Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้คลอดและทารกที่มีภาวะแทรกซ้อน (เกี่ยวกับรก) - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้คลอดและทารกที่มีภาวะแทรกซ้อน
(เกี่ยวกับรก)
ภาวะรกค้างและการล้วงรก
เยื่อหุ้มจากคลอดออกมาทีหลังทารกเกิด 5 ถึง 15 นาทีถ้าไม่คลอดภายหลังเกิด 30 นาทีเรียกว่ารกค้างลักษณะของรกค้าง
ลักษณะรกค้าง
1.รกลอกตัวไม่สมบูรณ์ลอกตัวจากผนังมดลูกเพียงบางส่วนจะมีเลือดออกรถที่ไม่ลอกตัวจะทำให้การหดรัดตัวและการคลายตัวไม่ดีมีเลือดจนกว่ารกลอกตัวหมดคลอดออกมา
2 รกลอกตัวสมบูรณ์แต่คลอดไม่ได้ constriction ring ปากมดลูกแข็งเกร็ง
3.รกติดแน่นจากการฝังตัวลึกกว่าปกติ
3.1 Placenta accreta villi จะฝังตัวลงไปในชั้นเยื่อบุมดลูก
3.2 Placenta increta villi จะฝังตัวลงไปในชั้นกล้ามเนื้อมดลูก
3.3 Placenta percreta villi ฝังตัวลงไปในชั้นกล้ามเนื้อมดลูกจนทะลุผนังมดลูก
สาเหตุ
1.ทำการคลอดรกไม่ถูก
2.มดลูกหดรัดตัวไม่ดี
3.รกมีความผิดปกติเช่นมีรกน้อยรกมีขนาดใหญ่และแบน
4.สายสะดือขาดเนื่องจากการทำคลอดรกผิดวิธี
การวินิจฉัย
1.การซักประวัติ การขูดมดลูก รกค้างในครรภ์ก่อน
2.การตรวจร่างกายได้แก่การตรวจการหดรัดตัวของมดลูกการตรวจสอบกระเพาะปัสสาวะระยะเวลาที่รอรกคลอดการตรวจรก
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการได้แก่การใช้อัลตร้าซาวด์ตรวจสอบมดลูกการตรวจเลือดดูภาวะซีด
การรักษา แพทย์จะล้วงรก
ผลกระทบ จะทำให้มารดาตกเลือด
ภาวะแทรกซ้อนจากการล้วงรก
ติดเชื้อ มดลูกทะลุ
ภาวะช็อคทางสูติศาสตร์ (shock)
ความหมาย ภาวะที่เนื้อเยื่อต่างๆทั่วร่างกายได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอทำให้เซลล์ต่างๆขาดออกซิเจนจนไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ
ชนิด
1.ภาวะช็อกจากปริมาณเลือดน้อยตั้งครรภ์นอกมดลูกรกเกาะต่ำ
2.ภาวะช็อกจากประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจลดลงจากทำงานล้มเหลวของหัวใจด้านซ้ายทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอไม่สามารถบีบตัวได้
3.ภาวะช็อคจากการเปลี่ยนแปลงความตึงตัวของหลอดเลือดขยายตัวของหลอดเลือดเพิ่มความจุของหลอดเลือดแรงต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายลดลง
อาการและอาการแสดง
1.ชีพจรเบาเร็วประมาณ 100-120 ครั้ง/นาที
2.ความดันโลหิตลดลง pulse pressure แคบเข้า
การวินิจฉัย
วินิจฉัยตามอาการและอาการแสดง
ผลกระทบ
ผลต่อมารดาและทารกผลต่อมารดาระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิตล้มเหลวระบบหายใจล้มเหลวไตวาย
ผลต่อทารก fetal distress
การรักษา
1.ภาวะช็อกจากการเสียเลือดและน้ำรักษาสมดุลของปริมาณการไหลเวียนของเลือดให้เพียงพอ
2.ภาวะช็อกจากประสิทธิภาพการบีบตัวของของหัวใจลดลงให้ออกซิเจนให้ยากระตุ้นการทำงานของหัวใจ
3.ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในเลือดควรให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม
4.ภาวะช็อคจากการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของหลอดเลือดในสมอง