Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที6 จริยธรรมและจรรยาบรรณ ของนักคอมพิวเตอร์และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 -…
บทที6 จริยธรรมและจรรยาบรรณ ของนักคอมพิวเตอร์และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560
Outline
จริยธรรมคอมพิวเตอร์ (Ethics)
จรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560
จริยธรรม หมายถึง “หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ” โดยสรุปแล้ว จริยธรรม จะมีความหมายไปในแนเดียวกันคือ
เป็นหลักเกณฑ์ที่ประชาชนตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันในสังคม
จริยธรรมคอมพิวเตอร์
“จริยธรรม” หรือ Ethics นั้นอาจเข้าใจกันในหลายความหมาย เช่น หมายถึง “หลักศีธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติหรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ”
ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับกฎหมาย
1.กฎหมายเป็นสิ่งที่ออกโดยรัฐ ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ แต่จริยธรรมเป็นเรื่องของคนในสังคมร่วมกันสร้างขึ้นมา
2.กฎหมายเป็นข้อบังคับที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่จริยธรรม เป็นเรื่องของความสมัครใจ
3.กฎหมายมีบทลงโทษที่ชัดเจน และแน่นอน แต่จริยธรรมไม่มีบทลงโทษสำหรับฝ่าฝืน
4.กฎหมายเป็นสิ่งที่ควบคุมการกระทำของคน แต่จริยธรรมเป็นสิ่งที่ควบคุมจิตใจ ไม่ให้คนกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
5.กฎหมายมีวัตถุประสงค์ลงโทษผู้กระทำผิด หรือชดใช้ค่าเสียหาย แต่จริยธรรมมีวัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับคุณค่าทางจิตใจ
จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ
สารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
1.ความเป็นส่วนตัว (Privacy)
2.ความถูกต้อง (Accuracy)
3.ความเป็นเจ้าของ (Property)
4.การเข้าถึงข้อมูล (Data accessibility)
ทรัพย์สินทางปัญญา Intellectualproperty
ทรัพย์สินทางปัญญา อยู่ภายใต้การคุ้มครองของ
กฎหมาย 3 ประการคือ
ความลับทางการค้า (Trade secrets)
ลิขสิทธิ์ (Copyright)
สิทธิบัตร (Patents)
สาเหตุของความขัดแย้งในจริยธรรมและศีลธรรม
วัฒนธรรมที่แตกต่าง
การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟแวร์
การใช้งานอย่างผิดกฎหมาย
การใช้ทรัพยากรขององค์กรเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
จริยธรรมและการศึกษา
การยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่มีจรรยาบรรณและผิดกฎหมาย
บทบัญญัติ 10 ประการในการใช้คอมพิวเตอร์
1.ท่านต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำอันตรายผู้อื่น
2.ท่านต้องไม่แทรกแซงหรือรบกวนงานคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น
3.ท่านต้องไม่สอดแนมไฟล์คอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น
4.ท่านต้องไม่คัดลอกหรือใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่จ่ายค่าลิขสิทธิ์
5.ท่านต้องไม่ใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนอย่างเหมาะสม
6.ท่านต้องไม่ละเมิดสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น
7.ท่านต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการลักขโมย
8.ท่านต้องตระหนักถึงผลที่ตามมาต่อสังคมที่เกิดจากโปรแกรมที่ท่านกำลังเขียนหรือกำลังออกแบบอยู่เสมอ
9.ท่านต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นพยานเท็จ
10.ท่านต้องใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่พิจารณาดีแล้วว่าเหมาะสมและเคารพต่อเพื่อมนุษย์ด้วยกันเสมอ
จรรยาบรรณการใช้คอมพิวเตอร์
แนวทางระดับองค์กร มีสำคัญในการป้องกัน และ และ ควบคุมปัญหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการใช้คอมพิวเตอร์ ได้แก่จรรยาบรรณการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นการประมวลหลักจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์เป็นลายลักษณ์อักษร
ประโยชน์ของการกำหนดจรรยาบรรณสำหรับหน่วยงาน
การกำหนดจรรยาบรรณขึ้นเป็นหลักปฏิบัติของสมาชิกในหน่วยงาน มีประโยชน์ทั้งต่อบุคคล และสังคมคือ
1.พัฒนาการตัดสินใจทางจริยธรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.สนับสนุนให้เกิดมาตรฐานของการประพฤติตามจริยธรรม
3.เพิ่มความน่าเชื่อถือและน่านับถือจากสาธารณชน
4.มีการประเมินเปรียบเทียบกับมาตรฐาน
จรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์
จรรยาบรรณต่อตนเอง
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อสังคม
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ คืออะไร
1.พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก สมาร์ทโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้
2.ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ทโฟนเป็นจำนวนมาก บางคนก็อาจจะใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ แต่บางคนก็อาจใช้สิ่งนี้ทำร้ายคนอื่นในทางอ้อมด้วย
3.เราอาจจะได้ยินข่าวเรื่องการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งบางเหตุการณ์ก็สร้างความเสียหายไม่น้อยเลย เพื่อจัดการกับเรื่องพวกนี้ เลยต้องมีพ.ร.บ.ออกมาควบคุม ในเมื่อการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวเราพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเราเช่นกัน หากเราไม่รู้เอาไว้ เราอาจจะเผลอไปทำผิด โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจก็ได้
8สิ่งห้ามทำพลาดกับคอมพิวเตอร์
1.เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่น
โดยไม่ชอบ (มาตรา 5-8)
2.แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้
อื่นเสียหาย (มาตรา 9-10)
3.ส่งข้อมูลหรืออีเมล์ก่อกวนผู้อื่น
หรือส่งอีเมล์สแปม (มาตรา 11)
4.เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้าน
ความมั่นคงโดยมิชอบ (มาตรา 12)
5.จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อ
นำไปใช้กระทำความผิด (มาตรา 13)
6.นำข้อมูลที่ผิดพ.ร.บ. เข้าสู่ระบบ
คอมพิวเตอร์ (มาตรา 14)
7.ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจ
กับผู้ร่วมกระทำความผิด (มาตรา 15)
8.ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงภาพ
(มาตรา 16)
สรุป พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือฉบับที่ 2 ปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้ว ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่คลุกคลีกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต ก็ควรจะรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.นี้ไว้ เพราะเราจะได้ไม่เผลอไปทำความผิด อย่างน้อยๆ ต้องระวัง 8 ประเด็นที่เราได้เขียนเอาไว้เลย อีกทั้งการมีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ขึ้นมา ก็ถือว่าเป็นการควบคุมการใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับหนึ่ง และในทางหนึ่งก็ช่วยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ