Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Rheumatiod arthritis :silhouette:, IHL-Cn-Arthritis-n-Rheumatic (1),…
Rheumatiod arthritis
:silhouette:
พยาธิสภาพ
เกิดความไม่สมดุลระหว่างการทำงานของระบบอิมมูนและเซลล์ที่ก่อการอักเสบโดยเริ่มต้นจาก antigen กระตุ้น T-cell ในเยื่อบุข้อเกิดการแบ่งตัวขึ้น T-cell สร้าง Cytokines ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (Proinflammatory cytokines) และต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory cytokines)
T-cell กระตุ้นเซลล์ชนิดอื่น ๆ ที่อยู่ในเยื่อบุข้อเช่น fibroblast-like Synoviocyte, B-cels, dendritic cells และ monocyte ทาให้มีการสร้าง Cytokine มากขึ้นทำลายโครงสร้างของข้อมากขึ้น
สาเหตุ
:red_flag:
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะเกิดขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำลายตัวเองโดยจะทำลายเยื่อหุ้มข้อ (Synovium) เป็นผลทำให้เกิดการอักเสบและบวมขึ้นซึ่งอาจทำลายกระดูกอ่อนและกระดูกของข้อต่อรวมไปถึงเส้นเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อและกระดูกหรือเอ็นข้อต่อจะเปราะบางลงและยืดขยายออกจากนั้นข้อต่อก็จะค่อย ๆ ผิดรูปหรือบิดเบี้ยว
อาการและอาการแสดง
เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย ปวดบวมแดงร้อนและกดเจ็บบริเวณข้อที่ปวดโดยข้อที่เริ่มมีอาการอักเสบก่อน ได้แก่ ข้อนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อมือ ข้อเท้า ข้อเข่า ต่อมาจะเป็นที่ข้อไหล่ ข้อศอก
บางรายอาจปวดข้อตอนกลางคืนจนนอนไม่หลับ ถ้าข้ออักเสบเรื้อรังหลายปีข้ออาจจะแข็งผิดรูปและพิการได้
เกิดเนื้อตายบริเวณปลายนิ้วและเป็นแผลมีอาการชาRaynaud's phenomenon ตาขาวอักเสบ
อาการทางปอดมี diffuse interstitial fibrosis อาจมี nochule ในเนื้อปอดมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด
เริ่มจากมีไข่ไม่ทราบสาเหตุ ไข้สูงเป็นช่วง ๆ มีผื่นขึ้น เยื่อบุหัวใจอักเสบปอดอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโตม้ามโตและปวดท้อง
การวินิจฉัย
เอกซเรย์: เพื่อยืนยันความเสียหายของข้อต่อและติดตามการพัฒนาของโรค
การตรวจร่างกาย: เพื่อตรวจสอบอาการบวมและความร้อนในข้อต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและอื่น ๆ
การรักษา
:<3:
1.รักษาด้วยยาต่อต้านการอักเสบ เช่น แอสไพริน ยาต่อต้านการอักเสบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) กลูโคคอร์ติคอยด์ชนิดรับประทานและฉีดเข้าข้อ
2.การรักษาให้โรคสงบด้วย Gold salts, D-Penicillamine
ใช้ยากดอิมมูน เช่น Cyclophosphamide, azathioprine
การทำ plasmapheresis
5.การทำกายภาพบำบัดโดยใช้ความร้อนและอาบพาราฟิน
6.การผ่าตัดแก้ไขความพิการของข้อและช่วยให้ทำหน้าที่ได้ดีขึ้น
การพยาบาล
การออกกำลังกายเพื่อรักษาความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อเพิ่มความแข็งแรงช่วยให้เคลื่อนไหวข้อได้ดี
การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อควบคุมอาการเหนื่อยล้าและลดอาการอักเสบของข้อ
การใช้น้ำอุ่นช่วยลดอาการตึงข้อระยะเรื้อรัง
การใช้ความเย็นในระยะเจ็บปวดเฉียบพลันและระยะรุนแรง
การจัดท่านอนหลีกเลี่ยงการหนุนหมอนและการใช้หมอนรองใต้เข่า ซึ่งจะทำให้ข้องอผิดปกติ
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลกระตุ้นให้อาการก่าเริบคือผลิตภัณฑ์นมทุกชนิดทั้งจากนมวัวและนมแพะข้าวโพดเนื้อสัตว์ทุกชนิ
การใช้อุปกรณ์ช่วยในการดำเนินชีวิตประจำวันเช่นเครื่องช่วยเดิน 4 ขา (walker) หรือไม้เน (cane)
ภาวะแทรกซ้อน
ตาแห้งและปากแห้ง
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อปอดและเกิดพังผืดที่เนื้อเยื่อปอด
โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome)
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
นริศรา รัตนชีวัฒน์ 62110260
คณะพยาบาลศาสตร์
:warning: