Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Atrial Fibrillation (AF) หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว - Coggle Diagram
Atrial Fibrillation (AF) หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว
ความหมาย หัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า AF เป็นภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดปกติที่รุนแรงที่สุด โดยที่หัวใจห้องบนจะเต้นเร็วมากกว่า 350 ครั้งต่อนาที การที่หัวใจห้องบนเต้นเร็วแบบนี้นอกจากจะทำให้เกิดอาการใจสั่นแล้ว ยังอาจทำให้เกิดหัวใจล้มเหลวได้การที่หัวใจห้องบนเต้นเร็วมากขนาดนี้ทำให้หัวใจห้องบนไม่สามารถบีบตัวพร้อมกันได้ทั้งห้องส่งผลให้ห้องบนบีบตัวไม่ดี เกิดมีลิ่มเลือดตกค้างอยู่ในหัวใจ ลิ่มเลือดอาจหลุดออกจากหัวใจไปอุดตันหลอดเลือดต่างๆ ของร่างกาย เช่น หลอดเลือดสมองทำให้เกิดอัมพาตได้นอกจากนี้ผู้ป่วย AF ยังมีอัตราเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย AF เป็นหัวใจเต้นผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดโดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะมีสาเหตุต่างๆ มากมายที่สามารถทำให้เกิด AF ได้ ซึ่งพอจะแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้คือ
สาเหตุของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นต้น
โรคในระบบอื่นๆ เช่น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด โรคถุงลมโป่งพอง ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะหลังการผ่าตัด เลือดออกในสมอง สมองขาดเลือด เป็นต้น
ประวัติครอบครัว ในครอบครัวที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมจนก่อให้เกิดภาวะ Atrial Fibrillation มักทำให้เสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติ
อายุ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดังกล่าวมากขึ้น
การใช้ยา มีการสันนิษฐานว่าการใช้สเตียรอยด์ในการรักษาโรคหอบหืด หรือเกิดการอักเสบ อาจกระตุ้นให้เกิดอาการได้มากขึ้น
โรคหัวใจ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหัวใจอยู่ก่อนแล้วมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้ได้สูงเมื่อเทียบกับคนทั่วไป เนื่องจากหัวใจทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ จนอาจกระทบต่อระบบไฟฟ้าหัวใจได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหัวใจแบบกลุ่มอาการซิคไซนัส (Sick Sinus Syndrome) ก็จะยิ่งเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากกลุ่มอาการดังกล่าวเกิดจากระบบไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ ไม่เพียงเท่านั้นการผ่าตัดหัวใจเนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
ชนิดของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
First diagnosed atrial fibrillation คือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นครั้งแรก
Paroxysmal atrial fibrillation คือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่เกิดขึ้นและกลับมาเต้นเป็นจังหวะปกติได้เอง ส่วนใหญ่ภายใน 24 ชั่วโมง แต่อาจเป็นนานได้ถึง 7 วัน
Persistent atrial fibrillation คือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่เกิดขึ้นต่อเนื่องนานเกิน 7 วัน หรือไม่สามารถกลับมาเต้นเป็นปกติได้เอง ต้องได้รับการรักษา
Long standing persistent atrial fibrillation คือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่เป็นต่อเนื่องมานานกว่า 1 ปี โดยแพทย์และผู้ป่วยตัดสินใจรักษาให้กลับมาเต้นเป็นปกติ
Permanent atrial fibrillation คือภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่เป็นต่อเนื่องมานานกว่า 1 ปี โดยแพทย์และผู้ป่วยตัดสินใจว่าจะไม่พยายามรักษาให้กลับมาเต้นเป็นปกติ
อาการ
ผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วมากกว่าครึ่งไม่มีอาการโดยตรง แต่มาพบแพทย์ด้วยผลแทรกซ้อนโดยเฉพาะอัมพาตตามส่วนต่างๆ ของร่างกายแทน ส่วนที่เหลือมาพบแพทย์ด้วยอาการดังต่อไปนี้
เจ็บหรือแน่นหน้าอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เป็นลมหมดสติ
ทำให้ Cardiac output ลดลงอาจมีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ
ก่อให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก angina pectoris
การตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
การตรวจชีพจรและอัตราการเต้นของหัวใจ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram)
การตรวจอื่นๆ ทางห้องปฏิบัติการ เช่น
-การตรวจหาภาวะซีด โลหิตจาง หรือไตวาย
-การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
-การตรวจเอกซเรย์ปอด
-การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (echocardiogram)
การรักษา
ดูแลตัวเองโดยการปรับพฤติกรรม
ลดการบริโภคน้ำตาล เกลือ และไขมัน
ลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
เลิกสูบบุหรี่
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ควบคุมน้ำหนัก
หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ไอ หรือยาแก้ไข้หวัดหากไม่จำเป็น เพราะจะยิ่งทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
การรักษาด้วยการใช้ยา
ยาควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ เช่น ยาเบต้าเตอร์บล็อกเกอร์ ยาแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ ยาไดจอกซิน
ยาควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ เช่น ยาโซเดียมแชนแนลบล็อกเกอร์ และยาโพสแทสเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์
ยาละลายลิ่มเลือด ในกรณีที่ผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดปกติติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ จึงทำให้แพทย์ต้องสั่งใช้ยาละลายลิ่มเลือดเพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากลิ่มเลือดอุดตัน
การรักษาด้วยวิธีกระตุ้นไฟฟ้า เป็นการรักษาโดยใช้คลื่นไฟฟ้าในปริมาณที่แพทย์ควบคุม เพื่อกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจให้กลับมาเป็นปกติ วิธีการรักษาจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ทว่าการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือด ดังนั้น แพทย์จึงอาจสั่งใช้ยาละลายลิ่มเลือด หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือดก่อนเข้ารับการรักษาอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ และหลังจากเข้าการรักษาแล้วก็จำเป็นที่จะต้องใช้ยาต่อเนื่องอย่างน้อย 4 สัปดาห์เพื่อลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง หากการรักษาประสบความสำเร็จ แพทย์อาจพิจารณาให้หยุดใช้ยาได้ แต่หากเป็นผู้ป่วยที่ความเสี่ยงสูง แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาต่อเนื่อง และติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้ความเสี่ยงกลับมาเพิ่มสูงขึ้น
การผ่าตัด ในบางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการ วิธีการรักษาที่ใช้ได้แก่ การสอดสายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ (Catheter Ablation) เพื่อกำจัดเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อหัวใจบริเวณที่ส่งสัญญาณผิดปกติ โดยการรักษาจะใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง และจะต้องใช้ยาสลบในการรักษาด้วย
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว
โรคหลอดเลือดสมอง
หัวใจวาย
การป้องกันภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว
Atrial Fibrillation เป็นภาวะที่ไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่ลดความเสี่ยงได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังควรควบคุมน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ เพราะจะยิ่งส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิด Atrial Fibrillation ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่แพทย์จะรับมือได้อย่างทันท่วงที
พยาธิสภาพ
1 มีจุดกำเนิดไฟฟ้าผิดปกติ เหตุตากถายในหัวใจ เช่น ความดันในห้องหัวใจ ที่เพิ่มขึ้นหรือจากภายนอก เช่น thyroid hormones
2 มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการนำไฟฟ้าเกิดเป็นวงจรหมุนวน
3 ผู้ป่วยมีอาจมีกลไกทั้งสองแบบ