Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบหายใจ Respiratory - Coggle Diagram
ระบบหายใจ Respiratory
respiratory division ส่วนแลกเปลี่ยนก๊าซ
ถุงลมแฟบ (Atelectasis)
ภาวะถุงลมแฟบโดยที่ไม่เคยขยายตัวเลยหรือเคยขยายตัวแล้วกลับแฟบลงภายหลัง
เกิดขึ้นกับเนื้อปอดปริมาณมากจะทำให้ขาดO2
ติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ เช่น เสมหะ สิ่งแปลกปลอม
ปอดบวมน้ำ (Pulmonary edema)
สาเหตุ
การบาดเจ็บต่อเนื้อปอดหรือระบบหลอดเลือดของปอด (ปวดบวมน้ำที่ไม่มีสาเหตุจากหัวใจ noncardiogenic pulmonary edema)
หัวใจซีกซ้ายล้มเหลว ทำให้ไม่สามรถบีบไล่เลือดออกจากระบบไหลเวียนในปอดได้ทัน (ปวดบวมน้ำเหตุหัวใจ cardiogenic pulmonary edema)
ถุงลมโป่งพอง (Emphysema)
สาเหตุ
สารไนโตรเจนไดออกไซด์ในควันบุหรี่จะทำลายเนื้อเยื่อในปอดและในถุงลมให้ฉีกขาดทีละน้อย และรวมตัวกลายเป็นถุงลมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เกิดโรคถุงลมโป่งพอง
ทำให้พื้นที่ผิวเนื้อเยื่อภายในปอด ซึ่งเป็นที่รับO2เข้าสู่ร่างกายมีขนาดเล็กลง จึงต้องหายใจเร็วขึ้น เพื่อให้ร่างกายในรับO2เพียงพอ
หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis)
เกิดจากการติดเชื้อเรื้อรัง ภูมิแพ้ ฝุ่นละออง และการสูบบูหรี่เป็นเวลานาน เยื่อบุหลอดลมจะหนา มีmucous secreting gland จำนวนมากขึ้น
มีการหลั่งเมือก (เสมหะ) ออกมาตั้งแต่ปกติ เป็นเหตุให้หลอดลมมีลักษณะตีบแคบลง ทำให้ลมหายใจเข้าออกได้ยากลำบากขึ้น
*เมื่อมีการไอมีเสมหะติดต่อทุกวันนานกว่า 6 เดือนขึ้นไป หรือเป็นอยู่อย่างน้อยปีละ 3 เดือนติดต่อกัน 2 ปีขึ้นไป หรืออย่างน้อยปีละ 3 เดือนติดต่อกัน 2 ปีขึ้นไป
หอบหืด (Bronchial Asthma)
สาเหตุของหอบหืดมี 2 ชนิดได้แก่
1.Extrinsic asthma เกิดจากการแพ้สารภายนอก antigen เหล่านี้ จะกระตุ้นให้มีการสร้าง IgE (อิมมูโนโกลบูลิน อี) มาเกาะที่ mast cell เมื่อ mast cell แตกออก จะหลั่งสารเคมีออกมาทำให้หลอดลมบวม หดเกร็ง และมีการสารคัดหลั่ง (Secretion)
2.Intrinsic asthma เกิดการติดเชื้อของทางเดินหายใจ หรือสาเหตุอื่น เช่น การออกกำลังกาย การสูบบูหรี่
ขณะมีการหอบหืด หลอดลมจะมีขนาดตีบลงเนื่องจาก
1.การหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบทางหลอดลมในระยะแรกการหดตัวจะเกิดในส่วนของหลอดลมใหญ่ก่อน ถ้าเป็นนานๆและรุนแรง จะมีการหดตัวในส่วนของ หลอดลมเล็ก และbronchiole
2.เยื่อบุหลอดจะหนาขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากมี inflammatory cell ส่วนใหญ่จะเป็น eosinophil และ Neutrophil นอกจากนี้พบว่า มีจำนวนของ mucous gland และ globlet cell เพิ่มขึ้น
3.มีเสมหะเป็นมูกเหนียว และมี eosinophil จำนวนเสมหะเหล่านี้จะจับติดอยู่ผนังหลอดลมหรืออุดอยู่ในแขนงหลอดลมเล็ก
หลอมลมโป่งพอง (Bronchiectasis)
สาเหตุ
การติดเชื้อของปอด
การอุดกั้นของหลอดลม
อาการ
มีไอเรื้อรังเสมหะเป็นหนองจำนวนมากและมีกลิ่นเหม็น ถ้าตั้งทิ้งไว้จะ แยกออกเป็น 3 ชั้น ล่างสุด เป็นหนอง กลาง ของเหลวใส บนสุด ฟอง
มีเสียง crepitation และเสียง rhonchi อาจพบนิ้วปุ้ม (Clubbing of fingers)
*นิ้วปุ้มหรือนิ้วกระบอง เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเจริญของเล็บ (รวมถึงกระดูกและข้อนิ้ว) จากสาร Vascular Endothelial Growth Factor VEGF เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ
ทำให้เลือดฝอยส่วนปลายของร่างกาย เกิดการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เมื่อเนื้อเยื่อบริเวณปลายนิ้วมีเลือดมากขึ้น จะทำให้ขยายตัว ทำให้ปลายนิ้วพองขยายออกเหมือนกระบอง
ปอดอักเสบ
สาเหตุ
เชื้อไวรัส >42% ได้แก่ respiratory syncytial virus, parainfluenza, influenza, adenovirus
respiratory syncytial virus, parainfluenza มักเกิดมากในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี >90%
เชื้อแบคทีเรีย สาเหตุของปอดบวมมากที่สุด >60% ในเด็กอายุน้อยกว่าเด็กอายุ <3 เดือน จากเชื้อ Streptococcus pneumoniae (เด็ก3-5ปี เกิดจากเชื้อ Haemophilus influenza)
ปอดบวมจากการสำลัก (aspirated pneumonia) การสำลักอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าในปอด จนทำให้เกิดอาการปอดบวมอย่างรุนแรง เรียกว่า Mendelson’s syndrome
จากรังสี (radiation pneumonia) และสารพิษ (chemical pneumonia)
วัณโรคปอด
Primary Pulmonary Tuberculosis
เกิดขึ้นในรายที่รับเชื้อวัณโรคในครั้งแรก
ต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด (hilar lymph node) จะโต และมีเนื้อตาย caseous
ตน.ที่เชื้อเข้าปอดทำให้เกิดรอยโรคครั้งแรกมักเป็นบริเวณเนื้อปอดที่อากาศถ่ายเทได้มากที่สุด ได้แก่ส่วนล่างของปอดกลีบบนและส่วนบนของกลีบล่าง
เมื่อมีเชื้อจะถูกจับกินโดย alvecolar macrophage แต่ถ้าไม่หมดและเพิ่มขึ้นมากอาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเฉียบพลัน
Post Pulmonary Tuberculosis
เกิดจาการได้รับเชื้อมาก่อน เกิดจากเชื้อในครั้งแรกที่สงบ เกิดการเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น (มีส่วนน้อยที่ได้เกิดจากเชื้อใหม่)
มักเกิดที่บริเวณ apex หรือ subapical ของปอดกลีบบนเนื่องจากบริเวณนี้มีความดันO2 แต่จะไม่กระจายไปหลอดน้ำเหลือง
ลักษณะรอยโรคเป็น tubercle และ caseation
น้ำในเยื่อหุ้มปอด (Pleural effusion)
ภาวะน้ำในเยื่อหุ้มปอดเป็นการสะสมของของเหลวระหว่างชั้นของเยื่อหุ้มปอดกับภายในช่องอก มี 2 ประเภท
1.น้ำในเยื่อหุ้มปอดที่เป็นของเหลวใส (Transudative pleural effusion) สาเหตุเกิดจากหัวใจล้มเหลว ไตวาย ตับแข็ง
2.น้ำในเยื่อหุ้มปอดที่เป็นของเหลวขุ่น มักเกิดการอักเสบ เช่น การติดเชื้อในปอด วัณโรค มะเร็งปอด
ลมในเยื่อหุ้มปอด (Pneumothorax)
1.Open pneumothorax ภาวะลมคั่งในช่องเยื่อหุ้มปอดชนิดที่มีบาดแผลเป็นแบบsucking chest wound ทำให้ช่องเยื่อหุ้มปอดเปิดติดต่อโดยตรงกับอากาศภายนอก
ถ้าขนาดบาดแผลใหญ่เป็น 2ใน3 ของขนาดหลอดผู้ป่วยจะมีอาการหายใจลำบาก และมีภาวะขาดO2เกิดขึ้นอย่างรวมเร็ว
*ลมเข้าได้ออกได้ ไม่มี mediastinal shift
2.Tension pneumothorax เกิดจากมีแผลฉีกขาดที่ผนังอกทะลุเข้าสู่ช่องเยื่อหุ้มปอด โดยมีบาดแผลลักษณะเฉียงแฉลบหรือขอบแผลกระรุ่งกระริ่ง
เวลาหายใจเช้าลมจะผ่านแผลรั่วเข้าสู่ช่องเยื่อหุ้มปอดได้
เวลาหายใจออกแรงดันในช่องเยื่อหุ้มปอดจะลดลง จะทำให้ปากแผลที่ทำหน้าที่คล้ายลิ้นหรือมีลักษณะเฉียงแฉลบนี้ปิดช่องเยื่อหุ้มปอด ลมออกสู่ภายนอกไม่ได้
*ลมเข้าได้ออกไม่ได้ ไม่มี mediastinal shift
Conducting division ส่วนนำอากาศเข้าสู่ร่างกาย
โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis)
การตรวจ
การตรวจหา cell ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบจากภูมิแพ้
การตรวจหา Eosinophil ในน้ำมูก *พบ Eosinophil >30% ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมดที่พบ
การตรวจหา Mast cell / Basophil ที่เยื่อบุจมูกพบ Mast cell และ Basophil มากกว่าคนปกติ
ไข้หวัด (Common cold)
เกิดการติดเชื้อของจมูกและคอ บางครั้งเรียก Upper respiratory tract infection (URI)
URI เกิดจากเชื้อไวรัส รวมเรียกว่า Coryza viruses (ประกอบไปด้วย Rhino viruses เป็นส่วนใหญ่ และยังมีเชื้อ Adenoviruses, Respiratory syncytial virus)
อาการ
เมื่อเชื้อเข้าสู่จมูกและคอจะทำให้เยื่อจมูกบวม และแดง มีการหลั่งของเมือกออกมา และจะหายจากโรคภายใน 1 สัปดาห์
Exudate (สารคัดหลั่ง) เป็นน้ำหรือมูกใส เรียกว่า Catarrhal inflammation
Exudate เป็นข้นหรือหนอง เรียกว่า Purulent inflammation
โรคริดสีดวงจมูก (Nasal polyp)
ปัจจัยการเกิด
2.โรคภูมิแพ้
3.ภาวะอื่นๆ ได้แก่ ความปกติของ mucopolysaccharide, การแพ้ยา, การอุดตัน
1.การติดเชื้อที่จมูก
ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)
อาการ
รูเปิดของ sinus มีขนาดเล็กลง เมื่อมีการอักเสบจึงอาจตีบหรือตันได้ง่าย
Exudate ขังอยู่ภายใน เป็นหนอง(empyema) เป็น mucous (mucocele)
สาเหตุ
1.การติดเชื้อของ URI
ระยะแรก เกิดจากไวรัส โรคหวัดทำให้เยื่อบุจมูกอักเสบ และอาจอักเสบต่อเนื่องเข้าไปถึงไซนัส
ระยะสอง มีการติดเชื้อจากแบคทีเรียร่วมด้วย โดยทั่วไปจะหายเป็นปกติ
*หากติดเชื้อรุนแรง อาจมีการทำลายของเยื้อุจมูกและเยื่อบุไซนัส ทำให้บวมและมีพังผืด เกิดการอุดตันของรูเปิดระหว่างไซนัสและโพรงจมูก จนกลายเป็นการอักเสบเรื้อรังได้
2.การติดเชื้อของฟันโดยเฉพาะฟันกรามน้อยและฟันกรามแถวบน พบว่า 10%ของการอักเสบของ Maxillary sinus สาเหตุฟันผุ (เพราะผนังด่างล่างของ Maxillary sinus จะติดกับรากฟัน)
3.โรคติดเชื้ออื่น เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคหัด โรคไอกรน
4.การว่ายน้ำ ดำน้ำ เกิดการสำลักน้ำเข้าไปในจมูกและในไซนัสได้ อาจมีโชคโรคเข้าไป
คออักเสบ (Pharyngitis)
สาเหตุ
การติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย ส่วนใหญ่ได้แก่ Beta Streptococcus group A เยื่อบุ pharynx จะอักเสบมากขึ้นและถูกคลุมด้วย exudate
อาการ
ไม่มีน้ำมูกหรือไอหรือน้ำตาไหล
มีไข้สูง เจ็บคอ ครั่นเนื้อครั่นตัว
ตรวจพบคอแดง ต่อมทอนซิลจะมีหนอง ลิ้นไก่บวม ต่อมน้ำเหลืองโต
กล่องเสียงอักเสบ (Laryngitis)
สาเหตุ
การติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย
โรคภูมิแพ้
การได้รับสารเคมี หรือสารพิษบางอย่าง เช่น ควันบูหรี่
การใช้เสียงมากเกินไป
การเกิดกรดไหลย้อนในกระเพราะอาหาร
กรณีอันตราย
Laryngoepiglottitis พบในเด็กเล็ก เกิดจากเชื้อ Hemophilus influenza
Croup หรือ laryngotracheobrochitis พบในเด็กเกิดจากเชื้อไวรัส การอักเสบ ทำให้ทางเดินหายใจแคบ