Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเองของโอเรม (The Orem self-care deficit Theory),…
ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเองของโอเรม
(The Orem self-care deficit Theory)
• ปัจจัยพื้นฐานของกรณีศึกษา •
• ปัจจัยพื้นฐานสำหรับผู้รับบริการ
1.1 อายุ : อายุ 45 ปี
1.2 เพศ : ผู้ป่วยเพศหญิง
1.3 ระยะ พัฒนาการ : ไม่เคยเจ็บป่วยจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หรือได้รับการผ่าตัดใดๆ
1.4 เศรษฐานะทางสังคม : จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อาชีพรับจ้าง
1.5 ภาวะสุขภาพ : 1 ปีก่อน มีอาการเบื่ออาหาร ปัสสาวะบ่อย ชาบริเวณปลายเท้า น้ำหนักลดลง 5 กิโลกรัม ภายใน 2 เดือนที่ผ่านมา ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน แพทย์ให้การรักษาโดยการรับประทานยา นัดตรวจตามนัดทุก 3 เดือน 1 วันก่อนมา รู้สึกอ่อนเพลีย สังเกตเห็นเท้าขวามีแผลเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ไม่มีหนอง ไม่มีอาการปวด จึงไปโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผลการตรวจเลือด มีค่าน้ำตาลในเลือด 180 mg/dl (ค่าปกติ 70-110 mg/dl) จึงให้การรักษาโดยให้ยา Glybenclamide 5 mg 1 เม็ด หลังอาหารเช้า และทำแผลวันละ 1 ครั้ง ที่โรงพยาบาล
3 วันต่อมาผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยอ่อนเพลียมากขึ้น รับประทานอาหารได้น้อย กระหายน้ำบ่อย ลุกถ่ายปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อย แผลเริ่มกว้างขึ้นประมาณ 2.5 เซนติเมตร และมีหนอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจึงส่งตัวมารักษาต่อที่โรงพยาบาลชุมชน แรกรับท่าทางอ่อนเพลีย ช่วยเหลือตนเองได้น้อย ผิวแห้ง ปากแห้ง ตรวจสัญญาณชีพพบมีไข้ ความดันโลหิตปกติ ชีพจร 98 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 28 ครั้ง/นาที มีค่าน้ำตาลในเลือด 270 mg/dl แพทย์รักษาโดยการให้สารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดดำ 0.9% Normal Saline และให้ยาอินซูลินแบบฉีดเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งมีผลข้างเคียงที่รุนแรงคือการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และให้มีการเจาะเลือดปลายนิ้วตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือดทุก 4 ชั่วโมง
1.6 แบบแผนการดำเนินชีวิต : ผู้ป่วยยอมรับสภาพความเป็นจริง ไปตรวจตามนัดทุกครั้ง ดูแลเอาใจใส่ตนเองดี มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการปฏิบัติตนของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน และหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของตนเองอยู่เสมอ พบว่าผู้ป่วยพูดคุยยิ้มแย้มดีแม้ว่าจะอ่อนเพลีย มีความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาแผนปัจจุบัน มีความกังวลเกี่ยวกับแผล จะคอยซักถามพยาบาลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของตนเองกับพยาบาลสม่ำเสมอ
1.7 ปัจจัยแวดล้อม: ลูกสาวและญาติพี่น้องสามัคคีกันดีและห่วงใยในตัวผู้ป่วยเป็นอย่างมาก มาเยี่ยมผู้ป่วยทุกวัน มีบิดาเป็นโรคเบาหวาน
1.8 ระบบบริการสุขภาพ: ใช้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
การรักษาโดยให้ยา Glybenclamide 5 mg 1 เม็ด หลังอาหารเช้า
ทำแผลวันละ 1 ครั้ง ที่โรงพยาบาล
ผลการตรวจเลือด มีค่าน้ำตาลในเลือด 180 mg/dl (ค่าปกติ 70-110 mg/dl)
3 วันต่อมาผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยอ่อนเพลียมากขึ้น รับประทานอาหารได้น้อย กระหายน้ำบ่อย ลุกถ่ายปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อย แผลเริ่มกว้างขึ้นประมาณ 2.5 เซนติเมตร และมีหนอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจึงส่งตัวมารักษาต่อที่โรงพยาบาลชุมชน ตรวจสัญญาณชีพพบมีไข้ ความดันโลหิตปกติ ชีพจร 98 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 28 ครั้ง/นาที มีค่าน้ำตาลในเลือด 270 mg/dl แพทย์รักษาโดยการให้สารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดดำ 0.9% Normal Saline และให้ยาอินซูลินแบบฉีดเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งมีผลข้างเคียงที่รุนแรงคือการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และให้มีการเจาะเลือดปลายนิ้วตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือดทุก 4 ชั่วโมง
สรุป ประเมินปัจจัยพื้นฐาน ผู้ป่วยรายนี้ยังสามารถทำกิจกรรมตลอดทั้งวัน ผลการประเมินปัจจัยพื้นฐานผลการประเมินความสามารถในการดูแลตนเองพบว่า ไม่มีข้อจำกัดของความสามารถและคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน แต่ส่วนของพลังความสามารถ 10 ประการ จากการที่ผู้ป่วยคิดว่า การเป็นแผลขนาดที่เป็นอยู่ไม่เป็นอะไรมาก ไม่ร้ายแรง ยังทำงานได้จนกระทั่งแผลมีลักษณะคล้ายหนองจึงมาแพทย์ บ่งบอกว่าผู้ป่วยยังมีข้อจำกัดของการใช้เหตุผลเพื่อการดูแลตนเอง (ขณะเป็นเบาหวานและมีแผล) จากการที่มีความรู้ความเข้าใจไม่พอและความสามารถที่สอดแทรกการดูแลตนเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งในแบบแผนการดำเนินชีวิต (ซึ่งเป็นแบบแผนชีวิตในที่นี้ต้องสอดคล้องกับการที่ตนเองเป็นโรคเบาหวาน การมีแผลที่เท้า)
• ความสามารถในการดูแล •
• ผู้ป่วยมีความสามารถในการสนใจ
ใส่ใจตนเอง(Self-care Agency)
• ผู้ป่วยมีประสบการณ์ในการดูแลตนเองเนื่องจากบิดามารดาป่วยเป็นโรคมะเร็ง
• ผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลตนเองเพราะได้รับคำแนะนำจากคุณหมอและพยาบาล
•ผู้ป่วยยอมรับสภาพความเป็นจริง
ไปตรวจตามนัดทุกครั้ง
• ระดับของความสามารถในการปฏิบัติการเพื่อดูแลตนเอง
ผู้ป่วยมีปัญหาใลในการตรวจสอบสถานการณ์และองค์ประกอบในตนเองและสิ่งแวดล้อม นำไปสู้การไม่สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งที่ควรกระทำเพื่อตอบสนอง
ความต้องการดูแลตนเองที่จำเป็น
ปัญหาเรื่องน้ำตาลในเลือดสูงแม้ว่าได้รับยา บ่งบอกถึงการดูแลตนเองในการรับประทานยาตามแผนรักษา
ประเมินถึงแบบแผนการรับประทานอาหารของผู้ป่วยร่วมด้วย
• ระบุความพร่องในการดูแลตนเองหรือการวินิจฉัย
การพยาบาล •
• จากกรณีศึกษา
ผู้ป่วยหญิงอายุ 45 ปีที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน พบว่าผู้ป่วยพูดคุยยิ้มแย้มได้ดีแม้ว่าจะอ่อนเพลียและผู้ป่วยยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาแผนปัจจุบัน แต่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับแผล และยังคอยซักถามพยาบาลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของตนเองกับพยาบาลเสมอ ลูกสาวและญาติพี่น้องสามัคคีกันดีและห่วงใยในตัวผู้ป่วยอย่างมาก มาเยี่ยมผู้ป่วยทุกวัน
จากที่กล่าวมาข้างต้น แม้ว่าผู้ป่วยจะพูดคุยยิ้มแย้มได้ดี ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยไม่ต้องการพยาบาล เพราะผู้ป่วยยังมีความพร่องในการดูแลตนเองคือ ยังอ่อนเพลียและยังกังวลเกี่ยวกับแผลของตนเอง เพราะเป็นที่ทราบดีว่า ยิ่งระยะเวลาที่เป็นโรคยาวนานออกไปภาวะโรคก็ยิ่งส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกายมากขึ้น ดังนั้นการติดตาม ประเมินความสามารถในการดูแลตนอย่างต่อเนื่องจึงมีความสำคัญ พยาบาลจึงต้องคอยดูแลและให้คำแนะนำผู้ป่วยอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดความกังวลใจเกี่ยวกับอาการป่วยของตนเอง
เมื่อพิจารณาถึงความพร่องในการดูแลตนเอง สามารถวินิจฉัยได้เบื้องต้นว่า ผู้ป่วยมีความสามารถในการดูแลตนเองไม่เพียงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อของแผลที่เท้าเนื่องจากสาเหตุยังไม่ถูกขจัดไป (ยังมีแผล) และขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่สอดคล้องกับโรค
• กำหนดความต้องการการดูแลตนเองที่จำเป็น •
• สรุปปัญหาสุขภาพ
มีมีแผลติดเชื้อที่เท้า
น้น้ำตาลในเลือดสูง
มีมีอาการเหนื่อยเพลีย
ทำแผลวันละทำแผลวันละ 1 ครั้ง ทุกวัน
ตรวจระดับน้ำตาลใกล้เคียงคนปกติ (ปกติ 70-110 mg/dl)
รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง
ดูแลแผลที่เท้าขวาไม่ให้ชื้นแฉะหรือสัมผัสสิ่งสกปรก
รับประทานยาสม่ำเสมอตามแผนการรักษา (Glybenclamide) เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด
ฉีดอินซูลีนตามแพทย์แนะนำอย่ำงเคร่งครัด
ขยับเท้า บริหารเพื่อกระตุ้นไหลเวียนเลือด
• ผู้ป่วยรายนี้ควรจัดระแบบการพยาบาล •
แบ่งเป็น 2 ระบบ
1) ระบบการทดแทนให้บางส่วน
(Partially compensatory system)
•การทดแทนนั้นเป็นส่วนน้อย เพราะกิจกรรมส่วนใหญ่ผู้ป่วยลงมือกระทำได้เอง ยกเว้นการทำแผลเพราะผู้ป่วยหม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยมีการจำกัดการเคลื่อนไหวจากภาวะโรคเบาหวานขอบผู้ป่วย ผู้ป่วยมีบาดแผลซึ่งจำเป็นที่ต้องการดูแลจากพยาบาล เพราะแผลของผู้ป่วยง่ายต่อการติดเชื้อ
2) ระบบสนับสนุนและให้ความรู้
(Supportive-educational)
นอกจากพยาบาล จะทำแผลให้แล้วสิ่งที่พยาบาลจะช่วยเหลือผู้ป่วยรายนี้เป็นวิธีการอื่นๆ
ได้แก่ การสอน การชี้แนะ การสนับสนุนและการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
(ซึ่งจะต้องได้ร่วมกับครอบครัวของผู้ป่วย)
ผู้ป่วยยังมีความกังวลเกี่ยวกับแผล พยาบาลจึงให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำเกี่ยวกับแผลให้กับผู้ป่วย