Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 53 ปี, p73d4z, 263d58de07, 1121713-img.tg79ae.1158k,…
ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 53 ปี
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบเนื่องจากรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา เคยตรวจรักษาที่โรงพยาบาลและได้ยารับประทาน แต่ยังมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ บางครั้งซื้อยาลดกรดมารับประทานเอง
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน:
ผู้ป่วยปวดบั้นเอวขวาประมาณ 3 เดือน ระยะแรกปัสสาวะปกติดี ต่อมาประมาณสองเดือนอาการปวดมากขึ้น ปัสสาวะเริ่มมีเลือดปน จึงมาตรวจที่โรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นนิ่วในไต ให้ยาแก้ปวดไปรับประทานและแนะนำดื่มน้ำมาก ๆ แล้วนัดมาผ่าตัด
การวินิจฉัยโรค
renal stone
ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการ
WBC count
สูง 11,600cell/cu.mm
Lymphocyte
ต่ำ 24.3 %
PH
ต่ำ 4.9
RBC/HPF
3-5 cell/HPF
WBC/HPF
3-5 cell/HPF
การผ่าตัดที่ได้รับ
Percutaneous nephrostomy
การใส่สายระบายน้ำปัสสาวะออกจากกรวยไตผ่านทางผิวหนัง
เป็นหัตถการที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะอุดตันของทางเดินปัสสาวะ จุดประสงค์เพื่อให้มีการระบายน้ำปัสสาวะออกชั่วคราว โดยการสอดสายระบายน้ำปัสสาวะผ่านทางผิวหนังเข้าไปที่กรวยไต
พยาธิสภาพ
ก้อนนิ่วเล็กๆ ที่เกิดขึ้นในไตอาจหลุดผ่านท่อไตและท่อปัสสาวะออกมาได้ โดยไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไตแต่อย่างใด แต่ถ้าก้อนนิ่วทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะตรงส่วนใดส่วนหนึ่ง อวัยวะส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปจะมีการขยายตัว และมีการขังของนํ้าปัสสาวะทำให้เกิดการอักเสบ และมีการติดเชื้อร่วมด้วยเสมอ การอุดกั้นอาจอุดในกรวยไตน้อย และเกิดภาวะกรวยไตน้อยบวมน้ำ หรืออาจอุดตรงรอยต่อระหว่างกรวยไตกับท่อไตเกิดภาวะกรวยไตบวมนํ้า หรือไตบวมนํ้าได้นอกจากนี้การที่มีนิ่วอุดกั้นทำให้เกิดมีการติดเชื้อ เกิดอาการอักเสบ เป็นแผล และมีเลือดออกปนมากับปัสสาวะ ก้อนนิ่วที่โตขึ้นเรื่อยๆ จะเบียดเนื้อไตทีละน้อยจนเนื้อไตบางเหมือนแผ่นกระดาษจนไม่มีเซลล์เนื้อไตที่จะทำงานกลั่นกรอง และขับปัสสาวะได้
ยาที่ได้รับ
ceftriaxone 1 gm IV. q 8 hrs
ผลข้างเคียง
ท้องเสีย เวียนหัว คลื่นไส้ แสบร้อนทรวงอก นอนไม่หลับ
การพยาบาล
ดูแลให้ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนเพื่อลดอาการอ่อนเพลีย
ภายหลังการให้ยาควรประเมินสัญญาณชีพเป็นระยะเพื่อติดตาม
ความผิดปกติจากยา เช่น มีไข้ หนาวสั่น เป็นต้น
กระตุ้นให้จิบน้ำป็นระยะเพื่อป้องกันอาการระคายเคืองลำคอ
ขณะทำการให้ยาควรฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำช้าๆเพื่อป้องกันการ
อักเสบของเส้นเลือดที่ทำการฉีด
กลไกการออกฤทธิ์
อ เซฟไตรอะโซนเป็นยาปฏิชีวนะกลุ่ม cephalosporin ตัวยามีฤทธิ์เข้าจับกับ penicillin-binding protein (PBPs) ที่จะยับยั้ง กระบวนการทรานส์เปปทิเดชันในขั้นตอนสุดท้ายของการสังเคราะห์เปปทิโดไกลแคนของผนังเซลล์ ของแบคทีเรีย เป็นผลให้ยับยั้งสารชีวสังเคราะห์ของผนังเซลล์แบคทีเรียและหยุดการประกอบ โครงสร้างของผนังเซลล์ เซฟไตรอะโซน(Ceftriaxone) มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อที่กว้าง ในแบคทีเรียที่ มีเอนไซม์บีต้า เลคแตมเมสเพื่อทาลายยา พบว่าเซฟไตรอะโซนมีความคงตัวมากที่สุด
morphine 3 mg. IV for pain q 4 hr.
ผลข้างเคียง
คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องผูก ปัสสาวะคั่ง ง่วงซึม วิงเวียน ตาพร่า หัวใจเต้นช้า ความดันโลหิตต่า เหงื่อออก คัน
Overdose จะง่วงซึม หายใจช้า และม่านตาหดเล็กเท่ารูเข็ม
ถ้าจะให้ยา Morphine กินเป็นระยะเวลานาน ควรให้ยาระบายร่วมด้วยเพื่อป้องกันอาการท้องผูก
การพยาบาล
ถ้า HR < 60 ครั้ง/นาที, RR < 10 ครั้ง/นาทีรายงานแพทย์ ติดตาม Pain score และ Sedation score
IV push: ทุก 5 นาทีรวม 4 ครั้ง จากนั้นทุก 30 นาทีรวม2 ครั้ง การติดตามหลังจาก นี้ขึ้นกับภาวะของผู้ป่วยและคำสั่งแพทย์
SC or IM: ทุก 15 นาทีรวม 4 ครั้ง จากนั้น ทุก 30 นาที รวม 2 ครั้ง
BP ลดลง > 20% ของค่าปกติ(90/60 mmHg) รายงานแพทย์
Triad signs ตัวเขียว เย็น หลับลึก coma หายใจช้า รูม่านตาหดเล็กเท่าปลายเข็ม รายงานแพทย์
กลไกการออกฤทธิ์
การออกฤทธิ์ที่ระดับเหนือไขสันหลัง
มอร์ฟีนจับกับตัวรับโอปิออยด์บริเวณสมอง ส่งผลยับยั้งการรับรู้และตอบสนองต่อความเจ็บปวดบริเวณ สมองส่วนกลาง
การออกฤทธิ์ที่ระดับไขสันหลัง
เมื่อมอร์ฟีนจับกับตัวรับบริเวณ presynaptic จะยับยั้งให้ voltage gated calcium channel ลดการหลั่ง Ca++ ส่งผลลดการหลั่งสารสื่อประสาทลง นอกจากนี้บริเวณ postsynaptic มอร์ฟีนมีผลกระตุ้น potassium channel ทำให้บริเวณ postsynaptic เกิดภาวะ hyperpolarization ส่งผลให้การส่งสัญญานความปวดไปยังสมองลดลง
Paracetamol 1tab oral prn. for pain or fever q 4-6 hrs
กลไกการออกฤทธิ์ : ยับยั้ง กระบวนการสร้าง prostaglandin ในระบบประสาท ส่วนกลาง เพื่อกั้นระดับความปวด
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่สำคัญ
ของยาพาราเซตามอล คือ เป็นพิษต่อตับ ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานหรือใช้มากเกินขนาด
ผลข้างเคียงทั่วไป
คือ ปวดศีรษะ ปวดหรือไม่สบายท้อง คลื่นไส้ อาเจียนส่วนผลข้างเคียงที่พบได้น้อย (ต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที) คือ อาการแพ้ เช่น ผื่นคัน ผื่นลมพิษ บวมตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ใบหน้า ตา ริมฝีปาก คอ มือ แขน น่อง ขา ข้อเท้า หายใจหรือกลืนลำบาก มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ มีไข้ เจ็บคอ เสียงแหบ ปัสสาวะลำบากหรือมีปริมาณเปลี่ยนแปลง มีเลือดออกหรือมีรอยช้ำอย่างผิดปกติ อ่อนเพลียผิดปกติ ตัวเหลืองตาเหลือง
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพทกุ 4 ชั่วโมง ติดตามอาการหากผู้ป่วยมีไข้ รายงานแพทย์หากพบอาการผิดปกติอย่างอื่น เช่น เลือดออกผิดปกติ
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลร่วมกับยาเพราะแอลกอฮอล์จะเสริมฤทธิ์ ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อตับ
หากจำเป็นต้องรับประทานยานี้อย่างต่อเนื่องแล้วเกิดอาการเหล่านี้ ต้องหยุดใช้ยาแล้วรีบไปพบแพทย์ทันที เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องอืด ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้มขึ้น
หากรับประทานยาแล้วเกิดอาการเหล่านี้
ต้องหยุดใช้ยาแล้วรีบไปพบแพทย์ทันที เช่น เป็นลมพิษ มีอาการบวมที่ใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก, หน้ามืด เป็นลม แน่นหน้าอก หายใจลำบาก, มีผื่นแดง ตุ่มพอง ผิวหนังหลุดลอก, มีจ้ำตามผิวหนัง เลือดออกผิดปกติ เหนื่อยง่าย เป็นหวัดได้ง่าย
เมื่อรับประทานยาพาราเซตามอลแล้วมีไข้สูง (อุณหภูมิสูงกว่า 39.5 องศาเซลเซียส) หรือเมื่อมีไข้ต่อเนื่องนานกว่า 3 วัน หรือเมื่อมีไข้เป็น ๆ หาย ๆ หรืออาการปวดยังไม่ดีขึ้นภายใน 10 วันในผู้ใหญ่ หรือ 5 วันในเด็ก ให้รีบไปพบแพทย์