Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสนทนาให้เกิดความสัมพันธ์ - Coggle Diagram
การสนทนาให้เกิดความสัมพันธ์
พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน แปลไว้ว่า สนทนา [สนทะ] to converse, to talk = สนทนาปราศรัย ก.คุยกัน ปรึกษาหารือกัน พูดจาโต้ตอบกัน เช่น สนทนาปัญหาบ้านเมือง สนทนาสารทุกข์สุกดิบที่คุยกัน ที่ปรึกษาหารือกัน ที่พูดจาโต้ตอบกัน
การสนทนาคือการสื่อสารโต้ตอบระหว่างบุคคลสองคนขึ้นไป เป็นการพูดแลกเปลี่ยนความคิดเห็นข้อสังเกตความคิดเห็นหรือความรู้สึกระหว่างคน การสนทนาต้องเป็นไปเพื่อสร้างมิตรภาพและเพื่อประโยชน์ในการแสดงและรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ผู้สนทนาที่ดีต้องเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย คือตั้งใจฟัง ยอมรับฟังผู้อื่นได้
ปัจจัยในการสนทนา
1.กาละ
2.เทศะ
3.บุคคล
4.กรอบวัฒนธรรม
5.วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ในการสนทนา
1.การแจ้งให้ทราบ
บอกเล่าสิ่งที่ผู้ฟังหรือผู้อ่านไม่รู้ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจตรงกัน หรือย้ำ สิ่งที่อาจจะรู้แล้วเพื่อให้แน่ใจว่าถูกต้อง หรือตรงกันทั้งฝ่ายสื่อสารไป
2.การถามให้ตอบ
ขอรู้และขอเข้าใจในเรื่องต่างๆ ซึ่งผู้สื่อสารยังไม่ทราบหรือยังไม่แน่ใจ จากผู้ที่เป็นคู่ร่วมการสื่อสาร
3.การบอกให้ทำ
แจ้งความประสงค์ให้อีกฝ่ายหนึ่งลงมือกระทำ หรือเลิกกระทำ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
4.การปฏิสันถาร
การสื่อภาษา เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีขึ้นระหว่างกัน โดยทั่วไปมักมีชุดรูปภาษาที่ใช้ร่วมกัน เช่น คำทักทาย คำขอบคุณ คำขอโทษ รวมไปถึงการไต่ถามสารทุกข์สุขดิบ การแสดงความเสียใจ
5.การสร้างสุนทรียะและความสนุกสนาน
การสร้างความสนุกสนาน
การสนทนาเพื่อสร้างสัมพันธภาพ
1.การสนทนาแบบเผชิญหน้า (face to face communications)
1.ทักทายด้วยการใช้คำพูด “ สวัสดี” เช่น “สวัสดีค่ะ” หรือ “สวัสดีครับ”
2.ทักทายด้วยการไหว้ ควรแสดงการทักทายด้วยการไหว้แบบสองมือพนม พร้อมกับเอ่ยคำ “สวัสดี”
3.ทักทายด้วยการสร้าง “ รอยยิ้ม” การสร้างรอยยิ้มให้เกิดขึ้น บางคนอาจไม่ชอบพูด ไม่กล่าวคําสวัสดี ไม่ยกมือไหว้ แต่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีจากรอยยิ้ม
4.ทักทายด้วยการ “ ผงกศีรษะ” การแสดงกิริยาท่าทางด้วยการผงกศีรษะกับผู้ที่ไม่สนิทสนมด้วย รู้จักกันแบบผิวเผินหรือเคยเห็นกันมาบ้าง ส่วนใหญ่จะทำพร้อมกับส่งยิ้มให้
5.ทักทายด้วยการ “ ถามถึงเรื่องทั่วๆ ไป” การถามถึงเรื่องทั่ว ๆ ไป ต้องระวังอย่าถามเรื่องส่วนตัวของคู่สนทนา
2.การสนทนาแบบไม่เผชิญหน้า (Interposed communications)
1.ใช้น้ำเสียงสุภาพ เป็นปกติไม่ตะโกน
2.การออกเสียงถูกต้องชัดเจน
3.พูดให้กระชับ ตรงเป้าหมาย
4.มีอัตราความเร็วพอเหมาะ
5.ไม่พูดสิ่งที่เป็นความลับทางโทรศัพท์
6.ไม่ควรชิงกดปิดโทรศัพท์มือถือก่อนการสนทนาจบลง หรือ กระแทกหูโทรศัพท์
7.ไม่แอบบันทึกการสนทนาในโทรศัพท์ หากต้องการให้ขออนุญาตคู่สนทนา
8.ไม่ควร เคี้ยวอาหารขณะกำลังโทรศัพท์
9.หากมีข้อผิดพลาดควรกล่าวคำขออภัย
ข้อควรปฏิบัติในการสนทนา
1.อย่าทำตัวเป็นผู้รู้ไปทุกเรื่อง หรือถ่อมตนจนเหมือนคนโง่
2.อย่าแย่งพูดเพียงคนเดียว หรือฟังแต่เพียงอย่างเดียว
3.ละเว้นพูดคุยแต่เรื่องส่วนตัว
4.ไม่ใช้วาจาเท็จ หรือพูดปดมดเท็จ
5.ไม่ใช้วาจายุยงให้ผู้อื่นแตกร้าว
6.อย่านินทาว่าร้ายผู้อื่น
7.หลีกเลี่ยงวาจาหยาบคาย
8.ขอโทษเมื่อกล่าวผิดพลาด
9.หลีกเลี่ยงการใช้เสียงที่ดังจนเกินไป
10.อย่าบ่นถึงเคราะห์กรรมของตน
11.อย่าบ่นไม่ชอบคนโน้นคนนี้
12.พูดชมเชยอย่างจริงใจ
13.อย่าตั้งใจโต้เถียงอย่างเอาชนะข้างเดียว
14.ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นบุพการี
การสนทนาในที่ประชุม
การสนทนาขึ้นอยู่กับกาลเทศะที่ดูความเหมาะสมว่าอะไรควร อะไรไม่ควร หลักในการสนทนาที่สำคัญ คือ ไม่ควรสนทนาในเรื่องที่กว้างไกลตัว ไม่รู้จบหาข้อยุติลำบาก ควรหลีกเลี่ยงการถกเถียงโต้คารมในเรื่องการเมืองการปกครอง ในทางศาสนา เพราะหาข้อยุติไม่ได้ การเล่าหรือพรรณนาถึงความเจ็บไข้
มารยาทในการสนทนากับผู้ใหญ่
การใช้ภาษา
มีหางเสียง ลงท้ายด้วยคำว่า ค่ะหรือครับ ก็จะน่าฟัง น่าสนทนามากขึ้น รวมถึงจังหวะ ความรวดเร็วก็ควรมีอย่างพอดี คือ ไม่เร็ว กระชั้นชิดจนเกินไป หรือการแบ่งวรรคตอนของคำไม่ถูกต้อง ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากพูดผิดพลาดไปความหมายก็ผิดตามไปด้วย และหากเราสามารถควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้การสนทนากับผู้ใหญ่ก็จะเป็นไปในทิศทางที่ดีอย่างแน่นอน
บุคลิกภาพ
การสนทนากับผู้ใหญ่หากต้องยืนต่อหน้าซึ่งกันและกัน ควรยืนในท่าที่สบายๆ หลังเหยียดตรง แต่ลำตัวโค้งลงเล็กน้อยเพื่อ บ่งบอกว่าเราเป็นผู้น้อยถึงยืนคุยก็ไม่ค้ำศีรษะ รวมถึงการวางมือก็ควรวางทับการข้างใดข้างหนึ่ง โดยให้อยู่ในตำแหน่งหัวเข็มขัด (เอว) หรือต่ำกว่านั้น หากมีการใช้อวัจนภาษาในการสื่อสารเพื่อเพิ่มอรรถรสบ้างก็ควรใช้แล้วนำกลับมาประสานกันไว้ที่เดิม การวางขาก็ควรยืนตรงข้างหนึ่ง อีกข้างหย่อนหรือพักขาไปด้านหน้า หรือหากต้องนั่งสนทนากันโดยไม่มีโต๊ะคั่น ก็ควรนั่งในท่าที่สบาย หลังตรง ไหล่ตรง สง่างาม ไม่พิงพนักเก้าอี้ มือประสานทับกันวางไว้ที่หน้าขา ในส่วนของขาควรวางแนบชิดกัน รวมถึงวางปลายเท้าให้เสมอกัน ไม่ควรนั่งไขว้ขาหรืออ้าขาจนเกินไป
การใช้สายตา
การสบตากันถือเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการสนทนา ซึ่งการสบตาสามารถบ่งบอกได้ถึงอารมณ์ ความรู้สึกในขณะนั้น โดยสายตาที่ดี ควรเป็นสายตาที่ไม่ประสานจ้องมองตลอดเวลา อาจมีการหลบสายตามองต่ำกว่าระดับสายตาของผู้ใหญ่บ้าง หรือสบตาอย่างเป็นธรรมชาติบ้าง เพื่อไม่ให้แสดงถึงความก้าวร้าวจนเกินไป
การจบการสนทนา
การจบการสนทนาควรจบด้วยความนุ่มนวล เช่นเดียวกับการเริ่มต้น เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีต่อกันต่อไป ไม่ควรจบการสนทนาอย่างกะทันหัน เพราะอาจทำให้คู่สนทนาไม่สบายใจว่าได้ทำอะไรผิดพลาดหรือพูดให้เราเกิดความไม่สบายใจ ไม่ควรใช้เวลาสนทนานานเกินไปจนน่ารำคาญและน่าเบื่อ หน่าย จนทำให้เขารู้สึกไม่อยากสนทนาด้วยครั้งต่อๆ ไป
บุคลิกภาพกับการสนทนา
น้ำเสียงการพูดจา
ระวังอย่าทำเสียงเล็กเสียงน้อย ฝึกตัวเองให้พูดจาด้วยน้ำเสียงจริงจังฉะฉานชัดถ้อยชัดคำด้วยระดับเสียงที่เหมาะสมไม่ดังเกินไปจนหนวกหู แต่ก็ต้องมั่นใจว่าดังพอที่คู่สนทนาจะได้ยินบทสนทนาอย่างชัดเจน
รู้จักเรียนรู้สังเกตคู่สนทนา
ความสามารถในการสนทนานอกจากจะอยู่ที่การพูดการฟังแล้ว การเข้าใจคู่สนทนาเพื่อเลือกใช้วิธีการพูดสื่อสารที่เหมาะสมก็ถือเป็นหนึ่งในทักษะการสื่อสารที่จำเป็น ฝึกเรียนรู้สังเกตคู่สนทนาว่าเป็นคนแบบไหน ชอบให้พูดแบบยกตัวอย่างประกอบ หรือชอบฟังอะไรที่สั้น กระชับไม่ยืดยาว
วางตัวด้วยท่าทีที่เหมาะสม
วางตัวด้วยกิริยาท่าทางให้เหมาะสมโดยเฉพาะเมื่อต้องแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมหรือเสนองานที่รับผิดชอบหรือในการสนทนาเมื่อต้องสนทนากับผู้อื่นวิธีง่ายๆ ในการวางตัวที่เหมาะสมเพื่อทำให้คู่สนทนาประทับใจในตัวคุณ ด้วยบุคลิกที่งามสง่า เช่นการนั่งตัวตรง ไหล่ตรง เว้นระยะพอเหมาะ รู้จักสบตากับคู่สนทนา
เลือกแต่งกายให้เหมาะสมกับกาละเทศะ
การแต่งกายที่เหมาะสมคือการแต่งกายทั้งเสื้อผ้าหน้าผมให้ดูดี รู้จักกาลเทศะ ให้เกียรติสถานที่ งานที่ไปร่วม และคนที่เราไปพบซึ่งเป็นการให้เกียรติผู้อื่นและตนเอง บางสถานการณ์การเลือกแต่งกายด้วยชุดที่เป็นทางการมากก็ไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะกับงานหรือสถานที่สบายๆ
บุคลิกภาพขั้นพื้นฐาน ต้องดูดีสง่างามทั้งการยืน เดิน และนั่ง
ต้องหมั่นเตือนตัวเองให้ระวังการปรากฏกายในที่สาธารณะหากอยากมีบุคลิกภาพที่ดีต้องระวังตั้งแต่ท่าทางการนั่งที่ต้องนั่งหลังตรง ไหล่ตรงไม่นั่งยกขายกแข้งห้างนั่งแยกขามากเกินงาม ท่าทีการยืนการเดินก็ต้องระวังเดินให้สง่าผ่าเผยยืดตัวตรงอย่าปล่อยตัวตามสบายจนเผลอเดินหลังค่อม
การสนทนาเพื่อสร้างสัมพันธภาพทางการพยาบาล
1.ความรักในเพื่อนมนุษย์ (Love)
2.ความห่วงใย (care)
3.ความเอาใจใส่ (concern)
4.การเคารพในความเป็นบุคคล (Respect) ของผู้อื่น
5.การเห็นใจเข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่น(Empathy)
6.ความเชื่อถือ ไว้วางใจ (Trust)
7.ความจริงใจ (Genuineness)
8.ความเข้าใจ (Understanding)
9.การยอมรับ (Acceptance)
10.การเอาใจใส่ดูแล (Caring)
ทักษะในการสนทนา ทางการพยาบาล
1.ทักษะการใส่ใจ (Attending skill)
1.1การแสดงออกทางสีหน้า เป็นการเสริมแรงทางบวกหรือลบต่อพฤติกรรมการพูดของผู้ใช้บริการ
1.2การผงกศีรษะ เป็นครั้งคราวพร้อมกับการประสานสายตาอย่าง เหมาะสม เป็นการแสดงว่ากำลังมีการรับฟังด้วยความสนใจจดจ่อ และทำให้ผู้รับบริการเกิดความมั่นใจ
1.3พฤติกรรมการพูด สิ่งที่เราพูดจะมีผลต่อผู้ใช้บริการทันที การพูดด้วยคำพูดหรือวลี สั้นๆ เข้าใจง่ายและเหมาะสมกับความสามารถในการรับรู้ของผู้ใช้บริการ
1.4น้ำเสียงที่น่าฟัง ไม่แสดงความตื่นเต้น เสียงไม่สูงหรือต่ำเกินไป ทำให้ ผู้ใช้บริการเกิดความแน่ใจว่าเรามีความพร้อมในการฟังเขา หรืออาจกระตุ้นด้วยคำพูดหรือวลีสั้นๆโดยมี จุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับการผงกศีรษะหรือการประสานสายตา
2.ทักษะการฟัง
3.ทักษะการใช้คำถาม
1.การเตรียมคำถาม คำถามที่ดีควรมีการเตรียมล่วงหน้า ซึ่งเป็นการคาดคะเนหรือวางแผนไว้ล่วงหน้านั่นเอง
2.การดำเนินการใช้คำตอบ การใช้คำถามเป็นศิลปะที่ควรจะทำการฝึกฝนอยู่เสมอ การใช้คำถามที่ดีควรสอดคล้องกับสถานการณ์
อุปสรรคของการสนทนาที่พบบ่อย
1.ผู้พูด
1.1ไม่มีความตั้งใจอย่างแท้จริงที่จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจข้อมูล จึงไม่ให้เวลามากพอ ไม่เชื่อมโยงปัญหา ไม่เตรียมสถานที่ที่เหมาะสม ไม่เลือกเวลาให้ดี ในจังหวะที่จะ สื่อสารออกไป
1.2ขาดทักษะและประสบการณ์ โดยเฉพาะการสื่อสารในเรื่องที่ยุ่งยาก ซับซ้อน หรือ เรื่องเกี่ยวข้องกับความรู้สึกภายใน ความสูญเสีย ความตาย
2.ผู้ฟัง
2.1ได้ตัดสินหรือเข้าใจว่าผู้พูดได้ยึดความคิดเห็นของตัวเองเรียบร้อยแล้ว ผู้พูดเพียงแต่บอกให้ผู้ฟังรับรู้เท่านั้น
2.2รับฟังเฉพาะในส่วนที่ตัวเองต้องการอยากจะฟังเท่านั้น ไม่ว่าผู้พูดจะพูดในส่วน อื่นด้วยก็ตาม
2.3ไม่สามารถรับฟังข้อมูลที่แตกต่างจากตัวเองได้
2.4ผู้ฟังไม่มีสมาธิมากพอในการรับฟัง
3.สภาพแวดล้อม
ไม่เหมาะสม หรือให้เวลาไม่มากพอ
การสนทนาเพื่อสัมพันธภาพระหว่างบุคคล Interpersonal Relationships
Small talk การพูดคุยเล็กๆ น้อยที่สร้างสัมพันธภาพ
การคุยกันเรื่อยเปื่อย ถามสารทุกข์สุกดิบบ้าง คุยทั่วๆไปโน่นบ้างนี่บ้าง
Big talk การสนทนาสาระหนักๆ ที่สร้างสัมพันธภาพ
ตัวอย่างคำถาม
1.หากเลือกได้ว่าจะพบคนและพูดคุยกับใครก็ได้หนึ่งคน คุณอยากจะพบใคร (ตัวละครหรือคนจริงๆ ก็ได้)
2.รู้สึกว่า ‘มีชีวิต’ ที่สุดตอนไหน
3.นึกถึงคนที่ไม่ได้เจอมานานใครคือคนที่คุณอยากเจอที่สุดก่อนตาย
4.‘Soundtrack’ ของชีวิตคุณคืออะไร
5.คิดว่าตัวเองเป็นสีอะไร เพราะอะไร
ARE (Anchor, Reveal และ Encourage)
การใช้บรรยากาศและสิ่งรอบตัวมาสร้างบทสนทนา
การสนทนากับวัยรุ่น
1.สร้างความคุ้นเคย
ควรเริ่มบทสนทนาโดยการแนะนำตนเอง สร้างความคุ้นเคยโดยการคุยเรื่องทั่วไป
2.บอกเรื่องการรักษาข้อมูลส่วนตัว
ควรเริ่มบทสนทนาโดยการแนะนำตนเอง สร้างความคุ้นเคยโดยการคุยเรื่องทั่วไป เช่น โรงเรียน เพื่อน งานอดิเรก กีฬา เป็นต้น ควรปล่อยให้วัยรุ่นได้พูดหรือแสดงความคิดเห็น ควรรับฟังและปฏิบัติกับวัยรุ่นเหมือนๆ กับปฏิบัติกับผู้ใหญ่
3.หลีกเลี่ยงการตัดสินถูกผิด
ผู้ให้บริการด้านสุขภาพวัยรุ่นควรระลึกไว้เสมอว่า วัยรุ่น แต่ละคนมีข้อจำกัดในชีวิตที่แตกต่างกัน การตัดสินถูกผิดไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ กลับทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้าน ควรใช้เทคนิคการรับฟัง พยายามเข้าใจในปัญหา และอย่าพยายามแสดงบทบาทเหมือน พ่อแม่ เช่น การว่ากล่าวตักเตือน
4.แสดงบทบาทเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ มากกว่า
มากกว่าจะเป็นผู้แก้ปัญหา พยายามเน้นจุดแข็ง หรือข้อดีของวัยรุ่นที่มารับคำปรึกษา มากกว่าหาข้อบกพร่องแล้วตำหนิติเตียน
5.เป็นผู้ฟังที่ดี
การเป็นผู้ฟังที่ดีสามารถทำให้เกิดความไว้วางใจระหว่างวัยรุ่นกับทีมผู้ดูให้บริการสุขภาพ การฟังที่ดี สามารถแสดงออกด้วยภาษากาย เช่น การมองหน้า สบตา การพยักหน้า หรือภาษาพูด เช่น การทวนความ การสะท้อนความรู้สึก
6.ใช้คำถามปลายเปิด
ควรพยายามใช้คำถามปลายเปิด ถามคำถามกว้างๆ เพื่อเปิด โอกาสให้วัยรุ่นได้เล่า แสดงความคิดเห็นหรือแสดงความรู้สึกได้เต็มที่
7.สร้างความรับผิดชอบ
ควรสร้างความตระหนักกับวัยรุ่น ว่าวัยรุ่นจะเป็นผู้ที่มีบทบาทหลักในการตัดสินใจ และเป็นผู้รับผิดชอบกับพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการกระทำและการตัดสินใจของตน
8.พยายามจดบันทึกเฉพาะที่จำเป็น
การจดบันทึกขณะซักประวัติ อาจทำให้ผู้ให้บริการไม่สามารถแสดงบทบาทผู้ฟังที่ดี และการบันทึกอาจทำให้วัยรุ่นเกิดความกังวล แนะนำให้จดบันทึกเท่า ที่จำเป็น
9.มีบทสรุป
ในตอนท้ายของบทสนทนา ควรกล่าวสรุปโดยย่อเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน รวมถึงการวางแผนดูแลรักษาและการนัดหมายในครั้งต่อไป
10.ให้ความสำคัญและหาข้อมูลเพิ่มเติมจากครอบครัว
ควรให้ความสำคัญกับครอบครัวร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นประวัติความเจ็บป่วยในอดีตของวัยรุ่น ประวัติความเจ็บป่วยหรือโรคประจำตัวในครอบครัว โครงสร้างของครอบครัว บทบาทของสมาชิกในครอบครัวที่มีต่อการแก้ปัญหาของวัยรุ่น ทัศนคติต่อการรักษา การวางแผนช่วยเหลือและการติดตามการรักษา
การสนทนากับผู้สูงอายุ
1.การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
สถานที่ที่จะสื่อสารให้เหมาะสมนั้นควรเป็นที่เงียบ สงบ ไม่มีเสียงรบกวน มีแสงสว่างเหมาะสมเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น ควรจัดที่นั่งที่สบายไว้ให้
2.การทักทาย
จะทำให้ผู้สูงวัยรู้สึกได้รับการยอมรับ และเกิดความผ่อนคลายพร้อมที่จะพูดคุยต่อไป
3.ให้เวลาในการสนทนามากกว่าปกติทั่วไป
ควรเตรียมเวลาใน การสนทนาให้มากกว่าปกติ เพราะผู้สูงวัยจะสามารถรับข้อมูลต่างๆได้ น้อย อาจเป็นเพราะปัญหาในการรับฟังและการคิดประมวลผลที่ช้าลงแล้ว การสนทนาอย่างเร่งรีบ จะทำให้ผู้สูงวัยรู้สึกอึดอัดและสับสนได้
4.พูดช้าลง ใช้คำพูดที่ชัดเจนไม่วกวน
5.พูดเสียงดัง ฟังชัดและเหมาะสม
6.พูดทีละประเด็น
ควรมี การพูดสรุปประเด็นที่จะสนทนาทั้งหมดเป็นหัวข้อคร่าวๆ ให้ฟังก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยพูดไล่ไปทีละประเด็น โดยควรเลือกพูดประเด็นที่สำคัญก่อน เมื่อจะเปลี่ยนประเด็นอาจมีการสรุปและบอกให้ ทราบว่าต่อไปจะเปลี่ยนไปคุยถึงประเด็นใด
7.เว้นระยะและเปิดโอกาสให้ได้ซักถามหรือแสดงความคิดเห็น
8.รับฟังให้มาก
9.การสรุปและจดบันทึกความจำสั้นๆ
เมื่อจบการสนทนา เช่น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับ โรคหรือการรักษา เป็นต้น ถ้ามีการทำสรุปบันทึกข้อความสั้นๆ ให้ผู้สูงวัยอ่านง่าย อาจจะมีประโยชน์ต่อผู้สูงวัยซึ่งมักมีปัญหาในการจดจำสิ่งใหม่ๆ ในการที่จะนำข้อมูลดังกล่าวไปปฏิบัติต่อ หรือนำไปสื่อสารกับผู้อื่นต่อไป
การสนทนาในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
1.Open แนะนำตัวเองแจ้งผูป่วยว่าจนเองมีบทบาทหน้าที่อะไร มีบทสนทนาทักทายกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับผู้ป่วยในเบื้องต้น ระหว่างการสนทนา ควรมีการสบตาผู้ป่วยตลอดเวลา
2.Engage การสนทนาไม่ควรมีบรรยากาศที่เคร่งเครียดจนเกินไป เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เล่าอาการและ เหตุการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเจ็บป่วยของเขาและรับฟังเรื่องราวอย่างเข้าใจ หากมีจุดใด้องใจควรสอบถามให้ชัดเจน
3.Empathize รับฟังผู้ป่วยด้วยความเห็นอกเห็นใจ มีกิริยาท่าทาง สีหน้าและคำพูด ตอบสนองผู้ป่วยด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่เหมาะสมกับเรื่องราวนั้นๆ เพื่อให้ผู้ป่วยเห็นว่าพยาบาลมีความเข้าใจใน ความรู้สึกและความกังวลของเขาในขณะนั้น ทำ ให้ผู้ป่วยมีความไว้วางใจและกล้าพูดคุย บอกเล่าเรื่องราวกับพยาบาลอย่างเปิดเผยและสะดวกใจมากขึ้น
4.Educate ประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้ป่วย เกี่ยวกับการเจ็บป่วยของตนเองถามความเห็นว่าคิดว่าตนเองกำลังป่วยเป็นโรคอะไร มีความกังวลอะไรเพื่อที่พยาบาลจะได้ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้เหมาะสม หากในกรณีที่ผู้ป่วยเข้าใจไม่ถูกต้อง ก็ถือเป็นโอกาสที่จะ อธิบายให้ข้อมูลที่ถูกต้องให้เข้าใจ
5.Enlist พยายามชักจูงให้ผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการรักษากับทีมสุขภาพ สอบถามถึงความ ตั้งใจในการดูแลรักษาตนเอง ถามถึงข้อจำกัดและอุปสรรคต่างๆ ในการดูแล ตนเอง
6.Close ประเมินระยะเวลาในการนอนสังเกตอาการของผู้ป่วย สรุป การวินิจฉัย ขั้นตอนการรักษา การพยาการณ์โรคอย่างสั้นๆ อีกครั้ง แนะนำ การติดตามรักษา กับแพทย์ท่านอื่นในระบบผู้ป่วยนอกต่อไป อธิบายภาวะฉุกเฉินต่างๆ ที่จำเป็นต้องรีบ กลังมาห้องฉุกเฉิน และพูดแสดงความหวังว่าภาวะการเจ็บป่วยของผู้ป่วยจะดีขึ้นตามลำดับ
การสนทนากับผู้ป่วยวิกฤติและญาติ
1.เมื่อผู้ป่วยย้ายเข้าหอผู้ป่วยวิกฤต
1.1การเปิดโอกาสให้ครอบครัวได้ระบายความรู้สึกและซักถามเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการรักษาผู้ป่วย เนื่องจากในมุมมองของครอบครัวส่วนใหญ่มองว่าหอผู้ป่วยวิกฤตเป็นหอผู้ป่วยสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนักมากหรือผู้ป่วยที่สิ้นหวังและหมดหวังแล้ว
1.2การให้ข้อมูลแก่ครอบครัว