Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 30 การพยาบาลมารดาที่มีความผิดปกติทางจิตใจหลังคลอ - Coggle Diagram
บทที่ 30 การพยาบาลมารดาที่มีความผิดปกติทางจิตใจหลังคลอ
อารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blues)
วันที่10 อาการนี้จะพบได้ 60-80* ของมารคาหลังคลอด สาเหตุจากการลดระดับของฮอร์ โมนเอสโตรเจนและ โปรเจสเตอร โรน ความเครียด จากการอดนอน นอนน้อยต้องดูแล
บุตรโดยไม่มีคนช่วยเลี้ยงดูบุตร มีอาการอ่อนเพลีย วิตกกังวล อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิดง่ายร้องให้ง่าย เศร้าง่าย อาการเป็นชั่วคราว
ภาวะชีมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression)
คือ ภาระจิตใจหม่นหมอง หดหู่และเศร้าสร้อย ร่วมกับการมีความรู้สึก ท้อแท้ หมดหวังในชีวิต วิตกกังวล อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิด ขาดความสนใจตนเองและ สิ่งแวดล้อม เบื่ออาหาร นอนไม่หลับอ่อนเพลีย ห้อแท้ไปจนถึงหมดหวัง แต่เมื่อสาเหตุของความเศร้าถูกขจัด บุคคลนั้นจะกลับคืนสู่สภาพปกติ ลักยณะสำคัญที่ต่งจากอารมณ์เศร้าหลังคลอดคือมีอาการเป็นอยู่นานเกิน 2 สัปดาห์ และอาการรุนแรงจนรบกวนความเป็นอยู่และการเลี้ยงดูทารก
อาการอาจแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ
มีอาการเศร้าโศกภายหลังคลอด ฝันน่ากลัว และมีความคิดฆ่าตัวตายเนื่องจากมีความรู้สึกเสียใจ สูญเสีย ซึ่งมักเกิดจากการตื่นเต้นต่อการคลอด
ระยะที่สองอาจเกิดขึ้นในช่วง 1-3 เดือนภายหลังคลอด จากการที่มารดาพยายามจะนำทารกรวมเข้าเป็นสมาชิกในครอบครัว และพยายามสนองความต้องการของทารก ขณะเดียวกันมารดาต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และบทบาทหน้าที่ที่เพิ่มขึ้น ช่วงนี้มารดาจะมีอาการอ่อนเพลีย และพักผ่อนไม่เพียงพอจากการเลี้ยงดูทารก
ระยะที่ 3 อาจใช้เวลานานถึง 1 ปีภายหลังคลอด จากการที่มารดาพยายาม ปรับตัวต่อบทบาทการเป็นมารดา เกิดความรู้สึกสองฝักสองฝ่ายต่อบทบาทการเป็นมารดา คือการอยากทำหน้าที่มารดาแต่รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า เชื่องซึม ขาดความกระตือรือร้น ทำให้เกิดความแปรปรวน อารมณ์ไม่คงที่ และรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากบุคคลรอบข้าง
โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis)
จะเกิดขึ้นในระยะ48-72 ชั่วโมงแรกหลังคลอด อย่างไรก็ตามอาการของโรคอาจจะพบได้ภายใน 1 เดือนแรกหลังคลอด ประมาณ 90% ที่เป็นโรคจิตหลังคลอด เกิดภายใน 1 เดือน อีก 10%เกิดหลังคลอด 1-6 เดือน
มารดาที่มีความเสี่ขงสูง คือ มารดาที่เคยมีประวัติความผิดปกติทางจิตใจมาก่อนมารดาที่เริ่มมีอาการทางจิต จะมีอาการของโรคจิตชนิดใดชนิดหนึ่ง คือ
. โรคจิตเภท (Schizophrenia) มารดาจะมีอาการหลงผิด มีความคิดเพ้อฝัน ประสาทหลอนติดต่อกับผู้อื่น
โรคซึมเศร้า (Psychotic depression reaction) มารดาจะมีอาการเศร้า หงุดหงิดง่าย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ เหนื่อยง่าย ความคิดและการกระทำเชื่องช้า ตำหนิและลงโทษตนเอง บางรายรุนแรงตนคิดอยากฆ่าตัวตาย และทำร้าขผู้อื่น ระชะนี้จะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูงจึงควรรีบรักษา
โรคแมนเนีย (Mania-depressive illness) จะมีลักษณะทางคลินิกเด่นชัด เช่น พูดมาก ไม่หลับไม่นอน มีการเคลื่อนไหวมาก
โรคจิตเนื่องจากสมองพิการ (Toxic psychosis) จะมีระดับความรู้สึกที่มึนงง (Blurredconsciousness) เป็นอาการเด่นชัดร่วมกับอาการสับสน จำเวลา สถานที่
พยาบาลจึงควรสังเกตความผิดปกติไปนี้ คือ
การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว
ปฏิกิริยาตอบสนองของบุคคลในครอบครัวต่อมารดา
การป้องกันการเกิดความผิดปติทางจิตใจในมารดาหลังคลอด เป้าหมายสำคัญ คือการ
ส่งเสริมให้มารดาสามารถปรับตัวให้เกิดสมดุลของร่างกายและจิตใจ ช่วยเหลือให้มารดาสามารถเผชิญกับความตึงเครียดตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจ