Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้คลอดที่ทำสูติศาสตร์หัตถการ - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้คลอดที่ทำสูติศาสตร์หัตถการ
การชักนำการคลอด
ความหมาย:
การทำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเจ็บครรภ์จริงตามธรรมชาติ เพื่อให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ หรือทารกมีน้ำหนักตั้งแต่ 1,000 กรัมขึ้นไป
ข้อบ่งชี้ในการชักนำการคลอด
1.ถุงน้ำแตกก่อนกำหนด ( premature rupture of membranes : PROM)
2.ตั้งครรภ์เกินกำหนด (post term pregnancy)
3.ทารกเจริญเติบโตช้ำในครรภ์ (intrauterine growth restriction : IUGR)
4.การติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ (chorioamnionitis)
5.ทารกเสียชีวิต
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการชักนำการคลอด
1.อายุครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นการชักนำการคลอดด้วยวิธีใดก็ตาม โอกาสสำเร็จจะสูงขึ้นเรื่อยๆตามอายุครรภ์ เพราะยิ่งใกล้ครบกำหนดคลอดมากเท่าไหร่ prostaglandin ในธรรมชาติก็ยิ่งมีมากขึ้น
2.จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์และการคลอด
3.รูปร่างผู้คลอด ผู้คลอดที่ผอมมีโอกาสจะคลอดบุตรสำเร็จช้า
4.น้ำหนักขอทารกในครรภ์ ถ้าน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัมมีโอกาสจะคลอดบุตรสำเร็จจากการชักนำการคลอดมากกว่า
5.ความพร้อมของปากมดลูก
วิธีการชักนำ
1.การชักนำการคลอดโดยใช้หัตถการ
(surgical methods or mechanical technique)
1.1การเลาะถุงน้ำคร่ำ (stripping of the membranes) หมายถึง การเซาะแยกถุงน้ำโคยการใช้นิ้วมือใส่เข้าไปในปากมดลูกจนอยู่เหนือ internal os จากนั้นทำการหมุนนิ้วเป็นวงไปรอบๆเพื่อทำให้ถุงน้ำและปากมดลูก
1.2 การเจาะถุงน้ำคร่ำ (anniotomy, artificial rupture of the membranes : ARM) หมายถึง การใช้เครื่องมือปราศจากเชื้อใส่เข้าไปในช่องคลอดขณะตรวจภายใน สอดเข้าไปในปากมคถูกอย่างน้อย 2 ซม. และเจาะถุงน้ำคร่ำให้แตกออก
1.3 การกระตุ้นหัวนม ด้วยการนวดคลึงหรือดูด จะกระตุ้นให้มีการหลั่งสาร oxytocin มากขึ้น
1.4 การใช้บอลลูนขยายปากมดลูก สามารถทำให้ปากมดลูกเปลี่ยนแปลงจนมีความพร้อมในการชักนำการคลอด
1.5 การใช้ Hygroscopic วิธีนี้เป็นอุปกรณ์ถ่างขยายปากมดลูกที่ทำจากสาหร่ายทะเล
2.การชักนำการคลอดโดยการใช้ยา
2.1 Prostaglandin E1 อยู่ในรูปยาสอดเข้าช่องคลอดและแบบเจล
2.2 Oxytocin ช่วยกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ความหมาย
การทำคลอดทารกโดยผ่านทางผนังหน้าท้อง(laparotomy) และผนังมดลูก (hysterotomy) โดยทารกต้องสามารถมีชีวิตรอดได้ หากเป็นการผ่าตัดนำทารกออกจากทางช่องท้องในรายที่มดลูกแตก
ข้อบ่งชี้
1.ข้อบ่งชี้การผ่าตัดคลอดโดยสมบูรณ์ (absolute indication) เป็นข้อบ่งชี้ที่ต้องทำการผ่าตัดอย่างแน่นอน หากปล่อยให้คลอดเอง อาจมีอันตรายต่อมารดาและทารก
ข้อบ่งชี้การผ่าตัดคลอดโดยอนุโลม (relative indication) เป็นข้อบ่งชี้ที่อาจจะผ่าตัดหรืออาจจะคลอดทางช่องคลอดก็ได้ แล้วแต่สภาวะของมารดาหรือทารก ว่าจะมีความเสี่ยงหรืออันตรายมากน้อยแค่
ไหนและอย่างไร
แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องแบบวางแผนถ่วงหน้า (elective
cesarean birth) เป็นการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
2.การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องแบบฉุกเฉิน (emergency cesarean birth) เป็นการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า
ภาวะแทรกซ้อน
1.ขณะผ่าตัด เกิดอันตรายต่ออวัยวะภายในช่องท้อง เช่น ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ เป็นต้น เกิดภาวะแทรกซ้อนจากยาระงับความรู้สึก เช่นสำลักอาหาร
2.หลังผ่าตัด ลำไส้อึดแน่น ( paralytic ileus) ติดเชื้อที่มดลูกหรือแผลผ่าตัดติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ ตกเลือดในช่องท้อง ในรายที่รุนแรงอาจเสียชีวิต
การช่วยคลอดท่าก้น
ความหมาย: การช่วยเหลือให้ทารกในครรภ์ ที่ทารกเอาก้น หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของขา ผ่านสู่ช่องเชิงกรานก่อนส่วนอื่น ๆ
ประเภท
1.Frank breech หรี่อ Extended breech ต้นขาของทารกจะพับแนบอยู่กับหน้าท้องส่วนขาจะเหยียดที่เข่าทั้งสองข้างของเท้าพาดไปบริเวณหน้าอก หรือหน้าท้องของทารกเอง
2.Complete breech หรือ Flexed brecch ทารกอยู่ในท่างอสะโพก และงอเข่าทั้งสองข้างบางทีเหมือนขัดสมาธิ แต่ส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะนั่งยอง
3.Incom plete breech หมายถึงท่าก้นที่มีส่วนของขายื่นต่ำกว่าระดับ Sacrum
3.1 Single footling เท้ายื่นออกมาเพียงข้างเดียว
3.2 Double footling เท้ายื่นออกมาทั้ง 2 ข้าง Knce presentation สะโพกเหยียดทั้งสองข้าง แต่กลับไปงอที่เขาเป็นส่วนลงมาก่อน อาจจะข้างเดียวหรือเข่าทั้ง 2 ข้างก็ได้
ภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารก
ภาวะแทรกซ้อนต่อมารดา : การฉีกขาดของหนทางคลอด มดลูกแตกจากการคลอดยาก คลอดติดขัด ตกเลือดหลังคลอด (postpartum hemorrhage) ติดเชื้อ
ภาวะแทรกซ้อนต่อทารก 1.กระดูหักและข้อเคลื่อนพบที่ข้อสะโพกและไหล่มากกว่าข้ออื่นๆ
2.เลือดออกในสมองจากการดึงที่รุนแรง
3.ขาดออกซิเจน (asphyxia)
4.อวัยวะภายในช่องท้อง
5.แขนและขาไหล่เป็นอัมพาต อันตรายต่อเส้นประสาท brachial