Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลสตรีที่มีโรคร่วมในระยะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การพยาบาลสตรีที่มีโรคร่วมในระยะตั้งครรภ์
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน
ความหมาย: ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงที่เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายมีการสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอ
แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่
1.เบาหวานที่เป็นมาก่อนการตั้งครรภ์(Overt DM) พบได้ในเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2
2.เบาหวานที่วินิจฉัยได้ในขณะตั้งครรภ์ (GDM) เป็นเบาหวานที่ตรวจพบครั้งแรกในขณะตั้งครรภ์
พยาธิสรีรวิทยา: ระยะแรกของการตั้งครรภ์ฮอร์โมน เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะเพิ่มขึ้น มีฤทธิ์กระตุ้นเบต้าเซลล์ของตับอ่อนทำให้มีการหลั่งของอินซูลินเพิ่มขึ้น ทำให้น้ำตาลในเลือดของสตรีตั้งครรภ์ต่ำลงกว่าก่อนการตั้งครรภ์
ปัจจัยเสี่ยง 1.พันธุกรรม 2.อายุ 3.ภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน 4.พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม
5.การขาดการออกกำลังกาย
อาการและอาการแสดง:อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย น้ำหนักลดลง ถ่ายปัสสาวะมาก หิวบ่อย กระหายน้ำ คันตามตัว
การวินิจฉัย: การตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานด้วยการทดสอบโดยการรับประทานกลูโคส 75 กรัมหรือ 100 กรัมในขั้นตอนเดียวแต่ แนวปฏิบัติในประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้การทดสอบด้วยการรับประทานกลูโคส 100 กรัม(OGTT) เป็นการตรวจในตอนเช้าหลัง NPO เป็นเวลา 8-14 ชั่วโมง
การรักษา
1.การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการบำบัด การให้คำแนะนำหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
2.การออกกำลังกาย
3.การรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน
การรักษาการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจ
การแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
1.โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (cogenital heart disease) เช่นผนังหัวใจห้องบนรั่ว
2.โรคลิ้นหัวใจพิการรูห์มาติก เช่น ลิ้นหัวใจไมทรัลตีบ
พยาธิสรีรวิทยา: การเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือดและพยาธิสภาพของโรคหัวใจแต่ละชนิดมีผลต่อความดันในหัวใจห้องล่างในช่วงคลายตัว
อาการและอาการแสดง: หอบเหนื่อยเป็นลมเมื่อต้องออกแรง ไอเป็นเลือด หอบเหนื่อยเป็นพักๆทำให้นอนราบไม่ได้ในเวลากลางคืนเจ็บหน้าอกเมื่อออกแรง อาจรุนแรงขึ้นเมื่ออายุครรภ์หลัง 28 สัปดาห์
ผลกระทบต่อมารดาทารก
1.การแท้งบุตร
2.ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้ากรณีได้รับเลือดหรือสารอาหารน้อยลง
3.ทารกมีภาวะขาดออกวิเจน
4.การคลอดก่อนกำหนด
5.การเสียชีวิตของมารดา
การตรวจวินิจฉัย 1.การตรวจคลื่นไฟฟ้า (EKG) 2.การตรวจคลื่นหัวใจด้วยคลื่นเสียง
3.การถ่ายภาพรังสีทรวงอกจะพบหัวใจโต
4.การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง
5.การตรวจเลือด เช่น ระดับยา digitalis
การรักษา 1.จำกัดกิจกรรมหรือให้นอนพักเพื่อลดการทำงานของหัวใจ
2.ให้ออกซิเจน 5-6 ลิตร/นาทีกรณีแสดงอาการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
3.การให้ยสต้านการแข็งตัวของเลือด
4.ยาขับปัสสาวะ เพื่อขับน้ำออกจากร่างกายในกรณีน้ำท่วมปอด
5.ให้ยาปฏิชีวนะ กรณีหญิงตั้งครรภ์เป็นโรคหัวใจตีบ
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหอบหืด
ความหมาย: ภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรังของท่อหลอดลมส่วนแขนงปอด หลอดลมฝอยและมีการตีบหรือตันของทางเดินหายใจ
แบ่งเป็นความรุนแรง 4 ระดับ
1.ระดับที่ 1 มีอาการเล็กน้อย เป็นบางครั้งน้อยกว่า 2 ครั้ง/สัปดาห์ หรือน้อยกว่า 2 คืน/เดือน แต่ควบคุมอาการได้
2.ระดับ 2 มีอาการ 2 ครั้ง/สัปดาห์ มีอาการตลอดทั้งวันหรือมีอาการมากกว่า 2 คืน/สัปดาห์
3.ระดับ 3 มีอาการมากกว่า 1 คืน/สัปดาห์
4.ระดับ 4 มีอาการบ่อยและต่อเนื่องตลอดวัน
สาเหตุปัจจัยเสี่ยง: เกิดจากการปฏิกิริยาภูมิต้านทานต่อสารที่ระคายเคือง หรือทำให้เกิดการแพ้ในเยื่อบุท่อหลอดลมคอ
พยาธิสรีรภาพ: มีการอักเสบของระบบการทางเดินหายใจ โดยมีการเปลี่ยนแปลงของพยาธิในท่อของหลอดลมและถุงปอด 3 ลักษณะ
1.การอักเสบของเยื่อบุท่อหลอดลม
2.มีการสร้างมูกออกมาจากเซลล์เยื่อบุท่อหลอดลมมากกว่าปกติ
3.มีการตีบแคบหรืออุดตันของท่อหลอดลม
อาการและอาการแสดง: 1.มีอาการไอ หอบ ใักพบในตอนกลางคืนหรือถึงเช้ามืด หายใจมีเสียงวี้ด เจ็บแน่นหน้าอก
2.การหายใจออกลำบากมากกว่าการหายใจเข้า
3.ในขณะหอบจะหายใจลำบากต้องใช้กล้ามเนื้อที่คอ
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
1.เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและการคลอดก่อนกำหนด
2.ภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์
3.ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย
4.ทารกมีภาวะพร่องออกซิเจน
การวินิจฉัย: การทดสอบประสิทธิภาพการทำหน้าที่ของปอดจากปริมาตรอากาศที่หายใจออกแต่ละครั้งหรือใน 1 นาทีโดยใช้เครื่อง spirometer หรือ peak flow meter
การรักษา: ยาที่ใช้มี 2 กลุ่ม
1.ยาขยายหลอดลม
1.1 ยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์สั้น
1.2 ยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ระยะยาว
2.ยาระงับการอักเสบ
2.1 ยากลุามสเตียรอยด์ที่ใช้พ่นสูดดม
2.2 ยากลุามสเตียรอยด์ที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
ความหมาย: ภาวะที่มีแบคทีเรียในปัสสาวะซึ่งเกิดจากการมีเชื้อโรคเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะและไต
แบ่งเป็น 2 ชนิด 1.ไม่แสดงอาการ 2.มีอาการแสดง
ปัจจัยเสี่ยงการติดเชื้อ
1.ไตพิการ
2.มีประวัติการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
3.มีประวัติได้รับการสวนปัสสาวะ
4.เบาหวาน
การวินิจฉัย: ใช้วิธีการเพาะเชื้อของปัสสาวะโดยใช้ปัสสาวะส่วนกลางที่เก้บอย่างูกต้องโดยทั่วไปถือว่ามีการติดเชื้อถ้าเพาะเชื้อแบคทีเรียได้มากกว่า 100,000 โคโลนีต่อปัสสาวะ 1 มล
การรักษาและการพยาบาล 1.หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกให้เก็บปัสสาวะช่วงกลางส่งตรวจ
2.แนะนำการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์อย่างถูกวิธี
3.ดื่มน้ำอย่างน้อย 2,000-3,000 มิลลิลิตร
4.รับประทานอาหารที่มีความสมดุลระหว่างโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ธาตุเหล็กหลีกเลี่ยงน้ำดื่มชา กาแฟ
5.รับประทานวิตามินซีทุกวัน
6.แนะนำให้ทานยาให้ครบตามแผนการรักษา
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะการทำงานของต่อมไทยรอยด์ที่ผิดปกติ
ความหมาย: ภาวะที่ต่อมไทรอยด์มีการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนมากหรือน้อยกว่าปกติซึ่งมีผลต่อเมตาบอลิซึมของร่างกายและระบบต่างๆที่เกี่ยวข้อง
แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติและภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์ด์น้อยกว่าปกติ
สาเหตุ: ภาวะการทำงานของต่อมไทยรอยด์มากกว่าปกติคือ โรคของต่อมไทรอยด์ชนิด Graves' disease ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะภูมิต้านทานในร่างกายตนเองมีการหลั่งฮอร์โมนมากกว่าปกติ
ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์น้อยกว่าปกติ คือ ต่อมไทรอยด์อักเสบ ซึ่งต่อมไทรอยด์เกิดการอักเสบจากปฏิกิริยาภูมิต้านทานในร่างกานตนเอง
พยาธิสรีรภาพ: ต่อไทรอยด์ทำงานโดยการควบคุมของไฮโปทาลามัส ซึ่งหลั่งฮอร์โมน TRH ไปกระตุ้นต่อพิทูอิทารี ให้หลั่งฮอร์โมน THS เพื่อไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้างและหลั่งฮอร์โมน triiodothyronine และ tyroxine
อาการและอาการแสดง:
ต่อมไทรอยด์โต เหงื่อออกมากกว่าปกติ หิวบ่อย รับประทานอาหารจุ ผิวหนังอุ่น แดง ชื้น ขี้ร้อนหงุดหงิด ความดันโลหิตสูง หากต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติจะ น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น เหนื่อยง่าย ท้องผูก นอนไม่หลับ ความคิดช้า
การวินิจฉัย: ใช้วิธีการตรวจระดับฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ ในการตรวจคัดกรองเบื้องต้น และตรวจวินิจฉัยโรคของต่อมไทรอยด์จากระดับฮอร์โมน THS และ free T4
การรักษา:
ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์มากก่าปกติต้องได้รับการรักษาด้วยยา propylthiouracil 50-300 มก./วัน, การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ จะทำเมื่อไม่สามารถรักษาด้วยยาได้
ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์ต่ำกว่าผิดปกติต้องได้รับการรักษาด้วยยา levothyroxine 1.8-2.0 microgram/kg และควรได้รับการตรวจระดับฮอร์โมน THS และfree T4 เดือนละครั้งเพื่อใช้พิจารณาในการปรับระดับยาให้เหมาะสม
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง
ความหมาย: ผู้ที่มีความเข้มข้นของระดับฮีโมโกลบินน้อยกว่า 11 กรัมต่อเดซิลิตรหรือฮีมาโตคริตน้อยกว่า ร้อยละ 33 ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สาม
การแบ่งชนิด: โลหิตจางจากการขาดธาติเหล็กและโลหิตจางจากการขาดโฟเลต
สาเหตุ:
1.ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เกิดขึ้นจากหญิงวัยเจริญพันธุ์ ส่วนมากมักจะเก็บสะสมธาตุเหล็กได้ไม่เพียงพอ เนื่องจากร่างกายมีการสูญเสียไปกับประจำเดือน และได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ
2.ภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลต เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายได้รับสารโฟเลตจากสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในการนำไปใช้สร้างเม็ดเลือดแดง
ปัจจัยเสี่ยง: ผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะโลหิตจางได้แก่ หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์ที่อาจได้รับโฟเลตจากสารอาหารไม่เพียงพอ เช่น มีประวัติการดื่มสุรา รับประทานยากันชัก
อาการและอาการแสดง: หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจะมีอาการหน้าซีด หน้ามืด เพลีย เหนื่อยง่าย ปวดศีรษะ และมีอาการง่วงนอน ริมฝีปากหรือลิ้นอักเสบ
ผลต่อมารดาทารก: ผลต่อมารดา 1. หากมีการตั้งครรภ์แฝด การเสียเลือดเล็กน้อยจะทำให้อาการของโลหิตจางเป็นมากขึ้น
2.หากพบภาวะโลหิตจางเมื่ออายุน้อย จะทำให้มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด ทารกมีน้ำหนักน้อย
ผลต่อทารก: ถ้ามารดามีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะทำให้ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนลดลง ทารกอาจแท้ง ตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์ คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักน้อย การเจริญเติบโต
การวินิจฉัย: ตรวจวินิจฉัยจากผลการตรวจระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงฮีโมโกลบิน ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่ำกว่า 33% หรือมีฮีโมโกลบินต่ำกว่า 11% g/dl
การรักษา: ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์รักษาโดยการให้รับประทานอาหารที่มีโฟเลตสูงและให้รับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก