Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิด [Transient Tachypnea of the newborn:…
ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิด [Transient Tachypnea of the newborn: TTNB]
ความหมาย
หมายถึงภาวะที่มีการหายใจเร็วในระยะแรกเกิดที่ปรากฏอาการภายหลังคลอดทันทีหรือภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอดเกิดจากมีน้ำเหลืออยู่ในปอดมากกว่าปกติทำให้ใช้เวลาดูดซึมออกจากปอดนานขึ้นจึงทำให้ทารกมีอาการหายใจลำบาก
พยาธิสภาพ
การที่มีสารน้ำสะสมอยู่ในถุงลมปอดและเนื้อเยื่อนอกถุงลมปอด (extra-alveolar interstitium) ทำให้หลอดลมตีบแคบอย่างรุนแรง (compress) เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจมีผลทำให้อากาศถูกกับและปอดมีการขยายตัวมากขึ้นด้วยขาดออกซิเจนจากการที่ถุงลมมีการกำซาบ (perfusion) แต่มีการระบายก๊ซ (ventilation) ออกไม่เพียงพอทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง
ปัจจัยเสี่ยง
1.ความผิดปกติทางพันธุกรรม
2การคลอดก่อนกำหนดในระยะท้าย (late preterm)
3.การผ่าตัดคลอด (cesarean section)
ปัจจัยเสี่ยงโรคหอบหืดในมารดา (maternal asthma)
5.ภาวะเบาหวานในขณะตั้งครรภ์และทารกตัวโต (gestational diabetes mellitus and macrosomia)
กรณีศึกษา
GA 35+2 สัปดาห์
คลอดแบบ cesarean section เนื่องจากเป็น Twin
สาเหตุ
ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิดมีสาเหตุมาจากการที่ทารกไม่สามารถขับน้ำที่อยู่ภายในปอดออกมาได้หมดเข้าสู่ระยะคลอดทารกจะมีการเตรียมเพื่อการหายใจครั้งแรกผ่านกระบวนการดูดซึมน้ำในปอดกลับเข้าสู่ระบบน้ำเหลืองและระบบไหลเวียนเลือดโดยในระยะ 2-3 สัปดาห์ก่อนถึงกำาหนดคลอดจะมีการหลั่งสาร catecholamines เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะ epinephrine และ isoproterenol เมื่อเข้าสู่ระยะคลอดทารกเคลื่อนเข้าสู่ช่องทางคลอดของมารดาทรวงอกของทารกจะถูกบีบ (vaginal squeeze) ทำให้มีการคายน้ำออกจากปอดเป็นการเตรียมพร้อมสําหรับการหายใจครั้งแรก แต่หากกระบวนการขจัดนำออกจากปอดของทารกถูกรบกวนทำให้น้ำคงเหลืออยู่ในปอดทารกส่งผลทารกหายใจไม่มีประสิทธิภาพเกิดภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในระยะแรกเกิดได้
เกณฑ์การวินิจฉัย
ส่งตรวจนับจำนวนเม็ดเลือด (complete blood count)
ส่งตรวจ chest X-ray เพื่อประกอบการวินิจฉัย
หากมีอาการรุนแรงหรือคงอยู่หลายชั่วโมงควรทำการส่งตรวจการติดเชื้อในกระแสเลือด (hemoculture))
เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิดมีเกณฑ์การพิจารณา
1.การตรวจ chest X-ray พบน้ำคั่งบริเวณปอดและเยื่อหุ้มปอด
2.เริ่มมีอาการหายใจเร็วภายในระยะเวลา 6 ชั่วโมงหลังคลอด
ไม่มีสาเหตุความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจมาก่อนโดยทั่วไปแล้วภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิดจะคงอยู่ประมาณ 48-72 ชั่วโมงหากมีอาการนานมากกว่านี้มักมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นและกลายเป็นกลุ่มอาการหายใจลำบาก (respiratory distress syndrome: RDS)
4.อาการหายใจเร็วคงอยู่นานอย่างน้อย 12 ชั่วโมง-ไม่สามารถดูดนมได้
กรณีศึกษา
Admit SNB ตรวจ
CBC
H / C
No Growth after 2 day
chest X-ray
ปกติ
อาการและอาการแสดง
1.ลักษณะอาการที่สำคัญคืออาหารหายใจเร็ว (tachypnea) มี อัตราการหายใจมากกว่า 60 ครั้ง / นาที
2.ตรวจเอ็กซ์เรย์ปอดจะพบว่ามีน้ำในปอดและเยื่อหุ้มปอด
3.ตรวจค่าก๊าซในเลือดจะพบว่ามีกรดเกินจากการหายใจ respiratory acidosis ภาวะคาร์บอนไดออกไซด์เกิดเล็กน้อย.
4.ภาพรังสีปอดอาจพบฝ้าขาวในระยะแรก แต่จะหายไปอย่างรวดเร็ว
5.ตรวจร่างกายพบว่ามีผิวสีคลำหายใจมีการดึงรั้งของผนังทรวงอก
กรณีศึกษา
แรกคลอด มีเขียวปลายมือปลายเท้า
สังเกตอาการ 2 ชม.หลังคลอด
RR = 70 - 80
เหนื่อย หายใจเร็ว อกปุ่ม
ผลกระทบ
ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิดส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของทารกแรกเกิดโดยตรงรวมทั้งผลกระทบต่อครอบครัวของทารกแรกเกิดพบว่าทารกที่มีภาวะหายใจเร็วชั่วคราวจำเป็น ต้องได้รับการดูแลรักษาโดยกุมารแพทย์บางรายจำเป็นต้องได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นการเพิ่มจำนวนวันนอนโรงพยาบาลของทั้งมารดาและทารกนอกจากนี้ยังพบว่าภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิดเป็นสาเหตุการตายของทารกแรกเกิดประมาณร้อยละ 0.83 ส่วนใหญ่เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะหายใจลำบาก (respiratory distress) ในทารกสำหรับผลกระทบในระยะยาวพบว่าทารกแรกเกิดที่มีภาวะหายใจเร็วชั่วคราวสัมพันธ์กับการเป็นโรคหอบหืดในเด็กและสัมพันธ์กับการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจในเด็กทำให้ทารกต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้นส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพจิตของบิดามารดาทำให้มีความเครียดวิตกกังวลต่อสุขภาพบุตรและการที่ทารกต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้นเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวทำให้ครอบครัวมีปัญหาด้านเศรษกิจตามมาได้
แนวทางการดูแลรักษา
1.ในรายที่มีภาวะความดันในปอดสูงอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (extracorporeal membrane oxygenator: ECMO)
2.ให้ออกซิเจนความเข้มข้นตั้งแต่ 40% ขึ้นไปซึ่งทั่วไปให้ออกซิเจน canular หรือออกซิเจน box บางรายอาจจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนแรงดันบวก (continuous positive airway pressure) หรือใส่ท่อช่วยหายใจโดยเฉพาะในราย ที่มีภาวะหายใจลำบากเกิดขึ้นซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของกุมารแพทย์
3.ในรายที่อาการคงอยู่นานเกิน 48 ชั่วโมงขึ้นไปควรได้รับการตรวจการติดเชื้อของปอดและให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันปอดอักเสบ
4.สังเกตภาวะแทรกซ้อนภาวะ หายใจเร็วในทารกแรกเกิดมีภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยคือภาวะความดันในปอดสูงซึ่งจะทำให้เกิดความผิดปกติของระบบไหลเวียนดามมาจากการที่ ductus arteriosus ไม่ปิดเกิดการไหลลัดของเลือดจากหัวใจห้องขวาไป ยังห้องซ้ายโดยตรงโดยไม่ผ่านปอดซึ่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา
กรณีศึกษา
สังเกตอาการ 2 ชม.หลังคลอด
RR = 70 - 80 / min เหนื่อย หายใจเร็ว อกปุ่ม
On O2box 10 LPM
ส่งต่อไปยัง NICU
อาการเหนื่อย หายใจเร็ว BP 72/25 mmHg RR 74 ครั้ง On 02 box 10 LPM
หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 1
On cannula 2LPM
การพยาบาล
1.ก่อนการคลอดลำตัวทารกทำการดูดเสมหะในทางเดินหายใจด้วยลูกสูบยางให้ทางเดินหายใจโล่งเพื่อช่วยส่งเสริมการหายใจครั้งแรกของทารกแรกเกิด
2) ให้การดูแลเพื่อส่งเสริมการหายใจของทารกแรกเกิดโดยใช้ลูกสูบยางดูดเสมหะในปากและจมูกในระยะแรกคลอดก่อนการกระตุ้นให้ทารกร้องไห้และให้การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่าโดยให้การพยาบาลใด้ radiant warmer รีบเช็ดตัวให้แห้งและห่อตัวทารกให้อบอุ่นซึ่งช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบหายใจได
3) ในระยะหลังคลอด 2 ชั่วโมงให้สังเกตอาการอย่างใกล้ชิดในรายที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือมีอาการหายใจเร็วชั่วคราวในระยะแรกเกิดโดยเฉพาะลักษณะการหายใจและระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (O2 saturations) ควรติดตามอย่างต่อเนื่อง
4.ในรายที่พบว่ามีอาการหายใจเร็วชั่วคราวเกิดขึ้นควรมีการให้ออกซิเจนที่มีระดับความเข้มขันตั้งแต่ 40% ขึ้นไปตามแผนการรักษาและเป็นออกซิเจนที่ผ่านความชื้นนิยมให้ O2 canular หรือ 02 box2 เพื่อช่วยส่งเสริมการดูดกลับของสารน้ำในปอดสิ่งเสริมการปรับตัวของระบบหายใจและระบบไหลเวียน
5) ในรายที่มีอาการรุนแรง (อัตราการหายใจมากกว่า 80 ครั้ง / นาที) ควรให้งดดูดนมและให้สารละลายทางหลอดเลือดดำชนิด 10% DW ใบขนาด 60-80 มล. / กก. / วันตามแผนการรักษา
6) เมื่อทำการสังเกตอาการครบ 2 ชั่วโมงร่วมกับให้การดูแลแบบประคับประคองแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรรายงานแพทย์เพื่อพิจารณาส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษเพื่อประกอบการวินิจฉัยภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในระยะแรกเกิดและให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจตามแผนการรักษา
7) ทำการส่งต่อทารกแรกเกิดที่มีภาวะหายใจเร็วชั่วคราวไปยังหออภิบาลทารกแรก
กรณีศึกษา
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 1 พร่องออกซิเจนเนื่องจากการแลกเปลี่ยนก๊าซไม่มีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์ของปอด
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 2 ได้รับสารอาหารน้อยกว่าความต้องการของร่างกายเนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 3 เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังทำงานไม่สมบูรณ์
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 4 ทารกมีโอกาสเกิดอุณหภูมิกายต่ำ (Hypothermia) เนื่องจากศูนย์ควบคุมอุณหภูมิร่างกายยังเจริญไม่เต็มที่
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 5 มีโอกาสเกิดพัฒนาการไม่เหมาะสมเนื่องระบบประสาทพัฒนาไม่สมบูรณ์
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 6 ส่งเสริมสัมพันธภาพบิดามารดาและทารกเนื่องจากการเจ็บป่วยของทารก
2 ชั่วโมงหลังคลอดที่ห้องคลอดทารกแรกเกิดเพศหญิง GA 35 + 2 wks น้ำหนักแรกคลอด 2,405 กรัมคลอดโดยวิธี C/S แรกคลอด Active ดีเขียวปลายมือปลายเท้า น้ำคร่ำมีกลิ่นเหม็น 02 sat Room air 97% obs ต่อ LR obs 2 ชม. RR = 70 - 80 / min 02Sat Room air 100% เหนื่อย หายใจเร็ว อกปุ่ม On 02box 10 LPM,
BP 75 /27mmHg ส่งต่อไปยัง NICU ทารก good active ตัวแดงดี มีอาการเหนื่อย หายใจเร็ว DTX = 85, Hct = 56%, mg% HR 134 ครั้ง / นาที, BP 72/25 mmHg RR 74 ครั้ง / นาที 02 sat Room air 100% On 02 box 10 LPM แพทย์จึงให้ย้ายผู้ป่วยมาหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 1