Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึก…
แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561
ตอนที่ 1
บทนำ
แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นกระบวนการดำเนินงานตามภารกิจของสถานศึกษา เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคมโดยรวมว่าการดำเนินงานของสถานศึกษาจะมีประสิทธิภาพและทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพ หรือคุณลักษณะพึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่ได้กำหนดไว้
องค์ประกอบของระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
การติดตาม ตวจสอบ คุณภาพการศึกษา
การประเมินคุณภาพการศึกษา
การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
หลักการมีส่วนร่วมแบบร่วมแรงร่วมใจ
ในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของทุกคนในสถานศึกษา
หลักการร่วมรับผิดรับชอบในผลการจัดการศึกษาอย่างตรวจสอบได้
หลักการประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของทุกคนในสถานศึกษาที่ต้องรับผิดชอบและร่วมลงมือดำเนินการทุกขั้นตอนของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
กระบวนการดำเนินการพัฒนาคุณภาพด้วยวงจร
คุณภาพแบบ PDCA
การวางแผนกำหนดเป้าหมายคุณภาพ (Plan)
ดำเนินการตามแผนควบคู่กับการติดตามตรวจสอบและประเมินคุณภาพระหว่างดำเนินงาน (Do & Check)
กระบวนการนำผลการประเมินมาเป็นฐานการตัดสินใจ
พัฒนาหรือยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้นต่อเนื่องตามลำดับ (Act)
การประเมินคุณภาพภายนอก เป็นบทบาทหน้าที่ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบและให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
การเปลี่ยนแปลงในระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
การประเมินและรายงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่แยกส่วนไปจากภาระงานปกติของสถานศึกษา เป็นการสร้างภาระเพิ่ม รวมทั้งระบบการประเมินภายในและภายนอกที่ไม่สัมพันธ์กัน เป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน สร้างภาระและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไม่เพียงพอ จึงนำมาสู่การยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 และประกาศใช้กฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561
2.1 ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษา
2.2 การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
2.3 การดำเนินงานประเมินคุณภาพการศึกษา
1) ปรับเปลี่ยนแนวคิดการประเมินคุณภาพการศึกษา
การประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาและการประเมินภายนอก
ระบบการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา มีการนำแนวคิดและกระบวนการประเมินแนวใหม่ ที่สามารถสะท้อนคุณภาพสถานศึกษาได้ตรงตามความเป็นจริงสอดคล้องกับภาระหน้าที่และแนวคิดการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา ไม่สร้างภาระแก่สถานศึกษา และใช้ผลเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ตรงประเด็น คือแนวคิดการประเมินแบบองค์รวม (Holistic Assessment)
ระบบการประเมินภายนอก เน้นอิงแนวคิดการประเมินเพื่อพัฒนา
กระบวนการประเมินทั้งสองแนวคิดต้องอาศัยร่องรอยหลักฐานเชิงประจักษ์(Evidence Based Assessment) และตัดสินผลการประเมินคุณภาพการศึกษาโดยอาศัยความเชี่ยวชาญ (Expert Judgment) รวมทั้งการทบทวนผลการประเมินโดยบุคคลระดับเดียวกัน (Peer Review) เพื่อให้การประเมินมีความตรงและสามารถนำสู่การใช้ผลการประเมินสู่การพัฒนาต่อเนื่องอย่างตรงประเด็นและมีประสิทธิภาพต่อไป
2) ปรับเปลี่ยนบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน
คุณภาพการศึกษา
3) ปรับปรุงมาตรฐานผู้ประเมิน
ความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 6
กล่าวถึงหลักการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพภายนอก
การประกันคุณภาพภายใน เป็นเรื่องของสถานศึกษาที่ต้องจัดทำโดยความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การประเมินคุณภาพภายนอก เป็นการดำเนินงานโดยหน่วยงานภายนอกที่เป็นอิสระและมีความเป็นกลางมีบทบาทหน้าที่ในการประเมินตามมาตรฐานของสถานศึกษาทั่วประเทศและดำเนินการทุก ๆ 5 ปี
ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
(Internal Quality Assurance : IQA)
กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
พัฒนาเข้าสู่มาตรฐาน
จัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา
(Self-Assessment Report : SAR)
การประเมินคุณภาพภายนอก (External Quality Assessment : EQA)
การประเมินคุณภาพภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
ประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยวิเคราะห์SAR เยี่ยมชมสถานศึกษา (Site Visit) ติดตามและตรวจสอบ เพื่อสะท้อนถึงผลการจัดการศึกษา
รายงานผลการประเมินภายนอก ผู้ประเมินคุณภาพภายนอกสรุปผลการประเมินตรวจสอบคุณภาพและจัดทำรายงาน นำส่งผลการประเมินพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้หน ่วยงานต้นสังกัดที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้หน่วยงานได้ติดตามและพัฒนาใน ๓ ประเด็น ได้แก่ การแก้ไขประเด็นต่าง ๆ ที่ไม่เป็นไปตามนโยบาย และมาตรฐานของสถานศึกษา (Internal Correction) การปรับปรุงประเด็นต่าง ๆ ให้ดีขึ้น (Improvement) และการพัฒนานวัตกรรมจากประเด็นต่าง ๆ (Innovation)
ตอนที่ 2 แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
1) แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
เป็นแผนระยะกลาง 3-5 ปี
2) แผนปฏิบัติการประจำปี(Action Plan)
ดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ติดตามผลการดำเนินการให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
จัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง
ส่วนที่ 1 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ส่วนที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
1) คุณภาพในแต่ละมาตรฐานอยู่ในระดับใด
3) สถานศึกษาจะมีกระบวนการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร
2) มีหลักฐานในการอ้างอิงผลการประเมิน
ตามประเด็นพิจารณาของแต่ละมาตรฐานอย่างไร
ตอนที่ 3
กรณีศึกษา
กรณีศึกษาที่ 3 เรียนรู้ห่วงโซ่คุณภาพโรงเรียนระดับประถมศึกษา
สร้างความเข้าใจให้กับครู
จัดระบบบริหารและการนำองค์กรให้ชัดเจน
การจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ
การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
การเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร
กรณีศึกษาที่ 2 กระบวนการบริหารจัดการโรงเรียน
ด้วยกระบวนการ 5 ร่วม
5 ร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมนำเสนอ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมภาคภูมิใจ
มาใช้ในการบริหารและจัดการ
กรณีศึกษาที่ 1 โรงเรียนอนุบาลคุณภาพ
โรงเรียนอนุบาลคุณภาพ มีขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนาระบบการ
ประกันคุณภาพภายใน สรุปได้ดังนี้
ขั้นดำเนินการ
2.1 กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยยึดมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของสถานศึกษา จัดทำเป็นมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย จำนวน 3 มาตรฐาน
2.2 กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายความสำเร็จ
และจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
2.4 จัดทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการจัด
กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย
อย่างต่อเนื่อง
1) กิจกรรมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
2) กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย
2.3 จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีโดยจัดทำโครงการ/กิจกรรมให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและงานทั้ง 4 งานตามภารกิจของสถานศึกษา และระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
2.5 ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการอย่างต่อเนื่อง
ขั้นตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงาน
3.2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ PLC และทบทวนหลังการปฏิบัติงาน (AAR)
3.1 นิเทศติดตามและประเมินผลการจัดกระบวนการเรียนรู้
โดยคณะกรรมการนิเทศภายในภาคเรียนละ 1 ครั้ง
3.3 ประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
3.4 ประเมินและพัฒนาหลักสูตรโดยคณะครูผู้สอนทุกคน
เมื่อสิ้นปีการศึกษา
3.5 ติดตามตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยคณะกรรมการติดตามตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาภาคเรียนละ 1 ครั้ง
3.6 วิเคราะห์ผลการประเมิน เพื่อหาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาและจัดทำรายงานประจำปีเผยแพร่แก่ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัด และสาธารณชน
ขั้นเตรียมการและสร้างความตระหนัก
1.1 จัดประชุมครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา
เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพภายใน
1.2 ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการตามโครงสร้างการบริหารงาน
4 งาน ได้แก่ งานวิชาการ งานบุคลากร งานงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป
1.3 วางแผนการดำเนินงานโดยการจัดทำแผนงาน/โครงการ/
กิจกรรมตามภารงานของคณะกรรมการแต่ละคณะ
ขั้นนำสู่การปรับปรุงและพัฒนา
กรณีศึกษาที่ 4 กระบวนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภาย
ในสถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลคุณภาพ
4) ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา
3) จัดระบบบริหารและสารสนเทศ
5) ติดตามตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษา
โดยคณะกรรมการบริหารภายใน 8 ฝ่าย
2) จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา
6) ประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษา
1) กำหนดมาตรฐานการศึกษา และกำหนดการปฏิบัติงาน
การบริหารงานภายใน 8 ฝ่าย ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายบุคลากร ฝ่ายจริยธรรม
ฝ่ายกิจการนักเรียน ฝ่ายธุรการ-การเงินฝ่ายบริการสัมพันธ์ชุมชน ฝ่ายอาคารสถานที่ และฝ่ายนโยบาย
7) จัดทำรายงานประจำปี
8) พัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
กรณีศึกษาที่ 5 โรงเรียนวิถีคุณภาพ
3) การประเมินความสำเร็จตามมาตรฐาน
4) การนำการเปลี่ยนแปลงสู่สถานศึกษาและ
การสร้างคุณค่าแก่วงวิชาการ
2) การขับเคลื่อนคุณภาพสู่มาตรฐาน
5) การเกิดวัฒนธรรมคุณภาพที่สะท้อนการพัฒนาที่ยั่งยืน
1) มีการกำหนดเป้าหมายมาตรฐานคุณภาพ
กรณีศึกษาที่ 6 กระบวนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลคุณธรรม
รูปแบบการพัฒนาที่เรียบง่ายในวิถีการทำงานปกติ อิงแนวคิดร่วมแรงรวมใจกับชุมชน (Community Collaborative Approach) และบริหารจัดการหลักสูตรการเรียนการสอนอิงแนวคิดTeam-Teaching และควบคุมคุณภาพด้วยกระบวนการ PLC ทั้งระหว่างทีมครูผู้สอน และระหว่างครูกับชุมชน ส่งผลให้นักเรียนมีผลทดสอบระดับชาติทั้ง NTและ O-NET สูงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา 2558-2561 นักเรียนและชุมชนมีความรักและศรัทธาต่อโรงเรียน เข้ามาร่วมแรงร่วมพลังพัฒนาคุณภาพการศึกษาของลูกหลานให้ยั่งยืนตลอดไป