Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาท, นางสาวอารยา ชูระเชตุ เลขที่ 107…
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาท
ชักจากไข้สูง (Febrile convulsion)
ชนิดของการชักจากไข้สูง
simple febrile seizure
complex febrile seizure
สาเหตุ
ภาวะชักจากไข้สูงเกิดจากการติดเชื้อในระบบต่างๆ เด็กจะมีอาการชักเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส
อาการและอาการแสดง
เด็กจะตัวร้อน หน้าแดง มึนงงสับสน กระสับกระส่าย ร้องกวน มีอาการชักลักษณะการชักอาจจะตัวแข็งหรือตัวอ่อน ชักเกร็งหรือกระตุก ไม่รู้สึกตัว
การรักษา
ระยะที่กำลังมีอาการชัก
กรณีที่มีการชักเกิน 5 นาที ต้องทำให้หยุดชักเร็วที่สุด โดยให้ยาระงับอาการชัก เช่น diazepam
ให้ยาลดไข้ ร่วมกับ เช่น ตัวลดไข้ (เน้นขณะชักห้ามให้ยาชนิดรับประทาน)
ระยะหลังชัก
ซักประวัติตรวจร่างกายโดยละเอียด ให้ยาป้องกันการชัก รับประทานทุกวันนาน 1-2 ปี เช่น Phenobarbital , Depakine
การพยาบาล
วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
.เช็ดตัวลดไข้ (tepid sponge)และให้ยาลดไข้
จัดท่านอนตะแคงศีรษะต่ำกว่าลำตัว ดูดเสมหะถ้ามีเสมหะ
ไม่ผูกยึดเด็กหรือจับเด็กขณะมีอาการชักเพราะอาจเกิดข้อไหล่หลุดหรือกระดูกหัก
ไม่ใส่ไม้กดลิ้นเข้าปากเด็กเพราะอาจทำให้ฟันหักและฟันที่หักอาจตกลงไปในลำคอเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ
ระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขณะมีอาการชัก
สังเกตและบันทึกระยะเวลาของการชักลักษณะการซัก
โรคลมชัก (Epilepsy)
อาการชักที่เกิดขึ้นซ้ำๆ อย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป โดยไม่สัมพันธ์กับการมีไข้อาการชักเกิดจากคลื่นไฟฟ้าของสมองถูกปล่อยออกมาเป็นจำนวนมาก อาการชักจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของสมองที่ปล่อยคลื่นไฟฟ้าสมอง อาการชักจะเกิดเพียง 2- 3 นาทีแล้วจะเป็นปกติ ถ้าเกิดอาการชักที่นานเกิน 10 นาทีแล้วไม่หยุดเองและไม่ได้รับการรักษามักจะกลายเป็นภาวะชักต่อเนื่อง
(Status epilepticus)
ชนิดของอาการชัก (Classification of seizure)
Generalized seizure
Tonic seizure เกร็งแข็ง ล้มลงถ้ายืนอยู่
Clonic seizure มีการกระตุกเป็นจังหวะที่ช้ากว่า myoclonic
Tonic clonic seizure (Grand mal) มีการเกร็งก่อนแล้วมีการกระตุกตาม
Atonic seizure มีการสูญเสียความดึงตัวของกล้ามเนื้อ
Myoclonic seizure มีการหดตัวของกล้ามเนื้อเป็นระยะสั้นๆ
Absence seizure (Petit mal) มีตากระพริบหรือตากระตุก
Infantile spam ในเด็กเล็กตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี คือ งอศีรษะ ลำตัว แขนขา เข้าหากันช่วงระยะสั้นๆ แล้วคลายออกคล้ายสะดุ้ง
Partial seizure เกิดจากซีกหนึ่งซีกใดของสมอง มีลักษณะการชักเฉพาะที่ ขึ้นอยู่กับบริเวณสมองที่คลื่นไฟฟ้าสมอง
Simple partial seizure มีการกระตุกหรือชาของแขนขา หน้า คอ ประมาณ 5-10 วินาที
Complex partial seizure การชักที่มีอาการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม
Partial seizure evolving to secondary generalize seizure มีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมองเฉพาะที่แล้วกระจายทั่วสมองทั้ง 2 ข้างโดยมีอาการของ simple partial seizure หรือ complex partial seizure แล้วมีอาการชักเกร็งและ/หรือกระตุกทั่วทั้งตัว
Unclassified epileptic seizure เป็นชนิดที่ไม่สามารถจัดกลุ่มได้
สาเหตุการชัก
เกิดจากการมีรอยโรคในเนื้อสมอง การมีรอยโรคในสมองทำให้เซลล์ประสาทหลั่งคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติออกมาและไปมีผลต่ออวัยวะต่างๆที่สมองส่วนนั้นควบคุมทำให้เกิดอาการชักตามมา
การวินิจฉัย
การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง(electroencephalography : EEG)
การรักษา
ให้ Diazepam 0.2-0.4 มก./กก./นาที ทางหลอดเลือดดำ ถ้าผู้ป่วยเด็กยังไม่หยุดชักภายใน 2-5 นาที ให้ diazepam 0 2-0.4 มก.กก.ซ้ำอีกครั้งทางหลอดเลือดดำ ถ้า 5 นาทียังไม่หยุดซักให้ phenytoin 20 มก./กก.ผสม 0.9% NSS ให้ทางหลอดเลือดดำด้วยความเร็วไม่เกิน 1 มก./กก./นาที โดยจับชีพจรและวัดความดันโลหิต ภายหลังจากให้ยาแล้ว 20-30 นาที
ยากันชัก
Benzodiazepine ได้แก่diazepam (valium) ทำให้ง่วงหลับ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เดินเซ มีเสมหะจากหลอดลมมากกว่าปกติ
Phenobarbital ทำให้ง่วงซึม เดินเซ
Phenytoin (dilantin) เกิดอาการเซ ง่วงซึม เห็นภาพซ้อน ตากระตุก คลื่นไส้ อาเจียน เหงือกหนา มีภาวะซีดจาก Folic acid ต่ำได้ มีผื่นขึ้น ผมขนดก
Valproic acid ง่วงซึม คลื่นไส้อาเจียน มือสั่น
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
1.เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากการชักเป็นเวลานาน
2.เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากมีอาการชัก
3.บิดามารดามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชักของผู้ป่วยเด็ก
4.บิดามารดาขาดความรู้ในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคลมชัก
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ(meningitis)
สาเหตุ
เชื้อแบคทีเรีย (Bacterial meningitis)
เชื้อไวรัส (Viral หรือ Asepitc meningitis)
พยาธิ (Eosinophilic meningitis)
เชื้อรา (Fungal memingitis)
Cerebrospinal fluid test
Pressure เด็กโต = 110-150 mmH2O ทารก 100 mmH2O
Red cells ไม่พบ
White cell count ไม่พบ
Glucose 50-75 mg/dl(ครึ่งหนึ่งของน้ำตาลในเลือด)
Protein 14-45 mg/dl
อาการและอาการแสดง
อาการที่แสดงว่ามีการติดเชื้อ เช่น มีไข้ ปวดศีรษะมาก ซึมลง กระหม่อมโป่งตึง อาเจียน ชัก
อาการแสดงของการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมอง คือ
คอแข็ง (Stiffness of neck)
Kernig’s sign ได้ผลบวก
Brudzinski’s sign ได้ผลบวก
การรักษา
การรักษาเฉพาะ คือ ให้ยาปฏิชีวนะที่สอดคล้องกับผลการเพาะเชื้อน้ำไขสันหลังที่เป็นสาเหตุ
การรักษาตามอาการ ให้ยาลดไข้ ให้ยานอนหลับ ให้ยากันชัก ให้ยาลดอาการบวมของสมอง ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำรักษาภาวะไม่สมดุลย์สารน้ำและอิเล็คโทรลัยท์
อาจต้องเจาะคอหรือใช้เครื่องช่วยหายใจในรายที่มีปัญหาการหายใจหรือหมดสติ
การป้องกัน ควรฉีดวัคซีน เช่น Hib vaccine , JE vaccine,BCG
ไข้สมองอักเสบ (Encephalitis)
เนื้อสมองผิดปกติอาจเกิดจากการติดเชื้อไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส (Virus encephalitis)
Primary viral encephalitis ไวรัสที่นำโดยแมลง โดยเฉพาะไข้สมองเจอี หรือ Japanese encephalitis virus ไวรัสเริม ไวรัสโรคพิษสุขนัขบ้า
Secondary viral encephalitis เช่น ไวรัสหัด ไวรัสหัดเยอรมัน ไวรัสอีสุกอีใส ไวรัสคางทูม รวมทั้งวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
อาการและอาการแสดง
เชื้อไวรัสทำให้เกิดการคั่งของ lymphocyte ในเนื้อสมองและเยื้อหุ้มสมองทำให้เกิดภาวะสมองบวม ทำให้สมองสูญเสียหน้าที่ อาการเริ่มแรกของโรคสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสมักเกิดอย่างเฉียบพลันโดยเริ่มมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดบริเวณต้นคอมาก คอแข็ง อาเจียน หายใจไม่สม่ำเสมอ ซึมลง การเคลื่อนไหวผิดปกติ บางรายอาจมีอาการชัก
การวินิจฉัย
ตรวจน้ำไขสันหลังจะพบว่าน้ำไขสันหลังใส ไม่มีสี มีเม็ดเลือดขาว 10-1000 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตรส่วนใหญ่เป็น lymphocyte ความดันของน้ำไขสันหลังสูงมากกว่า 180 มิลลิเมตรน้ำเล็กน้อย โปรตีนในน้ำไขสันหลังมีปริมาณสูงขึ้นเล็กน้อยมีค่ามากกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร น้ำตาลในน้ำไขสันหลังปกติ (50-75 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
การรักษา
การให้ยาดังนี้ ยากันชัก ยาที่ลดอาการบวมของสมองในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัสเริม (herpes simplex virus) ให้ทางหลอดเลือดดำ
ยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะ
เพื่อรักษาภาวะติดเชื้อแทรกซ้อน
การป้องกัน
การฉีดวัคซีน
หลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อโรคหรือพาหะ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
1.อาจเกิดอันตรายต่อเซลล์สมองเนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ/สมองอักเสบ
2.อาจเกิดอันตรายต่อเซลล์สมองเนื่องจากภาวะความดันในสมองสูง
3.อาจเกิดอันตรายต่อเซลล์สมองเนื่องจากภาวะพร่องออกซิเจน
4.อาจเกิดภาวะขาดสมดุลของสารน้ำ อิเล็คโทรลัยท์และสารอาหาร
อาจเกิดอันตรายจากการชักเนื่องจากไข้สูง
6.มีความไม่สุขสบายปวดศีรษะจากการมีการระคายเคืองที่เยื้อหุ้มสมอง
7.บิดามารดามีความกลัวและวิตกกังวลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของบุตร
นางสาวอารยา ชูระเชตุ เลขที่ 107 รหัสนักศึกษา 62111301110 ปี 2 รุ่น 37