Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหา ทางระบบประสาท, นางสาวภัชราภรณ์ หนูรอด เลขที่ 65…
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหา
ทางระบบประสาท
ชักจากไข้สูง
(Febrile convulsion)
อาการชักที่สัมพันธ์กับการมีไข้ที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อของระบบประสาท
ชนิด
simple febrile seizure
complex febrile seizure
สาเหตุ
ภาวะชักจากไข้สูงเกิดจากการติดเชื้อในระบบต่างๆ เด็กจะมีอาการชัก
เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส
อาการและอาการแสดง
ตัวร้อน
หน้าแดง
มึนงงสับสน
กระสับกระส่าย
ร้องกวน
มีอาการชัก
ลักษณะการชักอาจจะตัวแข็งหรือตัวอ่อน
ชักเกร็งหรือกระตุก
ไม่รู้สึกตัว
การรักษา
ระยะที่กำลังมีอาการชัก
กรณีที่มีการชักเกิน 5 นาที ต้องทำให้หยุดชักเร็วที่สุด โดยให้ยาระงับอาการชัก เช่น diazepam
ให้ยาลดไข้ ร่วมกับ เช่น ตัวลดไข้ (เน้นขณะชักห้ามให้ยาชนิดรับประทาน)
ระยะหลังชัก
ซักประวัติตรวจร่างกายโดยละเอียด ให้ยาป้องกันการชักรับประทานทุกวันนาน 1-2 ปี เช่น Phenobarbital, Depakine
การพยาบาล
วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
เช็ดตัวลดไข้ (tepid sponge)และให้ยาลดไข้
จัดท่านอนตะแคงศีรษะต่ำกว่าลำตัว ดูดเสมหะถ้ามีเสมหะ
ไม่ผูกยึดเด็กหรือจับเด็กขณะมีอาการชักเพราะอาจเกิดข้อไหล่หลุดหรือกระดูกหัก
ไม่ใส่ไม้กดลิ้นเข้าปากเด็กเพราะอาจทำให้ฟันหักและฟันที่หักอาจตกลงไปในลำคอเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ
ระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขณะมีอาการชัก
สังเกตและบันทึกระยะเวลาของการชักลักษณะการซัก
โรคลมชัก
(Epilepsy)
อาการชักที่เกิดขึ้นซ้ำๆ อย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป โดยไม่สัมพันธ์กับการมีไข้อาการชักเกิดจากคลื่นไฟฟ้าของสมองถูกปล่อยออกมาเป็นจำนวนมาก
อาการชักจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของสมองที่ปล่อยคลื่นไฟฟ้าสมอง อาการชักจะเกิดเพียง 2- 3 นาทีแล้วจะเป็นปกติ
ถ้าเกิดอาการชักที่นานเกิน 10 นาทีแล้วไม่หยุดเองและไม่ได้รับการรักษามักจะกลายเป็นภาวะชักต่อเนื่อง(Status epilepticus)
ชนิดของอาการชัก
(Classification of seizure)
Generalized seizure
Tonic seizure เกร็งแข็ง ล้มลงถ้ายืนอยู่
Atonic seizure มีการสูญเสียความดึงตัวของกล้ามเนื้อ
Tonic clonic seizure (Grand mal) มีการเกร็งก่อนแล้วมีการกระตุกตาม
Clonic seizure มีการกระตุกเป็นจังหวะที่ช้ากว่า myoclonic
Myoclonic seizure มีการหดตัวของกล้ามเนื้อเป็นระยะสั้นๆ
Absence seizure (Petit mal) มีตากระพริบหรือตากระตุก
Infantile spam ในเด็กเล็กตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี คือ งอศีรษะ ลำตัว
แขนขา เข้าหากันช่วงระยะสั้นๆ แล้วคลายออกคล้ายสะดุ้ง
Partial seizure
เกิดจากซีกหนึ่งซีกใดของสมอง มีลักษณะการชักเฉพาะที่ ขึ้นอยู่กับบริเวณสมองที่คลื่นไฟฟ้าสมอง
Simple partial seizure มีการกระตุกหรือชาของแขนขา หน้า คอ ประมาณ 5-10 วินาที
Complex partial seizure การชักที่มีอาการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม
Partial seizure evolving to secondary generalize seizure มีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมองเฉพาะที่แล้วกระจายทั่วสมองทั้ง 2 ข้างโดยมีอาการของ simple partial seizure หรือ complex partial seizure แล้วมีอาการชักเกร็งและ/หรือกระตุกทั่วทั้งตัว
Unclassified epileptic seizure เป็นชนิดที่ไม่สามารถจัดกลุ่มได้
สาเหตุ
เกิดจากการมีรอยโรคในเนื้อสมอง การมีรอยโรคในสมองทำให้เซลล์ประสาทหลั่งคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติ
ออกมาและไปมีผลต่ออวัยวะต่างๆที่สมองส่วนนั้นควบคุมทำให้เกิดอาการชักตามมา
การวินิจฉัย
การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง(electroencephalography : EEG) ใช้เพื่อการวินิจฉัยที่สำคัญ
ในการจำแนกชนิดของโรคลมชัก และทำให้ทราบตำแหน่งของสมองที่มีความผิดปกติ
การรักษา
ให้ Diazepam 0.2-0.4 มก./กก./นาที ทางหลอดเลือดดำ
ถ้าผู้ป่วยเด็กยังไม่หยุดชักภายใน 2-5 นาที ให้ diazepam 0 2-0.4 มก.กก.ซ้ำอีกครั้งทางหลอดเลือดดำ
ถ้า 5 นาทียังไม่หยุดซักให้ phenytoin 20 มก./กก.ผสม 0.9% NSS ให้ทางหลอดเลือดดำ
ด้วยความเร็วไม่เกิน 1 มก./กก./นาที โดยจับชีพจรและวัดความดันโลหิต ภายหลังจากให้ยาแล้ว 20-30 นาที
ยากันชัก
Benzodiazepine
ได้แก่ diazepam(valium) ทำให้ง่วงหลับ
พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เดินเซ มีเสมหะจากหลอดลมมากกว่าปกติ
Phenobarbital
ทำให้ง่วงซึม เดินเซ
Phenytoin(dilantin)
เกิดอาการเซ ง่วงซึม เห็นภาพซ้อน ตากระตุก
คลื่นไส้ อาเจียน เหงือกหนา มีภาวะซีดจาก Folic acid ต่ำได้ มีผื่นขึ้น ผมขนดก
Valproic acid
ง่วงซึม คลื่นไส้อาเจียน มือสั่น
ข้อวินิจฉัย
เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากการชักเป็นเวลานาน
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากมีอาการชัก
บิดามารดามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชักของผู้ป่วยเด็ก
บิดามารดาขาดความรู้ในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคลมชัก
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
(Meningitis)
สาเหตุ
เชื้อแบคทีเรีย(Bacterial meningitis)
เชื้อไวรัส(Viral หรือ Asepitc meningitis)
พยาธิ(Eosinophilic meningitis)
เชื้อรา(Fungal memingitis)
Cerebrospinal fluid test
Pressure
เด็กโต = 110-150 mmH2O
ทารก 100 mmH2O
ไม่พบ Red cells และ White cell count
Glucose
50-75 mg/dl(ครึ่งหนึ่งของน้ำตาลในเลือด)
Protein
14-45 mg/dl
อาการและอาการแสดง
อาการที่แสดงว่ามีการติดเชื้อ เช่น มีไข้
ปวดศีรษะมาก ซึมลง กระหม่อมโป่งตึง อาเจียน ชัก
อาการแสดงของการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมอง คือ
คอแข็ง (Stiffness of neck)
Kernig’s sign ได้ผลบวก
Brudzinski’s sign ได้ผลบวก
เชื้อไวรัสทำให้เกิดการคั่งของ lymphocyte ในเนื้อสมองและเยื้อหุ้มสมองทำให้เกิดภาวะสมองบวม ทำให้สมองสูญเสียหน้าที่
อาการเริ่มแรกของโรคสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสมักเกิดอย่างเฉียบพลันโดยเริ่มมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ
ปวดบริเวณต้นคอมาก คอแข็ง อาเจียน หายใจไม่สม่ำเสมอ ซึมลง การเคลื่อนไหวผิดปกติ บางรายอาจมีอาการชัก
การรักษา
การรักษาเฉพาะ
ให้ยาปฏิชีวนะที่สอดคล้องกับผลการเพาะเชื้อน้ำไขสันหลังที่เป็นสาเหตุ
การรักษาตามอาการ
ให้ยาลดไข้ ให้ยานอนหลับ ให้ยากันชัก ให้ยาลดอาการบวมของสมอง
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำรักษาภาวะไม่สมดุลย์สารน้ำและอิเล็คโทรลัยท์
อาจต้องเจาะคอหรือใช้เครื่องช่วยหายใจในรายที่มีปัญหาการหายใจหรือหมดสติ
การป้องกัน
ควรฉีดวัคซีน เช่น Hib vaccine , JE vaccine,BCG
หลักเลี่ยงการสัมผัสกับเชื้อโรคหรือพาหะ เช่น ป้องกันไม่ให้ยุงกัด
การให้ยาดังนี้ ยากันชัก เช่น Phenoberbital ยาที่ลดอาการบวมของสมอง ได้แก่ ยาสเตียรอยด์
เช่น dexamethasoneยา acyclovir ทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคไข้สมองอักเสบ
จากเชื้อไวรัสเริม (herpes simplex virus) ให้ทางหลอดเลือดดำ
ยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาภาวะติดเชื้อแทรกซ้อน
เนื้อสมองผิดปกติอาจเกิดจากการติดเชื้อไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส (Virus encephalitis)
ชนิด
Primary viral encephalitis
ไวรัสที่นำโดยแมลง โดยเฉพาะไข้สมองเจอี
หรือ Japanese encephalitis virus ไวรัสเริม ไวรัสโรคพิษสุขนัขบ้า
Secondary viral encephalitis
เช่น ไวรัสหัด ไวรัสหัดเยอรมัน ไวรัสอีสุกอีใส
ไวรัสคางทูม รวมทั้งวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
การวินิจฉัย
ตรวจน้ำไขสันหลังจะพบว่าน้ำไขสันหลังใส ไม่มีสี มีเม็ดเลือดขาว 10-1000 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตรส่วนใหญ่เป็น lymphocyte
ความดันของน้ำไขสันหลังสูงมากกว่า 180 มิลลิเมตรน้ำเล็กน้อย
โปรตีนในน้ำไขสันหลังมีปริมาณสูงขึ้นเล็กน้อยมีค่ามากกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
น้ำตาลในน้ำไขสันหลังปกติ (50-75 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
อาจเกิดภาวะขาดสมดุลของสารน้ำ อิเล็คโทรลัยท์และสารอาหาร
อาจเกิดอันตรายต่อเซลล์สมองเนื่องจากภาวะพร่องออกซิเจน
อาจเกิดอันตรายจากการชักเนื่องจากไข้สูง
อาจเกิดอันตรายต่อเซลล์สมองเนื่องจากภาวะความดันในสมองสูง
มีความไม่สุขสบายปวดศีรษะจากการมีการระคายเคืองที่เยื้อหุ้มสมอง
อาจเกิดอันตรายต่อเซลล์สมองเนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ/สมองอักเสบ
บิดามารดามีความกลัวและวิตกกังวลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของบุตร
โรคสมองพิการ
(Cerebral Palsy)
ความบกพร่องของสมองส่วนที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับท่าทางการทรงตัวการเคลื่อนไหว (motor disorders)
สาเหตุ
1.ระยะก่อนคลอด
การมีเลือดออกทางช่องคลอดของมารดาช่วงระหว่างการตั้งครรภ์เดือนที่6-9
มารดาขณะตั้งครรภ์ขาดสารอาหาร มารดามีภาวะชักหรือมีภาวะปัญญาอ่อน
การเกิดก่อนกำหนด การเกิดน้ำหนักตัวน้อย
มารดาขณะตั้งครรภ์มีการใช้ยาบางชนิดทำให้สมองเด็กมีพัฒนาการผิดปกติ
มารดาได้รับอุบัติเหตุหรือเกิดการติดเชื้อขณะตั้งครรภ์
2.ระยะคลอด
เป็นสาเหตุของสมองพิการร้อยละ 30
สมองขาดออกซิเจน
ได้รับอันตรายจากการคลอด
คลอดยาก รกพันคอ
คลอดท่าก้น การใช้คีมดึงเด็ก
3.ระยะหลังคลอด
เป็นสาเหตุของสมองพิการร้อยละ 5
การได้รับการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ
ตัวเหลืองเมื่อแรกเกิด
เส้นเลือดที่สมองมีความผิดปกติ
การขาดออกซิเจนจากการจมน้ำ
การติดเชื้อบริเวณสมอง เช่น
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีที่สมอง เป็นต้น
การได้รับสารพิษ เช่น สารตะกั่ว ยาฆ่าแมลง
อาการและอาการแสดง
กลุ่มเกร็ง
(Spastic)
มีกล้ามเนื้อเกร็ง เคลื่อนไหวได้ช้า
ขาอาจมีอาการมากกว่าแขนหรือมีความผิดปกติครึ่งซีกหรือผิดปกติทั้งตัว
ทำให้ควบคุมกล้ามเนื้อ คอ ลำตัว และแขน ขาไม่ได้
กลุ่มเคลื่อนไหวผิดปกติ
(Dystonia)
ไม่สามารถควบคุมให้อยู่นิ่งๆ
มีการแสดงสีหน้า คอบิด แขนงอ หรือเหยียดเปะปะ
พูดลำบาก กลืนลำบาก
อาจมีการกระตุกอย่างรวดเร็ว คล้ายอาการขว้างลูกบอล
การรักษา
การให้ยาคลายกล้ามเนื้อ ได้แก่ diazepam,baclofen
การทำกายภาพบำบัดของกล้ามเนื้อแขน ขา หรือลำตัว
การให้ early stimulation เพื่อให้สมองส่วนต่างๆที่ไม่มีความเสียหายได้พัฒนา
การแก้ไขความผิดปกติของการรับรู้ที่สำคัญ
การแก้ไขความผิดปกติของระบบประสาทส่วนอื่น
การให้คำแนะนำผู้ปกครองในการดูแลเด็กในชีวิตประจำวันและส่งเสริมให้เด็กฝึก
ทักษะการใช้ส่วนต่างๆของร่างกายตามความสามารถและศักยภาพอย่างเหมาะสม
ข้อวินิจฉัย
การเคลื่อนไหวของร่างกายบกพร่องเนื่องจากมีความบกพร่องของระบบประสาท
ขาดการดูแลตนเองเนื่องจากความบกพร่องทางด้านร่างกาย
ได้รับสารอาหารน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย
เนื่องจากปัญหาการให้อาหารและความบกพร่องทางร่างกาย
มีความบกพร่องในการสื่อสารด้วยวาจาเนื่องจาก
สูญเสียการได้ยิน/ระบบประสาทบกพร่อง
เสี่ยงต่อพัฒนาการช้ากว่าวัย/มีพัฒนาการช้ากว่าวัย
เนื่องจากความบกพร่องของระบบประสาท
ภาวะน้ำคั่งใน โพรงสมอง (Hydrocephalus)
สาเหตุ
การสร้างหรือการผลิตน้ำไขสันหลังมากผิดปกติ
การอุดกั้นการไหลเวียนของน้ำหล่อสมองและไขสันหลัง
ความผิดปกติในการดูดซึมน้ำไขสันหลัง
อาการและอาการแสดง
ศรีษะโต/หัวบาตร (cranium enlargement)
เด็กเล็กที่กระหม่อมยังไม่เปิดพบว่ากระหม่อมหน้าโป่งตึงกว่าปกติ(fontanelle bulging)
หนังศีรษะบางและมองเห็นหลอดเลือดดำที่บริเวณใบหน้าหรือศรีษะโป่งตึง
เห็นชัดมากกว่าปกติ(enlargement & engorgement of scalp vein)
เสียงเคาะกะโหลกเหมือนหม้อแตก(macewensige Cracked pot sound)
อาการแสดงของความดันในกะโหลกศีรษะสูง(signs of increase intracranial pressure)
ตาทั้ง 2 ข้างกรอกลงข้างล่าง setting -sun sign
ตาพล่ามัว เห็นภาพซ้อน(diplopia)
รีเฟลกซ์ และ tone ของขา 2 ข้าง ไวกว่าปกติ(hyperactive reflex)
พัฒนาการทั่วไปช้ากว่าปกติ(delay developement)
การวินิจฉัย
Transillumination test
Ventriculography
CT scan
Ultrasound
Head Circumference
การรักษา
ผ่าตัดรักษาสาเหตุ
ผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินน้ำไขสันหลัง(Shunt)
Ventriculo-peritoneal Shunt (V-P Shunt)
การให้ยาลดการสร้างน้ำไขสันหลัง (Diamox)
การพยาบาล
ก่อนผ่าตัด
ประเมินอาการความดันในกระโหลกศีรษะสูง
วัดเส้นรอบวงศีรษะทุกวันเวลาเดียวกัน
จัดท่านอนศีรษะสูง 15-30 องศา
จัดให้นอนบนที่นอนนุ่มๆ ใช้หมอนนุ่มรองศีรษะไหล่ เปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ
รักษาความสะอาดของผิวหนัง
จัดปูที่นอนให้เรียบตึง
ตรวจสอบประเมินการเกิดแผลกดทับสม่ำเสมอ
ดูแลให้รับนมน้ำครั้งละน้อยๆโดยแบ่งให้บ่อยครั้ง
ขณะให้นมอุ้มท่าศีรษะสูงเสมอ
หลังให้นมจับเรอไล่ลม
หลังผ่าตัด
จัดท่านอนเพื่อป้องกันการกดทับลิ้นของท่อทางเดินน้ำไขสันหลัง
สังเกตและบันทึกอาการและอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนหลังทำผ่าตัด
วัดและบันทึกสัญญาณชีพและประเมินอาการทางระบบประสาท
ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณแผลผ่าตัด ตามแผนการรักษา
พลิกตะแคงตัวและเปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะปอดอักเสบ
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้อง
วัดเส้นรอบท้อง หลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงแรก
วัดเส้นรอบวงศีรษะทุกวัน
ภาวะที่มีการคั่งของน้ำไขสันหลังในกะโหลกศีรษะบริเวณเวนติดเคิล (ventricle) ของสมองและ
subarachnoid space มากกว่าปกติน้ำไขสันหลังที่คั่งในปริมาณมากจะทำให้เกิดความดันภายในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น
สไปนา ไบฟิดา
(Spina Bifida)
สาเหตุ
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง
อาจเกิดจากมารดามีการติดเชื้อไวรัสในขณะตั้งครรภ์ ในระยะ 3 เดือนแรก
ภาวะทุพโภชนาการและมารดาที่อายุน้อยหรือมากเกินไป
พยาธิสภาพ
ในระยะที่อยู่ในครรภ์มารดาประมาณ สัปดาห์ที่ 10 ของเอมบริโอ
จะเริ่มมีการสร้างของรอยต่อระหว่างกระดูกสันหลังทุกข้อ
รอยต่อของกระดูกสันหลังมีอยู่ 3 แห่ง คือ ที่ตัวของกระดูก (Body) 1 แห่ง และที่ส่วนโค้งของกระดูก (Arch) 2 แห่ง
การสร้างรอยต่อของกระดูกสันหลังนี้จะเจริญไปเรื่อย
เพื่อเจริญเติบโตเป็นกระดูกสันหลังที่สมบูรณ์
ถ้ามีความผิดปกติในการเจริญของการสร้างรอยต่อของกระดูกเมื่อใดก็ตาม
จะทำให้ส่วนตัวของกระดูก หรือส่วนโค้งของกระดูกสันหลังปิดไม่หมด
การวินิจฉัย
มารดามีประวัติติดเชื้อขณะตั้งครรภ์การตรวจทางห้อง
ปฏิบัติการ พบ Alphafetoprotien ในน้ำคร่ำสูง
การตรวจร่างกายทารกพบความผิดปกติ
การรักษา
การผ่าตัดเย็บปิดถุงที่ยื่นออกมา
อาจเกิดการติดเชื้อ เนื่องจากถุงน้ำแตก
จัดท่านอนตะแคงหรือนอนคว่ำ
ไม่นุ่งผ้าอ้อม
ดูแลถุงน้ำให้ชุ่มชื่น ระวังไม่ให้เกิดแผล
หมั่นตรวจสอบการฉีกขาด รั่ว
ประเมินการติดเชื้อ
อาจมีการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะเนื่องจากการคั่งของน้ำปัสสาวะ
ทำ Crede’manuever ทุก 2-4 hr
ทำความสะอาดทุกครั้งหลังขับถ่าย
ให้ยา Antibiotic ตามแผนการรักษา
มีกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงจาก
การกดเบียดเส้นประสาทไขสันหลัง
ทำ Passive Exercise ให้ผู้ป่วย
สอนผู้ปกครองในการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย
สังเกตอาการอ่อนแรงของแขนขา การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
มีโอกาสติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัดได้ง่ายจากการปนเปื้อนอุจจาระปัสสาวะ
จัดท่านอนตะแคงหรือคว่ำไม่นุ่งผ้าอ้อม
ดูแลทำความสะอาดแผล
ดูแลให้ยา Antibiotic / check V/S
เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
วัดสัญญาณชีพ ทุก 2-4 hr
เฝ้าระวังและสังเกตภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ
แผลติดเชื้อ และ Hydrocephalus
วัดเส้นรอบศีรษะทุกวันเพื่อประเมินภาวะHydrocephalus
บริหารแขนขา/ เปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ
ความผิดปกติของท่อระบบประสาทที่เจริญไม่สมบูรณ์ ทำให้รอยต่อ
ของกระดูกสันหลังไม่เชื่อมติดกัน ความผิดปกติที่พบได้ที่แนวไขสันหลัง
กลุ่มอาการดาวน์
(Down ’s syndrome)
อุบัติการณ์ ประมาณ 1:1,000
โอกาสเสี่ยงจะสูงขึ้นถ้ามารดามีอายุมากกว่า 30 ปี
และจะสูงขึ้นชัดเจนมากถ้าอายุมากกว่า 35 ปี
บิดามารดาของผู้ป่วยจะมีโครโมโซมปกติ
อาการและอาการแสดง
กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก (hypotonia)
หัวแบนกว้าง (brachiocephaly)
คอสั้นและผิวหนังด้านหลังของคอค่อนข้างมากและนิ่ม
หูติดอยู่ต่ำ
brush field spot
ปากอ้าและลิ้นมักจะยื่นออก และมีรอยแตกที่ลิ้น
มือกว้างและสั้น มักจะมี simian crease
นิ้วก้อยโค้งงอ(clinodactyly)
ร่องระหว่างนิ้วโป้งเท้าและนิ้วชี้กว้าง
เส้นลายนิ้วมือมักพบ ulnar loopมากกว่าปกติและพบ distal triradius ในฝ่ามือ
ทางเดินอาหารอุดตัน ที่พบบ่อยคือ duodenum stenosis
Hypothyroidism
ร่างกายเจริญเติบโตช้า
Polycythemia
ความผิดปกติเกี่ยวกับตา เช่น ต้อกระจก ต้อหิน ตาเข สายตาสั้น
ความผิดปกติเกี่ยวกับหู เช่น ช่องรูหูเล็ก มีปัญหาการได้ยิน
อวัยวะเพศของผู้ชายอาจเล็กกว่าปกติ พัฒนาการทางเพศช้า
หัวใจพิการแต่กำเนิด
การติดเชื้อ โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจเกิดง่ายกว่าเด็กทั่วไป
เป็นความผิดปกติทางโครโมโซมคู่ที่ 21 และเป็นสาเหตุ
ที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มโรคพันธุกรรมที่ทำให้เกิดปัญญาอ่อน
การรักษา
การกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการให้เหมาะสมตามวัยตั้งแต่อายุยังน้อย(early stimulation)
การรักษาโรคทางกายอื่นๆที่มีร่วมด้วย คือ โรคหัวใจ ระบบทางเดินอาหารอุดกั้น ภาวะฮัยโปไทรอยด์และอื่นๆ
การให้คำปรึกษาแนะนำด้านพันธุกรรม
Guillain Barre's Syndrome
กลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากการบวมอักเสบของระบบประสาทส่วนปลายหลายๆเส้น
อย่างเฉียบพลัน (Polyradiculoneuropathy) ที่เกิดขึ้นหลังจากมีการติดเชื้อในร่างกาย
อาการและอาการแสดง
Sensation
เริ่มมีอาการเหน็บชา เจ็บ และปวดโดยเฉพาะปลายแขนปลายขา ไหล่ สะโพก และโคนขา
อาการอาจเริ่มด้วยอาการคล้ายเป็นตะคริวที่ส่วนปลาย และอาจรุนแรง
ต้องให้ยาแก้ปวด แล้วจึงมีอาการอ่อนแรง ชา สูญเสีย reflex
motor
กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Flaccid motor paralysis) ทั้งสองข้างสมดุลกัน
อาการอัมพาตใน GBS จะเริ่มต้นที่ขา เดินลำบาก และจะลุกลามขึ้นที่แขน
และลำตัวด้านบน รวมไปถึงกล้ามเนื้อทรวงอก แขนทั้งสองข้าง
ในรายที่ไม่รุนแรงอาจเกิดแค่ปลายเท้าตกเท่านั้น เมื่อมีการลุกลาม
ไปที่กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจทำให้หายใจล้มเหลว
อาการของ
ประสาทสมอง
โดยเฉพาะส่วนใบหน้า ประสาทสมองคู่ที่ 7 (Facaial nerve) พบความผิดปกติบ่อยที่สุด
มีอัมพาตของหน้า ปิดตา และปากไม่สนิท ความผิดปกติของการแสดงสีหน้า
ถ้ามีความผิดปกติเส้นประสาทคู่ที่ 7 (Facial nerve),9 (Glossophryngeal nerve),
และคู่ที่ 10 (Vagus nerve) ผู้ป่วยจะมีอาการกลืน พูด และหายใจลำบาก
อาการลุกลาม
ของประสาทอัตโนมัติ
ส่วน medulla oblongata ที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะสำคัญและเส้นประสาท vagus
เกิดความผิดปกติร่วมด้วยจะเกิดอาการผิดปกติในระบบประสาทอัตโนมัติ
เป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วย GBS ได้แก่ การเต้นหัวใจผิดจังหวะ ความดันโลหิตไม่คงที่
หัวใจเต้นช้าหรือเร็ว หน้าแดง เหงื่อออก ปัสสาวะคั่ง และท้องอืดจาก paralytic ileus
การรักษา
การรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายพลาสมา
(Plasma Exchange หรือ Plasmapheresis)
การรักษาด้วย Intravenous Immunglobulin (IVIG)
วินิจฉัย
เสี่ยงต่อการเกิดการหายใจไม่เพียงพอจากกล้ามเนื้อช่วยหายใจอ่อนแรงอย่างเฉียบพลัน
เสี่ยงต่อการขาดสารอาหารจากไม่สามารถช่วยตนเองจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างสมบูรณ์
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการไม่เคลื่อนไหว
จากกล้ามเนื้ออ่อนแรงทำให้สูญเสียความสามารถในการดูแลตนเอง
ทุกข์ทรมานจากอาการปวดกล้ามเนื้อ
ขาดการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นๆจากไม่สามารถพูดได้
ผู้ป่วยและญาติกลัว วิตกกังวล ท้อแท้ กับอาการของโรคที่เป็น
จากการขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัว
หลักการพยาบาลใน
ระยะเฉียบพลันและต่อเนื่อง
Check vital sign โดยเฉพาะ RR ต้องมีการตรวจวัด vital capacity, tidal volume หรือ minute volume
ให้ออกซิเจน ถ้ามีภาวการณ์หายใจไม่พอจำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจพร้อมเครื่องช่วยหายใจ
ติดตามประเมินการเคลื่อนไหว กำลังของกล้ามเนื้อ การรับรู้สัมผัส สภาวะของmotor sensory
และ cranial nerve ช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพ Observe อาการแทรกซ้อนจากการจำกัดการเคลื่อนไหว
ดูแลปัญหาการขาดสารอาหาร เนื่องจากผู้ป่วยจะมีน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
ต้องการพลังงานในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ทำให้ได้รับอาหารไม่เพียงพอ
สังเกตอาการปวดตามกล้ามเนื้อ
ประคับประคองด้านจิตใจ ส่งเสริมการมองโลกในแง่ดีสำหรับผู้ป่วย
นางสาวภัชราภรณ์ หนูรอด
เลขที่ 65 (62111301067)
ชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 37