Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปเนื้อหาบทที่ 4 - 7 - Coggle Diagram
สรุปเนื้อหาบทที่ 4 - 7
บทที่ 4
การทำข้อมูลให้เป็นภาพและการสื่อสารด้วยข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล (Data Communications)หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
การสื่อสารด้วยข้อมูล+
-การถ่ายทอดข้อมูลหรือการสื่อสารจากแหล่งข้อมูลไปยังผู้รับสารนั้นบางครั้งเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเนื่องจากข้อมูลมีปริมาณมากหรืออยู่ในรูปแบบที่ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย
-ด้วยเหตุนี้การสื่อสารระหว่างบุคคลจำเป็นที่จะต้องจัดรูปแบบของข้อมูลและนำข้อมูลไปแสดงในบริบทที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจหรือมองเห็นประเด็นสำคัญที่ต้องการสื่อสาร
-ข้อมูลนั้นจึงต้องมีการทำข้อมูลให้เป็นภาพเพื่อช่วยตอบคำถาม ช่วยในการตัดสินใจ ช่วยให้มองเห็นข้อมูลในบริบทที่เหมาะสม ช่วยค้นหารูปแบบรวม ทั้งช่วยสนับสนุนคำพูดหรือการเล่าเรื่องราวที่มีอยู่ในข้อมูลชุดนั้นๆ
การสื่อสารด้วยข้อมูลองค์ประกอบของการสื่อสาร โดยทั่วไปมี 4 ประการ คือ
ผู้ส่งสาร (Sender)
สาร (Message)
ช่องทางการสื่อสารหรือสื่อ (Channel)
ผู้รับสาร (Receiver)
การสื่อสารด้วยข้อมูล
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ
บทที่5 การแบ่งปันข้อมูล
Data Sharing
ข้อควรระวังในการแบ่งปันข้อมูล
ข้อมูลบางชนิดอาจถูกนำมาใช้หลอกลวง
ผู้ไม่ประสงค์ดี อาจใช้ข้อมูลเหล่านี้ทำ การฟิชชิง (phishing) เพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลสำคัญของเราได้ เช่น เราอาจจะได้รับอีเมลปลอมจากธนาคารที่ระบุตำแหน่งหน้าที่การงานของเราได้ถูกต้อง ทำให้เรารู้สึกว่าเป็นอีเมลจากธนาคารจริงและให้ข้อมูลที่สำคัญไป
ไม่มีความลับในสังคมออนไลน์
คนในกลุ่มที่เราแบ่งปันอาจคัดลอกข้อมูลนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ รวมทั้ง อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบ ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจทำให้ข้อมูลกลายเป็นข้อมูลสาธารณะ
ข้อมูลบางชนิดไม่ควรเปิดเผย
ข้อมูลด้านสุขภาพ ด้านการเงิน หรือหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน เป็นข้อมูลที่ต้องระวัง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของตนเอง หรือของผู้อื่นก็ตาม เพราะเป็นข้อมูลที่ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถนำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ได้
การรักษาข้อมูลที่ได้รับการปกป้องตามกฎหมาย
ข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์หรือข้อมูลส่วนตัว เช่น ผลงานเพลง ประวัติคนไข้ หรือหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน เป็นข้อมูลที่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย หากนำไปเผยแพร่ อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูล และผู้แบ่งปันอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอีกด้วย
บทที่ 6 จริยธรรมและจรรยาบรรณ ของนักคอมพิวเตอร์ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ (2546) ยังระบุไว้ว่า จริยธรรม หมายถึง “หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ” โดยสรุปแล้ว จริยธรรม จะมีความหมายไปในแนวเดียวกันคือจริยธรรม
“จริยธรรม” หรือ Ethics นั้นอาจเข้าใจกันในหลายความหมาย เช่น หมายถึง “หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติหรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ”
ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับกฎหมาย
1) กฎหมายเป็นสิ่งที่ออกโดยรัฐ ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ แต่จริยธรรมเป็นเรื่องของคนในสังคมร่วมกันสร้างขึ้นมา
2) กฎหมายเป็นข้อบังคับที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่จริยธรรม เป็นเรื่องของความสมัครใจ
3) กฎหมายมีบทลงโทษที่ชัดเจน และแน่นอน แต่จริยธรรมไม่มีบทลงโทษสำหรับฝ่าฝืน
4) กฎหมายเป็นสิ่งที่ควบคุมการกระทำของคน แต่จริยธรรมเป็นสิ่งที่ควบคุมจิตใจ ไม่ให้คนกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
5) กฎหมายมีวัตถุประสงค์ลงโทษผู้กระทำผิด หรือชดใช้ค่าเสียหาย แต่จริยธรรมมีวัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับคุณค่าทางจิตใจ
บทที่ 7 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่
เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นสิ่งที่เข้ามาปรับเปลี่ยนทัศนคติ และวิถีการใช้ชีวิตของมนุษย์ให้แตกต่างจากเดิมมาก เทคโนโลยีที่เกิดใหม่ขึ้นเรื่อยๆ นี้ เป็นสิ่งยิ่งใหญ่ที่ต้องอาศัยความสามารถของการประมวลผลจากคอมพิวเตอร์ที่สูงขึ้น ผนวกกับการใช้ข้อมูลจำนวนมหาศาล ทำให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้ดีกว่ามนุษย์ในหลายๆ ด้าน เทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง หรือ คลาวด์ ถูกนำมาใช้ผสมผสานกันเพื่อสนับสนุนการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงานต่างๆ เช่น การติดต่อสื่อสาร ธุรกิจ การเงิน อุตสาหกรรม การเกษตร การขนส่ง การแพทย์และพยาบาล”
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)
ในปัจจุบัน ปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ผู้ช่วยอัจฉริยะ (Intelligent personal assistant) อย่าง Siri ของ Apple, Cortana ของ Microsoft, Alexa ของ Amazon, Google Assistant ของ Google ที่สามารถรับคำสั่งเสียงของมนุษย์ ไปประมวลผลแล้วตอบคำถาม จัดการสิ่งต่างๆ ตามคำสั่งที่ได้รับ หรือรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ที่สามารถแล่นไปยังจุดหมายปลายทางโดยที่ผู้โดยสารบนรถไม่ต้องขับขี่เอง
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)
แนวคิดด้านปัญญาประดิษฐ์
มนุษย์มีแนวโน้มที่จะใช้ปัญญาประดิษฐ์มาช่วยทั้งในด้านการทำงานและอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นการเรียนรู้การเรียนรู้แนวคิดของปัญญาประดิษฐ์จึงมีความสำคัญ โดยองค์กรที่ชื่อว่า AI for K-12 ได้นำเสนอแนวคิดการจัดการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรียกว่า แนวคิดสำคัญ 5 ประการสำหรับปัญญาประดิษฐ์ (Five Big Ideas in AI) ในงานประชุมวิชาการของสมาคมครูด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science Teachers Association: CSTA)