Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 วิสัยทัศน์ โครงการศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติ และแผนพัฒนาการศึกษาไท…
บทที่ 5 วิสัยทัศน์ โครงการศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติ
และแผนพัฒนาการศึกษาไทย
1. ความหมายของวิสัยทัศน์ แผนการศึกษาแห่งชาติ
1. วิสัยทัศน์
เป็นกิจกรรมที่ต้องทำ ทำเพื่ออะไร ทำเพื่อใคร
โดยมีลักษณะแสดงจุดมุ่งมั่นในภารกิจ มีความชัดเจน จําได้ง่าย และสามารถนําไปสู่การปฏิบัติได้
2. แผนการศึกษาแห่งชาติ
หมายถึง แผนงานหลักระยะยาว
ในการจัดการศึกษาของชาติเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดและบริหาร
การจัดการศึกษาของชาติที่จะนําไปสู่ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
ประกอบ ด้วยความมุ่งหมาย นโยบาย ระบบการศึกษา แนวปฏิบัติ และ
เกณฑ์ อายุ มาตรฐานของนักเรียนแต่ละระดับ
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
หมายถึง แผน กลยุทธ์ที่ เพิ่มเติมจาก
แผนการศึกษาแห่งชาติ เพื่อกําหนดทิศทางและขอบเขตในการ
พัฒนาการศึกษาของชาติ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2. โครงการศึกษา
ได้กําหนดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงค์จักรี ในระยะก่อนการเปลี่ยนแปลง
การปกครองจากระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
มาเป็นระบอบประชาธิปไตย มีโครงการศึกษา 7 โครงการ
1. โครงการศึกษา พ.ศ.2441
มีวัตถุประสงค์ คือ การขยายการศึกษาให้แพร่หลายทั้งประเทศเพื่อ
ยกระดับมาตรฐานการศึกษาของประเทศให้สูงขึ้น โดยมีการจัดประเภทการศึกษา
ระบบการศึกษาให้มีระเบียบแบบแผน ในการพัฒนาการศึกษา
2. โครงการศึกษา พ.ศ.2445
แบ่งระดับการศึกษา 3 ระดับ ได้แก่ ประโยคหนึ่ง คือ ประโยคมูลศึกษา
และชั้นประถมศึกษา เรียน 3 ปี ประโยคสอง คือ มัธยมศึกษาเรียน 3 ปี
และ ประโยคสาม คือ อุดมศึกษาเรียน 5 ปี
การศึกษามี 2 ประเภท ได้แก่สายสามัญ ศึกษาเรียน การอ่าน การเขียน เลขบัญชีและศีลธรรม
สายวิสามัญ ศึกษา เรียนความรู้พิเศษต่าง ๆ ในการประกอบอาชีพ เช่น วิชาครู แพทย์ ช่าง และวิชาชีพอื่น ๆ
3. โครงการศึกษา พ.ศ.2450
การจัดการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
สามัญศึกษา มี 2 แผนก คือ แผน ก สามัญ มี 3 ระดับ คือ มูลศึกษา
ประถมศึกษา มัธยมศึกษา เรียนระดับละ 3 ปี และแผนกพิเศษ มี 3 ระดับ
คือ มูลพิเศษ ประถมศึกษา เรียนระดับละ 3 ปี มัธยมพิเศษ เรียน 5 ปี
วิสามัญ ศึกษาเรียนทางด้านปฏิบัติ เช่น แผนกอังกฤษ ช่างแพทย์
ผดุงครรภ์และครู
4. โครงการศึกษา พ.ศ.2452
เป็นการจัดการศึกษาที่สูงกว่าประถมศึกษา คือ ระดับมัธยมศึกษา
และอุดมศึกษาเพื่อให้นักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาสูงแล้วไปศึกษาต่อในยุโรป
โดยไม่ต้องเสียเวลาเตรียมที่จะไปเข้ามหาวิทยาลัย
5. โครงการศึกษา พ.ศ.2456
มีจุดมุ่งหมายสําคัญ คือ ปรับความเข้าใจผิดของราษฎร ปรับปรุงสามัญศึกษา
และวิสามัญศึกษาให้มีความสัมพันธ์กับเปลี่ยนชื่อมูลศึกษาเป็นประถมศึกษา
การศึกษามี 3 ระดับ คือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา
6. โครงการศึกษา พ.ศ.2458
มีจุดมุ่งหมายสําคัญ คือ แก้ไขข้อบกพร่องและปรับปรุงโครงการศึกษา
พ.ศ.2456 ให้เหมาะสม ให้พลเมืองหันมาสนใจการศึกษาวิชาชีพ
ให้มีการจัดสอนวิชาวิสามัญในระดับมัธยมศึกษา กล่าวถึงการศึกษาของสตรี
7. โครงการศึกษา พ.ศ.2464
ต้องการจะแก้ไขความนิยมอาชีพ เป็นเสมียนของพลเมือง
โดยได้จัดทําคําแนะนําชี้แจงแก่ราษฎรเกี่ยวกับหนทางในการทํามาหาเลี้ยงชีพด้วยการ
เรียนวิชาชีพอย่างอื่น
4. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ หมายถึง แผนกลยุทธ์ที่
เพิ่มเติมจากแผนการศึกษาแห่งชาติ เพื่อกําหนดทิศทาง และ
ขอบเขตในการพัฒนาการศึกษาของชาติ ซึ่งสอดคล้องกับ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2504-2509
เน้นการจัดการศึกษาภาคบังคับให้เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานสําหรับประชาชน
ขยายและปรับปรุงการศึกษา ระดับกลาง จัดตั้งมหาวิทยาลัยในภาคต่าง ๆ ขึ้น
ผลิตอาจารย์และครูให้เพียงพอกับความต้องการ
2. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2510-2514
เน้นจัดการศึกษาให้สัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ
โดยคํานึงถึงความต้องการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการด้านกําลังคน
ตลอดจนความรู้และเทคนิคในการพัฒ นาสาขาต่าง ๆ ขยายการศึกษาภาคบังคับ
เน้นหนักในการผลิตกําลังคนระดับกลางทั้งปริมาณ และคุณ ภาพ ปรับปรุง
คุณภาพการศึกษา และมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาในโรงเรียนราษฏร์
3. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2515-2519
มุ่งเน้นการปรับปรุงคุณภาพ และการขยายปริมาณการศึกษา ตลอดจน
การผลิตกําลังคน ระดับต่าง ๆ ให้สนองความต้องการของการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมของประเทศ
4. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ.2520-2524
มุ่งเน้น ปรับปรุงด้านคุณ ภาพระบบการศึกษาให้สูงขึ้น การปรับปรุงระบบบริหารการศึกษา
เปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระ และกระบวนการเรียนรู้ เน้นการจัดระบบการศึกษาในระบบโรงเรียน
และนอกระบบโรงเรียน ให้ประสานกันและส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา
5. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ.2525-2529
มุ่งดําเนินการจัดการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียน และนอกโรงเรียนให้สัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมของประเทศ และป็นการจัดการศึกษาเพื่อก่อให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา และ
มุ่งให้การศึกษาเป็นการเสริมสร้างบุคคลให้มีความรู้ ความคิด และความสามารถในการประกอบอาชีพ
มีจริยธรรม คุณธรรม ตลอดจนมีพลานามัย สมบูรณ์ รักและธํารงศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย
6. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 พ.ศ.2530-2534
ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ปรับปรุงคุณภาพการศึกษา การบริหารการศึกษา การประสาน
การระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ ความคิด คุณธรรม
พลานามัยที่สมบูรณ์ มีทักษะในการประกอบอาชีพ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและเป็นกําลัง
ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
7. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 พ.ศ.2535-2539
ส่งเสริมนโยบายด้านเครือข่ายการเรียนรู้ นโยบายระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการศึกษา
พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมให้แก่ผู้เรียน
8. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2540-2544
มุ่งเน้น การสร้างความก้าวหน้าและมั่นคงของเศรษฐกิจไทยในประชาคมโลก บนฐานแห่งความเป็นไทย
เน้นให้มนุษย์เป็นศูนย์กลางในการพัฒนา ให้การศึกษาเป็นกลไกในการพัฒนามนุษย์ เพื่อให้สามารถ
ดํารงชีวิตในสังคมอย่างสันติสุข มีจิตสํานึกและมีส่วนร่วมในการพัฒนา
9. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ.2545-2549
ผลจากรัฐธรรมมนูญ ฉบับใหม่ (พ.ศ.2540) และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542
ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในวงกว้าง ส่งผลให้มีการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยเริ่มมีการปฏิรูป
การเรียนรู้ที่เน้นความสําคัญที่ผู้เรียน การปฏิรูปโครงสร้างการบริหารก็ได้เริ่มต้นขึ้น โดยการจัดตั้งกระทรวงศึกษาธิการ
ตามโครงสร้างใหม่ ซึ่งจะต้องกระจายอํานาจการบริหารและสถานศึกษาไปยังเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
10. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่10 พ.ศ.2550-2554
มุ่งเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การขับเคลื่อนต้องใช้ความรู้
ในการพัฒนาด้านต่าง ๆ สอดคล้องกับวิถีสังคมไทย ตลอดจนสร้างศีลธรรมและจิตสํานึกในคุณธรรม ดํารงตนอย่างมั่นคง
ในกระแสโลกาภิวัตน์
11. แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษา ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559
มีการกำหนดทิศทางให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทาง
ในการพัฒนาการศึกษาของประเทศที่สอดคล้องกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป
3. แผนการศึกษาชาติหรือแผนการศึกษาแห่งชาติ
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบการปกครองแบบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบป ระชาธิปไตยในปี พ.ศ.2575
มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดจึงได้จัดการศึกษาตามแนวรัฐธรรมนูญ
โดยยึดถือ “แผนการศึกษาชาติ” หรือ “แผนการศึกษาแห่งชาติ”และ
กฎหมายการศึกษา เฉพาะเรื่อง ตลอดจนแผนพัฒนาเศรฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนพัฒนาการศึกษาชาติ เป็นแนวทางในการจัดการศึกษา “แผนการศึกษาชาติ”
หรือ “แผนการศึกษาแห่งชาติ”
1. แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2475
มีจุดมุ่งหมาย คือ ให้พลเมืองทุกคนได้รับ การศึกษาเหมาะกับอัตภาพของตนพอควรแก่
ภูมิปัญญาและทุนทรัพย์ จัดการศึกษาให้จริยศึกษา พุทธิศึกษา และพลศึกษาพอเหมาะกัน
จัดให้มีการศึกษาสายสามัญศึกษาประกอบด้วยประถมต้น 1-4 มัธยมต้น 1-4 มัธยมปลาย 5-8
และวิสามัญ ศึกษาจัดสอนวิชาชีพ เช่น กสิกรรม หัตถกรรม และพานิชกรรม เพื่อ
ประกอบอาชีพให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง
2. แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2479
มีจุดมุ่งหมายให้พลเมืองทุกคนได้รับการศึกษา เพื่อจะได้ทําหน้าที่พลเมืองตามระบอบรัฐธรรมนูญ
ได้เต็มที่ระดับการศึกษามี 5 ระดับ คือ มูลการศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา เตรียมอุดมศึกษา และ
อุดมศึกษา การศึกษามี 2 ประเภท คือ สามัญศึกษาและอาชีวศึกษา
3. แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2494
ความมุ่งหมายของการศึกษาต้องการให้พลเมืองได้รับการศึกษา
พอเหมาะกับอัตภาพเป็นพลเมืองดี องค์ความรู้แห่งการศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 4 ประการคือ จริยศึกษา
พลศึกษา พุทธิศึกษา และหัตถศึกษา ประเภทการศึกษา มีการศึกษาชั้นอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา
เตรียมอุดมศึกษา และอาชีวชั้นสูง อุดมศึกษามหาวิทยาลัย การศึกษาพิเศษ และการศึกษาผู้ใหญ่
โดยมุ่งให้ประชาชน อ่าน ออก เขียน ได้ และมุ่งส่งเสริมอาชีพ ความเป็น อยู่ของประชาชนให้สูงขึ้น
4. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2503
รัฐมุ่งให้พลเมืองทุกคนได้รับการศึกษาตามควรแก่ เอกัตภาพเพื่อเป็นพลเมืองดี สนองความต้องการของสังคม
และบุคคล โดยให้สอดคล้องกับแผนเศรษฐกิจและแผนการปกครองของชาติ อันเป็นการนําการศึกษาเข้ามา
เชื่อมโยงกับความต้องการทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมของประเทศ โดยการขยายการศึกษาภาคบังคับ
เป็น 7 ปี จัดเน้นให้การศึกษาโดยใช้องค์สี่แห่งการศึกษา คือ จริยศึกษา พุทธิศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา และ
ได้จัดระบบการศึกษาเป็น 7 : 3 : 2 (ประถม 7 ปี (ศึกษาภาคบังคับ) มัธยมต้น 3 ปี มัธยมปลาย 2) แผนนี้มีอายุการใช้งาน
นานที่สุดถึง 16 ปีการศึกษามี 4 ระดับ คือ อนุบาลศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา
5. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2520
เป็นการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคมต่อเนื่องกันตลอดชีวิต การศึกษามี 2 ระบบคือ การศึกษาในระบบโรงเรียน และการศึกษานอกโรงเรียน
เปลี่ยนแปลง โครงสร้างระบบการศึกษาเป็น 6 : 3 : 3 มุ่งอบรมพลเมืองให้ตระหนัก เห็นคุณค่าของระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์เป็นประมุข เน้นความเป็นเอกลักษณ์ของชาติการศึกษา ภาคบังคับเริ่มตั้งแต่อายุ 6-8 ปีบริบูรณ์ มุ่งกระจายอํานาจ
การบริหารการศึกษา
6. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2535
เป็นการจัดการศึกษาเพื่อสนองตอบความต้องการและความเปลี่ยน แปลงที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างรวดเร็ว และ
สร้างความสมดุลในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม การเมืองวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และ
เทคโนยี จัดการศึกษาในระบบ 6 : 3 : 3 โดยมุ่งเน้น จัดการศึกษาที่เน้นการพัฒนาบุคคลใน 4 ด้าน คือ ด้านปัญญา
ด้านจิตใจ ด้านร่างกาย และด้านสังคม อย่างสมดุลและกลมกลืนกัน ตลอดจน มีความรู้และ ทักษะในการประกอบอาชีพ
และสามารถพึ่งตนเองได้ ทั้งในระดับบุคคล ชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาค และ ระดับประเทศ
7. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545-2559
เป็นแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว 15 ปี ที่มีความสําคัญยิ่ง เนื่องจากเป็นการนําสาระของการปฏิรูปการศึกษาตาม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาลมาสู่การปฏิบัติ และเป็นกรอบแนวทางในการจัดทํา
แผนพัฒนา การศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา แผนพัฒนาการอุดมศึกษา และแผนการพัฒนาด้านศิลปะวัฒนธรรม
ทั้งระดับเขตพื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา เพื่อนําไปสู่การดําเนินการปฏิรูปการศึกษาที่สอดคล้อง
ต่อเนื่องกันทั่วประเทศ
8. แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2552-2559
ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญาพื้นฐานในการกำหนดแผน ซึ่งมีศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และธรรมชาติ
เข้ามาเป็นตัวบูรณาการเชื่อมโยงโดยมี "คน" เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาที่ยั่งยืน และมุ่งไปสู่การอยู่ดีกินดีมีสุขของคนไทยทั้งปวง
เจตนารมณ์ของแผนการศึกษาแห่งชาตินี้ จึงมุ่งเน้นการพัฒนาชีวิตให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์พร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม
มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่เข้มแข็งและ
มีดุลยภาพใน 3 ด้าน ได้แก่ สังคม คุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน