Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder cancer), นางสาวจิตตินันท์ เสริฐกระโทก…
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
(Bladder cancer)
พยาธิสรีรวิทยา
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มากกว่าร้อยละ 90 เริ่มในชั้นเยื่อบุผิว ประมาณร้อยละ 80 เกิดขึ้นที่บริเวณฐานของ กระเพาะปัสสาวะ และลุกลามไปที่รูเปิดของท่อไต คอของกระเพาะปัสสาวะ รองลงมาพบที่บริเวณ trigone และผนงั ด้านหน้า ของกระเพาะปัสสาวะ อาจทําให้เกิดการอุดตันของระบบขับถ่ายปัสสาวะขึ้น น้ําปัสสาวะจะคั่งค้างเกิดเป็นแผล ถ่ายปัสสาวะ เป็นเลือด และมักจะมีการติดเชื้อร่วมด้วย เมื่อก่อนเนื้องอกโตมากขึ้น ความจุของกระเพาะปัสสาวะจะน้อยลง ทําให้ถ่าย ปัสสาวะบ่อย
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค
1. บุหรี่
เนื่องจากในควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็ง ซึ่งเมื่อถูกดูดซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือด และกรองที่ไตเป็นน้ําปัสสาวะ เมื่อไปยังกระเพาะปัสสาวะจะมีการกระตุ้นให้เซลล์มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
2. การสัมผัสกับสารเคมีต่อเนื่องเป็นเวลานาน
โดยเฉพาะผู้ที่ทํางานในโรงงานผลิตสีย้อมผ้า เม็ดพลาสติก เครื่องหนัง ยาง
3. การติดเชื้อและการระคายเคืองในกระเพาะปัสสาวะแบบเรื้อรัง
ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
นิ่วในกระเพาะ ปัสสาวะ
ผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะเป็นเวลานานๆ
ทําให้เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะเปลี่ยนไปเป็นเนื้องอกได้
พันธุกรรม
มีความผิดปกติทางพันธุกรรม
มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
อาการและอาการแสดง
ปัสสาวะเป็นเลือด ไม่มีอาการเจ็บปวด พบได้บ่อยที่สุด
ปวดเบ่งเวลาถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย แสบ ขัด หรือมีความรู้สึกว่าอยากถ่ายปัสสาวะ
ปวดกระดูก คลําพบต่อมน้ําเหลือง เท้าบวม อ่อนเพลีย ไม่อยากรับประทานอาหาร น้ําหนักลด
การวินิจฉัยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
1. การซักประวัติ และตรวจร่างกาย
2.การตรวจปัสสาวะ
เพื่อหาว่ามีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะมากผิดปกติหรือไม่และการตรวจเซลล์วิทยาของปัสสาวะ(urine cytology) อาจพบเซลล์มะเร็งปะปนอยู่
3. การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy)
คือ การส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะ เพื่อตรวจหาตําแหน่ง ขนาด จํานวนและรูปร่างของเนื้องอก และตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
4.การตรวจทางรังสีวิทยา
เพื่อหาความผิดปกติของอวัยวะในทางเดินปัสสาวะ อาจมีการตรวจเอกซ์เรย์กระดูกและปอด เพื่อดูการแพร่กระจายของมะเร็ง
การรักษา
1.ในระยะที่ก้อนเนื้องอกยังไม่ลุกลาม ถึงชั้นกล้ามเนื้อ (superficial disease) การสอดเครื่องมือเล็กๆ เข้าไปทางท่อปัสสาวะ ปล่อยกระแสไฟฟาจี้ ที่ก้อนมะเร็ง ทําลายก้อนมะเร็งให้หมดไป
2.ใช้วิธีตัดเอาก้อนเนื้องอกออก (Transurethral resection of bladder tumor ; TUR-BT)
แล้วเย็บผนังของกระเพาะปัสสาวะ
3
.
ใช้ยาเคมีบําบัด ใส่เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ แล้วกักเก็บไว้เป็นระยะเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วจึงถ่ายทิ้ง
4.ระยะที่ก้อนเนื้องอกลุกลามเข้าไปยังชั้นกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะแล้ว (invasive disease) อาจต้องตัดเอากระเพาะปัสสาวะออก (Cystectomy) แล้วเปลี่ยนทางเดินปัสสาวะใหม่ และตัดเอาบางส่วนของลําไส้มาดัดแปลงเป็นกระเพาะ
5.ระยะที่มะเร็งกระเพาะ ปัสสาวะลุกลามออกไปนอกผนังกระเพาะปัสสาวะหรืออวัยวะข้างเคียง (metastatic disease) การรักษาจะใช้วิธีฉายรังสี และ เคมีบําบัดร่วมกัน
ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
1. ภาวะแทรกซ้อนในระยะแรกหลังผ่าตัด (Early postoperative complications)
อาการหลังผ่าตัดที่พบได้ทั่วไป
เลือดออก ปวดแผล อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ติดเชื้อในระบบ
ทางเดินปัสสาวะและแผลผ่าตัด
ทางเดินปัสสาวะรั่ว (Urinary extravasation) จะแสดงอาการของภาวะเยื่อบุ
ช่องท้องอักเสบ (peritonitis)
ปวดท้อง หน้าท้องโป่งตึง การเคลื่อนไหวของลําไส้ลดลง มีไข้ มีปัสสาวะหรือสารเหลวซึม ออกจากแผลหรือรอบๆ ท่อระบาย
สโตมาและผิวหนังรอบๆ สโตมาผิดปกติ
ผิวหนังรอบสโตมาอักเสบ หรือเกิดแผลเปื่อยจากปัสสาวะที่มา สัมผัสบริเวณผิวหนัง สโตมาตีบแคบ บวม หรือมีสีดําคล้ำมีไส้เลื่อน หรือลําไส้ยื่นออกมามากผิดปกติ มีเลือดออกมากบริเวณสโตมา
ภาวะขาดน้ําและเกลือโซเดียม
อาการถ่ายเหลว และดื่มน้ํามากผิดปกติ
การดูดซึมไขมันผิดปกติ (Fat malabsorbtion) และภาวะซีด (pernicious anemia
ผู้ป่วยมีการดูดซึมไขมันและวิตามินที่ละลายในไขมัน (วิตามิน A,D,E,K) ผิดปกติ
ความผิดปกติของสมดุลกรด-ด่าง
จะมีการสูญเสยี ไบคาร์บอเนตจากร่างกาย และพบระดับคลอไรด์ในเลือดสูงขึ้น เกิดภาวะกรดชนิดที่มี คลอไรด์ในเลือดสูง (Hyperchloremic metabolic acidosis)
2.ภาวะแทรกซ้อนระยะยาว (Long-term complications) การติดเชื้อในระบบ ทางเดินปัสสาวะ (UTI)
กรวยไตอักเสบ (pyelonephritis) หรือกระเพาะปัสสาวะใหม่อักเสบ (pouchitis) อาการไข้หนาวสั่น ปวดท้อง ปัสสาวะมีเมือกปนจํานวนมาก ปัสสาวะเป็นเลือด เกิดนิ่วได้ ให้การทํางานของไต ผิดปกติ
การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
1.การสังเกตสีและลักษณะของน้ําปัสสาวะ
2. การรับประทานอาหารและน้ํา
3.การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะใหม่โดยวิธี Neobladder
4. การดูแลผู้ป่วยที่มีสโตมาเปิดทางหน้าท้อง ประเมินตําแหน่งและลักษณะของสโตมา
5. การดูแลผิวหนังรอบๆ สโตมา
เลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการรองรับน้ําปัสสาวะที่ออกจากสโตมา
ลอกถุงรองรับปัสสาวะเดิมออกทิ้งด้วยความนุ่มนวล เช็ดคราบกาวและทําความสะอาดผิวหนังส่วนนั้นด้วยน้ําอุ่น หรือน้ําสบู่อ่อนๆ อาจทําในขณะอาบน้ํา
ทาผิวหนังรอบๆสโตมาบริเวณที่แป้นจะติดครอบ ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปกป้องผิวหนัง
เมื่อพร้อมที่จะครอบถุงหรือแป้น เอาสําลีที่อุดสโตมาออก ลอกกระดาษที่ปิดกาวออก ครอบปากถุงและกดปาก ถุงให้แนบติดผิวหนัง ไม่มีรูรั่ว จัดให้ถุงอยู่ในลักษณะที่ก้นถุงห้อยลงมาด้านล่าง
ล้างถุงรองรับน้ําปัสสาวะเดิมเพื่อเตรียมไว้ใช้ในครั้งต่อไป ด้วยน้ําสบู่อุ่นๆ แล้วแช่ในน้ําส้มสายชูกลั่น จากนั้นล้าง ให้สะอาดอีกครั้งด้วยน้ําอุ่น และนําไปผึ่งตากให้แห้ง
6.ดูแลด้านจิตใจ
รับฟังปัญหาของผู้ป่วย
แนะนำให้ผู้ป่วยได้พบหรือพูดคุยกับผู้ป่วยรายอื่นที่มีสโตมาเหมือนกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ ระบายความรู้สึกกับครอบครัว เพื่อน และบุคคลรอบข้าง
7.การทํากิจกรรมและการออกกําลังกาย
ผู้ป่วยสามารถทําได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกําลังกายหรือกีฬาที่ หักโหม รุนแรง และไม่ควรยกของหนัก
8.การทํางาน หลังผ่าตัดประมาณ 1-2 เดือน ผู้ป่วยสามารถกลับไปทํางานได้ตามปกติ
9.การสวมใส่เสื้อผ้า
ผู้ป่วยสามารถสวมเสื้อผ้าได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงการกดทับบริเวณสโตมา เนื่องจากอาจจะ ให้สโตมาได้รับบาดเจ็บ และอาจเกิดการรั่วซึมของอุปกรณ์รองรับน้ําปัสสาวะได้
1
0.การสังเกตอาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์
**ผิวหนังรอบสโตมาอักเสบ
สโตมาตีบแคบ บวม หรือมีสีดําคล้ำ
**มีไส้เลื่อน หรือลําไส้ยื่นออกมามากผิดปกติ
มีเลือดออกมากบริเวณสโตมา แต่หากมีเลือดออกเล็กน้อย อาจเกิดจากการทําความสะอาดที่บ่อย หรือแรง
เกินไป
ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ สีผิดปกติ หรือขุ่น มีไข้ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อ
นางสาวจิตตินันท์ เสริฐกระโทก 62110068
นางสาวปภาวรินทร์ ประวงศ์อานุภาพ 62110083