Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปเนื้อหาบทที่ 4 - บทที่ 7 - Coggle Diagram
สรุปเนื้อหาบทที่ 4 - บทที่ 7
บทที่4 การทำข้อมูลให้เป็นภาพและการสื่อสารด้วยข้อมูล
การสื่อสารด้วยข้อมูล
การถ่ายทอดข้อมูลหรือการสื่อสารจากแหล่งข้อมูลไปยังผู้รับสาร บางครั้งเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากข้อมูลมีปริมาณมากหรืออยู่ในรูปแบบที่ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย
ด้วยเหตุนี้การสื่อสารระหว่างบุคคล จำเป็นต้องจัดรูปแบบข้อมูลและนำข้อมูลไปแสดงในบริบทที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจ หรือมองเห็นประเด็นสำคัญที่ต้องการสื่อสารภายใต้ข้อมูลนั้น
ดังนั้น การทำข้อมูลให้เป็นภาพจึงมีความจำเป็น เพื่อช่วยตอบคำถาม ช่วยในการตัดสินใจ ช่วยให้มองเห็นข้อมูลในบริบทที่เหมาะสม ช่วยค้นหารูปแบบ รวมทั้งช่วยสนับสนุนคำพูดหรือการเล่าเรื่องราวที่มีอยู่ในข้อมูลชุดนั้นๆ
การทำข้อมูลให้เป็นภาพ (Data Visualization)
ข้อมูลที่รวบรวมได้นั้น ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของตารางที่ประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข เป็นปริมาณมาก แม้ว่าข้อมูลนั้นสามารถตอบข้อสงสัย หรือนำเสนอสิ่งที่สนใจได้ แต่ยังยากต่อการทำความเข้าใจ หรือเป็นอุปสรรคในการสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน
ดังนั้น การนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ (data visualization) สามารถช่วยตอบคำถาม หรือนำเสนอประเด็กต่างๆ ได้รวดเร็ว และชัดเจนมากขึ้น
บทที่ 5 การแบ่งปันข้อมูล
องค์ประกอบของการสื่อสาร
ผู้ส่ง (sender) – ผู้ที่มีสารหรือเนื้อหาข้อมูล ต้องการส่งสารไปยังผู้รับ ผู้ส่งต้องเลือกรูปแบบและช่องทางที่เหมาะสมกับผู้รับสารในการสื่อสาร
สาร (message) – ข้อมูล หรือสิ่งที่ผู้ส่งต้องการให้ผู้รับได้รับรู้ เช่น เสียง ข้อความ ภาพ
ช่องทาง (medium) – วิธีการสำหรับส่งสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ เช่น การโทรศัพท์ การสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ การพูดคุยต่อหน้า โดยอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง 5
ผู้รับ (receiver) – แปลความหมายสารที่ผู้ส่งนำเสนอ ซึ่งความสามารถในการแปลขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การศึกษา วุฒิภาวะ พื้นฐานทางสังคม ความเชื่อ
เทคนิคและวิธีการแบ่งปันข้อมูล
ในการแบ่งปันข้อมูลนั้น ผู้ส่งสารต้องจัดเตรียมสารให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมกับช่องทางและผู้รับ โดยช่องทางในการสื่อสารแบ่งได้ดังนี้
การสื่อสารโดยตรง – พูดคุยต่อหน้า โทรศัพท์ แชท หรือวิดีโอคอล (สื่อสาร 2 ทาง)
สื่อมวลชน – ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ (สื่อสารทางเดียว)
สื่อสังคม – เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ เว็บไซต์ (สามารถโต้ตอบหรืออธิบายเพิ่มเติมได้)
การเขียนบล็อก
บล็อก (blog) มาจากคำว่า เว็บ-ล็อก (web-log) เป็นการเขียนบทความอธิบายหรือให้ข้อมูล เพื่อนำไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ ปัจจุบันมีเว็บไซต์ให้บริการที่มีความนิยมหลายเว็บไซต์ เช่น Medium, Blognone, Dek-D ส่วนใหญ่เปิดให้เขียนบทความเผยแพร่ได้ฟรี ผู้ที่เข้าไปเชียนบล็อกและเผยแพร่ข้อมูล มีชื่อเรียกว่า บล็อกเกอร์ (blogger) หากบล็อกเกอร์คนใดมีผู้ติดตามจำนวนมาก ก็จะกลายเป็น อินฟลูเอนเซอร์ (influencer) หรือผู้มีอิทธิพลในสื่อสังคม ซึ่งมักมีรายได้จากค่าโฆษณาหรือมีผู้จ้างให้แนะนำสินค้า
บทที่ 6 จริยธรรมและจรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์ และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2560
จรรยาบรรณ
จรรยาบรรณต่อตนเอง
๑. ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่และดำรงชีวิตเหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาล
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
๒. ตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้อง มีเหตุผล และรู้รักสามัคคี
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
๓. ไม่ประพฤติหรือกระทำการใดๆอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในวิชาชีพแห่งตน
จรรยาบรรณต่อสังคม
๔. ปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติตน ในวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
๕. เคารพในสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของผู้อื่น ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม
พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2560
การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม
กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด
7.สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด
ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้
การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ
การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย
การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ
ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้
บทที่ 7 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่
ปัญญาประดิษฐ์
ปัญญาประดิษฐ์ เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์ มีวัตถุประสงค์ในการสร้างความฉลาดของเครื่องจักร (machine intelligence) ให้สามารถเรียนรู้ คิดเป็นเหตุเป็นผล และตัดสินใจได้คล้ายมนุษย์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานต่างๆ ที่ต้องใช้ทักษะมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing)
เป็นรูปแบบหนึ่งของการให้บริการทรัพยากรคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ พื้นที่เก็บข้อมูล ซอฟต์แวร์ ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกได้ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่สนใจว่าทรัพยากรที่ใช้นั้นอยู่ที่ใด เปรียบเสมือนการใช้บริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา นั่นคือใช้บริการได้โดยไม่ต้องรู้ว่าโรงผลิตอยู่ที่ใด เพียงแต่ต้องจ่ายค่าบริการตามปริมาณที่ใช้
อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT)
เป็นเทคโนโลยีจากการที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมต่อหรือสื่อสารถึงกันได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน สมาร์ทวอทช์ รถยนต์อัจฉริยะ และอุปกรณ์อื่นๆ โดยมีจำนวนอุปกรณ์ IoT ทั่วโลกนับหลายพันล้านชิ้นและมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
เทคโนโลยีเสมือนจริง
เทคโนโลยีที่จำลองสภาพแวดล้อมผ่านระบบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดการรับรู้เสมือนกับอยู่ในสภาพแวดล้อมจริง โดยจะกล่าวถึงความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality: AR) และความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality: VR)