Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลสตรีที่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด - Coggle Diagram
การพยาบาลสตรีที่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด
การพยาบาลสตรีที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดและติดเชื้อหลังคลอด
ภาวะตกเลือดหลังคลอด (postpartum hemorrhage: PPH)
ภาวะตกเลือดหลังคลอด (postpartum hemorrhage: PPH) หมายถึง การที่มารดาหลังคลอดมีเลือดออกหลังคลอดบุตรทางช่องคลอดแล้ว ในปริมาณ ที่มากกว่า 500 มิลลิลิตร หรือร้อยละ 1 ของน้ำหนักมารดาหลังคลอด หรือมากกว่า 1,000 มิลลิลิตร ในร้ายที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
การตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก (early or immediate or primary postpartumhemorrhage)
การตกเลือดเกิดภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด เป็นสาเหตุของภาวะตกเลือดหลังคลอดที่พบได้มากและบ่อยที่สุดประมาณ ร้อยละ 4-6 ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด ประมาณร้อยละ 70
มีสาเหตุจากการหดรัดตัวของมดลูกไม่ดี (uterinc atony)
การตกเลือดหลังคลอดในระยะหลัง (late or secondary postpartum hemorrhage)
การตกเลือดเกิดหลังคลอด 24 ชั่วโมงไปจนถึง 6 สัปดาห์หลังคลอด
อาการและอาการแสดงของการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
มีเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งลักกษณะอาจแตกต่างกันตามสาเหตุ
การหดรัดตัวของมดถูกไม่ดี เลือดที่ออกจะเป็นสีคล้ำและมีลิ่มเลือดปน
การฉีกขาดของหนทางคลอด เลือดที่ออกจะเป็นสีแดงสด และหากมีการฉีกขาดของหลอดเลือดฝอย เลือดจะไหลซึมออกมาเรื่อยๆ และหากมีการฉีกขาดของหลอดเลือดแดง เลือดจะพุ่งแรงตามจังหวะของชีพจรและไหลไม่หยุดแม้ว่ามดลูกจะหดรัดตัวแข็ง
การมีเศษรกค้าง ถ้ำาเศษรกมีขนาดใหญ่จะตกเลือดทันที ถ้าเศษรกค้างมีขนาดเล็กอาจมีการตกเลือดในช่วง 6-10 วันหลังคลอด ซึ่งเลือดเป็นสีแดงคล้ำ
บริเวณที่มีการบวมเลือด(hematoma)กดเบียดหนทางคลอด หรืออวัยวะใกล้เคียงทำให้มีอาการปวดอย่างรุนแรงภายใน 12 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ผิวหนังมีอาการบวมแดงออกสีม่วงคล้ำ อาจมีการถ่ายปัสสาวะลำบาก
ถ้ามีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด เลือดหยุดไหลช้าจากระดับไฟบริ โนเจนในเลือดต่ำ ร่วมกับมีเลือดไหลออกจากบริเวณที่เจาะเลือดหรือให้สารน้ำทางหลอดเลือด
มดลูกหดรัดตัวไม่ดี โดยจะคลำพบว่ามดลูกอยู่สูงและขนาดโตขึ้น อาจเหนือระดับสะคือ เมื่อคลึงมดลูกจะมีก้อนเลือดและเลือดสดจำนวนมากออกทางช่องคลอดและมีอาการแสดงของการตกเลือด
เช่น หน้าซีด ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว เหงื่อออก ความดัน โลหิตต่ำ กระสับกระส่าย หายใจเร็วต่อไปจะหายใจช้า หาวเพราะเลือดไปลี้ยงสมองน้อยลง ถ้าอาการรุนแรงอาจช็อคไม่รู้สึกตัวและอาจตายได้
ภาวะตกเลือดหลังคลอดในระยะหลัง (late or delayed PPH)
สาเหตุสำคัญของการตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง ได้แก่
ภาวะติดเชื้อในโพรงมดลูก ผู้ป่วยมักจะมีอาการของการติดเชื้อให้เห็นได้แก่ มีไข้น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น ปวดท้องน้อย มี Subinvolution ของมดถูก
เลือดออกจากแผลภายในช่องคลอด มักเกิดจากการติดเชื้อบริเวณแผลภายในช่องคลอด
สาเหตุร่วมกันที่พบได้บ่อย ได้แก่ กาวะมีเศยรกค้างอยู่กายในโพรงมดลูกร่วมกับการติดเชื้อภายในโพรงมดลูก
ภาวะตกเลือดจากแผลบนตัวมดลูกภายหลังการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ภาวะมีก้อนเลือดหรือเศษรกค้างอยู่ภายใน โพรงมดลูก ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย มักเกิดภายหลังคลอดประมาณ 1-2 สัปดาห์
การประเมินผู้ที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด
เมื่อพบเลือดออกมาทางช่องคลอดปริมาณมากอย่างชัดเจน ให้การ วินิจฉัยว่าตกเลือดแล้ว ต้องค้นหาสาเหตุ ที่พบบ่อยที่สุด 2 อันดับแรก คือ การหดรัดตัวของมดลูกไม่ดี และการฉีกขาดของหนทางคลอด ซึ่งการตกเลือดสามารถป้องกันได้ทั้ง3ระยะ ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด
การป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด
ระยะตั้งครรภ์
ค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการตกเลือดหลังคลอดได้ เช่น เคยมีประวัติตกเลือดหลังคลอดในการตั้งครรภ์ก่อนๆ มีรกเกาะต่ำ ตั้งครรภ์แฝด ทารกตัวโต ครรภ์แฝดน้ำ รกค้างฯลฯ ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการหดรัดตัวไม่ดีของมดลูกหลังคลอด ตรวจหาและแก้ไขภาวะซีดขณะตั้งครรภ์
ระยะคลอด
2.1 การดูแลการคลอดระยะที่ 3 แบบ active management จากCochrane Review
2.1.1 prophylactic uterotonics drug โดยให้ oxytocin หลังทารคลอดไหล่หน้าหรือหลังคลอดเด็ก โดยหยดเข้าทางหลอดเลือดดำ 1 00-1 50 มิลลิลิตร/ชั่วโมง ผสมในน้ำเกลือ 10-20ยูนิตลิตรหรือให้ฉีด methergine 0.2 mg. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าทางหลอดเลือดดำและให้ oxytocin ต่อในระยะแรกหลังคลอดอย่างน้อย1-2ชั่วโมง
2.1.2 ทำคลอดรกโดยวิธี Controlled cord traction หนีบสายสะดือใกล้ฝีเย็บ วางมืออีกข้างเหนือกระดูกหัวหน่าวและ stabilize มดลูกโดยดันมดลูกไม่ให้เคลื่อนลงมา คงสายสะคือให้ตึงเล็กน้อยรอจนมดลูกหดรัดตัวดีแล้วดึงสายสะดือลงอย่างนุ่มนวลแบบ Brant Andrews maneuver เป็นต้นเพื่อป้องกันมดลูกปลื้น ห่มดึงสายสะดือขณะที่มดลูกไม่หดรัดตัว เพราะจะเสี่ยงต่อมดถูกปลื้น
2.1.3 หลังรกคลอด ควรตรวจรกให้สมบูรณ์
2.1.4 นวดคลึงมดลูกให้หดรัดตัวดี ตรวจการหดรัดตัว/การแข็งตัวของมดลูกทุก 15 นาทีใน2 ชั่งโมงแรกและนวดซ้ำตามความจำเป็น
2.1.5 ตรวจหนทางคลอด โดยเฉพาะในรายที่ใช้หัตถการช่วยคลอด
ระยะหลังคลอด
หลังการคลอดระยะที่ 3 สิ้นสุดลงต้องเฝ้าระวังและสังเกตการตกเลือดหลังคลอดให้ใกล้ชิดเมื่อมีการตกเลือดเกิดขึ้น จะได้ให้การดูแลทันท่วงที โดยเฉพาะในช่วงชั่วโมงแรก ๆ ซึ่งจะเกิดการตกเลือดได้บ่อยบางท่านถือว่า 2 ชั่วโมงหลังรกคลอดเป็นระยะที่ 4 ของการคลอดเพื่อจะได้ให้ความสำกัญมากขึ้น ในรายที่ให้ oxytocin เมื่อทารกคลอดแล้ว
การติดเชื้อของส่วนต่างๆ ที่จะพบหลังคลอด
การติดเชื้อของเนื้อเยื่อยึดเหนี่ยวในอุ้งเชิงกราน (Parametritis)
การติดเชื้ออาจเกิดขึ้นได้
จากมีการติดเชื้อของปากมดถูก หรือมดลูกอยู่เดิมแล้วแพร่กระจายผ่านทางหลอดเลือดคำและตามระบบน้ำเหลือง ลุกลามออกมาจนเกิดการติดเชื้อของเนื้อเยื่อยึดเหนี่ยวบริเวณส่วนของมดลูก บริเวณอักเสบจะมีการสะสม exudates เปีนก้อนแข็ง ถ้าแตกเข้าสู่ช่องท้องจะเป็นอันตรายมาก
อาการและอาการแสดง
ไข้สูง 39.5-40*ซ. หนาวสั่น หายใจเร็ว ชีพจรเร็ว
เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกไม่สุขสบาย
เจ็บขณะมดลูกหดรัดตัว หรือ เมื่อเคลื่อนไหวมดลูก
มีก้อน อาจคลำได้ทางช่องคลอด หรือหน้าท้องหรือก้อนข้างตัว
ปวดท้องน้อย อาจเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง และเจ็บมากถึงด้านข้าง
น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น
เซลล์เม็ดเลือดขาวสูง 15,000-30,000/มม'
การติดเชื้อของเยื่อบุมดลูก (endometris)
สาเหตุ
จากเชื้อแบคทีเรียเพาะตัวที่ decidua โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่รกเกาะซึ่งอาจเกิดขึ้นตั้งแต่2-3ชั่วโมง ถึง 2-3วันหลังคลอด ถ้าการติดเชื้อจำเพาะอยู่แต่บริเวณผิว ก็จะหลุดออกมาเองภายใน2-3วัน ถ้าติดเชื้อลุกลามเข้าในชั้นกล้ามเนื้อมดลูกเรียกว่า myometritis
อาการและอาการแสดง
อุณหภูมิสูง 38.5-40 องศา ซ. ชีพจรเร็วสัมพันธ์กับอุณหภูมิที่สูงขึ้น
เบื่ออาหาร รู้สึกไม่สุขสบาย
เซลล์เม็ดเลือดขาวสูงเล็กน้อย
ปวดท้องน้อยบริเวณมดลูก เจ็บเวลาสัมผัส มดลูกเข้าอู่ช้า
น้ำคาวปลาสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นเหม็น จำนวนน้ำคาวปลาอาจมากนานวัน
.การติดเชื้อของฝีเย็บ (Perineal infection)
สาเหตุ
ส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อ Staphylococcus aureus
อาการและอาการแสดง
เจ็บปวดบริเวณที่ติดเชื้อ
มีการคั่งของเลือด มีอาการบวม แดงร้อน
มีอาการห้อเลือด ผิวหนังที่เป็นมีสีคล้ำ
มีหนองไหล บริเวณที่มีการติดเชื้อ แข็งตึงสัมผัสจะรู้สึกนุ่มมีน้ำขังอยู่ข้างในเป็นลักษณะของการบวมเลือด กดบริเวณรอบๆ รู้สึกเจ็บ แผลอาจแยกหรือปากแผลเปิด
ปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ
ถ้าระบายหนองได้ดี จะไม่มีอาการรุนแรง อุณหภูมิต่ำกว่า 38.5 องศาซ. ถ้ามีหนองดั่ง
อยู่ในฝีเย็บอาจมีไข้สูงหนาวสั่น
จำนวนเม็ดเลือดขาวในเลือดเพิ่มขึ้น
มดลูกเข้าอู่ช้า (Subinvolution of uterus)
อาการและอาการแสดง
มีน้ำคาวปลาออกมากหรือนานกว่าปกติ น้ำคาวปลามีสีแดง มีกลิ่นเหม็น (foul lochia)
มดลูกมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ระดับยอดมดลูกไม่ลดลง อาจกดเจ็บ อาจมีอาการปวด
อุณหภูมิร่างกายสูง และอาจเกิดการตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง
สาเหตุ
ภาวะใดๆ ที่ทำให้มดถูกหดรัดตัวไม่ดี ได้แก่ มีเสษรกและหรือเยื่อหุ้มทารกค้าง มีก้อนเนื้องอกของมดลูก หญิงหลังคลอดครรภ์หลัง การตึงตัวของมดลูกไม่ดี ผนังของมดถูกถูกยึดขยายมากเช่น ครรภ์แฝด แฝดน้ำ ทารกในครรภ์ตัวโต
กระเพาะปัสสาวะเต็มหรือมีอุจจาระมากในทวารหนัก
การผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง
การไม่ได้ให้ทารกดูคนมมารดาหลังคลอด
มีการติดเชื้อของมดลูกหรือเยื่อบุมดลูก
มดถูกคว่ำหน้ามากหรือคว่ำหลังมาก
การติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง ( peritonitis)
การติดเชื้ออาจมาจากหลอดน้ำเหลืองของผนังมดลูกลุกลามไปยังเยื่อบุช่องท้อง หรือเนื้อเยื่อของ broad ligament เมื่อมีการติดเชื้อเกิดขึ้น จะมีทั้งเลือดและหนองจับลำไส้ ทำให้ลำไส้ติดกัน และมีการอักเสบของ Cul de sac และ broad ligament เป็นสาเหตุให้ลำไส้อุดตันและหญิงหลังคลอดเป็นหมันได้ การติดเชื้อลามไปถึลำไส้ ทำให้สูญเสียน้ำและโปรตีน เกิดความไม่สมดุลย์ของ clectrolyte และอาจช็อคได้
อาการและอาการแสดง
หนาวสั่น ไข้สูงมากกว่า 40.0' ซ. ชีพจรเร็วอาจถึง 140 ครั้ง/นาที
อ่อนเพลีย กระหายน้ำ หายใงเร็วตื้น
ท้องอืด หน้าท้องโป้งแข็งตึง กดเจ็บ ปวดท้องอย่างรุนแรง
สูญเสียน้ำจากร่างกายจากการอาเจียน อาจมีอาการท้องเดิน
เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
กระสับกระส่าย ระยะแรกหน้าแดง ต่อไปเมื่อมีอาการรุนแรงจะซีด ตัวเย็น เหงื่อออกในรายที่มีฝีในอุ้งเชิงกราน ถ้าไม่ได้รับการรักษา (จะแตก หนองเข้าช่องท้อง เกิดช็อคและถึงชีวิตได้
การติดเชื้อของเต้านม (Mastitis)
อาการและอาการแสดง
อาการเริ่มต้นคัดตึงเต้านมอย่างรุนแรง ต่อมาปวดเต้านมมาก มีไข้สูงอย่างรวดเร็ว อาจสูงถึง38.30-40* ซ. ชีพจรเร็ว ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ อาจมีอาการหนาวสั่น มีการคั่งของน้ำนม น้ำนมไหลออกน้อยลง บริเวณเด้านมแดง ร้อน แข็งตึง ขยายใหญ่ กดเจ็บ ในรายที่มีอาการลุกลามเกิดการอักเสบจะมีหนองออกจากเต้านม
การป้องกันการติดเชื้อของเต้านม
ทำความสะอาดเต้านม และหัวนม เช็ดคราบที่ติดหัวนมออกด้วยน้ำสะอาด หลีกเลี่ยงการใช้สบู่หรือสารอย่างอื่นที่ทำให้หัวนมแห้ง
ขณะดูดนมให้ปากหารกอยู่บนลานนมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้าจะให้ทารกปล่อยหัวนมอย่าดึงออกกดปลายคางทารกให้อ้าปากก่อน แล้วจึงค่อยดึงหัวนมออก
เปลี่ยนท่าในการให้นมบ่อยๆ เพื่อไม่ให้แรงกดจากการดูดของทารกลงบนส่วนใดส่วนหนึ่งของหัวนมมากเกินไป
ถ้ามีอาการกัดตึงเต้านมให้บีบน้ำนมออกให้ลานนมอ่อนนุ่ม และนวดเด้านมเบาๆก่อนให้ทารกดูด
5.สวนเสื้อยกทรงที่มีขนาดพอเหมาะพยุงเต้านมไว้
บุคลากรในทีมสุขภาพและหญิงหลังคลอด ควรล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่จะสัมผัสเต้านม หัวนม และนำให้หญิงหลังคลอดรักษาร่างกาย และเสื้อผ้าให้สะอาด
การรักษาพยาบาลขณะมีการอักเสบติดเชื้อ
ตรวจคูอาการและอาการแสดง ส่งเพาะเชื้อจากหัวนมและน้ำนม เพื่อพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะตามความเหมาะสม
ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา ถ้ามีหนองอาจต้องผ่า และเปีดทางให้หนองไหลออกอาจจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล
ลดการกระตุ้นเต้านม และหัวนมบริเวณที่มีการติดเชื้อ รักษาความสะอาด ใช้ความร้อนเป่า เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของเลือดและน้ำนมดี ลดความเจ็บปวด และอาจช่วยให้น้ำนมออกมา โดยใช้เครื่องปั๊มน้ำนม หรือใช้มือบีบแต่ไม่นวด
กรณีเต้านมอักเสบให้ทารกดูดนมต่อไปได้ ถ้าเต้านมเป็นฝืงดทารกดูคนมข้างนั้นและบีบน้ำนมออก อย่างไรก็ตามการให้ทารกดูดนมยังมีความเห็นขัดแข้งกันอยู่ แต่ยังคงให้ดูดข้างที่ไม่เป็นฝี
กรณีเต้านมอักเสบให้ทารกดูดนมต่อไปได้ ถ้าเต้านมเป็นฝืงดทารกดูคนมข้างนั้นและบีบน้ำนมออก อย่างไรก็ตามการให้ทารกดูคนมยังมีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ แต่ยังคงให้คูดข้างที่ไม่เป็นฝีต่อไปโดยไม่ต้องหยุดดูด และกลับมาดูดข้างที่เป็นฝีเมื่อแพทย์อนุญาต
สวมเสื้อชั้นในหรือพันผ้า (breast binder) ช่วยพยุงเด้านมไว้ ต้องระวังไม่พันผ้าแน่นหรือสวมเสื้อชั้นในคับเกินไป
ในรายที่แพทย์เปิดแผลเพื่อระบายหนองออก ให้ทำความสะอาดแผลวันละ2 ครั้ง
แนะนำการรักษาความสะอาดของร่างกาย และการบำรุงสุขภาพให้แข็งแรง
ลดความกลัว ความวิตกกังวล ให้กำลังใจ
หลอดเลือดดำอักเสบ (Thrombophlebitis )
อาการและอาการแสดง
ถ้ามีการอักเสบของหลอดเลือดดำบริเวณพื้นผิวจะมีอาการ ดังนี้
ปวดน่องเล็กน้อย มีอาการบวม แดง ร้อน หลอดเลือดดำเข็ง
ถ้ามีการอักเสบของหลอดเลือดดำที่ลึกลงไปจะมีอาการ ดังนี้
มีไข้ต่ำๆ ผิวหนังร้อน แต่มองไม่เห็นหรือกลำไม่ได้ กดหลอดเลือดดำส่วนลึกเจ็บ
ดันปลายเท้าเข้าหาลำตัวให้น่องตึงจะรู้สึกปวดมาก (Homan's sign = positive)
กล้ามเนื้อน่องเกร็ง ปวดตื้อๆที่น่อง หรือที่ขา
มีอาการบวมบริเวณขา เนื่องจากหลอดเลือดดำอุดตัน
ปัจจัยส่งเสริมให้มีการอักเสบของหลอดเลือดดำ
มีประวัติเคยมีการอักเสบของหลอดเลือดดำมาก่อน
มีหลอดเลือดดำพองขอด
เคยผ่าตัดเกี่ยวกับช่องท้องและอุ้งเชิงกราน
ได้รับเอสโตรเจน
อ้วนมาก
ได้รับบาดเจ็บจากการคลอด
คลอดโดยขึ้นขาหยั่ง (Lithotomy) เป็นเวลานาน
ได้รับการรักษาทางหลอดเลือดดำ
การติดเชื้อหลังคลอด
ภาวะที่ทำให้หญิงหลังคลอดเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
น้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ หรือภาวะโภชนาการไม่ดีเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และมักพบการติดเชื้อหลังคลอดในผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีมากกว่าผู้มีฐานะดี
มีภาวะเลือดจาง เป็นผลให้ด่านป้องกันการติดเชื้อของร่างกายอ่อนแอ
ถุงน้ำทูนหัวแตกเกิน 24 ชั่โมงก่อนคลอด ซึ่งแบคที่เรียอาจลุกลามเข้าไปในมดถูกได้ขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์
การตรวจทางช่องคลอดบ่อยๆ ในระยะคลอด โดยเฉพาะในรายที่ถุงน้ำแตกแล้ว
เนื้อเยื่อของหนทงคลอดได้รับการกระทบกระเทือน ไม่ว่าจะมีบาดแผลเปิดหรือมีการชอกช้ำของเนื้อเยื่อ หรือ มีการบวมเลือดของหนทางคลอด
การตรวจสอบเสียงหัวใจของทารกผ่านทางช่องคลอด (internal fetal monitoring) อาจมีการปนเปื้อนได้เมื่อใส่ electrode เข้าไป
การคลอดยากหรือระยะคลอดยาวนานเกิน 24 ชั่วโมง การได้รับสูติศาสตร์หัตถการ การบาดเจ็บจากการช่วยคลอด อาจทำให้เนื้อเยื่อมีการฉีกขาด มีรอยแยกเป็นหนทางนำเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
เทคนิคการทำคลอดไม่ถูกต้องเหมาะสม มีการแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยตรง หรือทำผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้องหลังถุงน้ำแตก หรือรายที่คลอดฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล หรือรายที่ได้รับการสวนปัสสาวะระหว่างคลอด
มีเศษรกค้างในโพรงมดลูก เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากเนื้อเยื่อตายเป็นอาหารที่ดีของเชื้อแบคทีเรีย
ทำการล้วงรก หรือทำการตรวจโพรงมดลูกหลังคลอดรายที่มีเศษรกหรือมีเลือดออกมามากผิดปกติทำให้เชื้อเข้าไปขณะตรวจ
มีการตกเลือด ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง
การดูแลฝีเย็บที่ไม่ถูกต้องหรือขาดการดูแลรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
การวินิจฉัย
จากประวัติส่วนตัว ประวัติระยะตั้งครรภ์ การคลอด
จากการตรวจทางห้องทดลอง
การนับเซลล์เม็ดเลือด
ความเข้มขั้นของเลือด
การนับเซลล์เม็ดเลือดขาว
แกรมสเตน
การเพาะเชื้อ
การตรวจปัสสาวะ การเพาะเชื้อในปัสสาวะ
การรักษา
-ใช้ยาปฏิชีวนะ อาจให้ทางปากหรือทางหลอดเลือดขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อและความรุนแรง
ติดเชื้อเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล อาจให้ขาไปรับประทานที่บ้าน และแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
ติดเชื้อปานกลาง อาจจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลให้ขาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำจนกว่าไข้จะลด อย่างน้อย 24 ชั่วโมง จึงจะให้ออกจากโรงพยาบาล และให้ยารับประทานต่อที่บ้าน
ติดเชื้อรุนแรง อาจเกิดหลังทำผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง หรือคลอดทางช่องคลอดที่ถุงน้ำแตกก่อนคลอดเป็นเวลานาน ฯลฯ การรักษาจะให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ ให้นอนพักในท่าsemi-fowler เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อเข้าไปในช่องท้อง และช่วยให้น้ำคาวปลาไหลสะดวก