเวณที่มีความร้อนสูงร่างกายจะมีการปรับตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายลดลง โดยอัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้น หลอดเลือดส่วนปลายขยาย มีการขับเหงื่อมากขึ้น ก่อนให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ
เกิดตะคริว
อาการเหนื่อยอ่อนเพลีย
หมดสติ
ความเย็น การทำงานที่มีอุณหภูมิต่ำมาก เช่น อุตสาหกรรมห้องเย็น โรงงานน้ำแข็ง ทำให้ร่างกายต้องปรับตัวเพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนออกจากร่างกาย อัฯตรายที่มักพบ อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ โรคเท้าเปื่อย เนื้อเยื่อถูกทำลายเพราะถูกความเย็นจัด
ความกดดันบรรยากาศที่ผิดปกติ ความดันบรรยากาศสูงหรือต่ำเกินไปจะส่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของก๊าซในร่างกาย เช่น คนที่ทำงานในอุโมงค์ลึกใต้พื้นดิน
ความสั่นสะเทือน เกิดจากการเคลื่อนไหวของเครื่องมือและเครื่องจักรกล
แสงสว่าง (light) ผลกระทบต่อคนทำงานจะเกิดขึ้นในกรณีที่แสงสว่างไม่เพียงพอหรือมากเกินไป
รังสีต่างๆจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย
เสียง (noise) สามารถรับเสียงที่ระดับความดัง 85 เดซิเบลนาน 8 ชั่วโมง ถ้ารับเสียงดังเกินกว่ามาตรฐานเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน
ปัจจัยคุกคามด้านชีวภาพ คือการที่ร่างกายได้รับการติดเชื้อจากการทำงานที่ต้องสัมผัสกับเชื้อโรคต่างๆ
ปัจจัยคุกคามด้าานเคมี คือ มีการใช้เคมีในกระบวนการผลิตรูปแบบต่างๆ ได้ แก่ ตัวทำละลาย ฝุ่น ก๊าซ เป็นต้น เมื่อสารเคมีเข้าสู่ร่างกายอาจทำให้เกิดโรคและความเจ็บป่วยทั้งเฉียบพลัน และ เรื้อรัง
ปัจจัยคุกคามด้านการยศาสตร์ ได้แก่ การยกของหนักเกินกำลัง การทำงานซ้ำๆ ทำให้มีอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อตามมา เช่น ปวดหลัง
ปัจจัยคุกคามด้านจิตสังคม คือ การที่สภาพงานหรือสิ่งแวดล้อมในการทำงานเป็นสาเหตุให้คนทำงานเกิดความเครียด
2.Nursing Diagnosis
การวินิจฉัย
ความหมายของการวินิจฉัยปัญหา
หมายถึง การระบุภาวะสุขภาพด้วยการกำหนดข้อความที่บอกถึงสุขภาพ โดยเปรียบเทียบตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่ต้องการให้ไปสู่สุขภาวะที่ดี และประเด็นหรือข้อความนั้นได้รับการแก้ไข โดยใช้ข้อมูลที่ได้รวบรวม นำไปวิเคราะห์เพื่อให้เห็นสภาพของลักษณะข้อมูลและลักษณะของปัญหา
ข้อควรระวังในการวินิจฉัยปัญหาสุขภาพ
ความสับสนระหว่างปัญหากับอาการของความเจ็บป่วย หรือเครื่องบ่งชี้บอกถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหา
การระบุขอบเขตและขนาดของปัญหาต้องชัดเจน อธิบายข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและเชื่อถือได้
การให้เหตุผลของการกำหนดปัญหาสามารถให้เหตุผลได้ว่าปัญหานั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะทำให้เกิดผลอย่างไรต่อไป
ความสัมพันธ์ของปัญหาที่กำหนดกับปัญหาอื่น โดยจะต้องพิจารณาถึงว่า ปัญหานี้ประกอบด้วยปัญหาย่อยอะไรบ้าง ปัญหานี้เป็นปัญหาย่อยของปัญหาอื่นหรือไม่ ปัญหานี้เกี่่ยวพันหรือเกี่ยวข้องกับปัญหาอื่นอะไรอีกบ้าง
ปัญหาสุขภาพของคนทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
1.โรคที่เกิดขึ้นจากสารเคมี เช่น แคดเมียม แมงกานิส สารหนู ปรอท ตะกั่ว เบนซีน และสารกำจัดศัตรูพืช
2.โรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางกายภาพ เช่น โรคหูตึงจากการทำงาน โรคจากความกดดันอากาศ
3.โรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางชีวภาพ ได้แก่ โรคติดเชื้อ หรือโรคปรสิตเนื่องจากการทำงาน
โรคระบบหายใจที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน เช่น บิสสิโนสิส ซิลิโคสิส
โรคผิวหนังที่่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน เช่น ผื่นแพ้สารเคมี โรคด่างขาว
โรคระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานหรือสาเหตุจากลักษณะงานที่่จำเพาะหรือมีปัจจัยเสี่ยงสูงในสิ่งแวดล้อมการทำงาน
โรคมะเร็งที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานโดยมีสาเหตุจาก แอสเบสตอส เบนซีดีน เบนซิน ฝุ่นไม้ เป็นต้น
โรคอื่นๆ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน
การวิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุข
ลักษณะของปัญหา
แบ่งตามกลุ่มบุคคล เช่น อายุ, เพศ, ลักษณะครอบครัว, การศึกษา
แบ่งตามสถานที เช่น การแบ่งเขตในหมู่บ้าน, สถานที่ใกล้แหล่งน้ำ
แบ่งตามช่วงเวลา เช่น ช่วงเวลาต้นเดือน-ปลายเดือน ฤดูกาล
โดยจำแนกถึงขนาด และความรุนแรงของปัญหา
พิจารณาตามสาเหตุของการเกิดปัญหาสาธารณสุข โดยใช้หลักวิทยาการระบาด คือ
สาเหตุที่มาจาก Host
สาเหตุที่มาจาก Agent
สาเหตุที่มาจาก Environment
สาเหตุที่มาจากบุคคล (Host) ได้แก่ตัวบุคคลหรือกลุ่มคนผู้เป็นโรคหรือเสี่ยงที่จะโรค เช่น ช่วงวัยที่มีความเปราะบางหรือเสี่ยงต่อการมีสุขภาพไม่ดี การทำงานหรือการประกอบอาชีพที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดโรค
สาเหตุที่มาจากสิ่งที่ทำให้เกิดโรค (Agent) ได้แก่ สิ่งที่เป็นตัวก่อให้เกิดโรค เช่น เชื้อโรค สารพิษ สารอาหาร ความเครียด สารก่อมะเร็ง สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยต่อการดำรงชีวิต การกลายพันธุ์ของเชื้อโรค เป็นต้น
สาเหตุที่มาจากสิ่งแวดล้อม (Environment) ได้แก่สิ่งที่ทำให้ Host เกิดโรคได้ง่าย และทำให้ Agent เพิ่มจำนวนหรือเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น เช่น อุณหภูมิ แสง เสียง ความชื้น สภาพที่อยู่อาศัยที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ลักษณะงาน และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
พิจารณาผลของปัญหาสาธารณสุข
3.1 ปัญหาสาธารณสุขที่มีผลต่อคน
3.2 ปัญหาสาธารณสุขที่มีผลต่อสิ่งก่อโรค
3.3 ปัญหาสาธารณสุขที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม
นำผลการวิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุข มาจัดลำดับความสำคัญแล้วกำหนดปัญหาสุขภาพ
3.Nursing Planning
การวางแผนการพยาบาล
3.การควบคุมปัจจัยคุกคามทางสุขภาพจากการทำงาน Hazard control
-การควบคุมแหล่งกำเนิด ทางผ่าน คนทำงาน
3.1การควบคุมแหล่งกำเนิด source
เช่น เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ
3.1.1 การกำจัดหรือเปลี่ยนแปลง เครื่องมืออุปกรณ์ที่เป็นอันตรายไปใช้สิ่งที่มีความปลอดภัยมากกว่า
3.1.2การเลือกวัตถุดิบหรือสารเคมีที่ไม่ก่อให้เกิดพิษแทนการใช้สารที่มีพิษ เช่น การเปลี่ยนมาใช้สีทาบ้านที่มีส่วนผสมของตะกั่วมาเป็นสีที่มีความเป็นพิษน้อย
3.1.3 ใช้กระบวนการผลิตที่มีอันตรายน้อย หรือกระบวนการผลิต วิธีการทำงานที่เหมาะสม
เช่น ใช้การทาสีด้วยแปรงแทนการทาสีแบบพ่นเพื่อลดอนุภาคสีที่แขวนลอยในอากาศ การดูดฝุ่นแทนการ
กวาดฝุ่น
3.1.4 ปกปิดหรือปกคลุมกระบวนการผลิตเพื่อป้องกันไม่ให้มลพิษกระจายไปสู่บริเวณทีมีคนทำงาน
3.1.5การใช้ระบบให้เปียกชื้นแทนเพราะจะทำให้เกิดฝุ่นน้อย
3.1.6 การใช้ระบบระบายอากาศเพื่อดูดจับสารพิษ ฝุ่น ไอ ควัน จากแหล่งกำเนิด
3.1.7การแยกกระบวนการผลิตหรือเครื่องจักรที่มีอันตรายออกไปจากบริเวณที่มีคนทำงาน
3.1.8 จัดให้มีการบำรุงรักษาเครื่องจักร อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย วางแผนการตรวจสอบ ยกเครื่อง ซ่อมบำรุง มีการสำรองอะไหล่ที่จำเป็นอย่างเหมาะสม
3.1.9 ระบบความปลอดภัย เช่น ระบบเตือนภัยไฟไหม้ระบบน้ำดับไฟอัตโนมัติ
3.1.10 การจัดเก็บสารวัตถุอันตราย
เช่น วัตถุสายไวไฟต้องมีสายดินเพื่อป้องกันการจุดระเบิดไอระเหยของสารจากไฟฟ้าสถิตย์
3.1.11 การจัดเก็บวัสดุอุปรณ์ในการทำงาน อยู่ในสภาพเรียบร้อย สะดวกปลอดภัยต่อการใช้งาน เช่น ถังดับเพลิง บันได
3.1.12 การควบคุมพลังงานอันตราย ได้แก่ กระแสไฟฟ้า สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ปฏิกิริยาเคมี ลม ไอน้ำ ความดัน ความร้อน วิธีควบคุม เช่น ทำเครื่องป้องกัน ระบบตัดไฟอัตโนมัติ ใช้หุ้นยนต์ทำงาน ติดป้ายเตือน
3.2 การควบคุมทางผ่าน path
เพื่อป้องกันมิให้ปัจจัยคุกคามทางสุขภาพที่มาจากแหล่งกำเนิดไปสู่ตัวคนทำงาน มีประสิทธิภาพรองจากวิธีแรก เช่น เสียงและสารเคมี ทำได้โดยการเพิ่มระยะห่าง ฉากกั้นเสียงเครื่องจักร การระบายอากาศที่มีประสิทธิภาพ ติดตั้งอุปกรณ์ที่เตือนหรือบอกระดับอันตรายเพื่อเตือนให้คนบริเวณนั้นหาทางป้องกัน
3.3 การควบคุมคนที่ทำงาน receiver
3.3.1การให้ความรู้และคำแนะนำแก่คนทำงานที่เกี่ยวข้องกับอันตราย การฝึกอบรมพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยและมีมาตราการลดปัจจัยคุกคามสุขภาพ
3.3.2การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล
Personal protective equipment PPE
เป็นมาตราการลำดับสุดท้ายที่จะเลือกใช้ควบคุมอันตรายในสภาพแวดล้อมการทำงานวิธีนิยมได้แก่ การใส่อุปรณ์ เช่น ปลั๊กอุดหู หน้ากาก ถุงมือ ต้องสวมใส่อย่างถูกต้อง สม่ำเสมอตลอดเวลาที่ทำงาน
3.3.3 การบริหารจัดการเพื่อเพิ่มการป้องกันและลดการสัมผัสปัจจัยคุกตามทางสุขภาพจากการทำงาน โดยการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ปลอดภัย เช่น การใช้ท่าทางการทำงานถูกต้องการเคลื่อนย้ายสิ่งของ
3.3.4 การคัดกรองและการเฝ้าระวังการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพ ได้แก่ การตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงาน ตรวจเมื่อแรกเข้าทำงาน และตรวจสุขภาพประจำปี ความถี่ในการตรวจขึ้นอยู่กับเสี่ยง การบันทึกการเก็บรวบรวมข้อมูลผลการตรวจสุขภาพประจำปีในภาพรวมของการเจ็ฐป่วย อุบัติเหตุ อันนำไปสู่การป้อกันและแก้ปัญหา
1.การค้นหาปัจจัยคุกคามสุขภาพจากทำงาน (Hazard identification)
1.2 การทบทวนรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้อง
เช่น รายงานการสอบสวนอุบัติเหตุ
เอกสารข้อมูลความปลอดภัยของเคมี (Safety Data Sheet SDS)
เอกสารผลการสำรวจสภาพแวดล้อม
ข้อมูลการบาดเจ็บและป่วยจากการทำงาน
รายงานการเดินสำรวจครั้งก่อน
1.3 การวิเคราะห์อันรายจากจาน (Job Hazard Analysis:JHA)
เป็นวิธีการค้นหาอันตรายที่เกิดจากการทำงาน โดยพิจารณาอันตรายในแต่ละขั้นตอนการทำงานและวิธีการป้องกันและควบคุมในแต่ละขั้นตอนการทำงานนั้น วิธีการนี้เหมาะกับงานที่ไม่สามารถตัดขั้นตอนที่เป็นอันตรายออกไปเนื่องจากมีความสำคัญต่อกระบวนการผลิตและเหมาะกับงานที่เคยมีประวัติการเกิดอุบัติ (accident)หรือเกือบเกิดอุบัติ (near miss) มาก่อน
1.1 การเดินสำรวจ (walk-thorugh survey)
เป็นการเกิดสำรวจสถานประกอบการเพื่อค้นหาอันตรายจากขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการทำงาน เป็นการทำงานร่วมกันของสหวิชาชีพ
แพทย์อาชีวเวชศาสตร์
พยาบาลชุมชน
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
หัวหน้างาน
1.4 การใช้แบบตรวจสอบ (accident)
เป็นการค้นหาอันตรายโดยนำแบบตรวจสอบที่สร้างไว้ ไปตรวจสอบการดำเนินงาน ซึ่งหัวข้อในแบบตรวจสอบอาจเป็นหัวข้อที่เป็นไปตามกฎหมาย มาตรฐานการปฏิบัติงาน หหหหรือข้อกำหนดในการปฏิบัติงาน
หลักการ 3B
2.การป้องกันโดยให้การศึกษา (education)
เป็นการอบรมและแนะนำคนทำงานทุกคน ตลอดจนหัวหน้างานและผู้เกี่ยวข้องทุกคนในสถานประกอบการให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย รวมถึงการป้องกันอุบัติเหตุและเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานประกอบการ
3.การใช้กฎหรือข้อบังคับความปลอดภัย (enforcement)
เป็นการกำหนดวิธีการทำงานหรือวิธีการปฏบัติเพื่อความปลอดภัยขึ้นมาเป็นมาตรฐาน พร้อมออกกฏระเบียบและข้อบังคับให้คนทำงานและผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้ปฏิบัติตามก็จะต้องถูกลงโทษ เพื่อให้เกิดจิตสำนึกและหลักเลี่ยงการทำงานที่ไม่ถูกต้องหรือเป็นอันตราย
1.การป้องกันโดยใช้หลักวิศวกรรม (engineering)
เป็นการใช้หลักและวิชาความรู้ทางด้านวิศกรรม เพื่อแก้ไขปรับปรุงสภาพการณ์ทางกายภาพกายภาพต่าง ๆ ทุกชนิดที่เกี่ยวข้องให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานหรือปฏิบัติงาน สภาพการณ์ทางกายภาพ
เช่่น เครื่องจักรไม่มีอุปกรณ์ป้องกันส่วนที่เคลื่อนไหว เครื่องมือหรืออุปกรณ์ชำรุดเป็นอันตราย ความเย็น ความร้อน
2.การประเมินปัจจัยคุกคามสุขภาพจาการทำงาน (Hazard evaluation)
เป็นการประยุกต์ใช้หลักการประเมินอันตรายในทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรม เพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการเจ็บป่วยและบาดเจ็บจากการทำงาน โดยตรวจสอบ สภาพแวดล้อมการทำงานอย่างสม่ำเสมอ
เช่น การตรวจวัดแสงสว่าง เสียง ความร้อน และระดับสารเคมีในบรรยากาศทำงานพยาบาลจะต้องทำงานร่วมกับบุคลกรอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจวัดสภาพแวดล้อมการทำงาน
เช่น นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำโรงงาน โดยการนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินข้างต้นมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานด้านวิชาการหรือตามที่กฎหมายกำหนด มาตรฐานของหน่วยงานต่างประเทศที่นำมาใช้ปรียบเทียบ
องค์กรบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของสหรัฐเมริกา
(Occupational Safety and Health Adminis-Tration:OSHA)
สถาบันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา (The National Instiyute for Occupational Safrty and Health:NIOSH)
องค์กรนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมภาครัฐแห่งอเมริกา (American Conference of Governmental lndustrial Hygienist:ACGIH)
มาตรฐานไทย
กระทรวงแรงงาน
กระทรวจอุตสาหกรรม
4.Nursing Implementation
การปฏิบัติการพยาบาล
การดำเนินการ
เป็นการนำแผนที่วางไว้ไปปฏิบัติกับกลุ่มเป้าหมาย
ขั้นเตรียมงาน
จัดประชุมกลุ่มคณะทำงาน เพื่อทำความเข้าใจในวัตถุประสงค์
กำหนดผู้รับผิดชอบ เพื่อป้องกันการทำงานที่ซ้ำซ้อน
กำหนดรูปแบบแนวทางการประสานงานให้ชัดเจน
เตรียมความพร้อมของทรัพยากรและงบประมาณ
สื่อสารประชาสัมพันธ์ให้คนในสถานประกอบการได้รับรู้เกี่ยวกับ วัน เวลา สถานที่ และหัวข้อกิจกรรมการดำเนินการ
ขั้นดำเนินการ
เผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
จัดเตรียมสถานที่ สมาชิกที่เข้าร่วม การให้ความรู้ ตามวันเวลาที่กำหนด
สรุปกิจกรรมทั้งหมด
ขั้นประเมินผล
เป็นการประเมินติดตามหลังเสร็จสิ้นโครงการ 1 สัปดาห์ มีการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรืออาจเป็นการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับสถานประกอบการ
การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
สร้างความตระหนักและความรู้เกี่ยวกับสิ่งคุกคามด้านสุขภาพ
ประเมินพฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยเสี่ยง
ส่งเสริมรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เอื้อต่อสุขภาพ เช่น
การออกกำลังกายและการงดสูบบุหรี่
ส่งเสริมท่าทางการทำงานที่ถูกต้อง
ฟื้นฟูสภาพร่างกาย
ขอบเขตการปฏิบัติการพยาบาลชุมชนในงานอาชีวอนามัย
การประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพคนทำงานและสถานที่ทำงาน
ดูแลด้านชีวอนามัยและการรักษาโรคเบื้องต้น
การให้บริการรายกรณีสำหรับคนทำงานที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
การส่งเสริมสุขภาพ การปกป้องสุขภาพ และการป้องกันโรค โดยใช้หลักการควบคุมและป้องกันโรคมาใช้ในการดำเนินการ
การให้คำปรึกษา เป็นการช่วยเหลือให้คนทำงานทำความเข้าใจถึงปัญหาของตนเอง โดยให้การสนับสนุนให้คนทำงานคิดและตัดสินใจเลือกวิธีแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เหมาะสม
การจัดการและบริหารงาน เป็นการบริหารจัดการด้านชีวอนามัยในสถานประกอบการหรือชุมชน โดยคำนึงถึงเป้าหมาย พันธกิจ วัตถุประสงค์ของการดำเนินธุรกิจ วัฒนธรรมองค์กร ลักษณะองค์ประกอบของคนทำงาน
การประสานการทำงานกับชุมชน เป้นการให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงแก่ชุมชนในพื้นที่ที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่อาขส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง
การวิจัยและการวิเคราะห์แนวโน้ม เพื่อนำผลวิจัยมาใช้ในการส่งเสริมสุขถาพและป้องกันโรคจากการทำงาน
การจัดการด้านกฎหมายและจริยะรรม เพื่อดูแลและปกป้องสิทธิของคนทำงาน
บทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย
ผู้ให้บริการทางคลินิก/เวชปฏิบัติ โดยประยุกต์กระบวนการพยาบาลในการดูแลรักษาคนที่ทำงานทั้งที่เจ็บป่วยและบากเจ็บจากการทำงานและไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
ผู้จัดการรายกรณี ดูแลคนทำงานที่เจ็บป่วยเป็นรายบุคคล
ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างเสริมสุขภาพ มุ่งเน้นการใช้ความรู้และทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การควบคุมความเสี่ยง รวมทั้งสามารถจัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาสม สอดคล้องกับความต้อการของคนทำงาน
ผู้จัดการ พยาบาลชุมชนต้องมีการควบคุมการดำเนินงานให้มีคุณภาพ
ผู้ให้ความรู้
ผู้วิจัย
ผู้ให้คำปรึกษา ให้คำปรึกษาแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้ง
5.Nursing Evaluation
การประเมินผล
องค์ประกอบที่ 1
การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
1 การนำองค์กร
2 การจัดทำและประเมินผลแผนงานโครงการทางด้านอาชีวอนามัย
3 การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
องค์ประกอบที่ 2
การจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับบุคลากรในโรงพยาบาล
องค์ประกอบที่ 3
การจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเชิงรุกแก่ผู้ประกอบอาชีพภายนอก
1 กระบวนการจัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรุกในสถานประกอบการ/สถานที่ทำงาน
2 การเฝ้าระวัง สอบสวนโรค/ภัยจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
องค์ประกอบที่ 4
การจัดบริการอาชีวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อมเชิงรับ การประเมิน การวินิจฉัย การดูแลรักษาผู้ป่วยโรค/อุบัติเหตุจากการทำงาน การส่งต่อ และการฟื้นฟูสมรรถภาพ
องค์ประกอบที่ 5
การดำเนินงานจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม
อ้างอิง คู่มือการตรวจประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการจัดการบริหารอาชัวอนามัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม 2560