Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อุปสงค์ อุปทาน และดุลยภาพการตลาด - Coggle Diagram
อุปสงค์ อุปทาน และดุลยภาพการตลาด
อุปสงค์ (Demand)
อุปสงค์ที่ทรงประสิทธิผล (Effective Demand) อุปสงค์หรือความต้องการซื้อที่จะมีผลอย่างแท้จริง หรือ อุปสงค์ที่ทรงประสิทธิผล ประกอบด้วย
ความสามารถที่จะจ่ายได้ (Ability to pay)
อำนาจซื้อ (Purchasing Power)
ความเต็มใจหรือยินดีที่จะซื้อ (Willingness to pay)
กฎของอุปสงค์ "ปริมาณสินค้าหรือบริการที่ผู้บริโภคต้องการซื้อย่อมผันแปรผกผันกับระดับราคาของสินค้าหรือบริการชนิดนั้นเสมอ"
อุปสงค์ต่อรายได้ (Income demand) หมายถึง ปริมาณเสนอซื้อ(Qd) ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตามระดับรายได้(Y)ของผู้บริโภค
สินค้าปกติ (Normal goods) สินค้าที่ความต้องการจะเพิ่มขึ้น หากมีรายได้เพิ่มขึ้น
สินค้าด้อย (Inferior goods) สินค้าที่ความต้องการจะเพิ่มขึ้น หากมีรายได้ลด
อุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่น (Cross demand) หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้องในด้าน
สินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้ (Substitute goods) หมายถึง สินค้าที่ใช้แทนกันด้วยวัตถุประสงค์เดียวกันและความสามารถใช้แทนกันได้ เมื่อราคาสินค้าชนิดหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปราคาสินค้าอีกชนิดหนึ่งจะมีราคาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้าม
สินค้าที่ใช้ประกอบกันได้ (Complementary goods) หมายถึง สินค้าที่ต้องใช้ร่วมกับสินค้าอื่น เมื่อสินค้าหนึ่งเพิ่มขึ้นหรือลดลงจะมีผลทำให้ปริมาณการเสนอซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่ง เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
สินค้าที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent goods) เป็นสินค้าที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย และให้ประโยชน์คนละด้าน จึงไม่จำเป็นต้องใช้ประกอบกันและใช้ทดแทนกัน
อุปสงค์ต่อราคา (Price demand) หมายถึง ปริมาณเสนอซื้อ(Qd) สินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆกันของสินค้า(P) ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยกำหนดปัจจัยอื่นคงที่
ถ้าราคาสินค้าสูงขึ้น ปริมาณการซื้อสินค้าจะลดลง
ถ้าราคาสินค้าลดลง ปริมาณการซื้อสินค้าจะเพิ่มขึ้น
ความต้องการ (Want) อำนาจการซื้อ (Purchasing power)
ปัจจัยกำหนดอุปสงค์
ราคาของสินค้า (Price) ระดับรายได้ของผู้บริโภค (Income) รสนิยมของผู้บริโภค (Tastes) ราคาสินค้าอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (Relative Price) ขนาดของประชากร (Size of Population) การคาดคะเนราคาสินค้าในอนาคต (Price Expectation)
กฎของอุปสงค์เกิดจากผลทางราคา (Price Effect)
ผลทางรายได้ เมื่อราคาเปลี่ยนแปลง จะส่งผลให้รายได้ที่แท้จริง (Real income) เปลี่ยน "เงินเท่าเดิม ซื้อของได้ มากขึ้น"
ผลทางการทดแทน เมื่อราคาสินค้าชนิดหนึ่งเปลี่ยนแปลงโดยที่ราคาของสินค้าอีกชนิดหนึ่งยังคงเหมือนเดิม จะให้ราคาเปรียบเทียบ (Relative Price) ของสินค้าชนิดนั้นเปลี่ยนแปลง "ซื้อของถูก แทนของแพง"
อุปทาน (Supply)
ปริมาณสินค้า (Q) และบริการที่ผู้ผลิตยินดีเสนอขาย ณ ระดับราคา (P) ต่างๆกัน
อุปทานของหน่วยผลิต (Individual Supply) อุปทานตลาด (Market Supply)
กฎของอุปทาน (Law of Supply) "ปริมาณสินค้าหรือบริการที่ผู้ผลิตต้องการขายแปรผันตามระดับราคาของสินค้าหรือบริการชนิดนั้นเสมอ'
ถ้าราคาสินค้าสูงขึ้น ปริมาณการซื้อสินค้าจะสูงขึ้น
ถ้าราคาสินค้าลดลง ปริมาณการซื้อสินค้าจะลดลง
ปัจจัยกำหนดอุปทานตลาด
ราคาของสินค้าอื่นที่อาจผลิตได้ ราคาของปัจจัยการผลิต (ต้นทุน) เทคโนโลยีการผลิต จำนวนผู้ผลิต สภาพดินฟ้าอากาศ นโยบายรัฐบาล
ดุลยภาพของตลาด
เมื่อเกิดอุปสงค์ส่วนเกินขึ้น ราคาสินค้าจะปรับตัวสูงขึ้น
การกำหนดราคาและปริมาณของสินค้าแต่ละชนิดในตลาด
เมื่อเกิดอุปทานส่วนเกินขึ้น ราคาสินค้าจะปรับตัวลดลง
กลไกราคา (Price mechanism) ราคาจะปรับตัวเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการเสนอซื้อและเสนอขายสินค้า
อุปทานส่วนเกิน (Excess supply) ปริมาณเสนอขายมากกว่าปริมาณเสนอซื้อสินค้า
อุปสงค์ส่วนเกิน (Excess demand) ปริมาณเสนอซื้อสินค้ามากกว่าปริมาณเสนอขาย
อุปสงค์ และ อุปทาน กับงานสาธารณสุข
อุปสงค์กับงานสาธารณสุข
อุปสงค์ต่อสุขภาพ (Demand for health) เป็นความต้องการหรือความจำเป็น ที่ผู้บริโภคแสดงออก เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ณ ระดับราคาเงา
อุปสงค์ต่อการรักษาพยาบาล (Demand for health) ระดับการรักษาพยาบาลที่ผู้บริโภคจะรับบริการ ณ ระดับราคาต่างๆกัน
ความจำเป็นโดยอาศัยหลักอุปสงค์ Normative need ความจำเป็นที่ควรมี ซึ่งเป็นการประเมินโดยแพทย์ Felt need ความจำเป็นที่ตระหนัก เป็นความจำเป็นที่ผู้บริโภครู้สึกว่าต้องมี Express need ความจำเป็นที่แสดงออก เป็นการปรับความจำเป็นเชิงตระหนักให้เป็นการกระทำ Comparative need ความจำเป็นเปรียบเทียบ กลุ่มประชากรเหมือนกันควรได้รับบริการที่เหมือนกัน
ปัจจัยกำหนดพฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อบริการสุขภาพ ความรุนแรงของโรค (Severity หรือ S) ราคาค่าบริการ (Price หรือ P) ระดับรายได้ (Income หรือ Y) ฤดูกาล (Season หรือ SS) ปัจจัยด้านอายุ (Age หรือ A) เพศ (Gender หรือ GD) พันธุกรรม (Genetic หรือ GE) พื้นฐานการศึกษา (Education หรือ EDU)
ตลาดและตลาดสุขภาพ
สถานที่ที่ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้ ไม่ว่าจะมีสถานที่ทำการซื้อขายหรือไม่ก็ตาม
ตลาดประกันสุขภาพ ตลาดการรักษาทางการแพทย์ ตลาดการให้บริการของโรงพยาบาล ตลาดแรงงานทางการแพทย์
อุปทานกับงานสาธารณสุข
ลักษณะพิเศษของการบริการสุขภาพ บริการสุขภาพจับต้องไม่ได้ (Intangibility) การผลิตและการบริโภคเกิดขึ้นพร้อมกัน (Inseparability) บริการสุขภาพไม่สามารถทำสำรองหรือเก็บไว้ล่วงหน้าได้ (Inventory)
อุปทานในการบริหารทางการแพทย์ (Supply for health services) หมายถึง จำนวนชั่วโมงที่ให้บริการเมื่อเทียบกับค่าตอบแทนที่บุคลากรเหล่านั้นพึงได้รับจากการให้บริการนั้น
การจัดบริการด้านสาธารณสุขนั้นไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสวงหาผลกำไรสูงสุด = สินค้าสาธารณะ (Public goods)
อุปทานในด้านการบริการสาธารณสุข (Supply for public health) บริการในโรงพยาบาล (จำนวนเตียง ชั่วโมงการให้บริการ) ยารักษาโรค
เป็นบริการที่ผู้ผลิตยินดีที่จะเสนอให้กับผู้บริโภค ณ ระดับราคาต่างๆกันไป