Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นายหลง วงษ์เมือง เพศชาย อายุ 87 ปี, นางสาวพรนภา โสลา รหัสนิสิต 61010211…
นายหลง วงษ์เมือง เพศชาย อายุ 87 ปี
ข้อมูลพื้นฐานกี่ยวกับสุขภาพ
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ปฏิเสธการแพ้ยาและอาหาร การผ่าตัด เกิดอุบัติเหตุหกล้มเมื่อ 1 ปีก่อน ทำให้มีอาการปวดกระดูกสะโพก
ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว ปฏิเสธการเจ็บป่วยในครอบครัว
โรคประจำตัวและการรักษา ปฏิเสธการมีโรคประจำตัว
ข้อมูลส่วนบุคคล
สถานภาพสมรส คู่
ระดับการศึกษา ป.4
ศาสนาพุทธ
รายได้ 5,000 บาทต่อเดือน
เชื้อชาติไทย
ภูมิลำเนาเดิม ชลบุรี
ที่อยู่ปัจจุบัน ศูนย์ฯบ้านบางละมุง
สัญชาติไทย
ข้อมูลเกี่ยวกับแบบแผนสุขภาพ
แบบแผนการขับถ่าย
การขับถ่ายอุจจาระ
ประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ก้อนแข็งเป็น
ลำสีเหลือง รับประทานยาระบายทุกวัน
การขับถ่ายปัสสาวะ
ปัสสาวะ 3-4 ครั้งต่อวัน มักปัสสาวะตอนกลางคืน
2-3 ครั้ง สีเหลืองใส ไม่เป็นตะกอน ไม่ต้องเบ่งถ่าย
แบบประเมินกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ
ไม่เคยปัสสาวะเล็ดแสบขัด
ไม่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ผลการซักประวัติและการตรวจร่างกาย
คลำบริเวณหน้าท้องด้านกระดูก
สะโพกซ้ายไม่พบก้อนแข็งของอุจจาระ
แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดท้องผูกในผู้สูงอายุ
4 คะแนน แปลผลได้ว่า เสี่ยงต่อการเกิดท้องผูกระดับปานกลาง
แบบแผนอาหารและการเผาผลาญอาหาร
พฤติกรรมการรับประทานอาหาร
รับประทาน 3 มื้อ มื้อละ 1-2 ทัพพี ทานจำพวกปลา ต้มจืด ฉู่ฉี่ปลา แกงปลาดุก ผักลวกที่ต้มจนเปื่อย น้ำพริก ทานรสกลางๆไม่ชอบรสหวานจัดหรือเค็มจัด
การดื่มน้ำ
วันละประมาณ 3-4 แก้ว น้ำที่ทาง
ศูนย์จัดเตรียมให้ในโรงอาหาร
มีภาวะท้องผูกเนื่องจากประสิทธิภาพในการเคี้ยวลดลงและได้รับน้ำไม่เพียงพอ
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ภาวะท้องผูกในผู้สูงอายุ เป็นการเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุและสัมพันธ์กับทฤษฎีการสูงอายุคือ การเปลี่ยนแปลงในระบบทางเดินอาหาร และทฤษฎีเสื่อมโทรม เริ่มตั้งแต่ฟันซึ่ง ฟันของผู้สูงอายุจะมี เหงือกที่หุ้มคอฟันร่น ฟันผุหลุดร่วง ซึ่งผู้สูงอายุรายนี้มีฟัน 4 ซี่ ทำให้ผู้สูงอายุเคี้ยวอาหารได้ลำบาก และการดื่มน้ำน้อย วันละ 3-4 แก้วต่อวัน หลอดอาหารมีการเคลื่อนไหวที่ลดลง มีอาหารพักอยู่ในหลอดอาหารนานมากขึ้น กระเพาะอาหารและลำไส้ในผู้สูงอายุ พบว่าการบีบตัวและเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารลดลง ทำให้ระยะเวลาที่อาหารผ่านกระเพาะอาหารช้าลง จึงมีการเคลื่อนไหวลดลง การผลิตเอนไซม์ของตับอ่อนลดลงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงปริมาณและความเข้มข้นของเอนไซม์ที่ส่งผลต่อการย่อยอาหารลดลงจึงทำให้ใช้เวลาในการย่อยมากขึ้น ทำให้อุจจาระมีความแข็งจนเกิดอาการท้องผูก
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ไม่มีภาวะท้องผูก
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้สูงอายุไม่บ่นแน่นอึดอัดท้อง
กดท้องนิ่ม
ผู้สูงอายุถ่ายอุจจาระทุกวันหรือทุก 2-3 วัน
ฟังเสียง Bowel sound = 4-6 ครั้ง/นาที
แบบประเมินท้องผูก น้อยกว่าหรือเท่ากับ -19 คะแนน หรือมีคะแนนลดลง
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตและบันทึกลักษณะและระยะเวลาในการขับถ่ายอุจจาระเพื่อติดตามการขับถ่ายของผู้สูงอายุ
ดูแลให้ผู้สูงอายุได้รับอาหารที่มีกากใยสูง ย่อยง่าย เช่น ผักคะน้า กวางตุ้ง ผักโขม และควรนำมาปรุงโดยวิธีต้มสุก ผลไม้มะละกอ กล้วยสุก ส้ม แอปเปิล และดูแลให้ดื่มน้ำ 1,500-2,000 มิลลิลิตร/วัน เพื่อส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ
ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดท้องผูกในผู้สูงอายุเพื่อประเมินและวางแผนการให้การดูแลที่เหมาะสม
นวดคลึงหน้าท้อง เพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานของลำไส้
กระตุ้นให้ผู้สูงอายุเคลื่อนไหวขยับร่างกายบ่อยๆทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองเพิ่มขึ้น การออกกำลังกาย จะมีการหลั่งฮอร์โมนเอ็นโดรฟิน(endorphin)และโมทิลิน(motilin)ซึ่งฮอร์โมนทั้งสองชนิดทำให้ลำไส้มีการบีบตัวมากขึ้นและลดระยะเวลาที่อาหารผ่านถึงทวารหนักเช่นวิธีการเดินตามปกติวันละ 15 ถึง 30 นาทีร่วมกับการยกแขน ยกขาขณะที่นั่งบนเก้าอี้ การหมุนลำตัว การถีบจักรยานกลางอากาศ การขมิบทวารหนัก เพื่อส่งเสริมการเคลื่อนไหวของลำไส้ ป้องกันการเกิดท้องผูก
รายงานพยาบาลทราบ ถ้าผู้สูงอายุไม่ถ่ายอุจจาระเกิน 2-3 วัน เพื่อให้ยาระบาย Lactulose และเฝ้าระวังผลข้างเคียงจากการได้รับยาระบาย เช่น ท้องเสียอย่างรุนแรงหรือต่อเนื่อง อาเจียน เจ็บหรือปวดบีบที่ท้อง เป็นต้น
ฝึกขับถ่ายในตอนเช้าให้เป็นเวลา โดยดื่มน้ำหลังตื่นนอนตอนเช้าประมาณ 500 มล. เพื่อกระตุ้นการทำงานของรีเฟล็กซ์จากกระเพาะอาหารสู่ลำไส้(Gastrocolic reflec)และรีเฟล็กซ์จากลำไส้เล็กส่วนต้นสู่ลำไส้ใหญ่(Duodenocolic reflec)ซึ่งเกิดจากการกระตุ้นเมื่อมีอาหารในกระเพาะและลำไส้เล็กส่วนต้นซึ่งเกิดภายหลังการรับประทานอาหารทำให้ลำไส้บีบตัวมีการเคลื่อนที่ของอุจจาระลงไปยังส่วนล่างเกิดความรู้สึกปวดถ่ายอุจจาระ
แนะนำการตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำทุก 6-12 เดือน เพื่อพิจารณาการใส่ฟันปลอม เพื่อให้ประสิทธิภาพในการเคี้ยวอาหารของผู้สูงอายุดีขึ้น
ตั้งเป้าหมายร่วมกันในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพฤติกรรม
ประเมินผล
ผู้สูงอายุยืนยันที่จะนำวิธีแนะนำไปปฏิบัติ ได้แก่
ออกกำลังกาย นวดคลึงหน้าท้อง
รับประทานอาหารที่มีกากใย ดื่มน้ำเพิ่มมากขึ้น ฝึกการขับถ่ายทุกวัน
เลือกรับประทานยาระบายที่เหมาะกับตนเอง และไปปรึกษาหมอฟัน
ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
ขับถ่าย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ต้องกินยาถ่าย Milk of magnesium ทุกวัน มีฟัน 4 ซี่ จึงทำให้เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด ไม่มีปัญหาเรื่องการกลืน สำลัก คลื่นไส้อาเจียน
แบบประเมินMNA
12 คะแนน แปลผลได้ว่า มีภาวะโภชนาการปกติ
ผลการตรวจร่างกายและการซักประวัติ
สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่มีปัญหาเรื่องท้องผูก ภายในปากมีฟัน 4 ซี่และไม่สบกัน ผู้สูงอายุต้องกินอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย ไม่มีบาดแผลภายในช่องปาก คลำบริเวณหน้าท้องไม่พบตับม้ามโต เคาะหน้าท้องได้ยินเสียงTympani ฟัง Bowel sound ได้ 8 ครั้งต่อนาที BMI = 20.81 kg/m2
แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญความเครียด
วิธีการเผชิญความเครียดและเเก้ไขความเครียด
คิดถึงเรื่องอื่นแทน ฟังวิทยุ ฟังรายการเพลงและข่าว
บุคคลที่คอยให้ความช่วยเหลือ
พี่เลี้ยงในบ้าน ลูกสาวจะส่งเงินมาให้เดือนละ 5000 บาท
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด
ความเครียดของตนเองเกิดจากคิดมากเรื่องสุขภาพ การที่ไม่มีอะไรทำ ต้องอยู่เฉยๆที่ศูนย์
แบบประเมิน ST-5
6 คะแนน แปลผลได้ว่า ความเครียดปานกลาง
แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้
การประเมินMMSE-Thai 2002
27 คะแนน แปลผลได้ว่า ไม่มีภาวะสมองเสื่อม
ผลการตรวจร่างกายและซักประวัติระบบประสาทและรับการสัมผัส
รู้สึกตัวดี ไม่มีภาวะซึม สับสน
ความจำ
จำสิ่งต่างๆได้ จำกิจกรรมที่ทำเมื่อวานได้ มื้ออาหารเช้า กลางวัน เย็น
การรับสัมผัส/ความสุขสบาย
รับสัมผัสได้ปกติ
การมองเห็น
ปกติ
การได้ยิน
อาการหูตึง ต้องพูดเสียงดังๆจึงจะได้ยิน
การได้ยินบกพร่องเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุ
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ภาวะหูตึง เป็นการสูญเสียการได้ยินที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงตามวัยจากกระบวนการชราภาพที่เกิดขึ้นในหูชั้นใน ได้แก่การฝ่อและการลดลงของเซลล์ขนของOrgan of Cortiที่อยู่บริเวณฐานของโคเคลีย การไหลเวียนเลือดมายังหูชั้นในลดลงเนื่องจากมีการเสื่อมของหลอดเลือดความยืดหยุ่นของBasilar mambraneลดลง ความเสื่อมของเซลล์ขนและการผลิตของเหลวที่อยู่ในโคเคลียลดลงทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินโทนเสียงสูงก่อน จากนั้นมีการสูญเสียโทนเสียงกลางและเสียงต่ำ นอกจากนี้ในหูชั้นกลาง เยื่อแก้วหูเสื่อมมีความยืดหยุ่นลดลงมีแคลเซียมไปเกาะที่กระดูกหูทั้ง 3 ชิ้น ทำให้ขาดความยืดหยุ่นและการสั่นสะเทือนลดลงส่งผลต่อการนำสัญญาณเสียงและมีการสร้างที่หูที่มากขึ้นและเหนียวขึ้น ทำให้เกิดภาวะขี้หูอุดตันขัดขวางการนำส่งสัญญาณเสียงส่วนการเปลี่ยนแปลงของหูชั้นนอกมีการแข็งตัวและการฝ่อของเยื่อแก้วหูมีผลต่อการได้ยิน ซึ่งในผู้สูงอายุรายนี้มีปัญจัยเสี่ยง คือ เป็นเพศชาย และมีการสูบบุหรี่ ที่มีสารนิโคติน ทำให้เลือดไปเลี้ยงโคเคลียจึงลดลงและยังทำ ให้หลอดเลือดแข็งตัว มีเกร็ดเลือดเกาะตัวรวมกัน ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ลดการเกิดปัญหาการได้ยินบกพร่องหรือเกิดช้าลง
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนำตรวจคัดกรองการได้ยินทุก 1 ปี เพื่อประเมินการได้ยินของผู้สูงอายุ
แนะนำการป้องกันอันตรายจากเสียง เช่น หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่เสียงดังเกินไป ควรใช้ที่อุดหู สวมอุปกรณ์ครอบหู เพื่อลดเสียงดัง
แนะนำให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิคสูง เช่น ผักใบเขียว เช่น ผัก บุ้ง ผักโขม ผักกาด ผลไม้ประเภทส้ม มะเขือเทศ และอาหารประเภทถั่ว ทั้งนี้ผลการวิจัยยืนยันว่า การได้รับกรดโฟลิคอย่างเพียงพอประมาณ 800 ไมโครกรัมต่อวัน สามารถลดระดับของสารโฮโมซีสเตอีนได้ถึงร้อยละ 25 จึงสามารถชะลอการสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุได้
แนะนำให้มีการดูแลรักษาสุขอนามัยของหูอย่างถูกวิธี ประกอบด้วยหลีกเลี่ยงการแคะหูหรือใช้ไม้พันสำลีเช็ดเข้าไปในรูหู เนื่องจากอาจดันขี้หูอัดแน่นเข้าไปในช่องหูมากขึ้น การทำความสะอาดช่องหูควรใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำ สะอาด เช็ดเพียงบริเวณปากรูหูออกมา เมื่อน้ำเข้าหูควรเอียงศีรษะเอาหูข้างนั้นลงต่ำ ดึงใบหูให้กางออกเฉียงไปทางด้านหลัง จะทำให้ช่องหูอยู่ในแนวตรงน้ำจะไหลออกมาได้ง่าย ไม่ควรสั่งน้ มูกแรงๆ เพราะจะทำให้เชื้อโรคในช่องจมูกและไซนัสเข้าสู่หูชั้นกลางได้ ระมัดระวังไม่ให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุกับหู หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนบริเวณหูและบริเวณใกล้เคียงเพราะอาจทำให้เยื่อบุแก้วหูทะลุและฉีกขาด หรือทำให้กระดูกหูเคลื่อน ทำให้การนำเสียงผิดปกติไป ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อ ส่งเสริมระบบการไหลเวียนโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงประสาทหูได้ดีขึ้น รวมทั้งควรรีบไปรับการรักษาจากแพทย์โดยเร็ว เมื่อมีการสูญเสียการได้ยินแบบเฉียบพลัน หูอื้อ มีเสียงดังในหู มีอาการเวียนศีรษะหรือบ้านหมุน ปวดหู มีน้ำ หรือหนองไหลออกจากรูหู เป็นหวัด จมูกอักเสบ โพรงไซนัสอักเสบ หรือมีอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางหู เช่น หูชั้นกลาง และประสาทหูอักเสบ ทำ ให้เกิดการสูญเสียการได้ยินได้
แนะนำงดการสูบบุหรี่
เกณฑ์การประเมินผล
สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้ถูกต้อง
ไม่เกิดปัญหาบกพร่องการได้ยินเพิ่มขึ้น
ประเมินผล
ส่งต่อข้อมูลให้ศูนย์ฯบ้านบางละมุง
แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย
16 คะแนน แปลผลได้ว่า มีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย
มีภาวะซึมเศร้าและความเครียดเนื่องจากสูญเสียบทบาทและกังวลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและอารมณ์ในผู้สูงอายุ จะมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางร่างร่างกาย เพราะความเสื่อมต่างๆของร่างกายมีผลต่อสภาพจิตใจผู้สูงอายุ และจะเป็นอุปสรรคต่อการติดต่อผู้อื่น เชื่อมโยงกับทฤษฎีการสูงอายุทางสังคม (Sociological theory of aging) เป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทางสังคมที่เกิดขึ้นในวัยสูงอายุ การที่สังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้สถานภาพของผู้สูงอายุเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามไปด้วย เป็นทฤษฎีที่วิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุต้องมีสถานะทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางสถานภาพทางสังคม ผู้เคยมีหน้าที่ ต้องถูกลดบทบาทเป็นผู้พึ่งพาครอบครัว การถูกทอดทิ้งจากบุตรหลานให้อยู่ตามลำพัง บุตรหลานไม่เห็นคุณค่าและความสำคัญของผู้สูงอายุ ในผู้สูงอายุรายนี้มีการปรับเปลี่ยนบทบาทมาเป็นบุคคลที่ไม่มีงานหรือกิจกรรมทำ ทำให้มีเวลานั่งกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของตนเองมากขึ้น และพบเจอลูกสาวน้อยลง จะมาเยี่ยมและส่งเงินให้เพียงเท่านั้น
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ไม่เกิดภาวะซึมเศร้าและไม่เกิดภาวะเครียด
เกณฑ์การประเมิน
คะแนนตามแบบประเมินความเครียดกรมสุขภาพจิต น้อยกว่า 9 คะแนน
คะแนนตามแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย น้อยกว่า 17 คะแนน
ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะซึมเศร้า และภาวะเครียด คือ เบื่อ หมดความสนใจในสิ่งรอบข้าง นอนไม่หลับ เหงื่อยง่าย ไม่มีสมาธิ พูดช้า หรือกระวายกระวาน ไม่อยู่นิ่ง
กิจกรรมการพยาบาล
เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุระบายความรู้สึกต่างๆ และพยาบาลควรเข้าใจและสนใจรับฟังเรื่องราวของผู้สูงอายุอย่างสงบ และช่วยให้ผู้สูงอายุได้รำลึกความหลังในสิ่งที่ดี เช่น การดูแลครอบครัว สิ่งที่ภาคภูมิใจ และชี้ให้เห็นสิ่งที่ดีเกี่ยวกับตนเอง มองตนเองในแง่บวก ยังสามารถปฏิิบัติกิจกรรมได้ด้วยตนเอง เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าในตนเอง
ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทั้งในครอบครัวและสังคมรอบๆ เช่น การออกกำลังกาย ฟังธรรมะ เป็นต้น เพื่อช่วยในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างให้ดีขึ้น
สร้างสัมพันธภาพกับผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
กระตุ้นให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเองให้มากที่สุด แม้ต้องใช้เวลา เพื่อหลีกเลี่ยงการพึ่งพา และส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ
ประเมินและสังเกตอาการ และอาการแสดงของภาวะซึมเศร้า และภาวะเครียด คือ เบื่อ หมดความสนใจในสิ่งรอบข้าง นอนไม่หลับ เหงื่อยง่าย ไม่มีสมาธิ พูดช้า หรือกระวายกระวาน ไม่อยู่นิ่ง
แนะนำให้ผู้ดูแลดูแลด้วยความเอาใจใส่ และเข้าใจความรู้สึกของผู้สูงอายุ โดยการคุยกัน และฟังกันให้มากขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ระบายความรู้สึก และได้รับการดูแลที่เหมาะสม
ประเมินภาวะซึมเศร้า ความเครียดในผู้สูงอายุ โดยใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย และแบบประเมินความเครียดกรมสุขภาพจิต
ประเมินผล
ส่งต่อข้อมูลให้ศูนย์ฯบ้านบางละมุง
แบบแผนการรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพ
ประวัติการแพ้ต่างๆ
ปฏิเสธการแพ้ยาและอาหาร
การดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย
ถ้ามีอาการไม่รุนแรงจะซื้อยาจากร้านขายยามารับประทานเอง ถ้าไม่หายจะเข้ารักษาที่โรงพยาบาลบางละมุง
พฤติกรรมเสี่ยง
สูบบุหรี่เป็นเวลา 70 ปี ปัจจุบันยังสูบอยู่ เมื่อ 60 ปีก่อน สูบวันละ 10 มวน 10 ปีหลังจนถึงปัจจุบันสูบวันละ 3-4 มวน สูบจากกระดาษม้วนยาเส้นใส่ และดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลา 60 ปี ปัจจุบันดื่ม 2-3 วันต่อสัปดาห์ บางสัปดาห์ไม่ดื่มเลย
มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เนื่องจากมีภาวะซึมเศร้าและภาวะเครียด
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ในบุหรี่มีสารนิโคตินจะออกฤทธิ์กระตุ้นที่สมองส่วนหน้าที่มีชื่อว่า คอร์เทกซ์ (Prefrontal cortex) เกิดการปล่อยสารสื่อประสาทชื่อโดปามีน ( Dopamine) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดความพอใจ สุขใจ ทำให้ผู้สูบรู้สึกดีขึ้น และจะทำให้ร่างกายสูญเสียความสามารถในการสร้างโดปามีนด้วยตัวเอง ยิ่งสูบมากก็จะมีประสาทตัวรับรู้และตัวสั่งมากขึ้น จึงเกิดความต้องการนิโคตินมากขึ้น และแอลกอฮอล์ทำให้ผู้ดื่มเกิดความรู้สึกเคลิบเคลิ้มพึงพอใจ (pleasure) คล้ายกับการได้รับรางวัล (reward) ส่งผลให้เกิดการติดแอลกอฮอล์ (alcohol addiction) ซึ่งบริเวณสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความรู้สึกเคลิบเคลิ้มพึงพอใจ (rewarding center) คือ mesolimbic dopamine system
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ไม่สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
เกณฑ์การประเมินผล
ลดปริมาณการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
เข้าใจถึงโทษของบุหรี่และแอลกอฮอล์
กิจกรรมการพยาบาล
อธิบายโทษของการสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์
แนะนำวิธีปฏิบัติเพื่อลดภาวะซึมเศร้าและคลายเครียด
ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทั้งในครอบครัวและสังคมรอบๆ เช่น การออกกำลังกาย ฟังธรรมะ เป็นต้น เพื่อช่วยในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างให้ดีขึ้น
กระตุ้นให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเองให้มากที่สุด แม้ต้องใช้เวลา เพื่อหลีกเลี่ยงการพึ่งพา และส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ
ประเมินความสนใจและความพร้อมของการเลิกบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
ตั้งเป้าหมายร่วมกันเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่และแอลกอฮอล์
ประเมินผล
ส่งต่อข้อมูลให้ศูนย์ฯบ้านบางละมุง
การรับรู้ภาวะสุขภาพในปัจจุบัน
ตนเองมีสุขภาพดี ไม่มีโรค แต่มีปัญหาหูตึงตามวัย และยอมรับในการเปลี่ยงแปลงนี้ได้
แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ
บทบาทในครอบครัว
เป็นสมาชิกในครอบครัว
สัมพันธภาพในครอบครัว
รักใคร่กันดี ไม่มีปัญหา ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
แบบแผนเพศสัมพันธ์
ปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์
ไม่มีแผล หนอง ไม่มีเจ็บและปวดอวัยวะเพศ
พฤติกรรมที่แสดงที่เหมาะสมเกี่ยวกับเพศ
เหมาะสมกับเพศ
การมีเพศสัมพันธ์
ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์มานาน 20 ปีแล้ว เนื่องจากมีอายุมากแล้ว
ผลการตรวจร่างกายและการซักประวัติ
ไม่เคยมีความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ ไม่มีแผล ไม่มีหนอง ไม่มีสารคัดหลั่งที่ผิดปกติ ไม่มีอาการเจ็บและปวดอวัยวะเพศ
แบบแผนการรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
ความรู้สึกต่อตนเองในด้านต่างๆ
รับรู้ว่าตนเองแข็งแรงดี แต่อาจเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของมนุษย์
ความรู้สึกผิดปกติของตนเองที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย
รับรู้ว่าตนเองแข็งแรงไม่มีความผิดปกติใดๆ
วิธีการเผชิญปัญหาและแก้ไขปัญหา
จะเผชิญหน้ากับปัญหานั้นๆ
แบบแผนค่านิยมและความเชื่อ
การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา
ทำบุญตักบาตรในวันสำคัญทางศาสนา ขอใบผ่านจากป้อมยามเพื่อไปทำบุญที่วัด
สิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
พระพุทธศาสนา ฟังธรรมมะจะสบายใจขึ้น
ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพ
ไม่มีความเชื่อ
แบบแผนการพักผ่อนและนอนหลับ
ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
นอนหลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อมาเข้าห้องน้ำ วันละ 2-3 ครั้ง ตื่นแล้วมักจะนอนต่อไม่ค่อยหลับ ต้องเปิดวิทยุเพื่อฟังข่าว แล้วจึงจะหลับต่อได้
การปฏิบัติตนเพื่อผ่อนคลายและส่งเสริมการนอนหลับ
ฟังวิทยุ
ปกตินอนหลับวันละ 6-7 ชั่วโมง
แบบประเมิน PSQI
6 คะแนน แปลผลได้ว่า มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี
คุณภาพการนอนหลับไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีภาวะหลับยากจากการตื่นกลางดึก
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่มีอาการบ่งชี้ว่าพักผ่อนไม่เพียงพอ เช่น สีหน้าไม่สดชื่นแจ่มใส อ่อนเพลีย ง่วงซึม หาวบ่อย ปวดศีรษะ มึนงง ขอบตาเขียวคล้ำ หงุดหงิด
นอนหลับกลางวัน 30-60 นาที
นอนหลับกลางคืนได้ 5-6 ชั่วโมงต่อวัน
แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ ≤ 5 คะแนน
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนำให้ผู้สูงอายุทำจิตใจให้สบายก่อนเข้านอน เช่น สวดมนต์หรือทำสมาธิให้จิตใจสงบปราศจากเรื่องกังวลไม่ฝันร้าย เพื่อให้การนอนหลับมีคุณภาพดีขึ้น
แนะนำให้ผู้สูงอายุดื่มเครื่องดื่ม เช่น นมถั่วเหลือง ก่อนนอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เนื่องจากมี L-tryptophan ซึ่งเปลี่ยนเป็น Melatonin และ Serotonin เพื่อส่งเสริมให้วงจรการนอนหลับทำงานต่อเนื่องเป็นปกติ
จัดสภาพแวดล้อม เช่น ปิดไฟให้แสงสว่างไม่มากจนเกินไป จัดสถานที่ให้เงียบสงบ ไร้เสียงรบกวน สะอาดอากาศถ่ายเทสะดวก จัดอุปกรณ์การนอนให้สะอาด และสามารถรองรับส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างเหมาะสม สวมเสื้อผ้าสบายไม่คับแน่นเพื่อลดสิ่งกระตุ้นในการนอนไม่หลับ
แนะนำให้ผู้สูงอายุไม่ควรรับประทานอาหารหนักก่อนเข้านอนประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อลดการเข้าห้องน้ำกลางดึก
ประเมินคุณภาพการนอนหลับด้วยแบบประเมิน PSQI เพื่อวางแผนให้การดูแลที่เหมาะสม
แนะนำให้ผู้สูงอายุงดดื่มสุรา เบียร์ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดเพราะแอลกอฮอล์อาจจะทำให้ง่วงและหลับได้ง่าย แต่ทำให้ตื่นกลางดึกแล้วนอนไม่หลับ และงดสูบบุหรี่เนื่องจากสารนิโคตินที่ได้จากการสูบบุหรี่จะไปออกฤทธิ์ในการกระตุ้นสมอง ทำให้นอนไม่หลับหรือนอนหลับยาก
รับฟังปัญหาของผู้สูงอายุเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกและซักถามปัญหา
แนะนำเทคนิคที่ช่วยส่งเสริมการนอนหลับ เช่น การทำสมาธิอาจทำในท่านอนไปเลยก็ได้ซึ่งไม่ได้จำกัดท่าทางว่าจะต้องนอนแบบไหนแค่อยู่ในอริยาบถของการนอนที่สบายที่สุด พร้อมตั้งจิตให้มั่น สงบ กำหนดลมหายใจไปเรื่อยๆ แบบนี้จนกระทั่งนอนหลับ ร่างกายจะได้พักผ่อนเต็มที่ เลือดลมหมุนเวียนได้สะดวก ไม่ฟุ้งซ่าน จิตก็จะนิ่งไม่ฝันพร่ำเพรื่อ ไม่หลับๆ ตื่นๆ ไม่กังวล ตื่นเช้ามาก็สดใส ไม่ง่วง การจินตภาพสมาธิวิธีนี้ทำให้เกิดการผ่อนคลายโดยการสร้างความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ เช่น การจินตนาการถึงภาพธรรมชาติที่สวยงามทุ่งหญ้า การคิดภาพให้ตนเองอยู่ท่ามกลางอากาศเย็นสบาย มีสายลมเอื่อยๆ พัดผ่านพร้อมกับกลิ่นใบหญ้า และเสียงน้ำในลำธารไหลริน อาจใช้เสียงเพลงเบาๆ คลอไปด้วยขณะใช้จินตภาพ หลับตา ทำสมาธิและปล่อยวางความรู้สึกทั้งหมด ให้สมองเกิดการผ่อนคลาย ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น การฝึกหายใจโดยหายเข้าลึกๆ เป็นเวลา 4 วินาที และหายใจออกเป็นเวลา 6 วินาที การหายใจออกด้วยเวลาที่นานกว่าหายใจเข้านี้จะช่วยกระตุ้นร่างกายให้ตอบตอบสนองต่อการพักผ่อนร่างกายผ่อนคลายช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น ดนตรีผ่อนคลายก่อนนอน เหตุผลที่ทำให้ดนตรีส่งผลให้การนอนหลับดีขึ้นได้เป็นเพราะว่าเสียงดนตรีช่วยให้เราผ่อนคลาย ประโยชน์ที่ได้จากการฟังเพลง เช่น ทำให้เราหายใจช้าลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดความเครียดและความกังวล รวมถึงยังกระตุ้นฮอร์โมนเซโรโทนินที่มีผลให้นอนหลับได้ดี และยังช่วยลดฮอร์โมนคอร์ติซอลที่ทำให้เรานอนไม่หลับได้ด้วย ใช้กลิ่นหอมช่วยสร้างบรรยากาศการนอนหลับ จะช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลายหลับสบายยิ่งขึ้น ตัวอย่างกลิ่นที่แนะนำ เช่น กระดังงา มะลิ พุดซ้อน พิกุล จำปี มะกรูด เป็นต้น การจัดท่านอนให้เหมาะสมกับสรีระขณะนอนหลับ ท่านอนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะส่งผลให้ผู้นอนหลับสนิทตลอดคืนและตื่นนอนด้วยความสดชื่นไม่รู้สึกปวดเมื่อย เช่น ท่านอนตะแคงขวาเป็นที่ทำให้หลับสบาย ท่านอนตะแคงซ้ายจะช่วยลดอาการปวดหลังได้ แต่ควรกอดหมอนข้างและพาดขาไว้เพื่อป้องกันอาการขาชาที่ขาซ้ายจากการนอนทับเป็นเวลานาน
แนะนำการออกกำลังกายตอนเช้า ลดการออกกำลังกายในช่วงก่อนนอน 2-3 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เกิดการตื่นตัวของร่างกาย
ตั้งเป้าหมายร่วมกันในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพฤติกรรม
ประเมินผล
ส่งต่อข้อมูลให้ศูนย์ฯบ้านบางละมุง
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การเปลี่ยนแปลงจากกระบวนการสูงอายุ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งช่วงเวลา ปริมาณและคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุ ได้แก่ นอนหลับในช่วงหัวค่ำและตื่นเร็วในตอนเช้าตรู่ (advanced circadian rhythm หรือ phase advancement) หลับยาก เมื่อเข้านอนต้องใช้ระยะเวลานอนจนหลับนานขึ้น(เวลาที่ใช้ในการเข้าสู่การนอนหลับนานขึ้น) มีสลับการเข้าสู่และออกจากระยะหลับตื้นบ่อยขึ้นทำให้ระยะเวลาในช่วงหลับตื้นเพิ่มขึ้น ตื่นในช่วงเวลาการนอนหลับบ่อยขึ้น สัดส่วนของระยะ NREM 3 (ระยะที่ร่างกายผ่อนคลายที่สุด มีการสร้างซ่อมแชมและสำรองพลังงานร่างกายมากที่สุด) ลดลง สัดส่วนของการเกิดและความกว้างของ SWS (slow wave sleep) ลดลง เริ่มเข้าสู่นอนหลับระยะ REM เร็วขึ้น สัดส่วน REMต่อการนอนหลับทั้งหมดลดลง ระยะเวลาของ REM แต่ละครั้งสั้นลงและตื้นขึ้น โดยจำนวนครั้งอาจลดลง หรือไม่เปลี่ยนแปลง ประสิทธิภาพการนอนหลับ(สัดส่วนของเวลาที่นอนหลับต่อเวลาระหว่างอยู่บนเตียงนอน) ลดลง ระยะเวลาในการนอนหลับตอนกลางคืนลดลง มีความรู้สึกง่วงนอนในเวลากลางวัน
แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
แบบประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุในโรงพยาบาล
3 คะแนน แปลผลได้ว่า ไม่มีภาวะเสี่ยงต่อการหกล้ม
แบบประเมินความเสี่ยงของแผลกดทับ
23 คะแนน แปลผลได้ว่าไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ
แบบประเมินBarthel ADL index
20 คะแนน แปลผลได้ว่าผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพาเล็กน้อย
ผลการตรวจร่างกายและซักประวัติระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
เคลื่อนไหวโดยใช้ไม่เท้า หลังมีลักษณะโก่งและค่อมลงปานกลาง แขนและขาสามารถต้านแรงผู้ตรวจได้ ไม่พบกล้ามเนื้อลีบ มีแผลบริเวณคางด้านขวาเข้ารับการทำแผลที่ฟาสบิ้นต์
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในศูนย์บ้านบางละมุง
มีลานกิจกรรมออกกำลังกายและเครื่องออกกำลังกาย มีห้องอบสปาและสระน้ำสำหรับธารบำบัด มีห้องนั่งสมาธิและฟังธรรมมะ
ผลการตรวจร่างกายและซักประวัติระบบหัวใจและหลอดเลือด
ไม่พบหลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง ทรวงอกไม่มีการยกตัวจากแรงกระแทกของหัวใจ คลำ PMI ได้ที่ตำแหน่ง Intercostal space ที่ 5 ตัดกับ midclavicular line ขนาด 2 FB ไม่พบเสียง Murmur
พฤติกรรมการออกกำลังกาย
ไม่ได้ออกกำลังกายแอโรบิค เพราะคิดว่าไม่เกิดประโยชน์กับตนเอง เลือกที่จะเดินไปเดินมาในช่วงเช้าแทน มีอาการปวดกระดูสะโพกที่เคยหกล้มเมื่อ 1 ปีก่อน ทำให้ออกกำลังกายไม่สะดวก
พฤติกรรมด้านการออกกำลังกายไม่เหมาะสมเนื่องจากขาดความสนใจและมีอาการปวดกระดูกสะโพก
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ผู้สูงอายุมีความเสื่อมถอยของสภาพร่างกายตามวัยที่เพิ่มขึ้น เกิดความเปราะบางจากการมีพลังงานสำรองของร่างกายลดลง และในผู้สูงอายุรายนี้ขาดความสนใจ เนื่องจากคิดว่าเป็นกิจกรรมที่ไม่มีประโยชน์ และมีปัญหาเรื่องความปวดบริเวณกระดูกสะโพก ทำให้เคลื่อนไหวได้น้อยลง มีลักษณะหลังโก่งและค่อม ปัจจุบันใช้ไม้เท้าในการเดินทำให้ไม่คล่องตัว ซึ่งความปวดเกิดจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อนำไปสู่การกระตุ้นเซลล์ประสาทรับความรู้สึก nociceptor และเกิดภาวะการตอบสนองที่ไวเพิ่มขึ้น sensitization ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกปวด ไม่อยากจะทำกิจกรรมเพิ่มเติม
เกณฑ์การประเมินผล
อาการปวดลดลง
สีหน้าสดชื่น ไม่มีหน้านิ่วคิ้วขมวด
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้มากขึ้น เช่น การออกกำลังกาย
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ปฏิบัติกิจกรรมการออกกำลังกายเหมาะสมกับตนเอง
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความสามารถในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ เพื่อจัดหากิจกรรมที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ
อธิบายประโยชน์ของการออกกำลังกายทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เพื่อเสริมแรงจูงใจให้แก่ผู้สูงอายุ
แนะนำประเภทของการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่เปราะบางมีหลากหลาย เพื่อให้ผู้สูงอายุเลือกให้เหมาะกับภาวะสุขภาพ สภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการออกกำลังกาย และกิจกรรมที่มีราวรับหรือเก้าอี้นั่งใกล้ๆเพื่อส่งเสริมความมั่นใจในการเริ่มต้นการออกกำลังกาย เช่น การเดินแกว่งแขน จะช่วยให้มีดัชนีมวลกายและมวลไขมันลดลง มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวไหล่และแขนเพิ่มขึ้น ท่ากายบริหาร เพื่อฝึกให้ร่างกายมีความแข็งแรง อดทน มีการทรงตัวที่ดี มีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น การรำมวยจีน ฝึกความอดทนของร่างกายความยืดหยุ่น การทรงตัวที่ดีร่วมกับฝึกการหายใจและสมาธิ การรำไม้พลอง เป็นการยืดเหยียดของกล้ามเนื้อแขน ลำตัว หลัง และ ต้นขา ช่วยลดอาการปวดหลังและกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ลดอาการข้อติด
ประเมินความปวดของผู้สูงอายุเพื่อให้การพยาบาล
แนะนำวิธีการบรรเทาอาการปวดโดยไม่ใช้ยา เช่น การนวดคลึงเบา ๆ ช่วยยับยั้งการส่งกระแสประสาทของความปวด ทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ รู้สึกผ่อนคลาย และช่วยให้หลับสบาย ใช้การฝึกการหายใจลึกๆ ยาวๆ หรือทำสมาธิช่วยให้จิตใจสงบ เบี่ยงเบนความสนใจจากความปวด เช่น การฟังดนตรี ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ เป็นต้น การใช้หมอนประคองบริเวณที่ปวด การเปลี่ยนท่าที่ถูกต้อง เช่น ใช้วิธีการตะแคงตัว ในการเปลี่ยนท่าจากนอนเป็นนั่ง หรือจากนั่งเป็นนอน ลดการเกร็งกล้ามเนื้อ
ตั้งเป้าหมายร่วมกันในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพฤติกรรม
ประเมินผล
ส่งต่อข้อมูลให้ศูนย์ฯบ้านบางละมุง
ผลการตรวจร่างกายและซักประวัติระบบทางเดินหายใจ
ไม่พบ Barrel chest วัด anteroposterior diameter: Lateral diameter 1 : 2 การหายใจสม่ำเสมอ อัตราการหายใจ = 18-20 ครั้ง/นาที การขยายตัวและการสั่นสะเทือนของปอดเท่ากันทั้งสองข้าง
ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเองได้ตามปกติ
ลักษณะของศูนย์ฯบ้านบางละมุง
จำนวนผู้สูงอายุ
200 กว่าคน
จำนวนเรือนนอน
7-8 เรือนนอน
สถานบริการสุขภาพ
ฟาสต์บิ้นต์และโรงพยาบาลบางละมุง
ข้อมูลผู้ดูแล
คนที่ 1 นางสาวปนัดดา โคตะมา ดูแลเรื่องอาหาร ความสะอาดในบ้าน และให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุเมื่อต้องการความช่วยเหลือ
คนที่ 2 นางสาวก. เป็นลูกสาวที่ส่งเงินเลี้ยงดูให้ผู้สูงอายุเดือนละ 5,000 บาท
นางสาวพรนภา โสลา รหัสนิสิต 61010211 กลุ่มฝึก 01-4