Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับรกและอื่นๆ - Coggle Diagram
ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับรกและอื่นๆ
ภาวะรกค้างและการล้วงรก
ความหมาย
โดยทั่วไปรกและเยื่อหุ้มจะคลอดออกมาหลังจากทารกเกิด 5-15 นาที แต่บางครั้งไม่สามารถคลอดออกมาได้ ซึ่งถ้าไม่คลอดภายหลังเกิด 30 นาที เรียกว่ารกค้าง (retained placenta)
ลักษณะ
รกลอกตัวไม่สมบูรณ์
การที่รกลอกตัวจากผนังมดลูกเพียงบางส่วนจะมีเลือดออกจากบริเวณนั้นอีกส่วนหนึ่งของรกที่ไม่ลอกตัวจะทำให้การหดรัดตัวและการคลายตัวไม่ดี จะมีเลือดไหลออกมาเรื่อย ๆจนกว่ารกลอกตัวหมดและคลอดออกมา
รกลอกตัวสมบูรณ์
แต่คลอดไม่ได้เพราะอาจเนื่องจากการหดรัดตัวที่ผิดปกติของมดลูก เช่นconstriction ring และปากมดลูกแข็งเกร็ง (cervical cramp) เป็นต้น
รกติดแน่นจากการฝังตัวลึกกว่าปกติ (Placenta adherens)
3.3 Placenta percretavili จะฝังตัวลงไปในชั้นกล้ามเนื้อมดลูกจน ทะลุผนังมดลูกและอาจงอกเข้าไปในอวัยวะอื่นในอุ้งเชิงกรานที่อยู่ติดกับมดลูกด้วย
3.1 Placenta accreta villi จะฝังตัวลงไปในชั้นเยื่อบุมคถูกแต่ไม่ผ่านลงไปในชั้นกล้ามเนื้อ
3.2 Placenta incretavili จะฝั่งตัวลงไปในชั้นกล้ามเนื้อมดลูก
สาเหตุ
1.การทำคลอดรกไม่ถูกต้อง
ส่วนใหญ่เกิดจากการคลึงมดลูกก่อนที่รกจะลอกตัว หรือการให้ยา methergin ก่อน ทำคลอดรก ทำให้เกิดการหดเกร็งของมดลูก (constriction) หรือปากมดลูกแข็งเกร็ง(cervical cramp)
รกมีความผิดปกติ
เช่นมีรกน้อย รกมีขนาดใหญ่และแบน รกเกาะแน่น หรือรกฝังตัวลึกกว่าปกติ
มดลูกหดรัดตัวไม่ดี
อาจเนื่องมาจากการคลอดล่าช้า ผู้คลอดได้รับยาแก้ปวดมากเกินไปอ่อนเพลีย การ ได้รับยาสลบ กระเพาะปัสสาวะเต็ม รกจึงไม่ลอกตัวหรือลอกตัวไม่สมบูรณ์
มดลูกมีลักษณะผิดปกติ เช่นมีผนังกั้นภายในโพรงมดลูก (bicornuate uiterus)
สายสะดือขาดเนื่องจากการทำคลอดรกผิดวิธี
ผลกระทบต่อมารดา
ทำให้ตกเลือด
Hypovolimic shock
การรักษา
กรณีที่มีรกค้าง แพทย์จะตัดสินใจล้วงรก
วิธีการล้วงรก
ปกติต้องคมยาสลบและ ใช้เทคนิคปราศจากเชื้อเพื่อป้องกันการดิดเชื้อ ผู้ทำต้องสวมเสื้อกาวน์ผูก
ผ้าปิดปาก ใส่หมวก และถุงมือสำหรับล้วงรกที่ปราศจากเชื้อ
ใช้มือหนึ่งจับมดลูกทางหน้าท้องไว้ อีกมือหนึ่งสอดตามสายสะดือเข้าไปในมดลูก
เมื่อพบรกแล้วคลำหาขอบรก หงายมือขึ้น สอดปลายนิ้วระหว่างรกกับผนังมดลูก ค่อย ๆ แซะรกออก
เมื่อรกหลุดออกหมดแล้วให้ใช้ถุงมือจับ ค่อย ๆ ดึงออกมาระวังเยื่อหุ้มทารกให้แน่ใจว่ารกออกมาหมด
ภาวะแทรกซ้อนจากการล้วงรก
มดลูกทะลุ ป้องกันโดยเซาะรกให้ถูกต้องถูกวิธี
เศษรกหรือเยื่อหุ้มทารกค้าง ต้องตรวจสภาพของผนังมดลูกหลังล้วง ถ้าสงสัยมีบางส่วนค้างให้ใช้ผ้าก๊อซพันนิ้วมือเข้าไปทำการตรวจซ้ำ
การฉีกขาดของ fornix ป้องกันได้โดยตามสายสะดือเข้าไปหาแผ่นรกเกาะเซาะ
ตกเลือด จากการล้วงรกและเยื่อหุ้มรกออกไม่หมด รกค้าง ล้วงช้า ล้วงยาก
การติดเชื้อ
มดลูกปลิ้น ป้องกันโดยการเอารกที่เซาะออกแล้ว ออกมาด้วยความระมัดระวัง
หากล้วงรกออกไม่ได้ เนื่องจากการล้วงไม่ถูกวิธีหรือรกฝังตัวลึก แพทย์อาจจะให้ การช่วยเหลือโดยการขูดมดลูกหรือตัดมดลูกทิ้ง
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
ได้แก่การตรวจการหดรัดตัวของมดลูก การตรวจสอบกระเพาะปัสสาวะจำนวนเลือดที่เสียจากการคลอด ระยะเวลาที่รอรกคลอด สัญญาณชีพ การตรวจรก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ใช้อัลตร้าซาวน์ตรวจสอบมดลูกภายหลังรกคลอดในกรณี ที่สงสัยว่ารกไม่ครบ การตรวจเลือดดูภาวะชีด
การซักประวัติ
ประวัติการแท้งและการขูดมดลูก การตกเลือด หรือรกค้างในครรภ์ก่อน
ภาวะช็อกทางสูติศาสตร์ (shock)
ความหมาย
ภาวะช็อก หมายถึงภาวะที่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกายได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์ต่างๆขาดออกซิเจนจนไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ เนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว
ชนิด
ภาวะช็อกจากประสิทธิภาพการบีบตัวของของหัวใจลดลง (cardiogenic shock)
เป็นภาวะที่เกิดจากทำงานล้มเหลวของหัวใจด้านซ้ายทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงไม่สามารถบีบตัวได้แรงพอเกิดเลือดคั่งที่หัวใจซีกซ้ายและปอด
เกี่ยวข้องกับภาวะ coagulation defects, pulmonary embolism,
thrombophlebitis และ amniotic fluid embolism
ภาวะช็อกจากการเปลี่ยนแปลงความตึงตัวของหลอดเลือด (vasogenic shock)
เป็นภาวะที่เกิดจากการ ขยายตัวของหลอดเลือดมีผลให้เพิ่มความจุของหลอดเลือดและแรงต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายลดลง
3.2 ภาวะช็อกจากระบบประสาท (neurogenic shock)
ของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของหลอดเลือดในสมองโดยขัดขวางการส่งสัญญาณจากศูนย์
ควบคุมการทำงานของหลอดเลือดที่จะไปกระตุ้นระบบประสาท sympatheic
3.3 ภาวะช็อกจากปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylactic shock) เป็นภาวะช็อกที่เกิดจากร่างกาย มีปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรงต่อสารแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายและมีผลต่อการหลั่งสารที่มีผลต่อหลอดเลือด เช่น histamine, serotonin, bradykinin และ prostaglandins เป็นต้น
3.1 ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในเลือด ( bacteriemic shock or Septic shock) เป็นภาวะที่เกิดจาก
การติดเชื้อในเลือด ที่พบบ่อยคือเชื้อ gram ncgative
ภาวะช็อกจากปริมาณเลือดน้อย (hypovolemic shock)
เป็นภาวะที่เกิดจากปริมาณเลือดพลาสม่าหรือน้ำในร่างกายลดลง ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์นอกมคลูก ภาวะเลือดออกก่อนคลอดจากรกลอกตัวก่อนกำหนด รกเกาะต่ำ
มคลูกฉีกขาดตกเลือดหลังคลอด และการผ่าตัดทางสูติศาสตร์โดยทั่วไปการเสียเลือดต่ำกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนเลือดทั้งหมดมักไม่มีอาการ และอาการแสดง
อาการและอาการแสดง
ชีพจรเบาเร็วประมาณ 100-120 ครั้งนาที
ในรายที่รุนแรงมากจะเร็วกว่า 120 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิตลดลง pulse pressure แคบเข้า
มีการเปลี่ยนแปลงของการหายใจ การหายใจระยะแรกจะหายใจตื้น
ต่อมาเมื่ออาการรุนแรงจะหายใจลึกและหอบ เกิดอาการขาดออกซิเจน
อาการชีดจะสังเกตสีหน้าซีดเผือด เยื่อบุต่าง ๆ ซีดขาว ผิวหนังเย็น ซีด และเหงื่อแตก อุณหภูมิต่ำมีอาการกระสับกระส่าย กระ หายน้ำ ปัสสาวะน้อย
ถ้ารุนแรงมากอาจไม่มีปัสสาวะ แต่ภาวะจากการติดเชื้อ (septic shock) จะมีปัสสาวะออกมาก อุณหภูมิสูงเนื่องจากมีการติดเชื้อ
มีอาการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว ถ้าเป็นมากระดับความรู้สึกตัวลดลง เลอะเลือน
การวินิจฉัย
วินิจฉัยตามอาการและอาการแสดง
การรักษา
1.ภาวะช็อกจากการเสียเลือดและน้ำ
ควรรักษาสมดุลของปริมาณการไหลเวียน ของเลือดให้เพียงพอ เช่น การให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ เป็นต้น
2.ภาวะช็อกจากประสิทธิภาพการบีบตัวของของหัวใจลดลง
ควรเพิ่มการทำงานของหัวใจเพื่อเพิ่มปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจและป้องกันหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่นให้ออกซิเจน ให้ยากระตุ้น การทำงานของหัวใจ เป็นต้น
3.ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในเลือด ควรให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม
4.ภาวะช็อกจากการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของหลอดเลือดในสมอง
ควรเพิ่มปริมาณการไหลเวียนของเลือด เช่นให้ยาที่ส่งเสริมการหดรัดตัวของเส้นเลือด เป็นต้น
ผลกระทบต่อมารดาและทารก
มารดา
หากได้รับการช่วยเหลือไม่ถูกต้อง อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น ระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ระบบหายใจล้มเหลว ไตวาย สมองบวมรวมถึงการทำงานของอวัยวะต่างๆล้มเหลวด้วย
จส่งผลถึงหลังคลอดเกิด Sheehan'syndrome จากเนื้อเยื่อของต่อม pituitary ตาย
ทารก
กรณีที่มารดาเกิดภาวะช็อกก่อนคลอด ทารกในครรภ์อาจเกิดภาวะ fetal distress ได้
ถ้ามารดาเกิดหลังคลอดส่งผลต่อการสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก ไม่สามารถคูดนมแม่ได้
เพราะน้ำนมมีน้อย