Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection) - Coggle Diagram
ภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection)
อาการแสดง
อาการของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
ปัสสาวะแสบขัด และ เจ็บเสียวเมื่อใกล้สุด
ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปัสสาวะออกมาน้อย
ปัสสาวะอาจมีกลิ่น
ปัสสาวะขุ่น อาจมีเลือดปน
อาการของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน
ปัสสาวะแสบขัด กระปริบกระปรอย
มีไข้สูง หนาวสั่น
เบื่ออาหาร
ปวดบั้นเอวข้างใดข้างหนึ่ง หรือสองข้าง
ถ้าอาการรุนแรง อาจมีความดันโลหิตต่ำ และ หมดสติได้
กลไลการเกิดโรค
แบคทีเรีย ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะมักจะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะ อย่างไรก็ตาม การติดเชื้ออาจแพร่ผ่านทางทางกระแสเลือดหรือ น้ำเหลือง ก็ได้ เป็นที่เชื่อกันว่าปกติแล้วแบคทีเรียจะเข้าสู่ท่อปัสสาวะผ่านทางลำไส้ ซึ่งในกรณีนี้ผู้หญิงจะมีอัตราความเสี่ยงสูงกว่าเนื่องจากลักษณะทางสรีระ หลังจากที่แบคทีเรียเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะแล้ว แบคทีเรีย E. Coli จะยึดติดกับผนังกระเพาะปัสสาวะและสร้าง แผ่นชีวะ ที่ต้านทานการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
สาเหตุของโรค
การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) อย่างโรคหนองในหรือเริม มีโอกาสทำให้เชื้อแบคทีเรียหลุดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย ทำให้เกิดอาการอักเสบที่เรียกว่า กระเพาะปัสสาวะอักเสบจากฮันนีมูน (Honeymoon Cystitis)
สาเหตุส่วนใหญ่ของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ มาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย จากลำไส้ หรือ ผิวหนังของอวัยวะเพศเข้าไปอยู่ในทางเดินปัสสาวะ และ แพร่เข้าไปอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ หรือไต
เมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของไตลดลง ทำให้ความสามารถในทำให้ปัสสาวะเป็นกรด ทำให้ปัสสาวะเข้มข้น และขับสารยูเรียได้ลดลง ทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น นอกจากนั้นการที่มีน้ำตาลในปัสสาวะ ซึ่งพบได้มากขึ้นในผู้สูงอายุ เนื่องจากมีโรคเบาหวานมากขึ้น ยังเป็นสารเพาะเชื้อที่ดีอีกด้วย
การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
การขาดฮอร์โมนชนิดนี้ทำให้แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของทางเดินปัสสาวะอักเสบเติบโตได้ง่ายในช่องคลอดหรือท่อปัสสาวะ โดยเฉพาะผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน
ภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในผู้ป่วยบางรายอาจเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง หากไม่ได้รับการรักษา เชื้อโรคอาจลุกลามขึ้นไปที่ไต ทำให้เป็นกรวยไตอักเสบ และหากปล่อยให้เป็นเรื้อรังก็อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังแทรกซ้อนได้ ส่วนในผู้ชาย เชื้ออาจลุกลามทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบ
ท่อปัสสาวะอักเสบ มีอาการแทรกซ้อนที่สำคัญ เช่น ต่อมลูกหมากอักเสบ เป็นฝีรอบ ๆ บริเวณท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากการมีเชื้อโรคลุกลามขึ้นไปถึง
กรวยไตอักเสบ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เชื้ออาจลุกลามเข้ากระแสเลือด กลายเป็นภาวะโลหิตเป็นพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้ ในบางรายอาจกลายเป็นโรคกรวยไตอักเสบเรื้อรัง มีการอักเสบโดยไม่ปรากฏอาการ ซึ่งหากปล่อยไว้นานอาจกลายเป็นไตวายได้
แต่ในรายที่ขาดการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบสามารถนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ มีดังนี้
มีการติดเชื้อซ้ำ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีการติดเชื้อมาแล้วอย่างน้อย 3 ครั้ง หรือมากกว่านั้น
เกิดความเสียหายที่ไตอย่างถาวร จากการติดเชื้อในไตทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง (กรวยไตอักเสบ)
เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อที่อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะหากการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะลามมาถึงไต
เกิดการตีบแคบที่ท่อปัสสาวะ โดยจะเกิดในผู้ชายที่มีการเกิดซ้ำของท่อปัสสาวะ อักเสบ
การป้องกันภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ดื่มน้ำมาก ๆ 6-8 แก้วต่อวัน เพื่อช่วยขับแบคทีเรียหรือเชื้อโรคที่อยู่ในร่างกายออกมาได้
หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ หรือแอลกอฮอล์
ไม่ควรอั้นปัสสาวะนาน ๆ เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะควรปัสสาวะในทันทีและปัสสาวะให้สุด
ควรปัสสาวะทั้งก่อนและหลังการมีเพศสัมพันธ์เพื่อให้แบคทีเรียถูกขับออกจากร่างกาย หรือหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หากกำลังรักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
ทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดให้ถูกวิธี ด้วยการเช็ดจากทางด้านหน้าไปด้านหลัง
หากมีเพศสัมพันธ์ ควรใข้ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นในกรณีที่ฝ่ายหญิงมีภาวะช่องคลอดแห้ง เพื่อป้องกันการฉีกขาด หรือหากเป็นแผล จะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
สำหรับผู้ชายที่ไม่ได้ขลิบหนังหุ้มปลายของอวัยวะเพศชายออก ให้หมั่นทำความสะอาดอย่างถูกต้องเป็นประจำ
ควรใส่ชุดชั้นในที่สะอาดและทำจากเนื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้น เช่น ผ้าฝ้าย ไม่ใส่กางเกงที่รัดรูปเกินไปหรือระบายอากาศยาก เช่น กางเกงยีนส์
สำหรับผู้ที่มีแนวโน้มจะกลับมาเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบซ้ำ ควรหลีกเลี่ยงการใช้การคุมกำเนิดแบบหมวกยางกั้นช่องคลอด เพราะเป็นที่สะสมของแบคทีเรีย ควรมองหาการคุมกำเนิดวิธีอื่น ๆ
ผู้หญิงไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอมบริเวณอวัยวะเพศหรือช่องคลอด เช่น สบู่ น้ำหอม หรือแป้ง ที่อาจมีสารที่ทำให้เกิดการระคายเคือง
ไม่ควรแช่น้ำในอ่างอาบน้ำนานเกิน 30 นาที
การรักษา
วิธีการรักษาหลักคือการใช้ ยาปฏิชีวนะ บางครั้งอาจมีการจ่ายยา Phenazopyridine ควบคู่ไปกับยาปฏิชีวนะในช่วงสองสามวันแรก เพื่อช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนและความจำเป็นที่จะต้องปัสสาวะทันที ระหว่างที่ติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะอย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้จ่ายยาในลักษณะดังกล่าวเป็นประจำ เนื่องจากข้อกังวลด้านความปลอดภัยในการใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของความเสี่ยงที่สูงขึ้นที่จะเป็นโรค methemoglobinemia(ระดับ methemoglobinในเลือดสูงเกินปกติ)หากมีไข้ สามารถใช้ Acetaminophen (พาราเซตามอล) ได้
ท
การวินิจฉัยโรค
สามารถวินิจฉัยโรคและให้การรักษา โดยอิงจากอาการที่พบเท่านั้นและไม่ต้องรอการยืนยันเพิ่มเติมจากห้องวิจัยได้ ในกรณีที่ซับซ้อนหรือน่าสงสัย การรอคำยืนยันการวินิจฉัยโรคด้วย การวิเคราะห์ค่าปัสสาวะ จาก ไนไตรทในปัสสาวะ เม็ดเลือดขาว (leukocytes) หรือ leukocyte esteraseน่าจะมีประโยชน์กว่า การทดสอบอีกวิธีหนึ่งซึ่งก็คือ การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะด้วยกล้องจุลทรรศน์ เป็นการตรวจหา เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว หรือแบคทีเรียที่ปรากฏ การเพาะเชื้อ ปัสสาวะจะถือว่าเป็นผลบวกหากนับกลุ่มแบคทีเรียที่ขยายตัวได้มากกว่าหรือเท่ากับ 103 หน่วยที่ขยายตัวได้ ต่อหนึ่ง mL ของระบบทางเดินปัสสาวะทั่วไป
สาเหตุของโรค
เมื่อผู้หญิงหมดประจำเดือนแล้ว จะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้มีเชื้อแลคโตบาซิลไล ( lactobacilli) ในช่องคลอดน้อย ทำให้ค่าความเป็นกรดด่าง (พีเอช ) ในช่องคลอดสูงขึ้น ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค ในผู้ชายสูงอายุ สารคัดหลั่งจากต่อมลูกหมากจะมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียน้อยลง