Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Pre-hospital : non-trauma - Coggle Diagram
Pre-hospital : non-trauma
Dispatch Center : DC
ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ
ศูนย์สั่งการหรือหน่วยปฏิบัติการ มีหน้าที่รับแจ้งเหตุจากประชาชนโดยตรง ตลอดจนประสานความร่วมมือกับ
หน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติกาการแพทย์ฉุกเฉิน
ซึ่งทีมปฏิบัติการฉุกเฉินที่ตอบรับ
รับวิทยุ/โทรศัพท์ แจ้งจากศูนย์สั่งการและจดบันทึกรายละเอียด การสอบถามข้อมูล ได้แก่ เพศ อายุ อาการสำคัญ สาเหตุการบาดเจ็บ จำนวนผู้ป่วยเจ็บ/ตาย สถานที่เกิดเหตุ/ลักษณะที่เกิดเหตุ/จุดสังเกตสถานที่เกิดเหตุ เส้นทางสถานที่เกิดเหตุ หมายเลขโทรศัพท์ผู้แจ้งเหตุที่สามารถติดต่อโทรกลับได้ เพื่อที่จะสามารถโทรสอบถามตำแหน่งบ้านหรือจุดเกิดเหตุได้
ควรรีบออกเหตุทันทีภายใน 2 นาที
ถึงที่เกิดเหตุภายใน 8 นาที
เวลาเดินทาง 1 km/min
การหาตำแหน่งที่อยู่ของผู้ป่วย
GPS
ขอเบอร์มือถือผู้ที่โทรมาแจ้ง
ระหว่างเดินทาง จะต้องคาดการณ์ปัญหาของผู้ป่วย
เพื่อ
แบ่งหน้าที่ในการดูแล
การเตรียมจำนวนสมาชิกในการเคลื่อนย้าย
การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการประเมิน การให้ความช่วยเหลือและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
เมื่อถึงที่เกิดเหตุจะต้องประเมินสถานการณ์และสภาพผู้ป่วย
1) ประเมินสถานการณ์ (Scene size-up)
ประเมินสิ่งแวดล้อมของสถานที่เกิดเหตุ เพื่อความปลอดภัยทั้งตัวผู้ช่วยเหลือ ผู้ร่วมงาน คนรอบข้าง และผู้ป่วย สำหรับวางแผนในการเข้าช่วยเหลือ
ข้อพึงระลึก
1.BSI (Body Substance Isolation) การป้องกันตนเองโดยใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หมวก แว่นตา mask รองเท้าบู๊ท เอี๊ยม
2.Scene safety ความปลอดภัยของที่เกิดเหตุ เช่น จอดรถห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 15 เมตร กั้นกรวยจราจร
3.MOI :Mechanism of injury กลไกการเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บ เช่น ถูกรถชน กระเด็นออกจากตัวรถ ขับ mc ล้ม ตกจากที่สูงเกิน 5 เมตร
4.Number of patients จำนวนผู้บาดเจ็บ/ป่วย หรือจำนวนรถที่เกิดอุบัติเหตุ
5.Additional resources การขอความช่วยเหลือที่ต้องการเพิ่มเติม เช่น ตำตรวจ กู้ภัย
2) การประเมินสภาพผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ
Initial Assessment การประเมินขั้นต้น
1.ประเมินสภาพทั่วไปของผู้บาดเจ็บ (General impression) เช่น เพศ อายุ อาการบาดเจ็บ
2.ประเมินระดับความรู้สึกตัว(Responsc/mental/status/Loc) โดยใช้หลัก AVPU และ c-spine ต้อง stabilization ศีรษะขณะประเมิน
A=Alert, V=Verbal response, P=Painful, U=Unresponsive
3.ประเมินทางเดินหายใจ (Airway) และทำทางเดินหายใจให้โล่ง จัดท่า open airway suction ใส่ oro pharyngeal airway
4.ประเมินการหายใจ (Breathing) โดยตาดู หูฟัง แก้มสัมผัส ภายใน 10 วินาที และช่วยหายใจ
5.ประเมินการไหลเวียน(circulation) ภายใน 10 วินาที (pulse ที่ carotid และ radial ดู skin ว่าซีด มีเหงื่อออก ตัวเย็นหรือไม่ ดู major bleeding ถ้ามีให้ stop bleed
หลังจากประเมินสภาพผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุ แล้วสรุปว่าผู้บาดเจ็บมี MOI หรือไม่ ถ้ามีให้ประเมิน Rapid trauma assessment (ตรวจ head to toe) ถ้าไม่มีให้ประเมินแบบ focused asessment
3) Rapid trauma assessment (การประเมินผู้บาดเจ็บแบบเร็ว)
ดังนี้
1.ดูและคลำบริเวณรอบศีรษะและใบหน้าโดยตรวจหา DCAP-BTLS
ดูและคลำบริเวณคอทั้งด้านหน้าด้านหลัง โดยตรวจหา DCAP-BTLS และตรวจ trachea deviation, jugular vein, distension
3.ดูและคลำบริเวณทรวงอก ตรวจหา DCAP-BTLS และฟังเสียงหายใจ 4 จุดที่ 2 nd intercostals mid clavicular line ,
4-5th intercostals space mid axillary line ว่าได้ยินเสียงลมเข้าออกเท่ากันหรือไม่ ตรวจหา chest movement เปรียบเทียบข้างซ้ายและขวา ฟัง heart ตำแหน่ง apex
4.ดูและคลำบริเวณช่องท้อง โดยตรวจหา DCAP-BTLS
5.ดูและคลำบริเวณกระดูกเชิงกราน โดยตรวจหา DCAP-BTLS กดด้านล่างแล้วค่อยกดด้านบน ลง – ออก เพื่อป้องกันในกรณีที่ผู้ป่วยมี Fx. pevic จะทำให้กระดูกเชิงการแยกมากขึ้น
6.ดูและคลำรยางค์ทั้ง 4 โดยตรวจหา DCAP-BTLS พร้อม check PMS (pulse, motor, sensory) ทีละข้าง
7.พลิกตะแคงตัวผู้ป่วยแบบท่อนซุงดูและคลำบริเวณหลัง หา DCAP-BTLS และพลิกตะแคงตัวลง long spinal board ใส่ head immobilizers และรัดสาย belt
Re-assessment R-A-B-C ขณะทำ Rapid trauma assessment เสมอ
4) พิจารณานำผู้บาดเจ็บขึ้นรถ ประเมิน V/S และ ซักประวัติ SAMPLE (Signs and symptoms, Allergy, Medication, Past illness, Last meal, Event leading to illness )
หลังจากนั้นประเมิน Detailed Physical Assessment การประเมินแบบละเอียดตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า
5) ประเมินระดับความรู้สึกตัว GCS ติด lead EKG และตรวจพิเศษที่จำเป็น เช่น DTX
หลังจากนั้น Re-assessment RABC,V/S,GCS และประสิทธิภาพการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และแจ้งศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ เพื่อประสานกับแพทย์ขอคำแนะนำให้การรักษาเพิ่มเติม และให้การรักษาตามสภาพผู้บาดเจ็บ จนถึงรพ
ควรโทรแจ้งศูนย์สั่งการล่วงหน้า 5 นาที
กรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์
ควรจอดรถแล้วให้การช่วยเหลือ
แวะโรงพยาบาลที่ใกล้
กรณีใกล้ถึงจุดหลาย รีบไปให้ถึงโรงพยาบาลปลายทาง
กรณีปกติ
ควรจอดรถห่างจากจุดเกิดเหตุ 15 เมตร พร้อมที่จะออกเดินทาง
ตั้งกรวย (เมตร) เพื่อแสดงถึงความฉุกเฉิน ห่างจากจุดเกิดเหตุ โดยใช้สูตร ความเร็ว x 3
ควรเตรียมอุปกรณ์ในการให้ความช่วยเหลือไว้อย่างเหมาะสม หรือมากเกินความจำเป็น
5) การรายงานกลับศูนย์สั่งการ
ISBAR
คือ แนวทางในการสื่อสารระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยเฉพาะอย่างระหว่างแพทย์และพยาบาล แบบง่าย ๆ ที่มีกรอบในการสื่อสารและส่งต่อข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย และได้รับการรักษาอย่างทันที
I = introduction การระบุตัวตนทั้งผู้รายงาน และผู้ป่วย
S = situation ข้อมูลทั่วไปที่ต้องรายงานหรือข้อมูลที่มีความสำคัญ
เช่น โรคที่ผู้ป่วยเป็น อาการ หรือภาวะวิกฤตที่ต้องเฝ้าระวัง
B = background ข้อมูลภูมิหลังของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
สาเหตุความเจ็บป่วยหรือสาเหตุของอาการผิดปกติ ประวัติทางการแพทย์ที่สำคัญ
A = assessment ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผู้ป่วย ภาวะความรุนแรงของปัญหา แนวโน้มความเสี่ยงในการเกิดปัญหา สัญญาณชีพ รวมทั้งกิจกรรมที่ได้ทำไปแล้ว
R = recommendation ข้อแนะนำหรือความต้องการของพยาบาล