🚩 โรคระบบทางเดินหายใจ 🚩
โครงสร้างระบบหายใจ
Conduction division
ส่วนนำอากาศเข้าสู่ร่างกาย
Respiratory division
ส่วนแลกเปลี่ยนแก๊ส
Nasal cavity
⬇
Pharynx
⬇
Larynx
⬇
Trachea
⬇
Bronchiole
⬇
Terminal bronchiole
Respiratory bronchiole
⬇
Alveolar duct
⬇
Alveolar sac
⬇
Alveoli
โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
Allergic Rhinitis
ทำหน้าที่
- เป็นทางเดินอากาศ
- ให้ความชื้นแก่อากาศที่จะเข้าปอด
- ทำความสะอาดอากาศ
- เป็นโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน หลังได้รับสารก่อภูมิแพ้ จะเกิดอาการคัน น้ำมูกไหล จาม
- จะพบ Eosinophil(เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง) ในเลือดสูง
- ที่เยื่อบุจมูกพบ Mast cell และ Basophil มากกว่าคนปกติ
ไข้หวัด
Common cold
- เป็นการติดเชื้อของจมูก และ คอ เรียกว่า
Upper respiratory tract infection (URI) - URI เกิดจากเชื้อไวรัสรวมเรียกว่า Coryza viruses เมื่อเชื้อเข้าจมูกจะทำให้เยื่อบุจมูกบวม และแดง
- Exudate ที่เป็นน้ำ หรือ มูกใส เรียกว่า
Catarrhal inflammation - Exudate ที่เป็นลักษณะข้น หรือ หนอง เรียกว่า
Purulent inflammation
Coryza viruses ประกอบด้วย
Rhino-viruses , Adenoviruses , Respiratory syncytial virus
ไซนัสอักเสบ
Sinusitis
โรคริดสีดวงจมูก Nasal polyp
- เกิดจากเยื่อบุจมูกอักเสบ บวมขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นก้อนในจมูก
ปัจจัยที่ทำให้เกิด
- การติดเชื้อที่จมูก
- โรคภูมิแพ้
- ภาวะอื่นๆ ได้แก่
- ความผิดปกติของ Mucopolysaccharide , การแพ้ยา
ไซนัส
ทำหน้าที่ ทำให้ลมหายใจอบอุ่น ชุ่มชื้น ช่วยกรองอากาศในรูจมูก และช่วยให้เสียงพูดมีความก้อง
ไซนัสอักเสบ
Sinusitis
- เป็นการอักเสบของโพรงอากาศข้างจมูก แบ่งเป็นเฉียบพลัน และ เรื้อรัง
สาเหตุ
- มักมี exudate ขังอยู่ภายใน
เป็นหนอง เรียก empyema
เป็น mucous(เมือก) เรียก mucocele
- การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจตอนบน
ระยะแรก : เชื้อไวรัสทำให้เยื่อบุจมูกอักเสบต่อเนื่องเข้าไปถึงในไซนัส
ระยะสอง : อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย จะเป็นๆหายๆ
ระยะสาม : ถ้าติดเชื้อรุนแรง อาจมีการทำลาย
เยื่อบุจมูก และ เยื่อไซนัส ทำให้บวม และมีผังผืด
เกิดการอุดตันของรูเปิดระหว่างไซนัสกับโพรงจมูก
- การติดเชื้อของฟัน โดยเฉพาะฟันกรามน้อย และ
ฟันกรามแถวบน
- โรคติดเชื้ออื่น เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคหัด
- การสำลักน้ำเข้าจมูก หรือการมีสิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก
คออักเสบ
Pharyngitis
หลอดคอ
Pharynx
- ยาวประมาณ 5 นิ้ว ติดต่อทั้งช่องปาก และช่องจมูก แบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนนี้ออกจากกัน
อาการคออักเสบจากเชื้อ
Beta Streptococcus group A
- ไม่มีน้ำมูก หรือ ไอ
- มีไข้สูง เจ็บคอ ครั่นเนื้อครั่นตัว
- ต่อมทอนซินจะมีหนอง ฃิ้นไก่บวม
ต่อมน้ำเหลืองโต
เป็นโรคที่พบบ่อย มีสาเหตุการจากการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย ส่วนใหญ่เป็น Beta Streptococcus group A
หลอดเสียง
Larynx
- เจริญเติบโตตามอายุ
- เป็นหลอดยาว ผู้ชาย = 4.5 cm. ,
ผู้หญิง = 3.5 cm.
- เป็นหลอดยาว ผู้ชาย = 4.5 cm. ,
กล่องเสียงอักเสบ
Laryngitis
สาเหตุ
- การติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย
- โรคภูมิแพ้
- การได้รับสารเคมี หรือ สารพิษ
- การใช้เสียงมากเกินไป
- กรดไหลย้อนในกระเพาะอาหาร
❗ บางกรณี
- Laryngo epiglottitis(ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน) พบในเด็ก เกิดจากเชื้อHemophilus influenza
- เยื่อบุ Epiglottis และ Vocal cord
บวมมากจนหายใจไม่ออก
- Croup หรือ Laryngotracheobronchitis มักพบในเด็ก ทำให้ทางเดินหายใจตีบ หายใจมีเสียงดัง เรียก Stridor
หลอดลม
Trachea
- ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U มีอยู่ 29 ชิ้น ว่างอยู่หลังหลอดลม
- ช่องว่างระหว่างกระดูกอ่อนมีเนื้อเยื่อ และกล้ามเนื้อเรียบมายึดติด
ปอด
Lung
- รูปร่างเหทือนกรวย ลักษณะคล้ายฟองน้ำ
หน้าที่ : - นำ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด
โรคของปอด
ถุงลมแฟบ
Atelectasis
- ถ้าเกิดขึ้นกับเนื้อปอดปริมาณมากจะทำให้ขาดออกซิเจน
- ติดเชื้อง่าย เนื่องจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ เช่น เสมหะ
ปอดบวมน้ำ
Pulmonary edema
ภาวะที่มีการคั่งของสารน้ำในถุงลมของเนื้อปอด
สาเหตุ :
- หัวใจซีกซ้ายล้มเหลว ไม่บีบไล่เลือดออกจากระบบไหลเวียนในปอดได้ทัน
- เกิดจากการบาดเจ็บต่อเนื้อปอด หรือ ระบบหลอดเลือดของปอด(เกิดจากสาเหตุอื่นไม่เกี่ยวกับหัวใจ)
ถุงลมโป่งพอง
Emphysema
เป็นโรคที่เนื้อปอดค่อยๆ
เสื่อมสมรรถภาพจากการใช้บุหรี่
- สารไนโตรเจนออกไซด์จะทำให้เนื้อเยื่อในปอด และถุงลมฉีกขาด
- ทำให้พื้นที่รับออกซิเจนในปอดมีขนาดเล็กลง
หลอดลมอักเสบเรื้อรัง
Chronic Bronchitis
- เกิดการติดเชื้อเรื้อรัง ภูมิแพ้ และการสูบบุหรี่เป็นเวลานาน ทำให้มี mucous secreting gland มากขึ้น
- มีการหลั่งเมือก(เสมหะ) มากกว่าปกติ ทำให้หายใจลำบาก
มีอาการไอ มีเสมหะติดต่อกันทุกวันนานกว่า 6 เดือนขึ้นไป หรือเป็นอยู่อย่างน้อยปีละ 3 เดือนติดต่อกัน 2 ปีขึ้นไป จะเรียกว่า ผู้ป่วยหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
หอบหืด
Bronchial Asthma
- ภาวะที่มีการตอบสนองมากเกินไป ทำให้มีการหดเกร็งของหลอดลม มีเสมหะเพิ่มขึ้น หายใจลำบาก ได้ยิน เสียงวิ๊ด
(Wheezing and severe dyspnea)
กลับเป็นปกติได้เมื่อได้รับยาขยายหลอดลม
สาเหตุ
- Extrinsic asthma
- การแพ้สารภายนอก เช่น ฝุ่น เกสร antigen กระตุ้นให้สร้าง IgE มาเกาะที่ Mast cell เมื่อ Mast cell แตกจะหลั่งสารเคมีทำให้หลอดลมบวม หดเกร็ง และมีสารคัดหลั่ง
- Intrinsic asthma
- เกิดจากมีปริมาณ IgE ไม่สูง
- มักเกิดจากการติดเชื้อของทางเดินหายใจ
หลอดลมโป่งพอง
Bronchiectasis
สาเหตุ
- มักเกิดจากการติดเชื้อของปอด เช่น วัณโรค ไอกรน
- การอุดกั้นของหลอดลม เช่น มีก้อนเนื้องอก
ลักษณะ อาการ
- มีไอเรื้อรัง เสมหะเป็นหนองจำนวนมาก
- มักได้ยินเสียง crepitation และเสียง rhonchi อาจจะพบนิ้วปุ้ม clubbing of fingers
ภาวะนิ้วปุ้ม หรือ นิ้วกระบอง
เป็นการเปลี่ยนรูปการเติบโตและสร้างเนื้อเยื่อเล็บเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้หลอดเลือดฝอยขยาย และเพิ่มจำนวน ทำให้ปลายนิ้วพองขยายออกเหมือนกระบอง
ปอดอักเสบ
Pneumonia
สาเหตุ :
- เชื้อไวรัส เช่น เรสไปราทอรี ซินไซเทียไวรัส อะดีโนไวรัส มักเกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ร้อยละ 90
- เชื้อแบคทีเรีย
พบในเด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือนร้อยละ 60 ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ Streptococcus pneumoniae และเชื้อ Enteric bacilli - การสำลัก
- สาเหตุอื่นๆ เช่น สารพิษ สารเคมี
Lobar pneumonia
เป็นปอดบวมที่ปอดกลีบใดกลีบหนึ่ง มักเกิดจากเชื้อ Pneumococci
Bronchopneumonia
เป็นรอบๆหลอดลมส่วนปลาย และกระจายไปมากกว่ากลับใดกลีบหนึ่งของปอด
วัณโรคปอด
Pulmonary Tuberculosis
เกิดจาก
Mycobacterium tuberculosis
Primary Pulmonary Tuberculosis(ปฐมภูมิ)
- เกิดเชื้อวัณโรคครั้งแรก
- ต่อมน้ำเหลืองที่ขั่วปอดจะเกิดต่อมน้ำเหลืองโต และมีเนื้อตาย caseous
- มักเกิดที่ส่วนล่างของกลีบปอดบน และส่วนบนของปอดกลีบล่าง
- เชื้อจะถูกจับกินโดย alveolar macrophage รอยโรคมีขนาดเล็ก และจะถูกแทนที่ด้วย fibrous tissue
⚠เเต่ถ้าเชื้อไม่ตายจะเพิ่มจำนวนและทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลัน
Post Primary Pulmonary Tuberculosis(ทุติยภูมิ)
- เกิดโรคหลังจากได้รับเชื้อมาก่อนส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อที่สงบอยู่ในอวัยวะต่างๆในร่างกาย รอยโรคที่เนื้อปอดมักเป็นบริเวณ Apex หรือ Subapical ของปอดกลีบบน
- ลักษณะรอยโรคเป็น tubercle และ caseation
เยื่อหุ้มปอด
Pleura
เยื่อหุ้มปอดมี 2 ชั้น ระหว่างชั้นมีของเหลวอยู่เล็กน้อย เพื่อลดแรงเสียดสี
น้ำในเยื่อหุ้มปอด
Pleural effusion
Transudative pleural effusion(ของเหลวใส)
- มีสาเหตุเกิดจากหัวใจล้มเหลว ไตวาย ตับแข็ง
Exudate pleural effusion(ของเหลวขุ่น)
- เกิดจากการอักเสบ เช่น การติดเชื้ในปอด วัณโรค มะเร็งปอด
ลมในเยื่อหุ้มปอด
Pneumothorax
Open pneumothorax
ภาวะลมคั่งในช่องเยื่อหุ้มปอดชนิดที่มีบาดแผล
Tension pneumothorax
- เกิดจากที่แผลฉีกขาดที่ผนังอกทะลุเข้าช่องเยื่อหุ้มปอด บาดแผลมีลักษณะเฉียงแฉลบ หรือขอบแผลกระรุ่งกระริ่ง
- เวลาหายใจเข้าลมจะผ่านแผลรั่วเข้าสู่ช่องเยื่อหุ้มปอด
- เวลาหายใจออกแรงดันในช่องเยื่อหุ้มปอดจะลดลง ทำให้ปากแผลทำหน้าที่คล้ายลิ้น หรือ ประตู ทำให้ลมเข้าได้ แต่ออกไม่ได้
- มี Mediastenal shift