Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้คลอดที่ทำสูติศาสตร์หัตถการ (ชักนำการคลอด) - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้คลอดที่ทำสูติศาสตร์หัตถการ (ชักนำการคลอด)
ความหมาย
การช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์หรือผู้คลอดด้วย
เครื่องมือและวิธีการพิเศษ
ประเภทของสูติศาสตร์ หัตถการ
สูติศาสตร์หัตถการในระยะตั้งครรภ์
การตรวจน้ำคร่ำ
สูติศาสตร์หัตถการในระยะคลอด
การเจาะถุงน้ำค่ำ การใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
สูติศาสตร์หัตถการในระยะหลังคลอด
การซ่อมแซมฝีเย็บ
สูติศาสตร์หัตถการทำลายทารก
ทำในกรณีมีการคลอดติดขัด หรือทารกเสียชีวิต
การชักนำการคลอด
ความหมาย
การทำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนที่จะเจ็บครรภ์จริงตามธรรมชาติ เพื่อให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ เนื่องจากทารกในครรภ์อยู่ในภาวะอันตราย หรือทารกในครรภ์ครบกำหนดแล้วแต่การคลอดไม่เกิดขึ้น
ข้อบ่งชี้ในการชักนำการคลอด
1.ถุงน้ำแตกก่อนกำหนด (premature rupture of membranes : PROM)
ตั้งครรภ์เกินกำหนด (post term pregnancy)
ทารกเจริญเติบโตช้ำในครรภ์ (intrauterine growth restriction : IUGR)
การติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ (chorioamnionitis)
ทารกเสียชีวิต
มารดาเป็นโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง
มารดาที่มีประวัติการเจ็บครรภ์และคลอดเฉียบพลัน (precipitate labor and birth)
ข้อห้ามในการชักนำการคลอด
การผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกกับเชิงกรานมารดาอย่างชัดเจน (cephalopelvic disproportion)
ทารกมีความผิดปกติ เช่น ทารกส่วนนำผิดปกติ ทารกหัวบาตร (hydrocephalus)
รกเกาะต่ำ(placenta previa) รกลอกตัวก่อนกำหนด(abruption placenta), ภาวะสายสะดือย้อย
วิธีการชักนำการคลอด
การชักนำการคลอดโดยใช้หัตถการ (surgical methods)
1.1 การเลาะถุงน้ำคร่ำ (stripping of the membranes เพื่อทำให้ถุงน้ำเกิดการแยกชั้นของfetal membrane ออกจาก decidua วิธีการนี้อาจไม่ทำให้เกิดการชักนำการคลอด 100% ถ้าไม่คลอดภายใน 12 ชม.ต้องกระตุ้นการคลอดด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น การให้ยา oxytocin ทางหลอดเลือดดำภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ได้แก่ กรติดเชื้อ มีเลือดออก หรือตกเลือด โดยเฉพาะรายที่มีรกเกาะต่ำ ถุงน้ำคร่ำแตก
ภาวะแทรกซ้อน
ติดเชื้อ ตกเลือด
1.2 การเจาะถุงน้ำคร่ำ (amniotomy, artificial rupture of the membranes : ARM) เจาะถุงน้ำคร่ำให้แตกออก เป็นวิธี ที่มีประสิทธิภาพเมื่อทำในรายที่มีค่ Bishop score>6 คะแนนขึ้นไปหลังเจาะน้ำคร่ำควรจะคลอดภายใน 12 ชม. ถ้ายังไม่คลอดต้องกระตุ้นให้เกิดการคลอดด้วยวิธีการให้ oxytocin ทางหลอดเลือดดำ
ภาวะแทรกซ้อน
1.สายสะดือย้อย
2.สายสะดือถูกกดทับ (cord compression)
3.การติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ (chorioamnionitis)
ภาวะเลือดออกจากรกเกาะต่ำ (placenta previa)
รกลอกตัวก่อนกำหนด (abruptio placenta)
1.3 การกระตุ้นหัวนม สามารถกระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์ได้และปากมดลูกมีความพร้อมมากขึ้นช่วยให้เกิดการคลอดภายใน 72 ชม.
1.4 การใช้บอลลูนถ่างขยายปากมดลูก (Balloon catheter) สามารถทำให้ปากมดลูกเปลี่ยนแปลงจนมีความพร้อมในการชักนำการคลอด
1.5 การใช้ Hygroscopic dilators วิธีนี้เป็นอุปกรณ์ก่างขยายปากมดลูกที่ทำจากสาหร่ายทะเล หรือสารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติดูดซับน้ำมาจากปากมดลูกทำให้แท่ง dilator มีขนาคใหญ่ขึ้นจนสามารถถ่างขยายปากมดลูกเทคนิคนี้มักใช้ในการยุติการตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสที่ 2
การชักนำการคลอดโดยใช้ยา (medical methods or pharmacological technique)
2.1 Prostaglandin เป็นยาที่ช่วยทำให้ปากมดลูกนุ่มขึ้น และมีผลต่อการหดรัดตัวของมดลูก น้อย ยาที่นิยมใช้มี 2 ชนิด คือ
2.1.1 Prostaglandin E2 (dinoprostone) อยู่ในรูปยาสอดเข้าช่องคลอดและแบบเจล เป็นยาที่ใช้เพื่อปรับสภาพมคลูก ให้มีความพร้อมก่อนการชักนำการคลอด โดยใช้ในผู้คลอดที่มีคะแนน Bishop score <4
2.1.2 Prostaglandin E1ที่นำมาใช้คือ misoprostol, cytotec มีฤทธิ์ทำให้
มดลูกมีการหดรัดตัว โดยการ สอดเม็ดยาที่บริเวณค้านล่างของปากมดลูก
2.2 Oxytocin( pitocin, syntocinon) ช่วยกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ใช้ในการชักนำการคลอดและเร่งคลอด
การเร่งคลอด (augmentation)
การกระตุ้นให้มีการหดรัดตัวของมดลูก เมื่อมดลูกมีการ
หดรัดตัวเกิดขึ้นแล้ว แต่ไม่มีความก้าวหน้าในการเปิดขยายของปากมดถูก หรือการเคลื่อนต่ำของส่วนนำ