Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับทารกในครรภ์ - Coggle Diagram
ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับทารกในครรภ์
ภาวะทารกเติบโตช้าในครรภ์ (intrauterine growth retardation or restriction, IUGR)
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
ซักถามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ประวัติการตั้งครรภ์และคลอดบุตรคนก่อน
การซักประวัติการขาดประจำเดือนครั้งสุดท้ายเพื่อประเมินอายุกรรภ์ที่ถูกต้อง
การตรวจร่างกาย
ประเมินการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ ทั้งการตรวจครรภ์ ประเมินขนาดทารก การวัดความสูงของยอดมดลูก
การติดตามการเพิ่มน้ำหนักของหญิงตั้งครรภ์
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การอัลตร้าซาวน์
ความหมาย
ทารกที่มีน้ำหนักต่ำกว่าน้ำหนักปกติเมื่อเทียบกับน้ำหนักทารกในอายุครรภ์นั้น โดยตาม ACOG ปี 2013 ให้คำนิยามไว้ว่าหมายถึงน้ำหนักทารกในครรภ์ที่ประมาณน้ำหนัก < เปอร์เซนไตล์ที่ 10 เป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัยภาวะทารกเติบโตช้าในครรภ์ ขณะที่ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนัก < เปอร์เซนไตล์ที่ 10 เมื่อเทียบกับอายุครรภ์นั้นเรียกว่า Small for gestational age ,SGA
ชนิด
Symmetrical growth retardation (type 1) โตช้าแบบได้สัดส่วนกันทุกอวัยวะ สาเหตุมักเกิดจากความผิดปกติของทารกเองเช่นจาก chromosome การติดเชื้อของทารกในครรภ์เอง ภาวะทุพโภชนาการ ยาเสพติด เป็นต้น
Asymmetrical growth retardation (type I1) โตช้าแบบไม่ได้สัดส่วนส่วนท้องจะช้ากว่าศีรษะ จะเดิบโตช้ในไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นระยะของ cellular hypertrophy ทำให้มีผลต่อขนาดของเซลล์มากกว่าจำนวนสาเหตุมักเกิดจากปัจจัยภายนอกตัวทารก เช่นโรคของมารดาทำให้เกิด utero placental
insufficiency รถขาดเลือดไปเลี้ยง เป็นต้น
สาเหตุ
1.สาเหตุจากหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่โรคทางอายุรกรรม เช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูงฯ ภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์เช่น ครรภ์แฝด การใช้สารเสพติดต่างๆ การได้รับยาที่เป็นteratogen เช่น ยากันชัก warfarin ฯ ภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ ความผิดปกติของมดลูก เป็นต้น
สาเหตุจากทารก ได้แก่ ภาวะพันธุกรรมหรือโครโมโซมผิดปกติ ความผิดปกติทางโครงสร้างแต่กำเนิด การติดเชื้อของมารดาขณะตั้งครรภ์เช่น หัดเยอรมัน ซิฟิลิส มาเลเรีย เป็นต้น
สาเหตุจากรก ได้แก่ ความผิดปกติของรก
เช่นรกขาดเลือด รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนดเรื้อรัง Placenta velamentosa ฯ
ผลกระทบต่อมารดาและทารก
มารดา
เพิ่มอัตราการผ่าตัดคลอด
ส่งผลกระทบต่อจิตใจ
ทารก
มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างในระยะแรกเกิดได้ง่าย เช่น Hypoglycemiaเพราะทารกมีการสะสมไกลโคเจนในตับและไขมันใต้ผิวหนังน้อยกว่าปกติ polycythemia จากการขาดออกซิเจนเรื้อรังขณะอยุ่ในครรภ์ทารกจึงต้องปรับตัวโดยการสร้าง RBC เพิ่มขึ้น
byperbilirubinemia จากการที่ RBC มีการแตกสลาย เสี่ยงต่อภาวะ meconium aspirate syndromeเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพราะภูมิต้านทานต่ำ และมีโอกาสตายปริกำเนิดเพิ่มขึ้น
การรักษา
ตรวจหาควบคุมและลดความรุนแรงของสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยง
แนะนำการปฏิบัติตัว เช่นการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง นอนตะแคงซ้ายและนอนพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 8 ชม. การมาฝากครรภ์ตามนัด
ตรวจการเจริญเติบโต และประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์เป็นระยะ ๆ
รับไว้ในโรงพยาบาลเมื่อหญิงตั้งครรภ์มีภาวะแทรกซ้อน
หรือในกรณีที่ต้องทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุด
วิธีการคลอดขึ้นกับสุขภาพของทารก ความรุนแรงของภาวะทารกเดิบโตช้าในครรภ์
และโรคแทรกซ้อนของมารดา สภาพปากมดลูก เชิงกรานตลอดจนความพร้อมในการดูแลมารดาและทารกใน
การดูแลระยะคลอดงดน้ำและอาหารทางปาก ให้สารน้ำทางเส้นเลือดดำ เจาะถุงน้ำคร่ำ
เพื่อดูปริมาณและสีน้ำคร่ำ ให้ยาระงับปวดด้วยความระมัดระวัง
ติดตามสุขภาพทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด และใช้สูติศาสตร์หัตถการที่เหมาะสมครรภ์
ทารกในครรภ์อยู่ในภาวะกับขัน (fetal distress)
ความหมาย
ภาวะที่ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หากได้รับการช่วยเหลือไม่ทันอาจเกิดอันตรายถึงเสียชีวิตได้
อาการและอาการแสดง
อัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ผิดปกติ ร่วมกับอาการผิดปกติอื่นๆ เช่นทารกจะมี recurrent late deceleration ,recurrent recurrent late deceleration ,recurrent variable deceleration,sinusoidal pattern หรือจัดอยู่ในกลุ่ม Category III
ตรวจพบขี้เทาปนในน้ำคร่ำ (meconium stained กรณีที่ทารกมีส่วนนำเป็นศีรษะ ซึ่งแสดงถึงระดับการขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์ มี 3 ลักษณะ
2.1 น้ำคร่ำมีสีเหลือง มีขี้เทาจำนวนน้อยปนในน้ำคร่ำ (mild meconium staining)
2.2 น้ำคร่ำมีสีเขียวปนเหลือง มีขี้เทาจำนวนมากปนในน้ำคร่ำ (moderate meconium staining)
2.3 น้ำคร่ำมีสีเขียวคล้ำ และเหนียวข้นมาก (hick meconium staining)
เลือดของทารกมีภาวะเป็นกรด
ทารกมีภาวะเลือดเป็นกรด
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
ได้แก่การ วัดสัญญาณชีพ น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงผิดปกติ การตรวจครรภ์และฟังเสียงหัวใจของทารกในครรภ์ การตรวจการหดรัดตัวของมดลูก เป็นต้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ ได้แก่การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ด้วยการ On EPM, NST,CST,BPPการใช้ultrasound ,การ!จาะเลือดทารก (scalp blood sampling) เป็นต้น
การซักประวัติ
อาการสำคัญที่มา การดิ้นของทารกในครรภ์ การแตกของถุงน้ำ รวมถึงการปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เพื่อจำแนกผู้คลอดที่ต้องการดูแลอย่างใกล้ชิด
การวินิจฉัยที่แน่นอน
การเจาะเลือดทารก แต่ในทางปฏิบัติมีเพี่ยงน้อยรายที่ทำ ส่วนใหญ่วินิจฉัยทางอ้อมจาก FHR pattem มากกว่า (ควรอ่านเพิ่มเติมจากบทการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์)ประเมิน
การรักษา
การรักษาที่ดีที่สุด คือการทำให้ทารกคลอดโดยเร็วที่สุด แต่ต้องให้การช่วยเหลือในกรณีที่มี abnormal FHR pattem ตามสถานการณ์ด้วย เพื่อช่วยส่งเสริมการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงรกและทารก
จัดท่านอนตะแคงซ้าย
แก้ไขผู้คลอดตามสถานการณ์ได้แก่ กรณีมีภาวะมดลูกหดรัดตัวมากเกินไป
เช่น หยุดการให้ยากระตุ้นมดลูก ให้สารน้ำเพิ่มการไหลเวียนของเลือด เป็นต้น
ให้ออกซิเจน 4 ลิตร/นาทีทางcannula หรือ8-10ลิตร/นาทีทาง face mask
ประเมิน FHS และบันทึกเสียงหัวใจทารกอย่างต่อเนื่อง ด้วย On electronic fetal monitoring
ระยะคลอดพิจารณาช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการ เช่น ผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน
6.รายงานกุมารแพทย์ทราบและเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพ
ผลกระทบต่อมารดาและทารก
ทารก
อาจทำให้เกิดขาดออกซิเจนแรกเกิด ภาวะทุพพลภาพอย่างถาวรหรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
มารดา
เป็นผลด้านจิตใจมากกว่าจากความกลัวและวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพทารกในครรภ์
ร่างกายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากยา การรักษาที่ได้รับและหัตถการในการช่วยคลอด
สาเหตุ
ภาวะผิดปกติของสายสะดือ เช่น สายสะคือถูกกดทับในรายที่เกิดน้ำคร่ำน้อย สายสะดือพลัดต่ำฯ
ภาวะที่เลือดไหลเวียนไปรกไม่เพียงพอ (Uteroplacental insufficiency,UPI) ซึ่งเกิดได้จากหลาย สาเหตุเช่น มดลูกหดรัดตัวมากเกินไป ภาวะตกเลือดก่อนคลอด การตั้งครรภ์เกินกำหนด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯ