Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Cirrhosis with Ascites แปลว่า ภาวะแทรกซ้อนท้องมานจากโรคตับแข็ง - Coggle…
Cirrhosis with Ascites แปลว่า ภาวะแทรกซ้อนท้องมานจากโรคตับแข็ง
โรคตับแข็ง
พยาธิสรีระ
การที่เนื้อเยื่อตับบาดเจ็บและถูกทำลายจากการอักเสบเรื้อรังจากสาเหตุต่างๆ เนื้อเยื่อตับจึงกลายเป็นพังผืดทำให้ตับสูญเสียการทำงานเนื้อเยื่อตับที่บาดเจ็บส่งผลให้ไม่สามารถสร้างโปรตีน กำจัดเชื้อโรค ฟอกเลือด ย่อยอาหารตลอดจนสะสมพลังงานได้
ทำให้หลอดเลือดดำพอร์ทอลที่เชื่อมต่อระหว่างลำไส้และตับมีความดันสูงขึ้น (Portal hypertension) ความดันที่สูงนี้จึงดันเลือดที่จะไหลไปที่หัวใจให้ไหลผ่านเส้นเลือดอื่นแทนที่จะผ่านตับ เป็นผลทำให้มีการขยายของเส้นเลือดในเยื่อบุกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร เกิดเป็นภาวะเส้นเลือดขอด (varices) ซึ่งถ้ามีเลือดออกด้วยอย่างช้าๆ ก็จะทำให้เกิดโรคโลหิตจาง และยังเป็นภาวะเสี่ยงที่จะมีเลือดออกอย่างรุนแรงที่ต้องรักษาฉุกเฉิน
สาเหตุ
1.การดื่มสุราที่มากเกินไปติดต่อกันนานหลายปี
กรณีศึกษาดื่มแอลกอฮอล์มานาน20ปี
2.โรคเรื้อรังจากการติดเชื้อของตับ โดยเฉพาะไวรัสตับอักเสบ บี และโรคไวรัสตับอักเสบ ซี (Hepatitis B และ C) ที่พบได้บ่อย
กรณีศึกษาเคยตรวจพบเป็นโรคตับแข็งจากไวรัสตับอักเสบบีและซี เมื่อ9ปีก่อน
3.ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากแอลกอฮอล์ เช่น ภาวะไขมันพอกตับที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนหรือโรคเบาหวาน
อาการและอาการแสดง
1.หนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
กรณีศึกษามีอาการเหนื่อหอบ อ่อนเพลีย
2.มีเลือดออกได้ง่าย
กรณีศึกษามีค่าHct 30.5% ,PT 21.80 Sec. และPTT 39.50 Sec. ผิดปกติ
3.ตัวเหลืองและตาเหลือง (ดีซ่าน)
กรณีศึกษามีอาการตัวตาเหลืองหรือดีซ่าน
6.อาการบวมตามอวัยวะต่าง ๆ เนื่องจากการสะสมของน้ำ เช่น ขาบวม ท้องมาน ข้อเท้าบวม
กรณีศึกษามีภาวะท้องมาน
4.ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด
5.คลื่นไส้
ปัจจัยเสี่ยง
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
กรณีศึกษาดื่มเหล้าวันละ1กลมนาน20ปีแล้ว
เป็นโรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง
ทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารพิษ และสารเคมีต่างๆโดยไม่รู้จักการป้องกัน
ทำงานที่ต้องสัมผัสกับ เลือด สารคัดหลั่ง
หรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น (เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี)
การกินอาหารที่ขาดสุขอนามัย (เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ เอ)
กรณีศึกษาเคยตรวจพบเป็นโรคตับแข็งจากไวรัสตับอักเสบบีและซี เมื่อ9ปีก่อน
การสักตามร่างกาย หรือ เจาะร่างกายจากแหล่งบริการที่ไม่สะอาดพอ
เพราะอาจเป็นสาเหตุการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี
การวินิจฉัยโรค
แพทย์วินิจฉัยโรคของตับได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประวัติการใช้ยาต่างๆ การตรวจร่างกาย การตรวจเลือดดูค่าการทำงานหรือค่าเอนไซม์ของตับ
อาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับอาการของผู้ป่วย สิ่งผิดปกติที่แพทย์ตรวจพบ และดุลพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจภาพตับด้วย อัลตราซาวด์ เอกซเรย์คอมพิว เตอร์ หรือเอมอาร์ไอ การส่องกล้องตรวจทางเดินน้ำดีในตับ การฉีดสีตรวจทางเดินน้ำดีในตับ (Cholangiography) และ/หรือการตัดชิ้นเนื้อจากตับเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา
การรักษา
1.การให้ยาปฏิชีวนะเมื่อโรคตับเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย
2.การผ่าตัดเมื่อมีเนื้องอกในตับ
3.การเลิกสุราหรือการหยุดยาเมื่อโรคตับเกิดจากสุราหรือจากยา
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยชายไทยอายุ46ปี สัญชาติไทย
ศาสนาพุทธ
สิทธิกรรักษาพยาบาลสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
การวินิจฉัยโรคในปัจจุบัน Cirrhosis with Ascites แปลว่า ภาวะแทรกซ้อนท้องมานจากโรคตับแข็ง
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพของผู้รับบริการ
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล ส่งต่อมาจากโรงพยาบาลนครปฐมด้วยอาการจุกแน่นท้อง หายใจไม่ออก 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน
9 ปีก่อนมาโรงพยาบาลตรวจพบเป็นโรคตับแข็งจากไวรัสตับอักเสบบีและซี รักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ได้รับยารับประทาน Lamivudine, Propranolol และ Vitamin B complex มาตรวจตามนัดทุกครั้ง
13 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการจุกแน่นท้อง ปวดท้อง หายใจไม่ออก มีไข้ ภรรยาจึงนำตัว ส่งโรงพยาบาลนครปฐม ได้รับการรักษาด้วยยา Lamivudine (150) 1x1 oral pc และยา Ceftriaxone 2 g. vein OD ยังมีอาการจุกแน่นท้อง หายใจเหนื่อยหอบ ไม่มีไข้
1 วันก่อนมาโรงพยาบาล จุกแน่นท้องมากขึ้น หายใจเหนื่อยหอบ โรงพยาบาลนครปฐมมี ความจำเป็นต้องการใช้เตียงจึงส่งต่อผู้ป่วยมารักษาตามสิทธิการรักษาของผู้ป่วยที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลและกิจกรรมการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่1 การหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีภาวะท้องมานดันกระบังลม
ข้อมูลสนับสนุน
O : มีอาการหายใจตื้น หายใจเหนื่อยหอบ
ใช้กล้ามเนื้อหน้าอกในการหายใจ
O : นอนราบไม่ได้มีอาการท้องโป่งตึงมาก
O : O2 sat 94%
A:ผู้ป่วยที่มีภาวะท้องมานอาจมีอาการอย่างค่อยเป็นค่อยไปหรือเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันก็ได้ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะนี้บางรายอาจไม่มีอาการใด ๆ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
เกณฑ์การประเมินผล
-ไม่มีอาการหายใจตื้น เหนื่อยหอบ
O2 sat >95%
กิจกรรมการพยาบาล
เฝ้าระวังสังเกตอาการแสดงของภาวะเม็ดเลือดแดงพร่องออกซิเจน
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายคือ Mask with bag อัตราการไหล 10 ลิตรต่อนาที
ควบคุมอัตราการไหลของสารน้ำ 0.9% NSS 1000 cc. ให้ผู้ป่วยนอนพักมากๆ
สังเกตอัตราความลึกลักษณะการหายใจ ฟังปอดประเมินเสียงหายใจ
จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะสูงเพื่อจะทำให้กระบังลมเคลื่อนต่ำลงไม่ไปดันปอด
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยพักผ่อน โดยจัดสิ่งแวดล้อมให้สงบเงียบ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่2 มีของเสียคั่งในร่างกายเนื่องจากประสิทธิภาพการทางานของไตลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
O : BUN 35.5 mg/dl
O : Creatinine 1.22 mg/dl
A : ถ้าตับทำงานแย่ลงไปมากๆ จะไปมีผลทำให้ไตทำงานผิดปกติไปด้วยจนเกิดภาวะไตวายดูได้จากค่า BUN และ Creatinineที่สูงขึ้นแต่ถ้าไปเจาะไตมาตรวจกลับไม่พบภาวะแทรกซ้อนนี้มักเกิดในคนที่ตับเสียไปมากๆ
วัตถุประสงค์
ของเสียในร่างกายลดลงไม่เกิดอันตรายจากของเสียคั่ง
เกณฑ์การประเมินผล
BUN 6-20 mg/dl
Creatinine 0.72-1.18 mg/dl
ไม่มีอาการเท้าบวม
กิจกรรมการพยาบาล
บันทึกจำนวนน้ำที่ได้รับและขับออก เพื่อควบคุมปริมาณน้ำเข้าออกร่างกาย
ดูแลให้ได้รับยาขับปัสสาวะตามแผนการรักษา คือLasix (40) ½ tab oral OD pc และAldactone (25) 1 tab oral OD pc
ติดตาผล lab BUN และ Creatinine เพื่อประเมินการคั่งของเสียในเลือด
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยเพื่อประเมินสภาพจากการมีของเสียคั่ง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่3 มีการติดเชื้อเนื่องจากตับมีการสร้างสารที่มีบทบาทต่อภูมิคุ้มกันลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
O : WBC Count 21.9 10^3 cell/uL
O : %Neutrophil 86.1 %
O : %Lymphocyte 10.6 %
A : ผู้ป่วยโรคตับแข็งมักมีโอกาสติดเชื้อและเป็นโรคง่ายกว่าคนปกติ เพราะภูมิคุ้มกันด่ำ
วัตถุประสงค์
ส่งเสริมให้ภาวะการเกิดการติดเชื้อลดน้อยลงและป้องกันการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
เกณฑ์การประเมินผล
WBC Count 5-10 10^3 cell/uL
%Neutrophil 40.0-74.0 %
%Lymphocyte 19.0-48.0 %
กิจกรรมการพยาบาล
วัดและบันทึกสัญญาณชีพทุก 1- 2 ชั่วโมง
ให้การพยาบาลโดยใช้หลักเทคนิคปราศจากเชื้อ เพื่อป้องกันการนำเชื้อโรคไปสู่ผู้ป่วย
ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาคือCeftriaxone 2 g. IV OD และLamivudine 1x1 oral pc
ติดตามผลการตรวจ CBC ตามแผนการรักษา
จัดสภาพแวดล้อมให้สะอาดเช่น เปลี่ยนผ้าปูเตียง ปลอกหมอน
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่4 อาจเกิดภาวะเลือดออกง่ายเนื่องจากปัจจัยในการแข็งตัวของเลือดลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
O : Hct 30.5%
O : PT 21.80 Sec.
O : PTT 39.50 Sec.
A : เกิดรอยฟกช้ำและจ้ำเลือดตามตัว เนื่องจากตับสร้างโปรตีนที่เป็นปัจจัยการแข็งตัวของเลือดลดลง ในกรณีศึกษาผู้ป่วยมีค่า Hct 30.5% , PT 21.80 Sec. , PTT 39.50 Sec.
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยไม่เกิดอันตรายจากภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยไม่ภาวะเลือดออกง่าย
Hct 42.9-49.1%
PT 10-20 Sec.
PTT 22.7-28.8 Sec.
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
กิจกรรมการพยาบาล
วัดและบันทึกสัญญาณชีพทุก 1 – 2 ชั่วโมง
สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะช็อคถ้าพบชีพจรเบาเร็ว หายใจเร็วตื้น อุณหภูมิร่างกายเริ่มต่ำ
สังเกตอาการเลือดออกจากอวัยวะต่างๆโดยเฉพาะในช่องท้อง
ระวังการเกิดอุบัติเหตุที่อาจทำให้เสียเลือดได้ เช่น การตกเตียง การกระแทกกับขอบเตียง
ดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันการอาบน้ำต้องระมัดระวังการลื่นล้ม
สังเกตการถ่ายอุจจาระเป็นสีดำเลือดออกตามไรฟัน หรืออาเจียนเป็นเลือด
ติดตามผลการตรวจเลือดโดยเฉพาะค่าเวลาของการแข็งตัวของเลือด
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่5 ขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองเนื่องจากติดสุราเรื้อรัง
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้ป่วยบอกว่าดื่มสุราวันละ 1 ขวดกลม เป็นเวลา 20 ปี
O : ผู้ป่วยมีท้องบวมโต ตัวตาเหลือง
A : โรคตับจากแอลกอฮอล์เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์มากและดื่มมานานระยะหนึ่งนานขนาดไหน ประมาณ 5 - 10 ปีขึ้นไปกรณีศึกษาผู้ป่วยดื่มสุราวันละ 1 ขวดกลม เป็นเวลา 20 ปี
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยบอกถึงขบวนการของโรค ภาวะแทรกซ้อน การรักษาได้การพูดคุยถึงแนวทางการปรับตัวได้
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยบรรยายถึงกระบวนการของโรค ภาวะแทรกซ้อนและการรักษาได้
มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในการดูแลตนเอง
งดการดื่มสุรา
อธิบายถึงอาหารที่เหมาะสมแก่ตนเอง
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ความรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยสาเหตุของโรค เช่น พิษของแอลกอฮอล์ต่อการเกิดโรค
อยู่เป็นเพื่อนเข้าใจและให้กำลังใจขณะทำการรักษา
บอกผู้ป่วยและญาติถึงการติดเชื้อง่ายและการป้องกันตัว
ให้ความรู้แก่ครอบครัวเพื่อสนับสนุนการรักษาและเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต
แนะนำแหล่งบริการสาธารณสุขที่จะช่วยสนับสนุนการปรับพฤติกรรมและแบบแผนการดาเนินชีวิตที่ เปลี่ยนไป
ประเมินการปรับตัวที่เปลี่ยนไปและการพักผ่อน และการหันเหด้านกิจกรรมที่จะช่วยปรับกิจกรรมหลังจากจำหน่ายผู้ป่วย
สอนผู้ป่วยและครอบครัวถึงอาการและอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อน เช่น การเพิ่มน้ำในช่องท้อง อาเจียน
กระตุ้นให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกเพื่อช่วยลดความวิตกกังวล
แนะนำพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อรักษาไว้ซึ่งหน้าที่ของตับ