Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มที่ 5 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับ แผนพัฒนาการพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ -…
กลุ่มที่ 5 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับ
แผนพัฒนาการพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
กรอบแนวคิด
เป็นหลักปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ
ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินในทางสายกลาง
โดยเฉพาะการพัฒนาเศรฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุกโลกาภิวัตน์
เป้าหมาย
มุ่งให้เกิดความสมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งทางวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
หลักการ
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล
การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเองพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
เงื่อนไขพื้นฐาน (ความรู้คู่คุณธรรม)
จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และ
การดำเนินการทุกขั้นตอน
การสร้างจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ
นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม
ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิต
ทางสายกลาง
ประกอบด้วย
3 ห่วง 2 เงื่อนไข สมดุล 4 มิติ
3 หวง
ความพอประมาณ
มีเหตุผล
มีภูมิคุ้มกัน
2 เงื่อนไข
มีคุณธรรม
มีความรู้
สมดุล 4 มิติ
เศรษฐกิจ
สิ่งแวดล้อม
สังคม
วัฒนธรรม
ความเป็นมาของการขับเคลื่อนปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิถีปฏิบัติ จนเป็นวิถีชีวิต เพื่อผลให้เกิดการปลูกฝังและบ่มเพาะผู้เรียน เด็ก และเยาวชน ให้มีจิตสำนึกและอุปนิสัย “พอเพียง” สามารถดำรงตน และดำเนินชีวิตให้เจริญก้าวหน้าไปได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในความสำคัญของการ
ดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มีความรู้ และทักษะพื้นฐานในการดำเนินชีวิตตามปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง
ปฏิบัติตนและดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
แนวทางการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในโรงเรียน
กำหนดเป็นนโยบาย-วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจ แผนปฏิบัติการ-งานวิชาการ งบประมาณ บุคคล บริหารทั่วไป ชุมชนสัมพันธ์
นำหลักการทรงงานมาปรับใช้ในการบริหารสถานศึกษา
เน้นการบริหารทรัพยากรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การมีส่วนร่วม รู้รักสามัคคี ไม่ประมาท
การเขียนแผนแบบบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ยึดสาระสังคมเป็นหลัก เพราะสังคมจะมีหัวข้อและเนื้อหาชัดเจน
ให้สอดแทรกความคิด/คุณค่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ลงไป
ยุทธศาสตร์การสอนของครู สอดแทรกคุณธรรม วินัย ความรับผิดชอบ
การคำนึงถึงการอยู่ร่วมกับผู้อื่น/สังคมรอบตัว สภาพแวดล้อมทางวัตถุและธรรมชาติ
เน้นให้เด็กแสดงความคิดเห็นอย่างมีส่วนร่วม วิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว อย่างเป็นเหตุเป็นผล รอบคอบ เปิดโอกาสให้คิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยมีครูค่อยชักจูงให้คิดแบบโยนิโสมนสิการ และมีกัลยาณมิตรคอยท้วงติง แนะนำ ด้วยความจริงใจ
ยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการเรียนรู้ เพื่อความอยู่ร่วมกันอย่างเกิดประโยชน์และเป็นสุข
การสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
สร้างวินัย เรียนรู้จากสถานการณ์จริง ทำงาเป็นกลุ่ม
จัดกิจกรรมหลากหลาย ปลูกฝังคุณธรรม เรียนรู้จากธรรมชาติ
จัดสภาพแวดล้อมจูงใจ สร้างจุดเด่นซ่อมจุดด้อย ฝึกการพึ่งพาตนเองตามวัย
ใส่ใจนักเรียนเป็นรายบุคคล นักเรียนมีส่วนร่วม จินตนาการ เน้นกระบวนการเรียนรู้
แนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา
พัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน
มาตราฐานการเรียนรู้/หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับทุกระดับ
ตัวอย่างสื่อการเรียนการสอน
สถานศึกษาตัวอย่าง
ตัวอย่างกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ตัวชี้วัดเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
จัดทำสื่อเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
พัฒนาบุคลากร/เครือข่าย
เชื่อมโยงเครือข่าย/ขยายผล
ติดตามและประเมินผลเพื่อการพัฒนา