Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อุปสงค์ อุปทานและต้นทุนของการบริการ - Coggle Diagram
อุปสงค์ อุปทานและต้นทุนของการบริการ
อุปสงค์และอุปทานด้านสุขภาพ
อุปสงค์
หมายถึงจำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ซื้อต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่าง ๆ หรือ ณ ระดับรายได้ต่าง ๆ หรือ ณ ระดับราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง
กฎของอุปสงค์
(Law of Demand) ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการในราคาต่ำ (ราคาถูก) ในปริมาณมากกว่าซื้อสินค้าในราคาสูง (ราคาแพง) นั่นคือราคาและปริมาณความต้องการซื้อสินค้าจะมีความสัมพันธ์กันในทิศทางตรงกันข้ามคือเมื่อราคาสินค้าสูงขึ้นปริมาณความต้องการซื้อจะลดต่ำลงและในทางตรงกันข้ามเมื่อราคาสินค้าลดลงปริมาณความต้องการซื้อสินค้าจะเพิ่มสูงขึ้น
ปัจจัยที่ทำให้อุปสงค์เปลี่ยนแปลงตัวอย่าง: ปัจจัยที่ทำให้เส้นอุปสงค์เปลี่ยนแปลง 1) ราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้องคือสินค้าที่ทดแทนกันได้เช่นเมื่อความต้องการใช้ยาลดไข้พาราเซตามอลลดลงความต้องการใช้ยาลดไข้แอสไพรินจะลดลงด้วยส่วนสินค้าที่ประกอบกันถ้าราคาสินค้าที่ใช้ประกอบกันชนิดหนึ่งสูงขึ้นย่อมมีผลทำให้ความต้องการซื้อสินค้าที่ใช้ประกอบกันอีกชนิดหนึ่งลดลงไปด้วย 2) รายได้ถ้าเป็นสินค้าปกติเมื่อรายได้สูงขึ้นความต้องการซื้อสินค้าย่อมสูงตามไปด้วย (เส้นอุปสงค์เลื่อนไปทางขวา) สินค้าด้อยคุณภาพรายได้จะมีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับปริมาณความต้องการซื้อสินค้า
อุปทาน
หมายถึงปริมาณเสนอขายงานบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิตต้องการเสนอขายซึ่งผันแปรโดยตรงตามราคาของบริการนั้น
ความหมายของอุปทานบริการสุขภาพอุปทาน
(Supply for health care) คือปริมาณเสนอขายงานบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิตต้องการเสนอขายซึ่งผันแปรโดยตรงตามราคาของบริการนั้นตัวกำหนดอุปทานของบริการสุขภาพคือปริมาณเสนอขายและบริการสุขภาพขึ้นอยู่กับราคาและบริการนั้นเป้าหมายของธุรกิจสภาพเทคนิคในการผลิตราคาอื่นราคาของปัจจัยการผลิตและจำนวนผู้ผลิตผู้ขายในตลาดการศึกษาเกี่ยวกับอุปทานจะมีเฉพาะอุปทานต่อราคาเท่านั้น)
การเปลี่ยนแปลงของอุปทานราคาของทรัพยากรการผลิตจำนวนหน่วยผลิตสถานการณ์ทางการเมืองและสภาวะอากาศเทคโนโลยีการผลิต-นโยบายรัฐบาล.
ประเภทของสินค้าและบริการสุขภาพ
สินค้าและบริการที่ใช้ทดแทนกันได้เช่นยาบางชนิดจะมีความไวในการเปลี่ยนแปลงราคาและปริมาณเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือความสัมพันธ์ในทิศทางบวก
สินค้าและบริการที่ใช้ประกอบกันเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ร่วมกันโดยทั่วไปเช่นน้ำตาลกับผงกาแฟจะมีความไวในการ
สินค้าและบริการปกติผู้รับบริการจะซื้อเพิ่มขึ้นเมื่อมีรายได้สูงและจะซื้อน้อยลงเมื่อมีรายได้ลดลงมีความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างปริมาณเสนอซื้อกับรายได้จะมีความไวในการเปลี่ยนแปลงราคาและปริมาณเป็นไปในทิศทางเดียวกันนนค้า
สินค้าและบริการด้อยคุณภาพผู้รับบริการจะซื้อสินค์บริการลดน้อยลงเมื่อรายได้สูงขึ้นและจะซื้อเพิ่มขึ้นเมื่อรายได้ลดลงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเสนอซื้อกับรายได้สินค้าและบริการด้อยคุณภาพจึงมีความสัมพันธ์ผกผันหรือในทางตรงข้ามกัน
ราคาดุลยภาพ
ราคาดุลยภาพเป็นราคาที่ทำให้จำนวนเสนอซื้อ (อุปสงค์) เท่ากับจำนวนเสนอขาย (อุปทาน)-ราคาใด ๆ ที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน-ราคาใด ๆ ที่สูงกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปทานส่วนเกินราคาดังกล่าวจะปรับเข้าสู่ราคาดุลยภาพและราคาจะไม่เปลี่ยนแปลงนอกจากจะมีการเคลื่อนย้ายเส้นอุปสงค์และ / หรืออุปทานซึ่งอาจทำให้เกิดราคาดุลยภาพใหม่และ / หรือปริมาณดุลยภาพใหม่สูงขึ้นหรือลดลงปกติรัฐบาลจะปล่อยให้กลไกราคาทำงานไปตามลำพังหากกลไกราคาไม่สามารถปรับตัวได้ทันรัฐบาลจะเข้าแทรกแซงกลไกของราคาในตลาดเพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
อุปสงค์อุปทานส่วนเกิน
อุปสงค์ส่วนเกิน: Excess Demand เมื่อความต้องการของผู้รับบริการมีมากกว่าที่ผลิตได้จะเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน: ดุลยภาพความต้องการจะเกิดขึ้นโดยระดับราคาและบริการจะค่อย ๆ สูงขึ้นเนื่องจากปริมาณบริการน้อย แต่ความต้องการมาก
อุปทานส่วนเกิน (Excess Supply) ในทางตรงข้ามหากปริมาณการผลิตมีมากกว่าความต้องการงานบริการจะเกิดอุปทานส่วนเกินหรือสภาวะที่อุปทานมีมากกว่าอุปสงค์ดุลยภาพของการผลิตสินค้าจะเกิดขึ้นโดยระดับราคาจะค่อยๆลดลงมาให้เท่ากับความต้องการหรือโดยลดปริมาณการผลิตลง
ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์
เป็นต้นทุนที่จ่ายเป็นตัวเงินและไม่จ่ายเป็นตัวเงินหรือหมายถึงต้นทุนชัดเจนและต้นทุนแฝงรวมกันหรือคิดกำไรปกติที่ผู้ประกอบการได้รับเข้าไปด้วยต้นทุนทางการเงิน (Financial – cost) เป็นต้นทุนชัดเจน (ฉัตรสุมนพฤฒิภิญโญ, 2553)
ต้นทุนชัดแจ้ง (Explicit Cost): ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงและมีการจ่ายออกไปเป็นตัวเงินจริง ๆ
ต้นทุนไม่ชัดแจ้ง (Implicit Cost): คือต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการผลิตจริง ๆ แต่ไม่มีการจ่ายออกไปเป็นตัวเงินเกิดจากการนำปัจจัยการผลิตที่ตนเองเป็นเจ้าของมาใช้ในการผลิต
การจำแนกประเภทต้นทุน
ต้นทุนตามพฤติกรรม 1.1 ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) เป็นต้นทุนที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามปริมาณการผลิตและการขายเช่นค่าก่อสร้าง, ค่าที่ดิน, ค่าเครื่องจักรเป็นต้น 1.2 ต้นทุนผันแปร (Variable cost) เป็นต้นทุนที่แปรผันโดยตรงและเป็นอัตราคงที่กับปริมาณการผลิตและการขายเช่นค่าจ้างแรงงาน, ค่าวัตถุดิบเป็นต้น
ต้นทุนตามวัตถุประสงค์ 2.1 ต้นทุนทางตรงรวม (Total direct cost) เป็นการวิเคราะห์ต้นทุนทั้งหมดต้องมีต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อมจากทุกหน่วย 2.2 ต้นทุนทางตรง (direct cost) หมายถึงต้นทุนค่าแรงค่าวัสดุค่าลงทุนของแต่ละหน่วยผลผลิต 2.3 ต้นทุนทางอ้อม (Indirect cost) หมายถึงต้นทุนที่รับจัดสรรมาจากต้นทุนที่เกิดร่วมกันเพื่อร่วมเป็นต้นทุนสินค้าและบริการเช่นจากงานเวชระเบียนงานบริหารเพื่อรวมเป็นต้นทุนทั้งหมดของบริการ
ต้นทุนตามหน้าที่ 3.1 ต้นทุนการผลิต ได้แก่ ต้นทุนการผลิตสินค้าหรือบริการทั่วไป ได้แก่ วัสดุค่าแรงและค่าเสื่อมราคาจากครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง 3 2 ต้นทุนดำเนินงาน ได้แก่ ต้นทุนในการบริหารต้นทุนการนายและอื่น ๆ ขององค์กร 3.3 ต้นทุนการเงินคือดอกเบี้ยจากเงินที่กู้มา
ต้นทุนแบ่งทรัพยากร 4.1 ต้นทุนวัสดุ (Material cost) เป็นค่าวัสดุที่ใช้ในการผลิตรวมทั้งวัสดุที่สูญเสียในรอบการผลิต 4.2 ต้นทุนค่าแรง (Labor cost) เป็นเงินเดือนค่าจ้างค่าตอบแทนรวมสวัสดิการต่าง ๆ ที่องค์กรจ่ายแก่บุคลากรรวมทั้งสวัสดิการที่ไม่จ่ายเป็นตั้งเงินเช่นชุดทำงานการประกันสังคม 4.3 ต้นทุนค่าลงทุน (Capital cost) คือต้นทุนของสินทรัพย์หลักที่ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการเช่นที่ดินอาคารสิ่งก่อสร้าง
ต้นทุนการบริการด้านสุขภาพ
จากการเปลี่ยนแปลงระบบการเงินโรงพยาบาลภาครัฐเข้าสู่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในปี 2545 ระบบการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้รับบริการโดยตรงซึ่งกำหนดราคาตามชิ้นงานบริการถูกปรับเป็นการจัดสรรเป็นเงินกองทุนล่วงหน้าเหมาจ่ายปลายปิดและการขยายตัวการเข้าถึงบริการของประชาชนดังนั้นการศึกษาต้นทุนการดำเนินงานที่แท้จริงจึงมีความจำเป็นเพื่อเป็นข้อเสนอในการกำหนดการจัดสรรที่เหมาะสมแก่หน่วยบริการ
ขั้นตอนการวิเคราะห์ต้นทุนบริการสุขภาพ
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดหน่วยต้นทุนขั้นตอนที่ 2 การหาต้นทุนรวมทางตรง (Total Direct cost) ขั้นตอนที่ 3 การหาต้นทุนทางอ้อม (Indirect cost) ขั้นตอนที่ 4 การหาต้นทั้งหมด (Full cost) ขั้นตอนที่ 5 การหาต้นทุนต่อหน่วย (Unit cost)
นายยงยศ จันปัญญา เลขที่ 15 ห้องB รุ่น 26