Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้คลอดที่ทำสูติศาสตร์หัตถการ (การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง) -…
การพยาบาลผู้คลอดที่ทำสูติศาสตร์หัตถการ
(การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง)
Cesarean section ทำคลอดทารกผ่านทางผนังหน้าท้อง (laparotomy) และผนังมดลูก (hysterotomy) โดยทารกต้องมีชีวิตรอด
ทำในรายที่รายที่มดลูกแตก หรือตั้งครรภ์ในช่องท้อง หรือทารกน้ำหนัก < 1,000 g.
ข้อบ่งชี้
ด้านมารดา
ภาวะรกเกาะต่ำ โดยเฉพาะ Placenta previa totalis
เคยผ่าตัดที่ผนังมดลูกมาก่อน
ตั้งครรภ์ภายหลังตกแต่งปากมดลูกหรือช่องคลอด
การคลอดติดขัด เช่น CPD การหดรัด ตัวของมดลูกรุนแรงไม่สม่ำเสมอหรือหดรัดตัวน้อยที่แก้ไขไม่ได้ผล และปากมดลูกยังเปิดไม่หมด
การติดเชื้อรุนแรงที่ปากมดลูก ช่องคลอด หรืออวัยวะสืบพันธุ์
ความผิดปกติของเชิงกราน หรือช่องทางคลอดแต่กําเนิด หรือจากอุบัติเหตุ
เป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลาม
มีเลือดออกระยะหลังของการตั้งครรภ์
โรคแทรกซ้อนทางสูติกรรม เช่น Severe pre-eclampsia ด้านทารก หรือโรคแทรกซ้อนทางอายุรกรรม เช่น โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง
มีประวัติ เช่น คลอดยาก ทารกตายตอนคลอด G1 อายุ35 ปีขึ้นไป
ด้านทารก
Fetal distress
สายสะดือพลัดต่ำ
ครรภ์แฝดที่ทารกอยู่ในท่าศีรษะ
อยู่ในท่าผิดปกติไม่สามารถคลอดเองได้
ทารกท่าก้นในครรภ์แรก
ประเภท
การผ่าตัดโดยกําหนดล่วงหน้า
(Elective Cesarean Section)
ในรายที่มีข้อบ่งชี้ไดัเจน เช่น CPD , breech presentation แพทย์อาจกําหนดวันผ่าตัด 1-2 wks.ก่อนครบกําหนดคลอด
การตัดคลอดทางหน้าท้องแบบฉุกเฉิน (emergency cesarean birth)
ภาวะแทรกซ้อน
ต่อมารดา
ขณะทำ
เกิดอันตรายต่ออวัยวะภายในช่องท้อง เช่น ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้
เกิดภาวะแทรกซ้อนจากยาระงับความรู้สึก เช่น สำลักเศษอาหาร BP drop ตกเลือด (≥1,000 ml.) shock
หลังทำ
ลำไส้อืดแน่น (paralytic ileus) ติดเชื้อที่มดลูกหรือแผลผ่าตัด
ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
ตกเลือดในช่องท้อง ในรายที่รุนแรงอาจเสียชีวิต
การเกิดลิ่มเลือดผิดปกติ - tromboembolism disease
ต่อทารก
มีปัญหาในระบบทางเดินหายใจและพร่องO2
การผ่าตัดคลอดจะไม่มีแรงบีบอัดต่อทรวงอกทารกขณะผ่านหนทางคลอด ทำให้ของเหลวภายในปอดและทางเดินหายใจของทารกไม่ถูกบีบไล่ออกมา
ถูกมีดบาด กระดูกหัก ข้อเคลื่อน