Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดสัมมนา, ประโยชน์ที่ได้รับจากการทํารายงาน
ได้รู้ถึงความหมาย…
การจัดสัมมนา
ลักษณะของการสัมมนาที่ดี
- กำหนดวัตถุประสงค์ของการสัมมนาอย่าง และแจ้งให้ผู้เข้าสัมมนาทุกคนทราบ
- ผู้สัมมนาได้รับมีการเสริมความรู้ และประสบการณ์
- เปิดโอกาสให้ผู้เข้าสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความรู้ และความคิดได้ค้นคว้าหรือได้แก้ปัญหาร่วมกัน
- ผู้เข้าสัมมนาทุกคนใช้ปัญญาหรือใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาต่างๆ ร่วมกัน
- ผู้เข้าสัมมนามีบุคลิกภาพตามแบบประชาธิปไตย เช่น เคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของการสัมมนากระตือรือร้นที่จะทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ มีมารยาทในการพูด และการฟัง เป็นต้น
- ผู้เข้าสัมมนามีทักษะในการฟัง และการพูดฟังแล้วจับใจความได้ถูกต้องตรงตามเนื้อหาเหมาะแก่เวลา และพูดสรุปได้ถูกต้อง
- ผู้เข้าสัมมนามีเจตคติที่ดีต่อหัวข้อสัมมนา และมีใจเป็นกลางจึงทำให้การสัมมนาได้ผล
วัตถุประสงค์ของการสัมมนา
-
-
- เพื่ออภิปรายหรือวางโครงร่างการวิจัยที่จำเป็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหา
- เพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบกบัคนอื่น ๆ ในกลุ่ม
-
-
องค์ประกอบของการสัมมนา
หัวข้อการสัมมนา
-
- มีความทันสมัยสอดคล้องกับสภาวะสังคม
-
- เป็นเรื่องที่ไม่กว้างหรือแคบจนเกินไปควรเป็นเรื่องที่มีขอบเขตเฉพาะจะสามารถกำหนดปัญหาและแนวทางการดำเนินการจัดสัมมนาได้ชัดเจน
- ควรกำหนดชื่อเรื่องควรเป็นชื่อที่มีลักษณะสั้นกะทัดรัดมีความกระชับเข้าใจง่ายชัดเจนและตรงความหมาย
-
-
กำหนดการสัมมนา
ทำให้ทราบช่วงเวลาของการดำเนินการแต่ละรายการของการสัมมนากำหนดการสัมมนาควรระบุ
- ชื่อหน่วยงานหรือกลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการจัดสัมมนา
- ชื่อเรื่องสัมมนา
- วันเดือนปี (ที่จัดสัมมนา)
- เวลา
- สถานที่
-
2.องค์ประกอบด้านบุคลากร
- บุคลากรฝ่ายจัดการสัมมนา ได้แก่ บุคคลหรือคณะกรรมการที่มีหน้าที่ในการจัดสัมมนาให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
- วิทยากร บุคคลที่ทำหน้าที่บรรยายอภิปรายหรือถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์โดยใช้เทคนิควิธีรวมทั้งสื่อต่าง ๆ
- ผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้แก่ บุคคลที่เข้าร่วมสัมมนาเป็นผู้ที่มีความสนใจในปัญหาหรือประสบปัญหาหรือต้องการแสวงหาแนวคิดใหม่ ๆ หรือมีความมุ่งหมายที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นทัศนคติตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ความสามารถซึ่งกันและกัน
-
-
-
-
ประโยชน์ของการสัมมนา
- เป็นการร่วมกันแก้ปัญหาจากคนหลายคนที่มาร่วมกันผนึกความคิด แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ย่อมได้ผลดีกว่าการคิดคนเดียว หรือแก้ปัญหาคนเดียว และยังเป็นการกระตุ้นให้คนส่วนใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วย
- ก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมแรงร่วมใจมีความรู้สึกเหมือนกิจการนั้น ๆ เพราะได้มีส่วนเป็นผู้กำหนด และรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในเรื่องนั้น ๆ ด้วย
- เป็นการช่วยให้ผู้สัมมนาได้มีโอกาสรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น อันจะทำให้เกิดทัศนะคติกว้างขวางขึ้น และในบางกรณีอาจใช้การสัมมนาเป็นเครื่องมือหล่อหลอมความรู้สึกนึกคิดของกลุ่มคน ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้
- ก่อให้เกิดผลดีต่อการประสานงานระหว่างบุคคล และหน่วยงาน เพราะผู้เข้าสัมมนามักจะมาจากหลายสถานที่หลายหน่วยงานในระหว่างการสัมมนาจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกันเกิดความเขใจ และเห็นอกเห็นใจซึ่งกัน และกันด้วยเหตุนี้ผู้เข้าสัมมนามีโอกาสได้เปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องส่วนตัวและการทำงานทำให้มีความรู้จักสนิทสนมคุ้นเคยกันในเวลาเดียวกัน
ขั้นตอนการจัดสัมมนา
ขั้นเตรียมการจัดสัมมนา
เป็นขั้นตอนของการคิดการพิจารณาถึงสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสัมมนา เริ่มตั้งแต่การสำรวจประเด็นปัญหา และความต้องการในการสัมมนา การเตรียมการจัดสัมมนาในด้านตัวบุคคลที่จะดำเนินการ ตลอดจนอาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่จำเป็นจะต้องใช้ในการจัดสัมมนาซึ่งในขั้นการวางแผน และเตรียมการนี้อาจจะเขียนในรูปของโครงการการจัดสัมมนาก็ได้
ขั้นดําเนินการจัดสัมมนา
กิจกรรมที่จะต้องดำเนินการคือ การลงทะเบียนของสมาชิกที่เข้าร่วมสัมมนาพิธี การเปิดการประชุมกลุ่มใหญ่ การประชุมกลุ่มย่อย การทำกิจกรรมเสริมการสัมมนา การรายงานผลการประชุมกลุ่มย่อยต่อที่ประชุมกลุ่มย่อยต่อที่ประชุมใหญ่ การสรุป และการประเมินผลการสัมมนา และพิธีปิดการสัมมนา
ขั้นหลังการจัดสัมมนา
เมื่อการสัมมนาผ่านไปเรียบร้อย ผู้จัดการสัมมนาต้องติดตามผลการประเมินทั้งหมด ทั้งจากฝ่ายสมาชิกผู้เข้าร่วมสัมมนา ฝ่ายคณะกรรมการดำเนินการทั้งหมด และประมวลออกมาเป็นผลสรุปของการสัมมนา จากนั้นพิมพ์เป็นรายงานการสัมมนาแจกจ่ายไปยังบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสัมมนาในครั้งนั้น ๆ
ความหมายของการสัมมนา
การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเรื่องใดเรื่องหนึ่งผลของการสัมมนาถือว่า เป็นเพียงข้อเสนอแนะผู้ทิ่เกี่ยวข้องจะนำ ไปปฏิบัติตามหรือไม่ก็ได้
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทํารายงาน
ได้รู้ถึงความหมาย วัตถุประสงค์ ประโยชน์ องค์ประกอบ ลักษณะของการสัมมนาที่ดี คุณสมบัติของผู้ดขเาร่วม และขั้นตอนของการจัดสัมมนา เพิ่มมากขึ้น
อ้างอิง
เกษม วัฒนชัย. (2551). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชุม
กรุงเทพมหานคร : พัฒนาศึกษา
จอมพล จีบภิญโญ. (2562). วิธีการสื่อสารของวิทยากรอาชีพในการจัดการฝึกอบรม. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 6(2)
-