Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด - Coggle Diagram
ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะชัก
การชักเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยภายหลังการบาดเจ็บสมอง
มักส่งผลให้ผู้บาดเจ็บมีการฟื้นตัวของระบบประสาทช้าพิการหรือเสียชีวิตได้
กลไกการชักภายหลังอุบัติเหตุ
เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางลักษณะกายวิภาค (เชิงกล)
การเปลี่ยนแปลงเชิงกลที่เกิดขึ้น คือ
การบาดเจ็บต่อเซลล์สมอง หลอดเลือดสมอง เยื่อหุ้มสมองโดยตรง
การสูญเสียหน้าที่ของ blood-brain barrier (BBB)
การเปลี่ยนแปลงเชิงเคมี
การเปลี่ยนแปลงเชิงเคมีหลักที่เกิดขึ้น คือ
การเป็นพิษของสารกลูตาเมต (glutamate toxicity) ต่อเซลล์สมอง
เกิด ความเป็นพิษ ร่วมกับการทำงานลดลงของเซลล์ประสาท GABAergic
เกิดการตอบสนองของกระบวนการอักเสบ (inflammatory response)
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อระบบประสาทโดยสรุป
Blood-brain barrier breakdown
ส่งผลให้เกิดการสะสมของสารต่าง ๆบริเวณเนื้อเยื่อระบบประสาท รวมถึงเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วย
โดยเหล็กในเซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นสารที่กระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระและกระตุ้นกระบวนการอักเสบที่เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทอย่างรุนแรงได้ผ่านกระบวนการ lipid peroxidation
กระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบ
เป็นผลให้เกิดเซลล์ประสาทอักเสบ บวมและเซลล์ตายในที่สุด
การกระตุ้นเซลล์ astrocyte จะทำให้เกิด BBB ยิ่งสูญเสียการทำงานมากขึ้น
ทำให้เกิดรอยแผลเป็นในสมองตามมา
เซลล์ microglia
เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมภายในระบบประสาท
ภายหลังการบาดเจ็บสามารถถูกกระตุ้น ผ่านกระบวนการอักเสบได้ทั้งในระยะ acute และ chronic
บริเวณที่มี microglia activation
เป็นจุดกำเนิดชักได้บ่อย
จากกรณีศึกษารายนี้ ประสบอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ทําให้บาดเจ็บบริเวณศีรษะ โดยศีรษะกระแทกพื้นและไม่สวมหมวกกันน็อค
หมดสติ เรียกไม่รู้สึกตัว มีเลือดออกหูและจมูก30นาที ก่อนมาโรงพยาบา
เสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกในสมอง
สาเหตุ
ศีรษะได้รับบาดเจ็บ อาจเป็นผลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ รถจักรยานยนต์ จักรยาน การพลัดตก อุบัติเหตุทางกีฬา และการถูกทำร้าย เป็นต้น
ความดันโลหิตสูง ถือเป็นภาวะเรื้อรังที่ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอลงเรื่อย ๆ หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นเหตุให้เกิดภาวะเลือดออกในสมองตามมา
หลอดเลือดโป่งพอง ผนังหลอดเลือดที่บวมและอ่อนแอลงจากภาวะนี้ สามารถแตกออกจนเกิดเลือดสะสมในสมอง และยังนำไปสู่โรคหลอดเลือดในสมองได้ด้วย
มีหลอดเลือดสมองผิดปกติหรือโรคหลอดเลือดสมองเอวีเอ็ม (Arteriovenous Malformation) ซึ่งเป็นความผิดปกติของกลุ่มหลอดเลือดในสมอง โดยเกิดความผิดปกติของรอยต่อระหว่างหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ และทำให้เกิดเลือดออกในสมองได้ง่าย มักมีตั้งแต่กำเนิดแต่อาจมาวินิจฉัยหรือพบในภายหลังเมื่อมีอาการผิดปกติ
เส้นเลือดในสมองมีสารอะไมลอยด์สะสม เป็นความผิดปกติของผนังหลอดเลือด มีปัจจัยจากอายุที่เพิ่มขึ้นและความดันโลหิตสูง อาจเริ่มจากการมีเลือดออกเป็นจุดเล็ก ๆ หลายจุด ก่อนจะกลายเป็นบริเวณที่มีเลือดออกขนาดใหญ่
ภาวะเลือดออกผิดปกติ ได้แก่ โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) และภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่จะส่งผลให้เลือดออกง่าย จนเกิดภาวะเลือดออกในสมองได้
โรคตับ ซึ่งเป็นโรคที่จะส่งผลให้เลือดออกมากขึ้น จึงเสี่ยงต่อภาวะนี้ยิ่งขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ การใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด การมีเนื้องอกที่มีเลือดออกในสมอง การใช้สารเสพติดอย่างโคเคนที่สามารถทำให้ความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรง
เป็นภาวะที่หลอดเลือดในสมองหรือหลอดเลือดระหว่างกระดูกและสมองแตกออกอย่างเฉียบพลัน ทำให้เลือดไหลเข้าไปสะสมและกดอัดเนื้อเยื่อสมอง ส่งผลให้เกิดแรงกดอัดของเลือดภายในสมองและเข้าไปรบกวนออกซิเจนที่เข้าไปหล่อเลี้ยงในสมองจึงเป็นสาเหตุทำให้สมองและเส้นประสาทถูกทำลาย ถือเป็นภาวะที่อันตรายและร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองบวม
สาเหตุ
โรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด (Ischemic Stroke) ซึ่งสาเหตุเกิดจากการอุดตันของลิ่มเลือดบริเวณสมอง ทำให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ให้เซลล์ในสมองตายและส่งผลให้สมองเกิดการบวมตามมาได้
เนื้องอก ถ้าเนื้องอกขนาดใหญ่อาจไปปิดกั้นการไหลเวียนของน้ำในไขสันหลัง ส่งผลให้เกิดภาวะสมองบวมและทำให้ความดันในกะโหลกสูงขึ้น
การบาดเจ็บของสมอง เมื่อได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างถูกกระแทกหรือพลัดตกจากที่สูง อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อสมองและทำให้เนื้อเยื่อในสมองเกิดการบวม รวมทั้งการบาดเจ็บอย่างรุนแรงจนกะโหลกศีรษะแตกก็ทำให้เส้นเลือดในสมองแตกหรือส่งผลให้สมองบวมได้เช่นกัน
การติดเชื้อ แบคทีเรียหรือไวรัสบางชนิดอาจทำให้เกิดโรคและความผิดปกติที่นำไปสู่สมองอักเสบและเกิดการบวมได้ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีหนองที่เยื่อหุ้มสมอง ไข้สมองอักเสบ และโรคทอกโซพลาสโมซิส เป็นต้น
ภาวะที่มีของเหลวส่วนเกินสะสมในสมอง อาจเกิดแค่บางส่วนของสมองหรือทั้งหมดก็ได้ ทำให้สมองบวมและมีความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการบาดเจ็บและอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ภาวะนี้เกิดอย่างรวดเร็วและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากรับการรักษาไม่ทันการณ์