Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หญิงพม่า อายุ37ปีG3P2A0 GA15+2wks Supervision of other normal pregnancy -…
หญิงพม่า อายุ37ปีG3P2A0 GA15+2wks
Supervision of other normal pregnancy
คุมกำเนิด โดยกินยาคุมชนิดเม็ด
ยาคุมกำเนิดมี 3 ชนิด
ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined Oral Contraceptive - COC) จะประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสโตเจนรวมกันในเม็ดเดียว โดยยาคุมชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูงมาก หากรับประทานอย่างสม่ำเสมอ และยังมีผลดีทำให้ประจำเดือนมาตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ อาจปวดประจำเดือนน้อยลงได้
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (Progestrogen-only pills - POP) จะมีฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนเพียงอย่างเดียว ยาคุมชนิดนี้ในหนึ่งแผงจะมีทั้งหมด 28 เม็ด รับประทานได้ทุกวันโดยไม่ต้องหยุด เมื่อรับประทานหมดแล้วก็สามารถรับประทานแผงใหม่ต่อได้เลย เป็นชนิดที่ผลิตออกมาเพื่อลดอาการข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจน
ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฉุกเฉิน (Emergency contraception pill) มักใช้เฉพาะในยามฉุกเฉิน เช่น ถุงยางแตก หรือรั่ว เป็นต้น
การออกฤทธิ์
มีผลต่อผนังมดลูก ทำให้ผนังมดลูกบางจนตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวได้
ทำให้มีการตกไข่ หรือมีผลในการยับยั้งกระบวนการก่อนเกิดการปฏิสนธิ (fertilization)
ท่อนำไข่เคลื่อนไหวมาก ทำให้ไข่ที่ถูกผสมไม่ทันฝังตัว
เกิดมูก หรือเมือกที่ปากมดลูก ทำให้ปากมดลูกมีความเหนียวข้นส่งผลให้อสุจิเคลื่อนผ่านเข้าไปได้ยากขึ้น
กรณีที่ลืมกินยาคุม
กรณีลืมกินยาเม็ดคุมกำเนิดที่มี Ethinylestradiol 30-35 ไมโครกรัม 1 หรือ 2 เม็ด (หรือเริ่มกินแผงใหม่ช้าไป 1 หรือ 2 วัน) หรือยาที่มี Ethinylestradiol 20 ไมโครกรัม 1 เม็ด (หรือเริ่มกินแผงใหม่ช้าไป 1 วัน)
ลืมกินยาที่มีฮอร์โมน 1 เม็ดให้กินเม็ดที่ลืมทันทีที่นึกได้และกินยาเม็ดต่อไปทุกวันตามเวลากินปกติและไม่ต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นเพิ่มเติม
ลืมกินยาที่มีฮอร์โมน 2 เม็ด (เฉพาะชนิดที่มี Ethinylestradiol 30-35 ไมโครกรัม) ให้รับประทานยาเม็ดที่ลืมล่าสุดทันทีที่นึกได้ส่วนยาเม็ดอื่นที่ลืมก่อนหน้านั้นให้ทิ้งไปและรับประทานยาเม็ดถัดไปตามเวลาปกติและไม่ต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นเพิ่มเติม
กรณีลืมกินยาเม็ดคุมกำเนิดที่มี Ethinylestradiol 30-35 ไมโครกรัม 3 เม็ดขึ้นไป (หรือเริ่มกินแผงใหม่ช้าไป 3 วันขึ้นไป) หรือยาที่มี Ethinylestradiol 20 ไมโครกรัม 2 เม็ด (หรือเริ่มกินแผงใหม่ช้าไป 2 วัน) ให้รับประทานยาเม็ดที่ลืมล่าสุดทันทีที่นึกได้ส่วนยาเม็ดอื่นที่ลืมก่อนหน้านั้นให้ทิ้งไปและรับประทานยาเม็ดถัดไปตามเวลาปกติ แต่ต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดอย่างอื่นร่วมด้วยเช่นการใช้ถุงยางอนามัยหรือหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จะได้รับประทานยาเม็ดที่มีฮอร์โมนติดต่อกันเป็นเวลา 7 วันแล้วและให้พิจารณาเพิ่มเติม ดังนี้
หากเป็นการลืมรับประทานในช่วง 1 อาทิตย์แรกของแผงยา (วันที่ 1-7) และมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกันในช่วง 5 วันก่อนหน้านั้นควรพิจารณาใช้วิธีการคุมกำเนิดฉุกเฉิน
หากเป็นการลืมรับประทานในช่วงอาทิตย์ที่ 3 ของแผงยา (เม็ดที่ 15-21) ให้ปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้ให้เว้น (ไม่ต้องรับประทาน) ช่วงที่เป็นเม็ดแป้งกรณีที่เป็นยาชนิดแผง 28 เม็ดหรือไม่ต้องหยุดยา 7 วันกรณีที่เป็นยาชนิดแผง 21 เม็ดโดยให้เริ่มยาแผงใหม่ได้ทันทีหลังหมดยาเม็ดที่ 21
ผลข้างเคียง
ยาคุมทำให้อาเจียน เพราะส่วนประกอบของยาคุมจะมีฮอร์โมนในปริมาณมากผู้ใช้บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ โดยอาการนี้มักจะเกิดในคนที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป หรือในคนที่สูบบุหรี่
ยาคุมเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้เกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง
ข้อแนะนำในการรับประทานยาคุม
ควรทานยาคุมกำเนิดในเวลาเดิมทุกวัน หากลืมทานยาให้ทำตามคำแนะนำข้างต้น
ห้ามทานยาคุมกำเนิดหลังวันหมดอายุที่แจ้งไว้บนแผงยา
ควรงดการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ เนื่องจากยาคุมกำเนิดมีฮอร์โมนที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตัน
หากมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว และอาเจียนจะมีผลทำให้การดูดซึมของยาน้อยลง จึงควรใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น
สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรใช้ยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสโตเจนเพียงอย่างเดียว
มีการชักนำการคลอด
เนื่องจากมีภาะChronic Hypertension
ผลกระทบ
จากภาะChronic Hypertension
ด้านมารดา
อันตรายจากภาวะชักอาจทำให้สตรีตั้งครรภ์เสียชีวิตเป็นผลเนื่องจากมีเลือดออกในสมองและการสำลักเศษอาหารและน้ำย่อยเข้าหลอดลม
ภาวะหัวใจทำงานล้มเหลว (congestive heart failure) จากภาวะ preload ลดลงและ afterload เพิ่มขึ้นมากเกินไปเป็นระยะเวลานาน
เกิดภาวะ HELLP syndrome และภาวะ DIC
ด้้านทารก
คลอดก่อนกำหนดเนื่องจากออกซิเจนไปเลี้ยงรกไม่เพียงพอทำให้รกเสื่อมเร็ว
รกลอกตัวก่อนกำหนดทำให้ทารกขาดออกซิเจนและอาหารซึ่งส่งผลให้ทารกเสียชีวิตร้อยละ 10-30
ทารกเจริดเติบโตช้าเนื่องจากได้รับและสารอาหารไม่เพียงพอ
วิธีการเร่งคลอด
ยาเร่งคลอด (ฮอร์โมนออกซีโตซิน – Oxytocin)
ช่วยให้มดลูกบีบตัว ทำให้การคลอดดำเนินไปตามปกติ ไม่เนิ่นนาน ใช้ทั้งในกรณีที่เริ่มมีอาการเจ็บครรภ์เพื่อเร่งให้เร็วขึ้น และในกรณีที่ยังไม่มีอาการเจ็บครรภ์
การใช้ฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ยาที่ใช้มีทั้งรูปแบบของเจลและแบบที่เป็นยาเหน็บช่องคลอดโดยสอดเข้าไปในช่องคลอด ซึ่งตัวยาจะมีฤทธิ์ทำให้ปากมดลูกอ่อนนุ่มลงและเปิดขยาย รวมทั้งช่วยกระตุ้นให้มีการหดรัดตัวของมดลูกดีขึ้น
การเจาะถุงน้ำคร่ำ (Amniotomy) ในกรณีที่ปากมดลูกขยายมากพอ แต่ถุงน้ำคร่ำยังไม่แตกซึ่งวิธีนี้จะช่วยกระตุ้นให้มีการเจ็บครรภ์คลอด
การเซาะแยกถุงน้ำคร่ำ (Membrane strippingMembrane sweeping) เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย,มีความปลอดภัยและได้ผลดี สูติแพทย์จะใช้นิ้วกวาดปากมดลูกเพื่อค่อย ๆ ขยายปากมดลูกและกระตุ้นให้เริ่มมีการเจ็บครรภ์คลอด